ณ วันนั้น

กุมภาพันธ์

6 กุมภาพันธ์ 2548

ไทยรักไทยได้ ส.ส. 377 ที่นั่ง

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 21 และการลงสนามครั้งที่ 2 ของพรรคไทยรักไทยหลังเป็นรัฐบาลครบวาระ 4 ปีครั้งแรก ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เป็นเสียงข้างมากในสภาด้วยจำนวนส.ส. 377 ที่นั่ง จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

อ่านเพิ่ม

7 กุมภาพันธ์ 2547

ทักษิณกินไก่โชว์

โดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้นำคณะรัฐมนตรีและนักร้องนักแสดงชื่อดัง ”เบิร์ด ธงไชย” ร่วมบริโภคไก่ปรุงสุก โดยมีไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การทอดไก่โชว์ของคณะรัฐมนตรี และการปรุงไข่พะโล้หม้อใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 10,000 ฟอง

อ่านเพิ่ม

8 กุมภาพันธ์ 2563

ครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์กราดยิงที่โคราช กับการปฏิรูประบบกองทัพ ที่ ไม่-เคย-เกิด-ขึ้น

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 เกิดเหตุนายทหาร ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามจับประชาชนเป็นตัวประกันและกราดยิงประชาชนเสียชีวิต บริเวณห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา จนสุดท้ายเจ้าหน้าที่ต้องตัดสินใจวิสามัญฆาตกรรมผู้ก่อเหตุในเวลาต่อมา มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 31 ราย บาดเจ็บ 57 ราย ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 32 รายถือเป็นเหตุการณ์กราดยิงครั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

พรรคเพื่อไทยขอร่วมไว้อาลัยให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตไว้ ณ ที่นี่

อ่านเพิ่ม

9 กุมภาพันธ์ 2544

ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก

ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ทั้งเป็นรัฐบาลชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 และนับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาและปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่

อ่านเพิ่ม

24 กุมภาพันธ์ 2549

ทักษิณยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน

เพื่อระงับความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง
รัฐบาลไทยรักไทยสมัยที่ 2 ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร คืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง

อ่านเพิ่ม

26 กุมภาพันธ์ 2544

แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

รัฐบาลไทยรักไทยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาหลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและบริหารประเทศเป็นครั้งแรก หัวใจของการแถลงนโยบายอยู่ที่ 9 นโยบายเร่งด่วนซึ่งเป็นการริเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ทั้งหลักประกันสุขภาพและโอกาสในการทำมาหากิน แนวนโยบายยุคนั้นยังคงเป็นต้นแบบของการสร้างสรรค์นโยบายในปัจจุบันทั้งที่ผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว

อ่านเพิ่ม

มีนาคม

8 มีนาคม 2555

ยิ่งลักษณ์ถูกจัดอันดับเป็นสตรีแกร่ง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 150 สตรีสุดแกร่งผู้ขับเคลื่อนโลก (Fearless Women) เนื่องในโอกาสวันสตรีโลก จาก Newsweek สำนักข่าวประเทศสหรัฐอเมริกา

อ่านต่อ

21 มีนาคม 2557

ศาลรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง 2 กุมภาฯ เป็นโมฆะ

โดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้นำคณะรัฐมนตรีและนักร้องนักแสดงชื่อดัง ”เบิร์ด ธงไชย” ร่วมบริโภคไก่ปรุงสุก โดยมีไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การทอดไก่โชว์ของคณะรัฐมนตรี และการปรุงไข่พะโล้หม้อใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 10,000 ฟอง

อ่านเพิ่ม

24 มีนาคม 2562

ครบรอบ2 ปี เลือกตั้ง 2562 เพื่อไทยชนะ พลังประชารัฐตั้งรัฐบาล

วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 28 นับว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหาร 2557 และเป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งถูกเขียนขึ้นภายใต้อำนาจคณะรัฐประหาร คสช. และได้รับการการันตรีจากแกนนำพรรคพลังประชารัฐว่า “ออกแบบมาเพื่อพวกเรา”

อ่านเพิ่ม

30 มีนาคม 2547

แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

บังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ครั้งแรกในสมัยไทยรักไทย มุ่งรักษาผลประโยชน์ ปกป้องสวัสดิภาพเด็ก และสร้างบรรทัดฐานในการคุ้มครองชีวิตของเด็ก

อ่านเพิ่ม

เมษายน

1 เมษายน 2547

เริ่มใช้สามสิบบาทรักษาทุกโรค

'30 บาท รักษาทุกโรค เริ่มนำร่อง 6 จังหวัด ครอบคลุมประชาชนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพจำนวน 1.39 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 37.37 ของประชากรใน 6 จังหวัด

อ่านต่อ

2 เมษายน 2549

เลือกตั้งโมฆะ

 หลังทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภาคืนอำนาจการตัดสินใจให้ประชาชน ได้จัดให้มีการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ขึ้น แต่การเลือกตั้งในวันนั้นถูกขัดขวาง ก่อนจะถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกครั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ

อ่านเพิ่ม

12-14 เมษายน 2552

สงกรานต์เลือด

'สงกรานต์เลือด' เมษายน 2552 เหตุการณ์ตั้งต้นที่นำไปสู่ความรุนแรงที่รัฐกระทำกับประชาชน ปฐมบทการกดปราบประชาชนด้วยอาวุธและกระสุนจริงในห้วงวิกฤตความขัดแย้ง บทเรียนสำคัญการใช้อำนาจรัฐเพื่อเบี่ยงเบนประเด็น สร้างภาพความรุนแรงให้กับประชาชนที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย 

อ่านเพิ่ม

22 เมษายน 2546

คอมพิวเตอร์ เอื้ออาทร

‘คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร’ ในรัฐบาลไทยรักไทยสมัยที่ 1 มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีในราคาจับต้องได้ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่จะได้มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้ และกระตุ้นวงจรการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงในระดับประเทศ

อ่านเพิ่ม

29 เมษายน 2556

ปาฐกถา ยิ่งลักษณ์​ที่มองโกเลีย

ปาฐกถาพิเศษของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ มองโกเลีย สะท้อนบริบทประชาธิปไตยไทย ที่แต่ละก้าวของการต่อสู้ล้วนต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชน อีกหนึ่งปาฐกถาที่ทรงพลังเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยภาคประชาชน

อ่านเพิ่ม

พฤษภาคม

8 พฤษภาคม 2549

ศาลสั่งให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ เพราะคูหาไม่ปิดลับ และการกำหนดวันเลือกตั้งไม่ถูกต้อง ขณะที่ กกต. ที่จัดการเลือกตั้ง 3 คน ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการยื่นฟ้องร้อง กกต. ต่อศาลอาญา ซึ่งต่อมาได้มีคำพิพากษาจำคุกโดยไม่รอลงอาญา กกต. ทั้ง 3 คน

อ่านต่อ

12 พฤษภาคม 2553

พฤษภาเลือด

ประกาศ 'พื้นที่กระสุนจริง' และนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาเลือด 2553 อย่างเป็นทางการ ศอฉ. นับหนึ่งมาตรการปิดล้อมราชประสงค์เต็มรูปแบบ ตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดสัญญาณโทรศัพท์ ห้ามบินเหนือพื้นที่ ใช้อาวุธสงคราม กระสุนจริงและสไนเปอร์ ปฏิบัติการล้อมปราบประชาชนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

อ่านต่อ

16 พฤษภาคม 2554

เปิดตัวยิ่งลักษณ์

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดตัวในสนามการเมือง ใช้เวลาเพียง 49 วันในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่นายกหญิงคนแรกของประเทศไทย

อ่านต่อ

19 พฤษภาคม 2553

สังหารหมู่ประชาชน

19 พฤษภาคม 2553 สังหารหมู่ประชาชน อาชญากรรมครั้งใหญ่โดยรัฐ กลางกรุงเทพมหานคร ภาพการใช้กำลังทหาร อาวุธสงคราม กระสุนจริงและรถหุ้มเกราะเคลื่อนพลเข้าสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนด้วยความรุนแรงยังคงติดตรึงในความทรงจำของหลายคน

อ่านต่อ

22 พฤษภาคม 2557

ประยุทธ์รัฐประหาร

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก นำกำลังทหารทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จุดเริ่มต้นประเทศต้องถอยหลังครั้งสำคัญ

อ่านต่อ

27 พฤษภาคม 2545

มหกรรม OTOP

OTOP หนึ่งในเครื่องมือฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยรัฐบาลไทยรักไทยที่สร้างผลกระทบกับภาคธุรกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน OTOP ได้ยกระดับชีวิตประชาชนที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมและสามารถดำเนินการได้นานกว่าสองทศวรรษ

อ่านต่อ

30 พฤษภาคม 2550

ยุบพรรคไทยรักไทย

ตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร คมช. อ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย

อ่านต่อ

มิถุนายน

30 มิถุนายน 2556

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหญิงคนแรก

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหญิงคนแรกของประเทศไทย ซึ่งการดำรงตำแหน่งครั้งนี้ยังแสดงถึงความพยายามถ่วงดุลอำนาจการเมืองกับบรรดาบิ๊กทหาร

อ่านต่อ

กรกฎาคม

3 กรกฎาคม 2554

พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าเพียง 49 วันหลังเปิดตัว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สู้ศึกเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน 15,744,190 เสียง ส่งผลให้มี ส.ส. ในสภา 265 คน การกระทรวงกลาโหมหญิงคนแรกของประเทศไทย ซึ่งการดำรงตำแหน่งครั้งนี้ยังแสดงถึงความพยายามถ่วงดุลอำนาจการเมืองกับบรรดาบิ๊กทหาร

อ่านต่อ

14 กรกฎาคม 2541

เปิดตัวพรรคไทยรักไทย

หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ทักษิณ ชินวัตร ได้ระดมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาต่างๆ เข้ามาร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมือง 'ไทยรักไทย' นับเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกภายใต้กฎเกณฑ์ทางการเมืองใหม่

อ่านต่อ

25 กรกฎาคม 2544

เปิดตัวกองทุนหมู่บ้าน

 'กองทุนหมู่บ้าน' หนึ่งในนโยบายหลักที่พรรคไทยรักไทยใช้สู้ในศึกเลือกตั้งปี 2544 และในวันที่ 25 กรกฏาคม 2544 ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นประธานในพิธีโอนเงินกองทุนหมู่บ้านล็อตแรก 7,125 ล้านบาท ใน 64 จังหวัด ให้กับประชาชนโดยตรง

อ่านต่อ

28 กรกฎาคม 2548

ถุงรับขวัญ

‘ถุงรับขวัญ’ คือหนึ่งในโปรเจกต์ของสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) ที่ต้องการ ‘พัฒนาการเรียนรู้’ ของเด็กไทยบนพื้นฐานของสมอง (Brain Based Learning)

อ่านต่อ

25 กรกฎาคม 2555

กองทุนพัฒนาสตรี

'กองทุนสตรี' หนึ่งในนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สนับสนุนบทบาทสตรีไทยให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างเสมอภาค ปกป้องสิทธิสตรี ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองสตรีจากความรุนแรงในครอบครัว และการดึงศักยภาพสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

อ่านต่อ

สิงหาคม

1 สิงหาคม 2546

หวยบนดินงวดแรก

การออกรางวัลสลาก ‘หวยบนดิน’ งวดแรก จุดประสงค์เพื่อนำเงินผิดกฎหมายจากหวยใต้ดินมาอยู่บนดิน ตัดวงจรเงินมืด ล้างบางกลุ่มอิทธิพลเบื้องหลังหวย และนำรายได้ไปสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติ ผ่านหลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOS)

อ่านต่อ

14 สิงหาคม 2546

ก่อตั้ง ไปรษณีย์ไทย จำกัด

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 'ไปรษณีย์ไทย' จากรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนทุกปีสู่การบริหารให้มีกำไร และเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยดังปรากฏในปัจจุบัน

อ่านต่อ

23 สิงหาคม 2554

ยิ่งลักษณ์แถลงนโยบาย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และ (2) นโยบายตลอดระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล

อ่านต่อ

25 สิงหาคม 2554

ยิ่งลักษณ์ติดอันดับสตรีทรงอิทธิพลของโลก

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดอันดับ TOP 100 สตรีทรงอิทธิพลของโลก (The Most Powerful Women) จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ประจำปี 2011

อ่านต่อ

กันยายน

ตุลาคม

8 ตุลาคม 2554

ตั้ง ศปภ. วอร์รูมน้ำ

ประกาศจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) หรือ ‘วอร์รูมน้ำ’ เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดการวิกฤตน้ำท่วม ระดมทุกสรรพกำลังลงมาแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเร่งด่วน และเป็นศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่สนามบินดอนเมือง เปิดตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด

อ่านต่อ

11 ตุลาคม 2540

รัฐธรรมนูญ 2540

'รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน' หรือ รัฐธรรมนูญ 2540 ประกาศใช้เป็นวันแรก หมุดหมายสำคัญความหวังใหม่ของการเมืองไทย เมื่อประชาชนเจ้าของประเทศได้ร่วมกันกำหนดกติกาบ้านเมือง และวางกรอบให้ประเทศเดินหน้าไปอย่างที่มุ่งหวัง

อ่านต่อ

21 ตุลาคม 2546

APEC Summit

ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Summit ครั้งที่ 15 โดยมีเหล่าบรรดาผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจทั่วโลกเข้าร่วม ส่งผลให้ไทยเป็นที่จับตามองในระดับนานาชาติ รวมถึงเป็นเวทีใหญ่ระดับนานาชาติครั้งแรกของประเทศไทย หลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และการแพร่ระบาดโรคซาร์

อ่านต่อ

พฤศจิกายน

13 พฤศจิกายน 2555

ยิ่งลักษณ์พบควีนเอลิซาเบธ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าเฝ้าฯ ระหว่างยิ่งลักษณเยือนประเทศอังกฤษตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ครบรอบ 400 ปีระหว่างไทย - อังกฤษ

อ่านต่อ

14 พฤศจิกายน 2548

เปิด TCDC พัฒนาเศรษฐกิจ

เปิดตัว TCDC ใต้แนวคิดว่า 'ความคิดสร้างสรรค์เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนา' องค์ความรู้ด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ บ่มเพาะแรงบันดาลใจให้ประชาชน ผู้ประกอบการ นักศึกษา สร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงองค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างเศรษฐกิจไทยไปถึงระดับฐานราก จน ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ (Creative Economy)

อ่านต่อ

17 พฤศจิกายน 2547

ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ MCOT

แปรรูปรัฐวิสาหกิจ บมจ. อสมท ได้กระจายหุ้นสู่มหาชนเป็นครั้งแรกในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป้าหมายคือ การสร้างสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ MCOT TV ให้เป็นโกลบอลเน็ตเวิร์กทีวี และเป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารในภูมิภาคเอเชีย เทียบเคียงสิงคโปร์

อ่านต่อ

18 พฤศจิกายน 2555

โอบามาพบยิ่งลักษณ์

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา พบ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระหว่างเดินทางทัวร์เอเชียครั้งแรกของโอบามา หลังจากชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 สะท้อนเวทีโลกยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

อ่านต่อ

19 พฤศจิกายน 2545

ประกาศใช้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ประกาศใช้ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ในการบริหารระบบการจัดการโครงการ '30 บาทรักษาทุกโรค' รวมถึงการกำหนด และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้ประชาชนให้ได้รับบริการอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อ

6 กันยายน 2545

19 ปี มหกรรมสุราไทย

'มหกรรมสุราไทย' เพื่อกระตุ้นการบริโภคสุราไทยและพัฒนาการผลิตสุราแช่ให้มีมาตรฐาน นโยบาย 'สุราเสรี' เกิดจากการกดดันของเกษตรกรในภาคเหนือและอีสาน ให้รัฐบาลออกกฎหมายรองรับการผลิตสุราพื้นบ้าน หรือ ‘สุราเถื่อน’ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตรทั้ง ข้าว

อ่านต่อ

19 กันยายน 2549

15 ปี รัฐประหาร 2549

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือการรัฐประหารอีกครั้งในรอบ 15 ปี นับจากปี 2534 ถือเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤตการเมือง และการทำลายประชาธิปไตยครั้งใหญ่

อ่านต่อ

26 กันยายน 2546

‘สร้างอนาคตไทย 2020’ ความฝันของประชาชนที่ถูกทำลาย

ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หนึ่งในนโยบายที่ได้รับการจับตามองมากที่สุด คือ ‘รถไฟฟ้าความเร็วสูง’ นโยบายการพัฒนาโครงสร้างคมนาคมพื้นฐานขนาดใหญ่ การขนส่งทางราง และระบบรถไฟทางคู่เชื่อมชานเมืองหัวเมือง

ผ่านไปหนึ่งปีเศษ หลังจากฝ่าฟันวิกฤตน้ำท่วมและฟื้นเศรษฐกิจ ต้นปี 2556 ครม. ยิ่งลักษณ์มีมติยกร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือที่เรียกว่า “ร่าง พ.ร.บ. สองล้านล้านบาท”

 

อ่านต่อ

25 กันยายน 2546

หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน

เปิดตัวโครงการ 'หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน' (Lab School Project) ยืนยันการศึกษาต้องถูกบริการให้ทั่วถึง มีคุณภาพและใกล้บ้าน ใต้ปรัชญา 'ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นบุคคลเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีความเป็นไทยและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข'

อ่านต่อ

28 กันยายน 2546

เปิดตัวสนามบินสุวรรณภูมิ

เปิดตัวสนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการ แต่หนึ่งในผู้ผลักดันให้สร้างสนามบินจนสำเร็จอย่างทักษิณ ชินวัตร ไม่มีโอกาสได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในวันเปิดตัวเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

อ่านต่อ