2568โอกาสไทยทำได้จริง

แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ครบวงจร

HIGHLIGHT

  • ออกมาตรการลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง
  • ร่วมมือทุกภาคส่วน ควบคุมเผาในภาคการเกษตร, การปล่อยควันและไอเสียของรถยนต์ , ควบคุมปริมาณฝุ่นควันจากภาคอุตสาหกรรม และ ผลักดัน พ.ร.บ. อากาศสะอาด ให้เป็นจริง 
  • KPI ของรัฐบาล คือฝุ่น PM 2.5 จะต้องมีปัญหาน้อยลงในทุกปี ทั้งในแง่ปริมาณฝุ่นและจำนวนพี่น้องประชาชนที่ป่วยจากฝุ่น ต้องลดลง
 

ฝุ่น PM 2.5 อีกหนึ่งปัญหาที่รัฐบาลไม่เคยละเลยและวางแผนแก้ไขอย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้ฝุ่นพิษกลับมาวนเวียนอยู่กับคนไทยอีก ในทศวรรษที่ผ่านมา มลพิษร้ายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะวางรากฐานระยะยาวให้คนไทยได้มีอากาศบริสุทธิ์และสุขภาพที่ดี 

 

นายกรัฐมนตรีได้ประกาศ KPI ของรัฐบาล ว่า ฝุ่น PM 2.5 จะต้องมีปัญหาน้อยลงในทุกปี ทั้งในแง่ปริมาณฝุ่นและจำนวนพี่น้องประชาชนที่ป่วยจากฝุ่น ต้องลดลง

 

ตั้งแต่การจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มีมาตรการ ‘ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (Clear Sky Strategy)’ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง มีการดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมการเผาไร่ และพยายามให้เกิดขึ้นในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น รวมถึงการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านให้ลดการเผาทั้งจากอุตสาหกรรม และการเกษตร รวมทั้งการผลักดันการออกกฎหมาย เป็น พ.ร.บ. อากาศสะอาด ที่อยู่ในขั้นตอนทบทวนข้อกฎหมาย และเตรียมเสนอพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

 

โดยมีรัฐบาลแพทองธาร ได้ดำเนินการต่อเนื่อง โดยได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำโดยนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมหารือกับทางกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งกำหนดมาตรการในการป้องกันมลพิษทางอากาศ ทั้งจากการเผาในภาคการเกษตร ควันและไอเสียของรถยนต์ และฝุ่นควันจากภาคอุตสาหกรรม เช่น มาตรการไม่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เช่น อ้อย ข้าวโพด ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่ใช้การเผา

 

จากมาตรการการเอาจริงเอาจังที่ผ่านมา ทำให้ปัญหาฝุ่นควันและปริมาณคนป่วยจากฝุ่นพิษ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่นั้น จุด Hot spot และพื้นที่เผาไหม้ลดลงจากปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 50% และแนวโน้มสถานการณ์ปี 2568 จึงมีแนวโน้มไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับปี 2566 

 

ขณะที่ในส่วนของ กทม. มีการสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการป้องกันปัญหา PM 2.5 โดยจำนวนวันที่ตรวจพบ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2566 นั้นลดลงเกือบ 20%