“อุบลศักดิ์” เรียกร้อง “ณัฏฐพล” กระจายอำนาจให้สถาบันอาชีวศึกษา เลิกล้วงลูกแต่งตั้งผู้บริหารตามอำเภอใจ
นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย อภิปรายญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ประเด็น การกระจายอำนาจทางการศึกษา ในกำกับของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยนายอุบลศักดิ์ อภิปรายว่า วันนี้นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ไม่สามารถบริหารอาชีวศึกษาให้ประสบความสำเร็จได้ ทั้งที่มีพระราชบัญญัติอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 รองรับ มีแนวทางปฏิบัติระบุไว้ในกฎหมายฉบับนี้อย่างชัดเจน แต่การบริหารงานสถาบันอาชีวะทั้ง 426 แห่ง ยังพบว่ามีรัฐมนตรีลงไปล้วงลูกการแต่งตั้งผู้บริหาร ตลอดจนถึงการคัดเลือกบุคคลไม่มีคุณสมบัติผ่านการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)
นายอุบลศักดิ์ อภิปรายว่า สถาบันอาชีวะมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับการแต่งตั้งผู้บริหารสถาบัน ตลอดจนถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ซึ่งที่ผ่านมา นายณัฏฐพล ละเลยไม่แต่งตั้งบอร์ดชุดดังกล่าวมากว่า 3 ปี ส่งผลให้การพิจารณาอนุมัติหลักสูตรต่างๆ ทำได้ล่าช้าจนได้รับเสียงสะท้อนจากเพื่อนครูอาชีวะว่า การขับเคลื่อนงานดำเนินไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร จากนั้นในเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว นายณัฏฐพลก็รีบคัดเลือกคณะกรรมการการอาชีวศึกษาชุดใหม่ เลือกคนที่มีคุณสมบัติ ไม่เหมาะสมขึ้นมาเป็นคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สร้างความไม่น่าเชื่อถือให้กับคนในวงการอาชีวะ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการล้วงลูกการบริหารงาน มีการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานที่เสี่ยงต่อการละเมิดระเบียบการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนถึงการปรับโครงสร้างภายในองค์การค้าคุรุสภา คำสั่งเลิกจ้างพนักงานโดยอ้างว่าองค์การค้าคุรุสภาขาดทุนไล่พนักงานออก แต่จริงๆแล้ว น่าจะมีเจตนาซ่อนเร้น เพราะพื้นที่โรงพิมพ์คุรุสภา มีขนาด 52 ไร่ มูลค่าไร่ละ 100 ล้านบาท ทั้งแปลงจึงมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท เขาต้องการเอาโรงพิมพ์ลาดพร้าวย้ายออกไปอยู่ที่อื่น เพราะต้องการขายที่ดินหรือแปลงให้เป็นคอมเพล็กซ์ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนในองค์กร
“ถ้าจะบอกว่า อาชีวะสร้างชาติ แต่ถามว่าชาติไหน อยากบอกว่ายังอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ ชาติหน้าก็สร้างไม่ได้ ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีได้ปฏิบัติตามกฎหมาย กระจายอำนาจให้สถาบันอาชีวศึกษาได้บริหารตนเองได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ต่อไป” นายอุบลศักดิ์ กล่าว
นายอุบลศักดิ์ อภิปรายว่า สถาบันอาชีวะมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับการแต่งตั้งผู้บริหารสถาบัน ตลอดจนถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ซึ่งที่ผ่านมา นายณัฏฐพล ละเลยไม่แต่งตั้งบอร์ดชุดดังกล่าวมากว่า 3 ปี ส่งผลให้การพิจารณาอนุมัติหลักสูตรต่างๆ ทำได้ล่าช้าจนได้รับเสียงสะท้อนจากเพื่อนครูอาชีวะว่า การขับเคลื่อนงานดำเนินไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร จากนั้นในเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว นายณัฏฐพลก็รีบคัดเลือกคณะกรรมการการอาชีวศึกษาชุดใหม่ เลือกคนที่มีคุณสมบัติ ไม่เหมาะสมขึ้นมาเป็นคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สร้างความไม่น่าเชื่อถือให้กับคนในวงการอาชีวะ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการล้วงลูกการบริหารงาน มีการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานที่เสี่ยงต่อการละเมิดระเบียบการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนถึงการปรับโครงสร้างภายในองค์การค้าคุรุสภา คำสั่งเลิกจ้างพนักงานโดยอ้างว่าองค์การค้าคุรุสภาขาดทุนไล่พนักงานออก แต่จริงๆแล้ว น่าจะมีเจตนาซ่อนเร้น เพราะพื้นที่โรงพิมพ์คุรุสภา มีขนาด 52 ไร่ มูลค่าไร่ละ 100 ล้านบาท ทั้งแปลงจึงมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท เขาต้องการเอาโรงพิมพ์ลาดพร้าวย้ายออกไปอยู่ที่อื่น เพราะต้องการขายที่ดินหรือแปลงให้เป็นคอมเพล็กซ์ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนในองค์กร
“ถ้าจะบอกว่า อาชีวะสร้างชาติ แต่ถามว่าชาติไหน อยากบอกว่ายังอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ ชาติหน้าก็สร้างไม่ได้ ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีได้ปฏิบัติตามกฎหมาย กระจายอำนาจให้สถาบันอาชีวศึกษาได้บริหารตนเองได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ต่อไป” นายอุบลศักดิ์ กล่าว