‘ฝ่ายค้าน’ เล็งชำแหละ ‘นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี’ รายคน ขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจ เตรียมยื่นญัตติฯ หลังกฎหมายลูก 2 ฉบับผ่านวาระ 3
26 เมษายน 2565 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมาและเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการประชุมแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า ที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายภูมิธรรม เวชยชัย กรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ คณะทำงานผู้นำฝ่ายค้าน นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคามและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายวิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย นางสาวเกศปรียา แก้วแสนเมืองตัวแทนพรรคเพื่อชาติ นายสุพจน์ อาวาส ตัวแทนพรรคประชาชาติ และ ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการที่ประชุม ได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 โดยที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันในกรอบเนื้อหาการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นประเด็นดังนี้ 1. เนื้อหามุ่งเน้นไปที่ความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 2. จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฏหมาย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม 3. การทุจริตต่อหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง 4. ไม่ปฎิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา 5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ 6. การทำลายประชาธิปไตย และระบบรัฐสภา
.
นายประเสริฐ กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นร่วมกันว่า การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ เป็นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งขณะนี้แต่ละพรรคได้รวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมทั้งประเด็นการอภิปราย เอกสารและหลักฐานเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการยื่นญัตติให้เร็วที่สุด ซึ่งเวลาที่เหมาะสมคือ ภายหลังจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ในวาระที่ 3 แล้ว เนื่องจากเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายสำหรับใช้ในการเลือกตั้งเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจยุบสภาหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะหากการยุบสภาเกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับจะแล้วเสร็จ อาจทำให้เกิดทางตันหรือเดดล็อกทางการเมือง โดยที่ประชุมก็ได้มอบหมายให้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ยกร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เพื่อนำเสนอที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านเพื่อพิจารณาต่อไป //
26 เมษายน 2565 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมาและเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการประชุมแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า ที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายภูมิธรรม เวชยชัย กรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ คณะทำงานผู้นำฝ่ายค้าน นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคามและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายวิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย นางสาวเกศปรียา แก้วแสนเมืองตัวแทนพรรคเพื่อชาติ นายสุพจน์ อาวาส ตัวแทนพรรคประชาชาติ และ ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการที่ประชุม ได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 โดยที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันในกรอบเนื้อหาการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นประเด็นดังนี้ 1. เนื้อหามุ่งเน้นไปที่ความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 2. จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฏหมาย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม 3. การทุจริตต่อหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง 4. ไม่ปฎิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา 5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ 6. การทำลายประชาธิปไตย และระบบรัฐสภา
.
นายประเสริฐ กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นร่วมกันว่า การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ เป็นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งขณะนี้แต่ละพรรคได้รวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมทั้งประเด็นการอภิปราย เอกสารและหลักฐานเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการยื่นญัตติให้เร็วที่สุด ซึ่งเวลาที่เหมาะสมคือ ภายหลังจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ในวาระที่ 3 แล้ว เนื่องจากเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายสำหรับใช้ในการเลือกตั้งเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจยุบสภาหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะหากการยุบสภาเกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับจะแล้วเสร็จ อาจทำให้เกิดทางตันหรือเดดล็อกทางการเมือง โดยที่ประชุมก็ได้มอบหมายให้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ยกร่างญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เพื่อนำเสนอที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านเพื่อพิจารณาต่อไป