‘สมศักดิ์ เทพสุทิน’ รมว.สาธารณสุข เผยมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 เน้นให้แพทย์ลงพื้นที่ดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยให้ อสม ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด รวมถึงติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องเพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานรัฐนำร่องทำงานที่บ้าน (WFH) ในที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล “นายสมศักดิ์ เทพสุทิน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ว่า ขณะมีสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรง ซึ่งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขที่มีคณะกรรมการควมคุบโรคจากการประกอบอาชีพ และโรคจากสิ่งแวดล้อม โดยมีตนเองเป็นประธาน และจะมีการนัดประชุมในวันพรุ่งนี้ (22 ม.ค.) เพื่อหามาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 เพื่อนำมาตรการดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์ถัดไป คือ วันที่ 28 ม.ค. โดยมีข้อเสนอสำคัญคือ ให้ Work From Home (WFH) หรือการทำงานที่บ้านทั่วประเทศ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ มีหลักพิง ที่ให้หน่วยงานรัฐ สามารถตัดสินใจว่า จะให้ทำงานที่บ้านหรือไม่ บนหลักข้อเท็จจริง เพราะที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ไม่กล้าตัดสินใจ ซึ่งเชื่อว่า หากภาครัฐทำเป็นตัวอย่างแล้ว ภาคเอกชนก็จะปฏิบัติตามมา
.
ทั้งนี้ จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา หากมีค่าฝุ่น pm2.5 เพิ่มขึ้นจาก 37.5 ไมโครกรัม และเพิ่มขึ้นอีก 10 ไมโครกรัม เป็นระยะเวลานาน จะทำให้คนมีอายุสั้นลงปีเศษ ๆ หรือ 1.03 ปี และเชื่อว่า สถานการณ์ปีนี้จะยังคงรุนแรง ฝากให้ประชาชนสวมใส่หน้าอนามัย N95 ป้องกันฝุ่นควบคู่ไปด้วย
.
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน “รมว.สาธารณสุข” เปิดเผยอีกว่า เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงขอแจ้งมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ดังนี้
.
1.ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุขกรณีหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประจำปี 2568 เตรียมความพร้อม และดำเนินการตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 2172/2567 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2567 อย่างเคร่งครัด
.
2.เร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก และสร้างความรอบรู้เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ฝุ่นละออง PM2.5) ให้กับประชาชนได้รับทราบ โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพ และการป้องกันตนเองจากภาวะฝุ่น PM 2.5 รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสื่อสารให้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น
.
3.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จัดทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ลงพื้นที่ดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดูแลประชาชนในพื้นที่
.
4.ขยายบริการด้านการแพทย์สาธารณสุขให้ครอบคลุม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบสูง โดยเพิ่มบริการห้องปลอดฝุ่น และมุ้งสู้ฝุ่น รวมทั้งจัดตั้งคลินิก PM 2.5 การให้คำปรึกษาออนไลน์ในช่องทางต่างๆ
.
5.ให้สนับสนุนอุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น หน้ากากอนามัย น้ำเกลือ กระบอกฉีดยาสำหรับล้างจมูก จึงขอให้แจ้งหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติต่อไป
.
#พรรคเพื่อไทย #WFH #PM2.5
.
ที่มา : https://www.nationtv.tv/politic/378954763#google_vignette