นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรในวาระ การประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจ มาตรา 151 ระบุว่า เวลานี้ยอมรับว่าเศรษฐกิจไม่ดีจริงๆ เพราะ GDP เติบโตแค่ 1.9 เปอร์เซ็นต์มาเป็นเวลายาวนาน

แต่สาเหตุที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้เกิดจาก พื้นฐานโครงสร้างการลงทุน พื้นฐานความพร้อมในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าดีเพื่อการส่งออก ซึ่งเรื่องนี้ไม่สามารถที่จะแก้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือครึ่งปีได้  อย่างไรก็ตาม หากมองปีที่ผ่านมา จีดีพีขยายตัวได้ 2.5% ก็ถือว่าโตขึ้นมากว่า 30% และปีนี้รัฐบาลวางเป้าจะผลักดันให้โตได้ไม่ต่ำกว่า 3% จะเป็นการเติบโตขึ้นไปอีก 20%

.

ในเรื่องการเกษตร ยอมรับว่า เรามีการส่งออกข้าวจำนวนมาก เคยมีการส่งออกที่มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ แต่ราคาที่เราส่งออกเกือบจะเสมอกับต้นทุน ในข้าวบางพันธุ์ หมายความว่า เรากำลังส่งออกในสิ่งที่เราไม่มีกำไรเหลือเลย ย้อนไป 10  ที่แล้วเราเคยผลิตข้าวสารได้ 21 ล้านตัน บริโภคแค่ 9 ล้านตัน ส่งออก 12 ตัน  ถ้าราคาที่ส่งออกเสมอต้นทุน หรือเท่ากับต้นทุน เท่ากับว่าเราทำงานฟรี ขณะที่เวลานี้เรามีการผลิตข้าวทั้งหมด 17 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 11 ล้านตัน และส่งออก 6 ล้านตัน โดยที่ไม่มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 

.

โจทย์คือ เราจะส่งออกข้าวที่มีต้นยทุนสูงไปทำไม สิ่งที่เราต้องทำอย่างแรกคือ การใช้พื้นที่ปลูกข้าวให้น้อยลง และนำพื้นที่เหล่านั้นไปทำอย่างอื่นในส่วนที่เรายังขาดอยู่ ในส่วนของข้าวหากเราตั้งเป้าว่าจะผลิตให้ได้ประมาณ 14 ล้านตัน ลดการผลิตลงไป 3 ล้านตัน จะคำนวนออกมาเป็นพื้นที่ปลูกที่เหลือว่างอยู่ประมาณ 12 ล้านไร่ โจทย์ต่อไปคือ การคิดว่าจะเอาพื้นที่ตรงนี้ไปทำอะไร ดีที่สุดคือการไปดูว่ามีสิ่งไหนที่เรายังต้องนำเข้า เราก็ควรหันมาผลิตเอง โดยพิจารณาดูว่า สิ่งนั้นเมื่อปลูกเองแล้ว ต้นทุนเราสู้กับต่างประเทศที่นำเข้ามาได้ไหม  เช่น ข้าวโพด หากทำให้ดี จะได้ไร่ละ 15,000-16,000 บาท  ประเด็นเวลานี้คือ จะทำอย่างไรให้คนเข้าใจ แปลว่า รัฐจะต้องเข้าไปดูแลอย่างน้อยต้องมีโครงการ 3-5 ปี เพื่อให้เข้าเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลพยายามทำ 

.

ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวอีก 14 ล้านตัน หรือ 64 ล้านไร่ หากเราสามารถจัดการระบบน้ำได้ดี ในระยะยาว ระยะปานกลาง ผลผลิตต่อไร่ก็จะดีขึ้น เราก็อาจจะสามารถลดพื้นที่ปลูกได้เพิ่มอีก 

.

หมายความว่าในด้านการเกษตร เราต้องดูแลเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก แต่ต้องเลือกส่งออกเฉพาะสิ่งที่มีมูลค่าสูงกว่าต้นทุนการผลิตในประเทศ 

.

นายพิชัย ชี้แจงต่อว่า การลงทุนอุตสาหกรรม จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการลงทุนนับ 10ล้านล้านบาทภายในปีเดียวไม่ได้ เพราะมีการทำกันมา 40-50 ปีแล้ว ดังนั้นเราต้องดูว่า โครงสร้างเก่า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนนี้สามารถที่จะอัพเกรดได้  ซึ่งมีนโยบายรักษาแพลตฟอร์มเดิมและปรับเป็นไฮบริดจ์ที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่

.

ด้านการให้บัตรส่งเสริมบีโอไอนั้น ขณะนี้การลงทุนมาจำนวนมาก เกิน 1 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา แต่เรานับเฉพาะการออกใบอนุญาตให้ โดยการลงทุนในปัจจุบันต่างจากอดีต เพราะมีการใช้เครื่องจักรกว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนนาน 3-5 ปี แต่ปัจจุบันตรงกันข้าม สิ่งที่เข้ามาลงทุนต้องการความรวดเร็ว ดังนั้น คาดว่าการเข้ามาลงทุนจะเห็นภายใน 2 ปี

.

ส่วนเรื่องพลังงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยอมรับว่า ราคาพลังงานในบ้านเราค่อนข้างแพง สิ่งที่จะอยู่ในระดับที่เหมาะสม ราคาควรจะอยู่ที่ 3.50 บาทต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ไทยมีต้นทุนโรงไฟฟ้า บวกด้วยค่าเชื้อเพลิง แต่เรามีสมมติฐาน คือ เรามีโรงไฟฟ้าที่สร้างมาเกินอยู่ 15-16% ทำให้ค่าไฟแพง แต่หากการใช้ไฟเพิ่มขึ้นมา เราจะนำกลับมาผลิตไฟ ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่สามารถขายไฟฟ้าได้ 1 หมื่นกว่าเมกะวัตต์

.

“ถ้าถามว่าจะมีดีมานด์ขึ้นมาถึง 1 หมื่นกว่าเมกะวัตต์หรือไม่ ขอเรียนว่า วันนี้ดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่ง รวมถึงไบโอพลาสติกที่จะเข้ามา ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียว 2 เฟส โดยเฟสแรกยอมใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย มีอะไรก็ใช้ไปก่อน 5 ปี และจากนั้นจะไปใช้ไฟฟ้าสีเขียว ในเฟส 2 จากการผลิตเอง และจ่ายค่าสายส่งให้กับเรา และสุดท้ายการที่ค่าไฟฟ้าฟ้าจะราคาลดลงต้องเปลี่ยนโครงสร้างค่าไฟ จะเปลี่ยนเป็นชนิดที่ถูกลง ซึ่งไม่สามารถทำได้ทันที”

.

ขณะที่การท่องเที่ยวนั้น ยอมรับว่า จะให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเยอะเหมือนเดิม ถือเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่สิ่งที่จะทำได้ คือ คนที่เข้ามาแล้ว จะต้องทำให้เขาอยู่ให้นานขึ้นได้หรือไม่ และข้อมูลจากสาธารณสุข พบว่ากว่า 3-5 ล้านคน เข้ามาเมืองไทยเพื่อสาธารณสุข เป็นนักท่องเที่ยวที่มีมูลค่า ทั้งนี้ การที่จะทำให้อยู่นานต้องมีอะไรที่น่าอยู่ เราจะต้องมีรายการต่างๆ เหล่านี้

.

ทั้งนี้ ไทยต้องมีเครื่องจักร ซึ่งอย่างน้อยจะเกิดขึ้นภายใน 3-5 ปี จากการเพิ่มรถไฟรางคู่ โดยการขนส่งเราเตรียมตัวมาแล้วหลายปี รวมถึงรถไฟความเร็วสูง ที่เชื่อมต่อตั้งแต่ฝั่งลาว ไปทางใต้ ส่งออกไปอันดามัน จะเป็นทั้งการส่งออก และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ โดยเราจะเป็นทางเลือกทางเดียวที่ออกได้หากมีการกระทบกระทั่งของ 2 ประเทศมหาอำนาจ

.

นายพิชัย กล่าวต่อว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ ตนไม่อยากเรียกว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ต้องเติมเม็ดเงินเข้าไปในระบบ วันนี้หนี้ถึงระดับที่ทุกคนรับไม่ไหว การสเตเบิลคอยน์ต้องใช้ระวัง ทั้งนี้ ตามกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลังไม่สามารถพิมพ์เงินใหม่เพื่อแข่งกับธปท. ได้ แต่ที่ต้องทำเพื่อให้มีสภาพคล่อง และเข้าถึงรายย่อยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นจีโทเคน ไม่ใช่เงินใหม่ ซึ่งใครมีสามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนได้ หากเป็นแบบนี้ใครที่เงินฝาก 20,000 บาทสามารถซื้อธนบัตรรัฐบาลได้ ทั้งนี้ ธปท.ยังไม่เห็นด้วย

.

นายพิชัย ชี้แจงด้วยว่า สำหรับการแก้หนี้ ปกติขั้นตอนทั่วไปต้องขอยืดหนี้ให้น้อยลง ยาวขึ้น ซึ่งทำได้เฉพาะคนที่มีกำลัง ทั้งนี้ เป็นข้อเท็จจริงของการแก้หนี้ให้คนที่มีหนี้ไม่เยอะ เงินที่ช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ ใช้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง สำหรับหนี้ที่มี 13.6ล้านล้านบาท ไม่คิดว่าซื้อหนี้ทั้งระบบ เพราะไม่มีปัญญา

.

ในจำนวนดังกล่าวมีหนี้ที่ไม่เสียปนอยู่ จำนวน 6 ล้านล้านบาท โดยจะไม่เลือกกลุ่มที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้เจรจากัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ขนาดใหญ่ มีหลักทรัยพ์ค้ำประกัน แต่จะเลือกหนี้เสียรายย่อยประมาณ 3 ล้านคน วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท

.

“หนี้ที่มีปัญหา คือ 3 ล้านคน มีหนี้ติดอยู่ 1.2แสนล้านบาท ด้วยเงินนิดเดียวทำให้คนมีความทุกข์ ซึ่งจะทำให้หาทางละเว้นเอ็นซีบี เฉพาะกลุ่มมีรหัสพิเศษ หากหลุดพ้นต้องหาทางกู้ใหม่ คือการให้โอกาส ส่วนจะได้กู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ วันนี้ให้ธนาคารออมสินนำร่องโดยใช้เงิน 4,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยน้อยพบว่า เปิดได้ 3 วัน มีเข้ามา 4.5 แสนบัญชี หากควบคุมได้กำกับดีจะช่วยแก้ปัญหาตัวเล็กๆ ได้” นายพิชัย ชี้แจง

.

#พรรคเพื่อไทย #อภิปรายไม่ไว้วางใจ #เศรษฐกิจ #GDP