คำต่อคำ : กรณี พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน ในรายการ เจาะข่าวเด่น ตอนที่ 1
00 รู้สึกอย่างไรที่ พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านถูกล้ม?
ก็เสียดายเวลานะครับ เพราะว่ากระบวนการในการที่ เราได้ทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะยิ่งทางกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงการคลัง ในการสรุปความต้องการในการลงทุน มีความจำเป็น ก็ มีความเห็นตรงกันว่ามีจำนวนที่มาก แล้วก็เคยปรากฎเป็นตัวเลข มากถึง 4.2 ล้านล้าน แต่ว่าด้วยกรอบวินัยการคลังที่เราต้องการที่จะเข้มงวด การลงทุนในกรอบระยะเวลา 7 ปี จึงไม่ควรเกินยอด 2 ล้านล้าน ถ้วนๆ แล้วก็ในเรื่องของการที่จะได้วางแผนนำโครงการต่างๆ มาร้อยเรียงให้เห็นเป็นที่ชัดเจน ในหมู่สาธารณะชนทั่วไป นะครับ แล้วก็จะได้วิเคราะห์กันว่าการที่ระบบคมนาคมขนส่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นถนน เป็นทางราง หรือเป็นทางน้ำ เมื่อประกอบกันเข้าแล้วจะมีความสมบูรณ์ที่จะทำให้การบริหารต้นทุนในการขนส่งและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่จะใช้การเดินทางนั้นดีขึ้น ดังนั้น ผมถึงเรียนว่า เสียดายเวลา เพราะว่าถ้าหากกฎหมายฉบับนี้ผ่านไปได้ เราก็จะสามารถได้เริ่มการลงทุนได้ เอาจริงตั้งแต่ปีปฎิทิน 2557 ก็น่าจะสามารถดำเนินการได้เลย แล้วก็ระยะเวลาที่พูดว่าเจ็ดปีคือถึงสิ้นธันวาคม 2563 เราก็จะมีโครงการต่างๆเหล่านี้ ที่ได้ทำจนเสร็จสมบูรณ์
00 ในสมัยที่ท่านกรณ์เป็นรัฐมนตรีคลัง ได้มีการจัดสรรเงินมากพอสำหรับการลงทุนในระบบรางหรือไม่?
ผมขออนุญาตเรียนอย่างนี้นะครับ (แล้วก็อย่าโกรธนะครับที่ผมพูดว่าคุณกรณ์พูดเมื่อซักครู่
นี้ มีถ้อยคำอันเป็นเท็จ) การที่แผนแม่บท การลงทุนในระบบราง
หรือรถไฟปรกติของท่านกรณ์ มียอดรวม 1.76 แสนล้านบาท
เป็นยอดรวมในแผนแม่บทนะครับ แล้วระยะทางที่ท่านเตรียมจะดำเนินการนั้น มีระยะความยาวเพียง 767 กิโลเมตรเท่านั้น ทั้งๆที่ระบบคมนาคมทางรางของเราเดิมนั้นมีจำนวนรวมกันเกือบ 4 พัน กิโลเมตร แล้วก็การใช้ถ้อยคำว่าจัดสรรงบประมาณจึงไม่ถูกต้อง การที่จะมีการจัดสรรงบประมาณแต่ละปีนั้นเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาแต่ละปี ถ้าคุณกรณ์จำได้ ในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งเป็นปีงบประมาณที่ท่านรับผิดชอบเป็นปีสุดท้าย ท่านจัดให้ทั้งงบประมาณทั้งเงินกู้ มียอดรวมกันเพียง 5 พันล้านบาท เศษๆ เท่ากับร้อยละสาม ของจำนวนเงินลงทุนตามแผนแม่บทที่ท่านได้กำหนดไว้ 1.76 ล้าน ผมจึงเรียนว่าแผนแม่บทของท่านกรณ์ มีความย่อมเยาว์มากเลยนะครับ
ระบบรางที่เราพูดถึง ในเรื่องการทำรางคู่นั้น นอกจากใน 767 กิโลเมตรแล้ว
เรายังจะทำทางคู่อีก 2800 กิโลเมตร แล้วเราจะยังมีเส้นทางรถไฟสายใหม่ คืออีสานตอนใต้ เชียงใหม่-เชียงของ และจุดเชื่อมบริเวณชายแดนอีกด้วย นั้นทั้งหมดที่เราเตรียมไว้คือ 4 แสนล้าน
00 ได้มีการยกเลิกงบประมาณที่เคยถูกจัดสรรไว้เพื่อการลงทุนในระบบรางในสมัยท่านกรณ์หรือไม่?
ไม่มีการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ที่ไปปฏิเสธ หรือว่าไปทำให้งบประมาณที่เคยถูกจัดสรรไว้ เลิกไป เพราะว่ายังไม่เคยได้ถูกจัดสรร (สมัยท่านอภิสิทธิ์ จัดสรรไว้แค่ 5 พันล้าน รวมเงินกู้ด้วย)
ในงบประมาณประจำปี 2555 ซึ่งรัฐบาลนี้มารับผิดชอบตั้งแต่ปีแรก รวมถึงงบประมาณปี 2556 และรวมถึงงบประมาณปี 2557 ซึ่งเรายังใช้อยู่ด้วยในขณะนี้ เราก็ได้มีการอนุมัติงบประมาณ รวมทั้งได้จัดเงินกู้ไว้ในจำนวนที่มากกว่าได้เคยเกิดขึ้น
ในปี 2554 ยอดทั้งหมดสามปีรวมกัน มีจำนวนถึงร้อยละ 15 ของ 1.76 แสนล้าน
เพราะฉะนั้นผมก็เรียนว่า ที่กล่าวหาว่าไม่ได้ทำ จริงๆทำต่อเนื่องนะครับ
ผมเพียงแต่ต้องการเรียนว่า การใช้งบประมาณถึง 4 ปีมาเรียงกัน
แล้วสามารถดำเนินการได้เพียงไม่ถึงร้อยละ 20 ของ 1.76 แสนล้าน นี่คือปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้าเรากำลังพยายามจะทำในระดับของการทำในช่วงที่รัฐบาลท่านกรณ์ได้รับผิดชอบอยู่ จะใช้เวลากี่ปีจึงจะเสร็จ หรือแม่แต่ขนาดเราเพิ่มปริมาณการลงทุนโดยการจัดสรรงบประมาณเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว อีกกี่ปีถึงจะเสร็จ และ 1.76 แสนล้านยังเป็นส่วนหนึ่งเดียวของทั้ง 4 แสนล้าน ที่ควรจะดำเนินการ
ซึ่งจะเพิ่มมาที่เราเคยเพิ่มให้เกินหมื่นล้านที่เราเคยทำก็ได้นะครับ แต่ก็ยังใช้เวลามากอยู่ดี
00 แล้วทำไมในปี 55 และ 56 ไม่มีการเพิ่มงบประมาณ เพราะรัฐบาลสามารถเพิ่มเงินจากระบบงบประมาณมาใช้ลงทุนได้ นอกจากนี้ ทำไมไม่ใช้วิธีปรกติ?
การที่เราจะลงทุน ในเรื่องที่เป็นเรื่องเป็นราว การคมนาคมขนส่งของประเทศ เราพร้อมที่จะแสดงให้ประชาคมโลกรับรู้นะครับว่า การแยกออกไปต่างหาก และเราไม่จำเป็นต้องเป็นโรคขาดดุลงบประมาณเรื้อรัง การเข้าสูมสมดุลในเป้าหมายปีงบประมาณ 2560 ยังทำได้ และการที่เราจะต้องการลงทุนในความต่อเนื่องอันนี้ ไม่จำเป็นจะต้องให้ทั้งประเทศอยู่ในภาวะการขาดดุลงบประมาณเรื้อรัง และทำให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศ ก็ควบคุมได้อยู่ในระดับร้อยละ 50 ซึ่งผมขออนุญาติได้กราบเรียนนะครับว่า เดิมนั้น GDP กับหนี้สาธารณะ สัดส่วนที่เป็นวินัยการคลังอยู่ที่ร้อยละ 50 แต่ท่านรัฐมนตรีกรณ์เป็นผู้ที่เพิ่มเพดานนั้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 จากร้อยละ 50 เป็น 60 ผมก็เดาเอาว่าถ้าเพิ่มตรงนั้นท่านพร้อมจะเห็นสัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึงขนาดนั้น แต่เราเองก็พยายามทำงานด้วยความระมัดระวัง จึงได้นำเสนอตลอดเวลาว่า ไม่ว่าจะดำเนินการด้านการขาดดุลงบประมาณตามแผนที่ว่า แล้วการลงทุนที่ว่านั้น เรายังสามารถควบคุมหนี้สาธารณะต่อ GDP ไว้ที่ร้อยละ 50
การที่รัฐบาลดำเนินการในเรื่องของการบริหารงบประมาณในลักษณะที่ให้มีการขาดดุลงบประมาณน้อยลงนั้น ความจริงก็ดำเนินงานต่อเนื่องมาจากเจตนาที่ดี ของรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์และคุณกรณ์ ท่านถึงขั้นให้ปลัดกระทรวงไปลงนามกับผอ.สำนักงบประมาณว่าจะทำให้การขาดดุลงบประมาณประจำปีลดลงจนเข้าสู่สมดุลในปีงบประมาณ 2560 จากการที่เคยขาดดุลอยู่ปีละ 4 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนั้น GDP ของประเทศอยู่ประมาณ 10 ล้านล้าน ก็เท่ากับ 4% ของ GDP รัฐบาลท่านนายกยิ่งลักษณ์เข้ามา ผมเข้ามา รายรับทั้งหมด เพิ่มขึ้นนะครับ ที่เราจัดเก็บได้แต่ละปี 1.98 ล้านล้าน เราจำเป็นต้องขาดดุลในจำนวนที่เท่ากับเดิม คือ 4 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการที่ใช้เงินคงคลัง ล่วงเลยมาถึงปี 2555 ดังนั้นในส่วนที่เราได้ดำเนินการลดการขาดดุลงบประมาณจาก 4 แสนล้าน ลงในปีงบประมาณ 2556 และลงเป็น 2.5 แสนล้านในปี 2557 นั้น จึงเป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์เดิมของคณะรัฐมนตรีเดิม ของกระทรวงการคลังเดิม
00 การกู้เงินครั้งนี้เป็นการกระทำนอกระบบหรือไม่
เลิกใช้วาทกรรมเงินกู้นอกระบบเสียทีเถิดครับ เพราะคำขอในการที่จะดำเนินการร่างพระราชบัญญัติ เราได้ดำเนินการจากฝ่ายประจำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีสู่สภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา เพราะฉะนั้นการดำเนินการเสนอเป็นกฎหมายพระราชบัญญัตินั้น ไม่มีความเป็นนอกระบบใดๆทั้งสั้น ประการที่สองถ้าให้ผมเพียงแต่วิเคราะห์นะครับ การที่ท่านกรณ์หยิบยกแผนแม่บทการลงทุนระบบรางของการรถไฟ ยอด 1.76 แสนล้าน เป็นตัวตั้ง แล้วก็มาบอกว่าไม่แตกต่างกันกับโครงการของรัฐบาลปัจจุบัน แตกต่างครับ 1.76 แสนล้าน แตกต่างจาก 4 แสนล้านแน่นอน 4 แสนล้านเป็นเงินที่มากกว่าแน่นอน แต่จำนวนระยะทางที่ได้ มีมากขึ้น และรวมทั้งมีการลงทุนในระบบรางใหม่ด้วย อีกประการนี้ผมอยากจะขออนุญาติชี้แจงนะครับ ถ้าหากว่าท่านกรณ์จริงใจกับการที่จะลงทุนในระบบ 1.76 แสนล้าน ด้วยระบบงบประมาณจริงๆ ทำไมการวิเคราะห์การขาดดุลงบประมาณที่ทำล่วงเลยทะลุไปถึง 2556 ในครั้งที่ท่านได้ทำการวิเคราะห์จะกำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้ จึงไม่มีการคำนวนยอดจำนวนที่จะสามารถทำให้เกิดการลงทุนเป็นจริงเป็นจังได้ อย่างไรก็ตามนะครับผมขออนุญาติได้เรียนชี้แจงว่า การที่รัฐบาลนี้มีความจริงใจ เสนอโครงการ มีคำตอบว่าจะหาแหล่งเงินอย่างไร การลงทุนทั้งหมด จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างไร ในระยะเวลาที่มีความต่อเนื่อง การพิจารณาต่างๆ ในขั้นกรรมาธิการ ซึ่งคุณกรณ์ก็เป็นกรรมาธิการร่วมกับผมด้วย ผมไม่เห็นมีความยิ่งหย่อนไปกว่าการพิจารณางบประมาณประจำปี
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=cOx4QV8VK18
17 มีนาคม 2557