สัมภาษณ์พิเศษ: นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เรื่อง เศรษฐกิจดิจิตัล ตอนที่ 2

4.  แนวทางที่ต่างประเทศใช้ในการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิตัลมีโมเดลอย่างไร? มีอะไรที่ประเทศเราสามารถเก็บเอาประสบการณ์ของเขามาใช้ได้บ้าง?

ในมุมมองของผม ประเทศที่ ride digital
wave ได้ดีที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ลองคิดดูนะครับว่าบริษัทที่มีอิทธิพลด้านดิจิทัลกับชีวิตเราในทุกวันนี้
เช่น  Apple Google Facebook หรือ Amazon.com ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่มีก่อตั้งในสหรัฐอเมริกาทั้งนั้น
ทั้ง 4 บริษัทมีมูลค่ารวมมากกว่า GDP ของประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศ
จะสังเกตได้ว่าการเข้ามายุ่งเกี่ยวจากภาครัฐของสหรัฐนั้นน้อยมาก
ภาครัฐเพียงสร้างบรรยากาศ สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจดิจิตัล
และแน่นอนระบบการศึกษาโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษานั้นดีมาก
ทำให้สหรัฐอเมริหาสามารถสร้างคนที่มีคุณภาพ
สามารถสร้างธุรกิจที่เติบโตให้มีขนาดใหญ่ระดับโลกโดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี  สำหรับตัวอย่างวิธีการอื่นของรัฐบาลจากหลายๆประเทศที่นิยมใช้เพื่อผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิตัล
ได้แก่ การเน้นการลงทุนปลอดภาษีในระยะแรก, การอนุญาตให้มีเขตพื้นที่อุตสาหกรรมไอที
ในพื้นที่เมืองชั้นใน, การให้สิทธิ์เรื่องค่าเช่า
และภาษีพนักงาน ฯลฯ

สำหรับแนวทางการพัฒนาในต่างประเทศที่
ผมคิดว่าเป็น  โมเดลอันดับที่ 1 คือ โมเดลการพัฒนาคน
และให้มองคนเป็นทรัพยากรของประเทศเกาหลีใต้ 
เพราะโมเดลนี้ทำให้เราสามารถเห็นการพัฒนาแม้กระทั่งวงการแฟชั่น ภาพยนตร์
ที่เกิดวัฒนธรรมของประเทศ  รัฐ
ต้องเข้ามาช่วยในหลักการคือ รัฐ เป็นคนตัวใหญ่ ที่ มีกำลัง ดังนั้น โมเดลที่เราน่าจะนำมาคิดพัฒนาต่อยอดคือ
Knowledge
Management ( KM ) is power  โดยที่รัฐต้องทำการรวบรวม KM ,  คัดเลือก KM , แนะนำ KM  ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าดี
ส่งถึงมือ พี่น้องประชาชน ในรูปแบบการสนับสนุน การดูแล  เพียงเท่านี้ ประชาชนจะได้รับประโยชน์
ในเรื่องต่าง ๆ จาก KM ที่รัฐจัดทำขึ้นไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหา
Solution ที่ดี โดยที่มีกระบวนการลำดับต่อไป  คือ การสนับสนุน KM ในด้านเงินทุน
การบริหารจัดการ รวมถึง สิ้นสุดที่การขายการบริการ  หาก KM นั้น
เกิดขึ้นภายในประเทศ จากคนไทย เป็นการมอบโอกาส และ รัฐมีความเป็น OWNER ของ KM ที่ผลักดันไปสู่ภาคธุรกิจ อันจะสร้างประโยชน์ให้ประเทศอย่างมากมายมหาศาล

ซึ่งสรุปรวมเอาประสบการณ์ทั้งหมดจากหลาย
ๆ ประเทศคำตอบที่ได้เพื่อนำมาใช้พัฒนา นโยบาย เศรษฐกิจดิจิตัล คือ  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการให้การศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาเพื่อผลิตบุคคลากรมาเพื่อตอบสนองนโยบาย
Digital
Economy ของรัฐบาล

5.  มีคนมองว่าเศรษฐกิจดิจิตัลที่จะผลักดันกันนั้น
จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยี
จริงๆแล้วเรามีวิธีที่จะผลักดันให้เกิดการกระจายทรัพยากรในส่วนนี้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยได้อย่างไรบ้าง?

มุมมองที่มองว่าผู้ประกอบการรายใหญ่จะได้ประโยชน์ผมว่าไม่ถูกต้องนัก
ในความคิดส่วนตัว ผมว่าในเศรษฐกิจดิจิตัล
ทุกคนมีโอกาสเท่ากันหมดหากสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้
ลองนึกดูครับว่าสมมุติว่ามีเด็กจบใหม่ มีแนวคิดที่จะประกอบธุรกิจ online เด็กคนนั้นสามารถเริ่มต้นได้ด้วยเงินที่น้อยมาก
อาจเพียงไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น เด็กคนนั้นสามารถเช่าพื้นที่ server บน Cloud สามารถเข้าถึงเครื่องมือราคาถูกในการสร้าง app
เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทันทีทั่วโลก
ผมว่าผู้ประกอบการรายใหญ่เสียอีกถ้าไม่ปรับตัวก็จะถูกทำให้เสียกระบวน เอาง่ายๆ ดูได้จากบริษัท
Kodak เป็นตัวอย่างในเรื่องนั้ได้เป็นอย่างดี

ซึ่งเรื่องที่รัฐควรจะเร่งดำเนินการคือ

1.
การบริหารเชิงนโยบาย ที่ต้องเร่งปรับ Mind set ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ เห็นว่า ให้สร้าง รายย่อย เพราะการมี
รายย่อยที่มีคุณภาพ ไม่ควรมองเป็นคู่แข่ง แต่ เป็นคนที่มาช่วย รายใหญ่

2.
ออก Action Plan เพื่อ
สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวในข้อ 1

3.เกิดสังคมการช่วยเหลือ ใน สังคมผู้ประกอบการ แล้ว การผลักดันทรัพยากร
จากรายใหญ่ ไป รายย่อย ก็จะเกิดขึ้นเอง แบบ ที่ทุกคนมีความยินดี และยั่งยืน

4.
กระจายทรัพยากรในส่วนของรัฐ ที่ สามารถควบคุมได้ ในเชิงนโยบายให้
ถึงผู้ประกอบการรายย่อย

5.รัฐต้องจัดให้ผู้ประกอบการรายย่อยมีระบบที่ลูกค้าหรือคู่ค้าเข้าสู่สินค้า
หรือการผลิตสินค้าได้จากระยะไกล(ผ่านเครือข่าย) รวมทั้งการขบวนการของการซื้อขาย
จ่ายเงิน ขนส่งกระทำผ่านเครือข่ายทั้งสิ้น
ที่รัฐต้องเป็นผู้จัดเพราะต้องการันตีความน่าเชื่อถือของสินค้าที่ผลิตจากรายย่อยในขั้นต้น

6.  ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ท่านอยากจะฝากอะไรถึงพี่น้องประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการ ในการปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคเศรษฐกิจดิจิตัลบ้างครับ?

อย่างที่พูดไว้ในตอนแรกว่าประชาชนและผู้ประกอบการ
ถ้าจะ ride
digital wave ได้ดีจะต้องมี digital capability หรือสมรรถนะทางดิจิตัลเสียก่อน ในส่วนของ ประชาชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สิ่งที่จำเป็นต้องสร้างคือเรื่องการฝึกให้คิดอย่างมีนวัตกรรม
(innovative idea) การฝึกให้สามารถสื่อสารแนวคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และฝึกให้คุ้นเคยและสะดวกสบายกับการใช้ข้อมูลและเครื่องมือทางดิจิทัลในการแก้ปัญหา

ในส่วนของผู้ประกอบการ นอกจากจะต้องมี digital
capability โดยการใช้เทคโนโลยีในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ รวมไปถึงการปรับ Business model ให้เหมาะกับยุคสมัย
และที่สำคัญอีกประการคือตัวเจ้าของหรือผู้บริหารกิจการเองจำเป็นต้องมี Digital
leadership หรือความสามารถในการนำแนวคิดทางดิจิตัลมาปรับวิสัยทัศน์ขององค์กร
สามารถในการที่จะปรับเปลี่ยนและบริหารการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการนำแนวทางดิจิตัลมาใช้
และสามารถที่จะสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช่เครื่องมือทางดิจิตัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของรัฐเองจำเป็นต้องเร่งดำเนินการทำความเข้าใจในเรื่องต่าง
ๆ กับประชาชน และ ผู้ประกอบการ ดังนี้

1.
การปรับ Mind set  ของประชาชน และ ผู้ประกอบการ เพื่อให้เปิดรับแนวความคิดว่า  กระบวนการทำงานของเราต้องใช้ เทคโนโลยี
มาใช้ในการผลิต หรือ การดำเนินการต่างๆ

2. การรวมตัวทาง Knowledge ของผู้ประกอบการ ที่ควรมีการรวมตัวในเชิงของ
องค์ความรู้ ซึ่ง หมายถึงว่าหากเราสามารถรวมกันได้ ก็จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีดีขึ้นหลายอย่างเช่น  อัพเดทสภาพตลาด คู่แข่ง  การต่อรองในการจัดหาต้นทุน  การช่วยเหลือระหว่างผู้ประกอบการ

3.
การสร้าง Value ใน สินค้าและจุดขาย  ด้วยเทคโนโลยี 

4. การสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ในการหาช่องทางใหม่ๆ

5. การคิดต่าง อย่างมี conceptual

6.
การสร้างทัศนคติว่า “เราทำได้ดีกว่าทุกประเทศในโลก

Categories: Interview