อะไรคือเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (One Belt One Road )
“ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามียุทธศาสตร์ 2 ประการที่มีศักยภาพในการเร่งการเติบโตและยกระดับ “คุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ” ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเครือข่าย
ประการที่หนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” (OBOR) หรือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่นำโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ
ซึ่งมีรายได้ประชาชาติรวมกันคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติของโลก”
ทักษิณ ชินวัตร
สถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute)
เราได้ยินถึงคำว่าเส้นทางสายไหมของศตวรรษที่ 21 หรือ One Belt One Road (OBOR) ที่ถูกเสนอโดย นาย สี จิ้น ผิง
ประธานาธิบดีจีนได้กล่าวไว้ครั้งแรกระหว่างการเยือนอินโดนีเซียในช่วงการทัวร์กลุ่มอาเซียนปลายปี
2013 ที่จีนต้องการให้เห็น Soft Power
เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้เห็นถึงการไม่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศใดๆ
พร้อมไปกับการสร้างความมั่นคงและมั่นใจว่าเส้นทางการค้าทั้งทางบกและทางทะเลของจีนกับประเทศต่างๆจะนำพาความรุ่งโรจน์กลับมาใหม่ให้กับจีนเหมือนดังในอดีต
เส้นทาง One Belt
One Road
นี้เมื่อกางแผนที่ออกเราจะเห็นแขนของเส้นทางแผ่ออกไปทั้งทางบกและทางทะเล
โดยจุดหมายปลายทางของทางบกนั้นสิ้นสุดที่ยุโรป
เช่นเดียวกับทางทะเลปลายทางคือยุโรปเช่นเดียวกัน
เส้นทางของ One Belt
One Road ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้
1.
Silk
Road Economic Belt คือเส้นทางขนส่งทางบกที่จะเชื่อมจีนและยุโรปเข้าด้วยกันดังเส้นทางสายไหมในยุคโบราณ
เส้นทางนี้เป็นการเชื่อมโดยโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนเข้าไปยังส่วนลึกของเอเชียกลาง
เข้าไปยังตะวันออกกลาง ผ่านประเทศตลาดสำคัญอย่าง คาซัคสถาน อิหร่าน ข้ามไปยังตุรกีเข้าสู่ยุโรปผ่านเมืองสำคัญในยุโรปดังเช่น
แฟรงเฟิร์ต เวนิซ อัมสเตอร์ดัม ล้วนเป็นเมืองการค้า
เมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่าที่สำคัญของโลกทั้งสิ้น
2.
Maritime
Silk Road คือเส้นทางขนส่งทางทะเล
ที่เริ่มรู้จักกันมากขึ้นว่าเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 หรือ 21st Century Maritime Silk Route Economic Belt ซึ่งจะเริ่มจากเมืองท่าสำคัญของจีนอย่างเซี่ยงไฮ้
เทียนจิน ฟุโจวลงมาทะเลจีนใต้ มากลุ่มประเทศอาเซียน
ข้ามช่องแคบมะละกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย เข้าสู่ตะวันออกกลางบางส่วนของเส้นทางจะเข้ายังแอฟริกาตะวันตก
ผ่านอ่าวเปอร์เซียเข้าสู่คลองสุเอซเพื่อเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมุ่งหน้ายังยุโรป
เป็นการร้อยเส้นทางการค้ายุคโบราณของจีนให้มีความสำคัญมากขึ้น
การเกิดขึ้นของยุทธศาสตร์นี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ
เศรษฐกิจ ความมั่นคงตลอดจนการวางภูมิรัฐศาสตร์ของจีนในศตวรรษที่ 21 ที่จะสามารถก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจในระดับโลกได้อย่างแท้จริง
โดยความท้าทายแรกที่รัฐบาลจีนต้องประสบคือการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจแบบเดิมที่รับจ้างการผลิตเน้นการส่งออก
เน้นการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในจีนด้วยแรงงานราคาถูกได้หมดไปแล้ว
ขณะนี้จีนได้เข้าสู่เศรษฐกิจแบบที่เรียกกันว่า New Normal ที่เศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโตที่ต่ำลงมากและเป็นไปอย่างช้า
การจะรักษาอัตราการเติบโตของจีนในระยะยาวเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ
จึงทำให้การเกิดขึ้นของยุทธศาสตร์ OBOR นี้มีความสำคัญต่อรัฐบาลจีนเป็นอย่างยิ่ง
OBOR อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนมาร์แชล (Marshall Plan) แห่งศตวรรษที่ 21 ของจีนก็ว่าได้
ด้วยเป็นแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ในเอเชีย โดยจีนเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนด้วยประเทศพันธมิตรของจีน
ซึ่งแผนดังกล่าวคล้ายคลึงกับแผนมาร์แชลของสหรัฐอเมริกาในการฟื้นฟูยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่
2 โดยมีเครื่องมือสำคัญมากในครั้งนี้คือ การตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งอาเซียน
หรือ Asian
Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนให้กับประเทศในเอเชียเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเข้ามารองรับ
OBOR นี้ และ New Silk Road Fund (NSRF) ที่เป็นเครื่องมือทางการเงินในการดำเนินยุทธศาสตร์นี้ของจีน
การมุ่งตะวันตกผ่าน OBOR
ของจีนในครั้งนี้หลายประเทศยังสงสัยถึงความเป็นไปได้ของการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากรัฐบาลจีนทั้งในการเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคม
ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในทะเลจีนใต้ของจีนกับประเทศในอาเซียน
และความคุ้มค่าของโครงการผ่านเงินลงทุนมหาศาล ซึ่งมีทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้านอยู่
และด้วยยุทธศาสตร์ OBOR นี้มีคู่แข่งที่สำคัญคือข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก
ที่นำโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งเวลานี้มีชาติในอาเซียนได้ร่วมในข้อตกลงนี้แล้วคือ
เวียดนาม สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย
ด้วยเป็นข้อตกลงพื้นที่การค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ที่ประเทศชั้นนำของโลกในเอเชียได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตลอดจนออสเตรเลีย
ได้เข้าร่วมในข้อตกลงดังกล่าว
สำหรับจีนแล้วการมุ่งตะวันตกและการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองภายใน
จำเป็นต้องใช้ยุทธศาสตร์ One
Belt One Road เป็นเครื่องมือสำคัญทางยุทธศาสตร์ของประเทศ ถ้าประสบความสำเร็จจะกลายเป็นเครื่องจักรสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของเอเชีย
แต่อาจถูกเลื่อนออกไปด้วยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของจีน คงต้องจับตาดูความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมจีนในครั้งนี้ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่
หมายเหตุ ปาฐกถาฉบับเต็มของดร.ทักษิณ ชินวัตร ดูได้ที่นี่ (http://www.ptp.or.th/news/461)
อ้างอิง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ไทยรัฐออนไลน์
SCB Economic Intelligence Center