“วรวัจน์”แนะ ตัดวงจรโควิด ตั้งแต่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ไม่ควรรอให้ตรวจพบเชื้อก่อนแล้วค่อยรักษา ชี้ โควิด ระบาดได้ตั้งแต่เป็นพาหะและ การตรวจล่าช้าทำให้เพิ่มความเสี่ยง ควรแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกที่ 3 

ที่กำลังระบาดในขณะนี้ อยู่ในขั้นวิกฤติ พบว่าประเทศไทยมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากกว่า10,000คน จนถึงหลัก100,000คน แต่ ข้อจำกัดของการตรวจคัดกรองสามารถทำได้เพียงวันละหลักหลาย 1,000คน ซึ่งการตรวจคัดกรองไม่ทันกับการระบาดของเชื้อไวรัส ในขณะเดียวกันกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพลาด ติดเชื้อโควิด เป็นพาหะแต่ยังไม่มีอาการ หรือยังจะตรวจไม่พบเชื้อในการตรวจครั้งแรกนั้น การให้กลับไปกักตัวอยู่กับบ้านอาจจะทำให้ไม่สามารถป้องกัน การระบาดได้จริงจัง
ทั้งภายในบ้านและในชุมชนโดยรอบ

ดังนั้นการตัดวงจรของการระบาด สามารถดำเนินการโดย หาที่พักที่เป็นHospital ทั้งหมด ให้บุคคลที่แสดงตัวเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่อาศัย โดยอาจจะใช้โรงแรมหอพัก หรือบ้านพักต่างๆ แยกให้กลุ่มเสี่ยงอยู่อย่างเป็นสัดเป็นส่วน เพื่อไม่ให้มีโอกาส เป็นพาหะแพร่เชื้อไปในชุมชนหรือบุคคลอื่น รวมทั้งให้การตรวจรักษาเยียวยาเบื้องต้น ตามอาการใน 3 ลักษณะคือ รักษาโดยการใช้ยาแผนปัจจุบันเมื่อพบว่า มีการติดเชื้อโดวิดแล้ว และควรแยกให้อยู่ในพื้นที่ที่มีการดูแลอย่างใกล้ชิด และรักษาโดยการใช้ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรต่างๆ พร้อมทั้งให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลกลุ่มเสี่ยง ที่ประสงค์จะกักตัวเองทดแทน การต้องออกไปทำงานเพื่อเลี้ยงชีพและดูแลครอบครัว ในอัตราที่เหมาะสมตามสถานการณ์ ของแต่ละครอบครัว

นายวรวัจน์ กล่าวด้วยว่า การตรวจคัดกรองผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงว่ามี”เชื้อไวรัสหรือไม่ ให้รอตรวจคัดกรอง จนแน่ใจว่าไม่ติดเชื้อไวรัสแล้วจึงจะฉีดวัคซีนให้ เพราะถ้าหากกลุ่มเสี่ยงนั้นบังเอิญมีเชื้อไวรัสอยู่ แต่ยังไม่แสดงอาการแล้วเรารีบฉีดวัคซีนเข้าไป ผลจะเป็นอย่างไร  ร่างกายอาจจะอ่อนแอขึ้น และอาจจะมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นมาหนักขึ้นอีกหรือไม่ 

เมื่อดำเนินการแยกกลุ่มเสี่ยงออกมาจาก ประชาชนส่วนใหญ่แล้วก็สามารถ ให้ประชาชนโดยทั่วไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ โดยใช้การควบคุมอย่างเข้มงวด ในระดับหนึ่งก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องออกมาตรการเข้มจนมี ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ภายในประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหมดใช้คาดว่าจะงบประมาณไม่เกิน 50,000 ล้านบาท และรัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอที่จะดำเนินการได้ในทันที

“ขอย้ำเตือน นี่คือสถานการณ์โรคระบาดของไวรัสที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ที่เคยมีมาของโลกดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาจึงจะใช้แนวคิดพื้นฐานหรือดำเนินการตามปกติไม่ได้
แต่ควรใช้ทุกวิถีทางที่สามารถดำเนินการได้เพื่อยุติปัญหาการระบาดของไวรัสโควิดให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยของคนไทยและความอยู่รอดของประเทศไทยต่อไป”นายวรวัจน์ กล่าว