‘นิยม เวชกามา’ ชี้เมื่อมีการร้องเรียน กมธ ก็มีอำนาจในการสอบหาข้อเท็จจริง แต่ไม่มีอำนาจชี้ถูกผิดหรือลงโทษ

“ดร. นิยม  เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการที่คุณไพบูลย์ นิติตะวันออกมาให้ข่าวหลังประชุมกรรมาธิการศาสนาว่า กมธ ศาสนา ไม่มีอำนาจในการสอบเรื่องการปลดเจ้าคณะจังหวัดจึงยุติเรื่องนั้น ว่า “เรื่องยังไม่ได้ยุติ ยังมีการดำเนินการสอบต่อ ตนขอชี้แจงว่า เมื่อมีการร้องเรียน กมธ ก็มีอำนาจในการสอบหาข้อเท็จจริง แต่ไม่มีอำนาจชี้ถูกผิดหรือลงโทษ เมื่อได้ข้อเท็จจริงแล้วก็เสนอประธานสภาเพื่อแจ้งให้นายกไปดำเนินการแก้ไขต่อไป การที่คุณไพบูลย์ ออกมาให้ข่าวว่า กมธ ศาสนายุติเรื่องแล้ว จึงไม่ตรงกับที่หารือในการประชุมกรรมาธิศาสนา ที่ประชุมเสนอเพียงว่า เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงขอไม่ให้มีการให้ข่าว จนกว่าจะเขียนสรุปรายงานผลการศึกษาออกมาเป็นเอกสารก่อน มิเช่นนั้นจะกระทบกับหลายฝ่าย ขณะนี้เพิ่งเรียกสำนักพุทธมาให้ข้อมูลฝ่ายเดียวเท่านั้น และสำนักพุทธก็ให้ข้อมูลว่า เจ้าคณะใหญ่เป็นผู้เสนอขึ้นมา ทางสำนักพุทธไม่ทราบเหตุผล คาดว่า อาจจะมีผู้ร้องเรียน เจ้าคณะหนจึงเสนอปลด เมื่อสำนักพุทธให้ข้อมูลว่า เจ้าคณะหนเป็นผู้เสนอปลด ไม่ใช่สำนักพุทธ แต่มันก็ขัดแย้งกันกับที่สมเด็จหลายรูปให้ข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่า ไม่ทราบเรื่องการปลดมาก่อน”

ดร. นิยมกล่าวต่อว่า “ตามขั้นตอนของ กมธ ศาสนาก็ต้องมีหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปยังเจ้าคณะหน หรือเจ้าคณะภาค ว่า ตามที่สำนักพุทธให้ข้อมูลว่าเจ้าคณะหนเป็นผู้เสนอปลดนั้น ทางเจ้าคณะหนมีขั้นตอนการปลดอย่างไร?? มีการตั้งคณะกรรมการสอบก่อนหรือไม่ ?? หรือว่าเป็นดุลยพินิจของเจ้าคณะหนเอง?? แล้วมีอะไรเป็นหลักในการใช้ดุลยพินิจ?? จากนั้น ก็จะเรียกฝ่ายที่ร้องเรียนเข้ามาให้ข้อมูล จึงจะสรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น กมธ ศาสนา ยังไม่ได้สรุปอะไร อยู่ในขั้นตอนการเรียกสำนักพุทธมาให้ข้อมูลคนเดียว ยังไม่ได้เรียกคนอื่นมา การที่คุณไพบูลย์ออกมาให้ข่าวว่า ยุติเรื่องแล้ว จึงเป็นความเห็นส่วนตัวของคุณไพบูลย์คนเดียวเท่านั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุปของ กมธ ศาสนาแต่อย่างใด”

ดร. นิยมกล่าวต่ออีกว่า “คุณไพบูลย์ นิติตะวันยังอ้างอีกว่า เจ้าคณะจังหวัดถูกปลดจากตำแหน่งทางการปกครอง ไม่ใช่เรื่องอธิกรณ์ เพราะไม่ได้ถูกร้องเรียนอาบัติปาราชิก ถึงไม่มีการสอบก็สามารถปลดได้ เป็นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นอันตรายต่อวงการพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ตนเห็นว่า หากไม่มีความรู้ทางคณะสงฆ์ อย่าพูดเสียยังจะดีกว่า ตนขอทำความเข้าใจเรื่องนี้ หากเห็นว่า พระสังฆาธิการถูกร้องเรียนความผิดต่อตำแหน่งทางการปกครอง ก็ตั้งกรรมการสอบจริยาพระสังฆาธิการ ส่วนถ้าถูกร้องเรียนอาบัติก็สอบอธิกรณ์ ว่าผิดอาบัติหรือไม่ กรณีนี้เป็นเรื่องการปลดจากตำแหน่งทางการปกครองในระดับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งเจ้าคณะหนและเจ้าคณะภาคต้องตั้งกรรมการสอบจริยาพระสังฆาธิการ กฎมหาเถรสมาคมกำหนดเอาไว้ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน หากไม่ตั้งกรรมการสอบ เจ้าคณะหนและเจ้าคณะภาค ก็ผิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง ตนเห็นว่า ไม่ใช่ว่า จริยาพระสังฆาธิการจะเอาไว้ใช้กับ เจ้าอาาส เจ้าคณะตำบล หรือเจ้าคณะอำเภอตัวเล็กตัวน้อยเท่านั้น มันต้องใช้กับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะหน หรือแม้แต่ มส ก็ต้องใช้ด้วยเช่นกัน เหมือนการสอบความผิดวินัยร้ายแรงของข้าราชการ ไม่ใช่จะเอาไว้ใช้แต่กับข้าราชการตัวเล็กตัวน้อยเท่านั้น แต่ใช้กับทุกระดับจนถึงอธิบดี”

ดร. นิยมกล่าวต่อไปอีกว่า “ตนขออธิบายเพิ่มเติม กรณีจังหวัดปทุมธานีอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 มีพระธรรมวชิรเมธี หรือเจ้าคุณมีชัย วัดหงส์รัตนาราม เป็นเจ้าคณะภาค ในการแสวงหาข้อเท็จจริง กมธ การศาสนา จะต้องเรียกเอกสารที่เจ้าคณะภาค 1 ตั้งคณะกรรมการสอบหาความผิด จนถึงมีมติปลดจากตำแหน่งมาดู ว่าได้ดำเนินการหรือไม่  เช่น เอกสารการถูกร้องเรียน เอกสารการตั้งคณะกรรมการสอบ เอกสารการโต้แย้งของผู้ถูกกล่าวหา ผลการสอบของคณะกรรมการ และผลสอบที่พระธรรมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค 1 รายงานต่อสมพระเด็จมหารัชมงคลมุนี หรือสมเด็จธงชัย เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดไตรมิตร เพราะเจ้าคณะภาค 1 เป็นเจ้าคณะผู้ปกครองใกล้ชิดกับเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งจะต้องเป็นต้นเรื่องของการเสนอปลด จากนั้น ก็เรียกหนังสือเจ้าคณะใหญ่หนกลางว่า มีการพิจารณาเห็นชอบหรือไม่อย่างไร ก่อนที่จะแจ้งมายังสำนักพุทธซึ่งเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม และเป็นผู้จัดทำวาระการประชุมเสนอต่อมหาเถรสมาคม

กรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 12 มีพระราชเวที วัดโพธิ์ เป็นเจ้าคณะภาค  ก็ต้องเสนอปลดตามขั้นตอนเดียวกันมายัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนจะวันออก วัดไตรมิตร และเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกส่งมายังสำนักพุทธ เพื่อทำวาระการประชุมแจ้งต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม

และกรณีจังหวัดกาฬสินธุ์ ฝ่ายธรรมยุติ ก็ต้องส่งเรื่องการปลดมายังเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติ เช่นเดียวกัน

เมื่อมีการสอบ ขึ้นมาตามลำดับการปกครองสงฆ์เช่นนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2563) ข้อ 5/1 (2) ” ดร. นิยมกล่าว