ล้มเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 จุดเริ่มต้นตัดตอนประเทศไทย

หลังจากที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 คืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง #ณวันนั้น ได้กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคฝ่ายค้าน นำโดย พรรคประชาธิปัตย์ ที่จับมือกับพรรคชาติไทย และพรรคมหาชน เล่มเกมคว่ำบาตรเลือกตั้ง ด้วยการไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยอ้างเหตุ ยุบสภาแล้วกำหนดวันเลือกตั้งที่กระชั้นชิดเกินไป

ประกอบกับขณะนั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทยมาก่อนหน้านี้ก็ได้ประกาศไม่ยอมรับการยุบสภาและการจัดการเลือกตั้ง 2 เมษาฯ เกิดการกดดันไม่ให้มีการเปิดสมัครรับเลือกตั้ง และในบางเขตมีผู้สมัครเพียงคนเดียว ไปจนถึงการพยายามฉีกบัตรเลือกตั้งและจงใจทำให้เกิดบัตรเสีย ในวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
.
ภาพรวมการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44.9 ล้านคน มีผู้มาใช้สิทธิกว่า 64%

ภาพรวมการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ผู้มาใช้สิทธิ์ 29 ล้านคนเศษ (64.77%)
บัตรเสีย 1,680,101 ใบ (5.78%)
ผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,051,706 คน (31.12%)
.
ภาพรวมการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
ผู้มาใช้สิทธิ์ 28 ล้านคน (64.76%)
บัตรเสีย 3,778,981 ใบ (13.03%)
ผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,610,874 คน (33.14%)
.
แม้จะมีผู้มาใช้สิทธิ์กว่า 29 ล้านเสียง แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้ดำเนินการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการเลือกตั้งและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ จาก 2 เหตุผล คือ

(1) กกต.กำหนดการจัดคูหาในลักษณะที่บุคคลภายนอกสามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งใช้สิทธิ์เลือกตั้งหมายเลขใด

(2) การกำหนดวันเลือกตั้งไม่เหมาะสมและไม่เที่ยงธรรม โดยกำหนดวันเลือกตั้งห่างจากการยุบสภาเพียง 35 วัน

ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่ยังไม่ทันที่คนไทยจะได้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง คณะรัฐประหาร คปค. (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คมช.) ได้ก่อการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายประชาธิปไตยประเทศไทยในยุคหลัง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
.
ที่มา : https://waymagazine.org/judicial-activism-flashback/
https://www.matichonweekly.com/featured/article_23408
https://prachatai.com/journal/2006/04/8147