“หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน” เด็กทุกคนต้องเรียนโรงเรียนคุณภาพ

“ไม่ใช่ทุกคนจากทั่วประเทศ จะวิ่งเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เซนต์คาเบรียล หรือเตรียมอุดมศึกษาได้ แต่ต้องให้ทุกอำเภอมีโรงเรียนดีๆ ไม่เช่นนั้น ประเทศไทยซึ่งมี 2 สังคม จะกลายเป็นวัฎจักรที่แยกกัน และนับวันจะเป็นสังคมที่ห่างกันออกไปเรื่อยๆ จึงต้องพยายามลดช่องว่างให้เหลือสังคมเดียวให้เร็วที่สุด”
.
คำกล่าวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วันที่ 25 กันยายน ปี 2546 วันเปิดตัวโครงการ #หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (Lab School Project) ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
.
ที่พูดชัดว่า การศึกษาต้องถูกบริการให้ทั่วถึง มีคุณภาพ เด็กต่างจังหวัดต้องมีโอกาสเรียนโรงเรียน “ใกล้บ้าน” ที่มีคุณภาพ ผ่านการสอนจากครูคุณภาพและด้วยสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ไม่ควรมีใครต้องยอมไกลบ้านเพื่อไปแข่งขันแย่งเก้าอี้การศึกษาที่มีจำกัด เพียงอยากจะพัฒนาตัวเอง และเมื่อประชาชนถูกติดอาวุธทางปัญญา ความเหลื่อมล้ำและความยากจนของคนไทยก็จะหดแคบลง
.
#ณวันนั้น โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1 มีโรงเรียนเข้าร่วม 921 แห่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเจ้าภาพหลักขับเคลื่อนนโยบาย ใต้ปรัชญาโครงการคือ “ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นบุคคลเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีความเป็นไทยและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข”
.
นอกจากการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ แต่วันที่ 25 กันยายน 2546 นั้น “ครูทักษิณ” ยังเดินเข้าห้องเรียนคณิตศาสตร์ ม.5/5 และ “สอนให้เห็น” เพื่อแสดงถึง “ครูในฝัน” ที่เขาตั้งใจให้เห็นเป็นแบบอย่าง และแสดงวิสัยทัศน์ต่อปรัชญาการเรียนรู้ของ “ครูทักษิณ” ได้เป็นอย่างดี
.
ขอยกใจความในบทความนั้นมา ดังนี้…
.
“ครูทักษิณ” เริ่มต้นคลาสด้วยการถามว่า “มีใครไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์บ้าง” จากนั้นจึงอธิบายเหตุผลเพื่อให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีกับวิชานี้ โดยบอกว่า วิชานี้จะทำให้เป็นคนมีเหตุผล มีขั้นตอนวิธีคิด พร้อมออกตัวว่าแม้ตัวเองเป็นนายก ความรู้ระดับด็อกเตอร์ แต่ความรู้คณิตศาสตร์แค่ ม.6 และเป็น ม.6 ในสมัยกว่า 30 ปีที่แล้ว แต่จะมาสอน ม.5 ในปัจจุบัน จึงคาดหวังให้ทุกคนมาเรียนรู้ร่วมกัน
.
เขายอมรับว่า ครั้งหนึ่งเคยไม่ชอบคณิตศาสตร์ ทั้งที่ตัวเองถนัดเลขพีชคณิตมาก แต่เมื่อเริ่มเรียนเลขาคณิตเริ่มไม่ชอบครู เพราะครูผู้สอนไม่มีความสุข ไม่มีความสนุกในการสอน จึงทำให้เด็กเครียดตามไปด้วย
.
“เกลียดได้เพียงเดือนเดียวก็กลับมาตั้งหลักถามตัวเองจะโง่ต่อไปทำไม เพราะครูคนนั้นไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดชีวิต เลยตั้งหลักทบทวนบทเรียน ซึ่งก็ไม่ยาก และเรียนตามได้ทัน” ไฮไลต์การสอนในวันนั้น ครูทักษิณยกตัวอย่างโจทย์ง่ายๆ เพื่อพิสูจน์ว่าการเรียนคณิตศาสตร์มีหลายวิธีที่จะไปถึงคำตอบ สำคัญที่ว่าครูจะกระตุ้นให้เด็กคิดได้หรือไม่
.
โดยโจทย์ข้อหนึ่งในชั่วโมงเรียนวิชาคณิตศาสตร์วันนั้น ครูทักษิณ ยกตัวอย่าง “สมมติว่าซื้อผ้าฝ้ายกับผ้าไหมที่โอท็อปมาขายที่จตุจักร ผ้าไหมต้นทุน 400 บาท ขาย 500 บาท ผ้าฝ้าย 200 บาท ขาย 300 บาท แต่ตอนออกจากบ้านมีเงิน 1,000 บาท จ่ายค่ารถขนของ 500 บาท ค่าเช่าแผง 500 บาท แล้วขายจนเย็นได้เงินทั้งสิ้น 40,400 บาท แต่กินข้าวไป 400 บาท และขายผ้าไหมและผ้าฝ้ายได้ทั้งสิ้น 120 ผืน ครูถามว่า ขายผ้าฝ้ายและผ้าไหม อย่างละกี่ผืน และมีกำไรเท่าไร”
.
เด็กๆ พยายามแก้สมการจนได้คำตอบ มีทั้งคำตอบที่ถูกและผิด เขาเฉลยว่า ได้กำไร 10,600 บาท โดยแก้สมการด้วยวิธีพีชคณิต “ถ้าเรียนคณิตเข้มแข็ง ก็จะสามารถต่อยอดวิชาอื่นๆ เข้าใจได้ง่าย แต่ถ้าทิ้งไปก็ต้องท่องสูตรใหม่ ซึ่งลืมได้ง่ายแค่เดินเตะขอบประตู” สิ่งที่เขาอยากจะสื่อสารในวันนั้น คือความต้องการที่จะทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ เช่นเดียวกับครูผู้สอนที่ต้องสนุกกับการสอนด้วย เพื่อนำไปสู่การสร้าง “โรงเรียนในฝัน” ร่วมกันของเด็กนักเรียนและครู
.
(…)
.
กลับมาที่ปัจจุบัน วันนี้ “โรงเรียนในฝัน” เป็นอย่างไร เดินทางไปถึงไหนแล้ว ?
.
ข้อเท็จจริงคือหลังวิกฤตการเมือง รัฐบาลทักษิณถูกรัฐประหารในปี 2549 ส่งผลให้โครงการชะงักงัน เกิดความสับสนต่อโรงเรียน ชุมชน และผู้ปฏิบัติงาน ว่าจะเดินหน้าโครงการต่อหรือไม่เพราะเป็นโครงการของรัฐบาลชุดเดิม แต่เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อ มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน” และต่อมาในปี 2552 ใต้การนำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โครงการถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนดีประจำอำเภอ” จากนั้นจึงกลับมาเป็น “โรงเรียนดีใกล้บ้าน” และ “โรงเรียนประชารัฐ” ในรัฐบาลปัจจุบัน
.
ให้ประชาชนเป็นพยานว่าการศึกษาในวันนี้ถูกพัฒนาไปอย่างไร ภายใต้ผู้นำประเทศที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนแค่ไหน และจริงใจที่จะแก้ปัญหาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนหรือไม่ ให้ข้อเท็จ จริงที่ปรากฏวันนี้ เป็นตัวตัดสิน
.
ที่มา
https://www.thaksinofficial.com/new-breed-teacher-build…/
การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี (วารสารวิจัยรำไรพรรณี ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน – กันยายน 2558)