ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ MCOT

การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจคือหนึ่งในนโยบายสำคัญที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ใช้ในการกอบกู้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของรัฐ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐวิสาหกิจล้วนทำกิจการเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน น้ำมัน พลังงาน การสื่อสาร การขนส่ง ควรได้รับการพัฒนาปฏิรูปให้ใหญ่ขึ้น มีความสามารถมากขึ้น ตามจำนวนประชากรและโลกที่แปลงไปอยู่ตลอดเวลา
.
ภายในระยะเวลา 4 ปี จาก 2544 – 2547 รัฐบาลทักษิณได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 5 องค์กร ดังนี้
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ปฏิรูปสู่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ปฏิรูปสู่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน)
การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ปฏิรูปสู่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สามารถอ่านข้อมูลการแปรรูปไปรษณีย์ไทยได้ที่ https://www.facebook.com/…/a.446718850…/4601191909913711
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ปฏิรูปสู่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) ในภายหลัง
และ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท) ปฏิรูปสู่ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)

หลังจากที่รัฐบาลทักษิณได้ที่ทำการแถลงนโยบายในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจผ่านสภา การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท) ก็เริ่มต้นขึ้นในปี 2545 โดย มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ในเวลานั้น เริ่มปรับปรุงการบริหารงานให้ทันสมัยและทันต่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อขจัดความเป็น “แดนสนธยา” ให้หายไป สร้างภาพใหม่ที่โมเดิร์นขึ้นแทน
.
โดยเฉพาะโทรทัศน์ช่อง 9 ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของ อสมท จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยภาพลักษณ์เก่าคือช่องการ์ตูนที่ไม่ได้รับความนิยม เป็นการนำความทันสมัยเข้ามามากขึ้น ภายใต้แนวคิด Modern TV Concept
.
เริ่มต้นด้วยการยกเครื่องปรับผังรายการในช่วงกลางวัน เพิ่มโปรแกรมข่าวด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดหุ้น ธุรกิจต่างๆ เน้นเจากลุ่มการลงทุน
.
ขุดไม้เด็ดการรายงานข่าว อย่างรายการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในเวลานั้น ‘ถึงลูกถึงคน’ ที่ดำเนินรายการโดย สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ช่วงเวลาห้าทุ่มถึงเที่ยงคืนกว่า เป็นรายการแรกที่เป็น Interactive Television Fully รวมไปถึงมีการเพิ่มรายละเอียดอย่าง ทำแถบอักษรข่าว หรือ นิวส์ บาร์ ที่จะวิ่งรายงานข่าวอยู่ในทุกช่วง
.
เพิ่มรายการบันเทิงบนสาระไม่ว่าจะเป็นรายการสารคดีจอโลก Cyber Zone รายการคุยคุ้ยข่าว รายการบันทึกโลก รายการคุณพระช่วย รายการแดนสนธยา ในเวลานั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 9 กลายเป็นสถานีที่น่าจะจับตามอง เรตติ้งสูงขึ้นเรื่อยๆ มีจุดแข็งในเรื่องการให้ความรู้ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ของละครจากหลายช่อง
.
การเปลี่ยนแปลงภายในที่มีคุณภาพ สะท้อนออกมาทางรายได้ ตั้งแต่ ตุลาคม 2546 – พฤษภาคม 2547 มีรายได้รวม 1,751.51 ล้านบาท เติบโตขึ้น 41.6% โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 86.3% จาก 492.9 ล้านบาท เป็น 918.3 ล้านบาท
.
เมื่อการทำงานภายในมีคุณภาพมากขึ้นก็ถึงเวลาขยับขยายไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท) ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งในรูปบริษัทมหาชนจำกัด และเข้าจดทะเบียนเป็นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาต่อมา
.
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2547 จึงมีพิธีเปิดตัว “สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์” โดยมี ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งเริ่มออกอากาศตามรูปแบบใหม่ ตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นไป โดยมีทั้งการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบการเสนอรายการตลอด 24 ชั่วโมง
.
หลังเตรียมตัวมากว่า 2 ปี #ณวันนั้น 17 พฤศจิกายน 2547 บมจ.อสมท ได้กระจายหุ้นสู่มหาชนเป็นครั้งแรกในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคา IPO (บาทต่อหุ้น) 22 บาท ในครั้งนั้นได้เงินจากการระดมทุนทั้งสิ้น 2,928 ล้านบาท
.
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ ยุทธศาสตร์ที่ตามคือ การสร้างสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ MCOT TV เป็นโกลบอลเน็ตเวิร์กทีวี ที่จะไปแข่งขันกับทีวียักษ์ใหญ่ของโลกเคียงข้าง CNN และ BCC รวมถึงจะพัฒนาศักยภาพให้เป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารในภูมิภาคเอเชีย เทียบเคียงสิงคโปร์
.
แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับหลายๆ โปรเจ็คที่ถูกพับลงไปหลังจากการรัฐประหาร 2549 ผู้บริหาร บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) ได้มีการเปลี่ยนมือ เป้าหมายเดิมที่ได้ตั้งไว้ก็เปลี่ยนไป ภาพที่ฝันถึงการเป็นผู้นำการสื่อสารถูกทำลายลงไม่เหลือ และไม่เพียงแค่นั้นการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเมื่อ 20 ปีที่กลายเป็นการปฎิรูปครั้งสุดท้าย เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยไม่เคยต่อเนื่อง และมักจะหยุดชะงักลงเสมอ
.
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งขาดทุนอย่างมาก เพราะตามความรวดเร็วของโลกสมัยใหม่ไม่ทัน กลายเป็นภาระทางภาษีที่ต้องเข้าไปโอบอุ้มกันบ่อยๆ เป็นข่าวชินตาในหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งถ้ารัฐบาลปัจจุบันที่ครองอำนาจมาเกือบ 8 ปี ใส่ใจคลองบางแห่งได้เท่ากับ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจมูลค่าหลายล้านล้านบาทนั้น สถานการณ์รัฐวิสาหกิจในไทยจะไม่เดินมาถึงจุดนี้



อ้างอิง
ภูรี สิรสุนทร การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในรัฐบาลทักษิณ (พ.ศ. 2544-2547) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร https://bit.ly/3nmmtJm
https://bit.ly/30zAZVM
https://bit.ly/3ow1kMh
https://bit.ly/3Cl9wUD
https://bit.ly/3wYg2Q3