‘สุรชาติ เทียนทอง’ เสนอ 4 มาตรการแก้เชิงโครงสร้างปัญหาสุนัขและแมวเร่ร่อนในชุมชนเมือง แนะภาครัฐร่วมมือชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว เผยทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบถึงบ้านมานับสิบปี หวังช่วยแบ่งเบาภาระประชาชน-ลดความเสี่ยงโรคระบาด
นายสุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัคร ส.ส. กทม. หมายเลข 3 เขตเลือกตั้งที่ 9 หลักสี่-จตุจักร พรรคเพื่อไทย เผยแพร่บทความปัญหาของสุนัขและแมวเร่ร่อนในชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชนเมืองมายาวนาน โดยนายสุรชาติมีแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่มั่นใจว่าแก้ไขปัญหาได้
.
นายสุรชาติ กล่าวว่า เป็นคนที่รักสัตว์ ซึ่งที่บ้านมีสุนัขและสัตว์ประเภทอื่น และเมื่อลงพื้นที่พบประชาชนก็ได้รับเสียงสะท้อนว่ามีสุนัขและแมวในชุมชนทั้งที่เป็นแบบเลี้ยงตามบ้านและจรจัด มีปัญหาขาดการดูแล ขาดสุขอนามัย สร้างปัญหาให้สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยความรักสัตว์เป็นทุนเดิม อีกทั้งเข้าใจถึงสภาวะเศรษฐกิจของพี่น้องในชุมชน ที่ต้องรับภาระดูแลสุนัขและแมวซึ่งต้องมีค่าอาหาร ค่าหมอ ค่าวัคซีน ค่าทำหมัน และค่าเดินทางไปคลินิก หากไปคลินิกครั้งหนึ่งค่าวัคซีนก็ไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยบาท ถ้าเลี้ยงหลายตัว ก็หลายร้อยบาทขณะที่คนในชุมชนเป็นคนมีรายได้น้อย หาเช้ากินค่ำ ถ้าจะรอให้หน่วยงานภาครัฐมาบริการฉีดฟรีในชุมชนก็ต้องรอประสานงาน และมีจำนวนจำกัดแค่ ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ
.
นายสุรชาติ จึงทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบถึงบ้าน และทำต่อเนื่องมาสิบปี ด้วยต้องการแบ่งเบาภาระคนในชุมชนและเป็นการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่ไปในเวลาเดียวกัน เพราะไม่ได้คิดว่าการฉีดยาสุนัขและแมวเป็นแค่ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เห็นปัญหาสุนัขและแมวเร่ร่อนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ซึ่งภาครัฐ เอกชน และชุมชนสามารถร่วมมือกันแก้ไขปัญหาได้ จึงเสนอแนวทางการแก้ไขระยะยาว ซึ่งอาจใช้เวลา 10-15 ปีเพื่อเห็นผลอย่างชัดเจนดังนี้
.
- ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง โดยระบบฝังไมโครชิปให้สัตว์ที่ขึ้นทะเบียนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- รัฐต้องลงทุนทำศูนย์พักพิงสัตว์เร่ร่อนทั่วประเทศ นำสัตว์ไม่มีเจ้าของมาดูแล แยกโซน แยกเพศ และทำหมันเพื่อป้องกันการเพิ่มประชาชน และดูแลจนสิ้นอายุขัย ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องใช้เวลา 10-15 ปีเท่าช่วงอายุของสุนัขและแมว
- ศูนย์พักพิง ต้องบริหารจัดการโดยให้ประชาชนและเอกชนร่วมกันดูแล เพื่อความโปร่งใสในการบริหารและเพื่อช่วยภาครัฐลดงบประมาณการจัดการลงไป
- บังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงมาปล่อย เพราะถือว่าเป็นภาระแก่สังคม
.
“แม้ที่ผ่านมา โครงการฉีดวัคซีนสุนัขและแมวจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ผมก็มีความสุขในกิจกรรมนี้เพราะได้พบปะพี่น้อง ขณะเดียวกันก็ได้ดูแลน้องสุนัขแมวให้ปลอดภัย ได้ใช้โอกาสรับฟังปัญหาจากปากของประชาชน อะไรที่เกินความสามารถก็ประสานไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแล ส่วนระยาวก็ต้องอาศัยทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันแก้ปัญหาตามแนวนทางมาตรการทั้ง 4 ข้อ นี่จึงเป็นคำตอบของคำถามว่า ทำไมผมต้องไปฉีดหมาฉีดแมวบ่อยๆ” นายสุรชาติ กล่าว
.
ติดตามเนื้อหาได้ที่
https://www.facebook.com/214450406158935/posts/962138968056738/?sfnsn=mo
////