“พิชัย” ชี้ “ประยุทธ์” บริหารพลังงานล้มเหลว มีกำลังผลิตไฟฟ้าล้น แต่ขาดเชื้อเพลิง ไทยอาจขาดแคลนไฟฟ้าได้ จี้ 5 ข้อเร่งแก้ปัญหาก๊าซและไฟฟ้า แนะ โลกผันผวนไทยต้องวางตัวเหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า สถานการณ์โลกมีความผันผวนมาก หลังจากที่ นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ไปเยือนไต้หวัน ได้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างมาก ซ้ำเติมกับ สงครามรัสเซียและยูเครน ความขัดแย้งของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ สถานการณ์ความไม่สงบในพม่า การยิงอดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ฯลฯ หากมองย้อนอดีตจะพบว่าสถานการณ์เหล่านี้เหมือนจะซ้ำรอยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ซึ่งหวังว่าประเทศต่างๆจะเรียนรู้จากประสพการณ๋ในอดีตและจะไม่ยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เพราะผู้เสียชีวิตและความเสียหายจะรุนแรงมาก อีกทั้งหากมีสงครามใหญ่เกิดขึ้นจริง สถานการณ์และรูปแบบเศรษฐกิจจะแตกต่างไปอย่างมาก
ความขัดแย้งของประเทศจีนและไต้หวันทำให้เห็นว่า อุตสาหกรรมไมโครชิพ มีความสำคัญอย่างมาก บริษัท TSMC ของไต้หวันเป็นบริษัทผลิตไมโครชิพ ที่มีคูณภาพสูงและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่จนห่วงกันว่าหากมีสงครามเกิดขึ้น ปัญหาไมโครชิพ จะขาดแคลนทั่วโลก ขนาดประเทศจีนแซงชั่นไต้หวันจากเหตุการณ์นี้ ยังไม่กล้าที่จะบล็อกไมโครชิพ เพราะประเทศจีนใช้มากที่สุด ดังนั้น น่าจะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะติดต่อบริษัท TSMC เพื่อมาตั้งโรงงานผลิตไมโครชิพในประเทศไทย เพราะอุตสาหกรรมในอนาคตแทบทุกชนิดต้องใช้ไมโครชิพนี้ ซึ่งเป็นเหมือนอุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และ บริษัท TSMC คงหวังจะกระจายความเสี่ยงเช่นกัน หรือจะเป็นบริษัทไมโครชิพจากเกาหลีใต้ก็ได้ ทั้งนี้ บริษัท TSMC ยืนยันว่าหากประเทศจีนบุกยึดไต้หวันก็ไม่สามารถยึดบริษัท TSMC ไปทำเองได้ เพราะการผลิตมีความซ้บซ้อนและมีกระบวนการผลิตที่เป็นความลับขั้นสูง โดยคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้แสดงความเห็นมาตลอดว่าอุตสาหกรรมการผลิตไมโครชิพและอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่คุณภาพสูงมีความจำเป็นต่ออนาคตของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างมาก สหรัฐเองยังออกกฎหมายอุดหนุนอุตสาหกรรมผลิตไมโครชิพนี้ในวงเงินถึง 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐเลย โดยแนนซี่ เปโลซี่ยังไปพบกับประธานบริษัท TSMC ในเรื่องนี้ ทั้งนี้ความขัดแย้งของ จีน สหรัฐ และไต้หวัน ครั้งนี้ ประเทศไทยจะต้องวางตัวให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศไทยเอง และ อยากสอบถามพลเอกประยุทธ์ว่าในการประชุม APEC ที่จะมีขึ้นนี้ ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้เตรียมตัวรับมือเรื่องนี้อย่างไร
สงคารมรัสเซียยูเครนที่เป็นสาเหตุของราคาน้ำมันแพง ก๊าซแพง ยังไม่จบง่ายๆ และยังส่งผลให้ราคาอาหารของโลกแพงไปด้วย แต่ประเทศไทยยังไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์กันเกษตรกรไทยได้เลย ชาวนาและ เกษตรกรไทยยังเผชิญกับภาวะข้าวของแพง เงินเฟ้อ ปุ๋ยแพง ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูง แต่รายได้ไม่เพิ่ม แถมมีปัญหาอื่นอีกมากมาย ทั้งที่รัฐบาลน่าจะต้องใช้โอกาสนี้ในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
แต่ปัญหาที่รุนแรงและทำท่าจะเป็นปัญหาใหญ่กับประเทศไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่อาจจะไม่ทราบ คือปัญหาความไม่สงบในประเทศเมียนมาร์จากรัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมาร์ที่ยังทำร้ายประชาชน ทำให้เกิดการต่อต้านเป็นวงกว้างมานานแล้ว ล่าสุดมีการวางระเบิดท่อส่งก๊าซจากแหล่งซอติก้า ส่งผลให้การส่งก๊าซจากเมียนมาร์มาประเทศไทยมีปัญหา ก๊าซธรรมชาติที่ใข้ในการผลิตไฟฟ้าของไทยยิ่งขาดแคลนมากขึ้น จะนำเข้าก๊าซ LNG ก็มีราคาแพงมาก และต้องหันกลับไปใช้น้ำมันดีเซลที่มีราคาแพง(แต่แพงน้อยกว่าก๊าซ LNG) ในการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันหลายโรงอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ทำให้การกลั่นนำ้มันดีเซลออกมาได้น้อยลง ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันดีเซลจากประเทศไทยสิงคโปร์เข้ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า และอาจจะขาดเขื้อเพลิงได้ในเร็วๆนี้ ซึ้งอาจทำให้ต้องตัดไฟฟ้าในบางพื้นที่ เริ่มเหมือนประเทศศรีลังกาเข้าไปทุกที
นับเป็นเรื่องน่าตลกร้ายอย่างมาก ที่ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกินเป็นจำนวนมาก ( เกินกว่า 50%) แต่กลับจะขาดเขื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เพราะขาดทั้งก๊าซในอ่าวไทยจากปัญหาข้อพิพาทสัมปทาน ขาดก๊าซจากเมียนมาร์จากการระเบิดของท่อก๊าซ และขาดน้ำมันดีเซลจากการซ่อมบำรุงของโรงกลั่น เพราะการบริหารจัดการที่ด้อยประสิทธิภาพของพลเอกประยุทธ์ ที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้เตือนหลายครั้งแล้ว และทั้งหมดนี้จะยิ่งส่งผลให้ราคาไฟฟ้าแพงขึ้นไปอีก ถึงกลับต้องยกเลิกการแถลงข่าวการขึ้นค่าไฟฟ้าในสัปดาห์ที่แล้ว จนสัปดาห์นี้ถึงจะสรุปได้ เพราะไม่แน่ใจว่าราคาค่าเชื้อเพลิงและค่า FT จะพุ่งไปขนาดไหน และปัจจุบัน กฟผ. ก็แบกค่าใช่จ่ายเขื้อเพลิงอยู่ประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาทแล้ว หนักกว่ากองทุนน้ำมันเสียอีก ซึ่งหากต้องขึ้นราคาไฟฟ้าอีก ประชาชนคงจะแบกรับกันไม่ไหวแน่
ทั้งนี้ หากพลเอกประยุทธ์จะรับฟังคำแนะนำของคณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยแต่แรก และขอตอกย้ำ 5 ข้อดังนี้ 1) เร่งแก้ไขข้อพิพาทในสัมปทานแหล่งก๊าซในพื้นที่อ่าวไทย 2) การเจรจาลดค่าความพร้อมที่ต้องจ่ายเดือนละ 8 พันล้าน 3)การเร่งเจรจาแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชา 4) การเก็บเงินจากก๊าซ LPG ที่ส่งเข้าธุรกิจปิโตรเคมี 5) เร่งจัดหาเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอ โดยหลักคิด แพงดีกว่าขาด ซึ่งหากเชื่อและนำไปปฏิบัติ สถานการณ์คงไม่ย่ำแย่ขนาดนี้ และ เป็นห่วงและขอเตือนว่าประเทศไทยอาจจะมีโอกาสขาดแคลนไฟฟ้าในไม่ช้า ซึ่งจะกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก
ในภาวะที่โลกผันผวน ผู้นำจะต้องคิดและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และต้องมีความรอบรู้ฉลาดฉับไวในประเด็นต่างๆ แม้กระทั่งเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะขึ้นในสัปดาห์นี้ที่ได้เตือนไว้แล้ว จะมามัวคิดแต่เรื่องรักษาอำนาจ ตีความ 8 ปี ทั้งที่ความตั้งใจฟังของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้ใครเป็นนายกเกิน 8 ปีซึ่งรวมถึงพลเอกประยุทธ์ด้วย โดยมีหนึ่งในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เคยบอกกับตนเองโดยตรงเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ถ้าหากบริหารล้มเหลวแล้วยังจะคิดยึดติดอำนาจ ประเทศไทยจะเดินต่อยากและมีแต่จะเสื่อมถอยลงเท่านั้นและในที่สุดไทยจะไม่มีตำแหน่งที่ยืนในโลกอีกต่อไป ทั้งนี้ผลสำรวจล่าสุดของนิดาโพลก็บอกว่า 64.25% ของประชาชน เห็นว่าพลเอกประยุทธ์ควรพ้นตำแหน่งไม่เกิน 24 สิงหาคม และ 80.03% เห็นว่า 3 ป. ไม่ควรมีบทบาทในการจัดตั้งรัฐบาลคราวหน้าแล้ว เพราะฉะนั้นอยากสวนความรู้สึกของประชาชนอีกเลย ทั้งนี้อยากให้ดูตัวอย่างพลเอกเปรม ติณสูรานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ไม่รับตำแหน่งหลังจาก 8 ปี ทั้งที่เศรษฐกิจและทิศทางเศรษฐกิจสมัยนั้นดีกว่านี้มาก ผลงานเศรษฐกิจก็ดีกว่ามากท่านยังไม่ดื้อรั้นต่อความต้องการของประชาชน