“พิชัย” ชี้ “ประยุทธ์” สร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ ห่วง สหรัฐอเมริกาขึ้นดอกเบี้ย ทำเงินทุนของไทยลดลง แนะ ฟังแนวทางไอเอ็มเอฟ และ “โน๊ต” สะท้อนความจริงที่คนไทยรู้สึก
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่มีกระจายคลิปของ “โน๊ต” อุดม แต้พานิช ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานที่ล้มเหลวของพลเอกประยุทธ์ จนเป็นกระแสฮือฮาทั่วโซเซียล และเป็นแนวทางเดียวกับที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้วิพากษ์วิจารณ์พลเอกประยุทธ์ มาตลอด และเคยแถลงความล้มเหลว 10 ข้อไว้แล้ว ทั้งการเป็นรัฐบาลที่พึ่งไม่ได้ การกู้หนี้จากหลายชาติ ชาตินี้ใช้หนี้ไม่หมด แกล้งโกรธเพื่อกลบปัญหา โปร่งใสแต่ห้ามตรวจสอบ โดยเฉพาะเรื่องสร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ ที่ปัญหาต่างๆ จะเพิ่มขึ้นใหม่และประดังเข้ามาอย่างแน่นอน ทั้งเรื่องเงินเฟ้อของไทยที่ยังสูงอยู่ที่ 6.41 %ในเดือนกันยายน การขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการขาดดุลการคลังจำนวนมากที่จะมีแผนกู้ใหม่ถึง 1.05 ล้านล้านบาทในปี 2566 ปัญหาดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นปัญหาใหม่ที่พลเอกประยุทธ์ ยังไม่รู้เลยว่าจะรับมืออย่างไรหรือพึ่งไม่ได้จริงตามที่โน๊ตบอก
โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้องของสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายนอยู่ที่ 8.2% ซึ่งยังสูงมาก ทั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 3 ครั้งแต่เงินเฟ้อของสหรัฐก็ยังไม่ลดลงข่าวเลย ดังนั้นจึงเป็นไปได้สูงที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในครั้งหน้า ธนาคารกลางสหรัฐน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% และ อาจจะขึ้นถึง 2 ครั้งเลยก่อนสิ้นปี ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของสหรัผมในสิ้นปีนี้อาจจะสูงถึง 4.50% และ อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีหน้าด้วย
ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐจะผลกระทบต่อไทยค่อนข้างมาก ซึ่งกดดันให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม แม้อาจจะไม่ขึ้นสูงเท่าแต่ก็คงต้องขึ้น เพิ่อไม่ให้ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐต่างกันมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อให้มากขึ้น อีกทั้งป้องกันไม่ให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไหลออก โดยในเดือนกันยายนลดลงถึง 14,017 ล้านเหรียญ ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไทยลดลงมาเหลือ 199,444 ล้านเหรียญ หลุดจาก 2 แสนล้านเหรียญแล้ว ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และคิดเป็นการลดลง 18.9% จากปลายเดือนปีที่แล้ว ซึ่งหากยังลดลงอย่างรวดเร็วอีก ก็น่าเป็นห่วงเพราะระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่สะสมมาตั้งแต่หลายรัฐบาลเป็นจุดแข็งของไทยจุดเดียวที่ยังมีอยู่ ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ระมัดระวัง เพราะอาจจะเป็นปัญหาหนักได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ตามที่รัฐบาลอ้างว่ามีนิตยสารจัดไทยอันดับ 5 ของเอเชีย ก็อยากให้รัฐบาลและ ธปท. ได้ฟังคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดย Corinne Delechat หัวหน้าแผนกของเอเชีย แปซิฟิก ของไอเอ็มเอฟ และ เป็นหัวหน้าภารกิจในประเทศไทย ที่กล่าวเหมือนกับที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยได้เคยเตือนไว้แล้วหลายครั้ง โดยเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาตลอดจากปัจจัยความเสื่อมถอยหลายด้าน ดังนั้นการที่จะฟื้นเศรษฐกิจไทยจะต้องปรับเปลี่ยนหลายด้านพร้อมๆกัน โดยเฉพาะการลงทุนทางด้านดิจิตอลและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวของกับภูมิอากาศและการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้เกาะกระแสการขยายตัวของการปรับเปลี่ยนด้านดิจิตอลและการปรับเปลี่ยนด้านสีเขียวหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เร่งพัฒนาในการเป็นศูนย์กลางการค้าและศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคจะขยายฐานเศรษฐกิจของไทยให้ทีการค้าการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับปัญหาของเศรษฐกิจโลกได้ ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ได้ฟังมุมมองจากไอเอ็มเอฟที่บอกเหมือนคณะทำงานพรรคเพื่อไทยได้เตือนไว้แล้วบ้าง จะได้เลิกอคติคิดว่าเป็นการโจมตี
ผู้นำที่ดีต้องเปิดใจรับฟังเสียงสะท้อนจากทุกด้านเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงการทำงานของตนเอง แม้กระทั่งเสียงจากคุณโน้ต ที่นำเรื่องจริงมาทำเป็นเรื่องตลก สะท้อนผู้นำ ที่ในต่างประเทศก็ทำกันเสมอ เพราะนั่นเป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนส่วนใหญ่ ถึงขนาดที่เป็นกระแสกระหึ่มทั้งโซเชียลขนาดนี้ ถ้ายังปิดหูปิดตาส่งลิ่วล้อมาโต้แบบมั่วๆ ก็ควรจะต้องดีดตัวออกจากเครื่องบินที่บรรทุกคนไทยทั้งประเทศกันได้แล้ว มิเช่นนั้นก็คงไม่พ้นที่จะ “สร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่” ให้คนไทยลำบากกันต่อไป
“จักรพล” ชี้ เชื่อมไทย เชื่อมโลก นำไทยกลับมาเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 ตุลาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ รองเลขาธิการและคณะทำงานเศรษฐกิจพรรค พท. แถลงว่า จากการที่เข้าประชุมเวทีประชุมสุดยอดประธานรัฐสภาของกลุ่ม G20 ทำให้ตนได้เห็นโอกาสในการพัฒนานโยบายและมาตรการระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลปัจจุบันว่าจะเห็นโอกาสและคว้าไว้หรือไม่?
นายจักรพล กล่าวต่อว่า การประชุมดังกล่าว จะเน้น 3 สาระหลัก คือ 1.การสร้างเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินของโลก 2.การเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงิน และ 3.การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งชั้นนำและเศรษฐกิจเขตใหม่ และมีประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งหมด 4 หัวห้อ ได้แก่ 1.เร่งการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านเศรษฐกิจสีเขียว BCG 2.การภาวะขาดแคลนอาหารและพลังงาน 3.การสร้างรัฐสภาที่มีประสิทธิภาพและประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง 4.พลังทางสังคม โดยเฉพาะความเท่าเทียมทางเพศและพลังของผู้หญิง ซึ่งตนเองในฐานะตัวแทนประเทศไทยได้เข้าไปเสนอไอเดียต่างๆ เช่น Climate change การบ่งชี้ถึงวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ความเท่าเทียมทางเพศ ความเข้มแข็งของระบบสภาบนพื้นฐานของประชาธิปไตย พลังของคนเยาวชนคนรุ่นใหม่
นายจักรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอดีตสมัยพรรคไทยรักไทยได้นำนโยบายระหว่างประเทสมาใช้และทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยผลการดำเนินงานในสมัยแรกมีการขยายตัวสูงสุดของ GDP อยู่ที่ 6.9% มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 23% อันเนื่องมาจากการเจรจาเปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศ หนี้สาธารณะลดลงเหลือร้อยละ 47.8 ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยง่าย และนโยบายการต่างประเทศที่มีนัยยะสำคัญในการพัฒนาประเทศ ภายใต้แนวคิด “เชื่อมไทย เชื่อมโลก” ไม่ว่าจะเป็นการทำนโยบายต่างประเทศเชิงรุก ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) กรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) และยังมีกรอบพหุภาคีอื่นๆอีกมากมาย และตนเชื่อว่าหากเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง บรรยากาศของความรุ่งเรืองของประเทศไทยจะกลับมาอย่างแน่นอน
“จากการเข้าร่วมประชุมที่ผ่านมาเห็นได้ว่ารัฐบาลยังขาดวิสัยทัศน์และความสามารถในการนำพาประเทศไทยไปสู่เวทีโลก ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้มีการนำแนวคิดและหลักการของกระแสโลกมาใช้ แต่หารู้ไม่ว่าตนเองไม่มีความรู้และประสิทธิภาพเพียงพอในการบริหารประเทศ อยู่มาแล้ว 8 ปี แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับสวนทางกลับระยะเวลาที่ตนเองบริหาร ดังนั้นเพื่อไทยจึงขอเสนอตนเองสำหรับการพัฒนาประเทศอีกครั้ง และจะนำแนวคิด เชื่อมไทย เชื่อมโลก นำไทยกลับมาเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีขึ้นและเพื่ออนาคตที่สดใสของคนรุ่นถัดไป” นายจักรพลกล่าว
“นพ. กิตติศักดิ์” จี้ “ประยุทธ์” เร่งช่วยประชาชนเรื่องน้ำท่วม
นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม คณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศไทยเป็นปัญหาที่สาคัญที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไข และปัจจุบันประเทศไทยได้เกิดภัยพิบัตินาท่วมหลายจังหวัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงควรเร่ง ช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาให้กับประชาชนโดยเร่งด่วน ทั้งการช่วยเหลือโดยเร่งด่วนในเบื้องต้น การช่วยเหลือหลังน้ำลด สิ่งไหนที่ก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที สามารถยกเว้นระเบียบทางราชการได้ก็อยากให้รัฐบาลเร่งทำทันที โดยที่ไม่หวังผลในทางการทุจริตมากกว่าการช่วยเหลือประชาชน เพราะในบางเรื่อง ถ้ารอปฏิบัติตามระเบียบราชการมากเกินไป ก็จะไม่ทันท่วงทีในการแก้ไขปัญหาช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อน
ทั้งนี้ ในการเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 ท่านอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ชดเชยน้ำท่วมบ้านพักอาศัย และทรัพย์สินหลังละ 5,000 บาท ทรัพย์สินเครื่องมือประกอบอาชีพ ครอบครัวละไม่เกิน 10,000 บาท ไร่นาเกษตรกร ปลูกข้าวไร่ละ 2,222 บาท แต่ในปี 2564 รัฐบาลชุดปัจจุบันเยียวยาข้าวไร่ละ 1,340 บาท จึงอยาก ให้รัฐบาลได้พิจารณาเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนี โดยคำนึงถึงภาวะทางเศรษฐกิจ และต้นทุนในปัจจุบัน การพัฒนาหลังน้ำลด รัฐบาลควรเร่งพัฒนาซ่อมแซมปรับปรุงถนนหนทางและ คันคลอง หรือเครื่องมือต่างๆที่ชารุดจากปัญหาอุทกภัยในครังนี้ โดยเฉพาะประตูระบายน้ำโดยเร่งด่วน เพราะหากมัวรองบประมาณประจำปีก็ไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหาดังเช่นปัจจุบัน อาทิเช่น จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปีที่2564 ที่ผ่านมาเกิดปัญหาอุทกภัย หลังนำ้ลดได้ทำเรื่องขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในเรื่องการปรับปรุงซ่อมแซมสถานีสูบนา 2 แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุน ทำให้ ปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้เครื่องมืออุปกรณ์ไม่มีความพร้อมในการระบายน้ำ และอีกหลายปัญหา
โครงการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปี2564 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการแก้ไข ทำให้ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคาม เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักและขยายวงกว้างเสียหายเป็นจานวนมาก จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและป้องกันน้ำท่วมให้เป็นระบบโดยเฉพาะ จังหวัดที่อยู่ตามลุ่มสายทางน้ำหลักๆ ที่สาคัญ ที่ประสบปัญหาเดิมๆแบบนี้ทุกปีพร้อมกับใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน