นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบกระทู้ถามเรื่องการแก้ปัญหาการจราจรหนาแน่น บริเวณจุดผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา ของนางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย

ว่ารัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคม เห็นถึงปัญหาการจราจรในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวเมืองที่มีความหนาแน่นจนไม่สามารถเพิ่มขยายถนนได้ จึงได้ดำริให้มีแผนพัฒนา ถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา รวมระยะทางประมาณ 50.8 กิโลเมตร เพื่อลดปัญหาการจราจร เชื่อมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม EEC และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแก้ปัญหาการจราจรในตัวเมืองฉะเชิงเทราอย่างยั่งยืน

.

นางมนพร เจริญศรี กล่าวว่า ปัจจุบันอำเภอเมืองฉะเชิงเทราอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC มีการเติบโตทั้งภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว แต่มีปัญหาการจราจรติดขัด ชุมชนหนาแน่น และมีถนนหลักคือเส้นทางหลวงหมายเลขทางหลวงหมายเลข 304 ทางหลวงหมายเลข 314 ทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงหมายเลข 365 มีปริมาณจราจรหนาแน่นมาก

.

• โดย ทล.304 มีปริมาณจราจร สูงถึง 51,000 คันต่อวัน สัดส่วนรถบรรทุกหนัก 23%

• ทล.314 มีปริมาณจราจร สูงถึง 53,000 คันต่อวัน สัดส่วนรถบรรทุกหนัก 58%

• ทล.315 มีปริมาณจราจร สูงถึง 32,000 คันต่อวัน สัดส่วนรถบรรทุกหนัก 41%

• และ ทล.365 มีปริมาณจราจร สูงถึง 101,000 คันต่อวัน สัดส่วนรถบรรทุกหนัก 33% ซึ่งทางหลวงดังกล่าว ได้ก่อสร้างเป็น 4 – 10 ช่องจราจร เต็มเขตทางแล้ว

.

นางมนพร กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง มีแผนที่จะก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทราขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร เพื่อรองรับการจราจรที่ไม่ต้องการเดินทางเข้าไปยังตัวเมืองฉะเชิงเทราให้สามารถเดินทางผ่านพื้นที่ได้ โดยใช้ถนนวงแหวนรอบเมืองแทน  ช่วยเชื่อมโยงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่ EEC จ.ฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด และลดระยะเวลาในการเดินทาง รวมถึงลดต้นทุนในการขนส่งของภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

.

ซึ่งปัจจุบันนี้  อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ.2569 จ้างที่ปรึกษาสำรวจและประมาณการค่าเวนคืน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเสนอขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ในส่วนของถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ด้านใต้ (เส้นทางหมายเลข 1) และถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ด้านตะวันตก (เส้นทางหมายเลข 2)  ต่อไป

.

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง มีนโยบายดำเนินการตามโครงการดังกล่าว โดยได้วางแผนการดำเนินโครงการ เป็น 3 ระยะ

.

โดยระยะที่ 1 เป็นแผนการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ด้านใต้ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 จะมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณค่าก่อสร้างในปี พ.ศ. 2571 ต่อไป โดยมีค่าก่อสร้างประมาณ 12,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนประมาณ 3,500 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2571 – 2573 โดยจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ ในปี พ.ศ. 2574

.

โดยระยะที่ 2 เป็นแผนการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ด้านตะวันตก ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 7,100 ล้านบาท ค่าเวนคืน 3,200 ล้านบาท เป็นแผนการดำเนินงานเริ่มต้นหลังระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2572 – 2574 และเปิดให้บริการได้ในปี 2575

.

สำหรับระยะที่ 3 เป็นแผนการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ด้านเหนือ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นโครงการบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 304 (สุวินทวงศ์) ตัดกับทางหลวงหมายเลข 365 หรือแยกสตาร์ไลท์ 

.

ดังนั้น โดยเมื่อก่อสร้างครบสมบูรณจะเป็นวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ที่จะช่วยแยกการจราจรผ่าน

เมืองออกจากการจราจรท้องถิ่นภายในตัวเมืองฉะเชิงเทรา

.

#พรรคเพื่อไทย #ประชุมสภา