‘ศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ’ วอน ‘กระทรวงเกษตรฯ’ ทบทวนการคิดออกระเบียบใหม่ หวั่นกระทบโครงการนมโรงเรียน ฝากทบทวนหลักเกณฑ์เพื่อให้เกษตรกรนมรายย่อยอยู่ได้
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ สส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กในโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ถึงปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการฯ ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานผลิตนม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความเดือดร้อนมากจากกรณีที่การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การผลิตนมโรงเรียนส่งผลกระทบถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนมอย่างรุนแรง ดังนั้นอยากให้จึงร้องเรียนผ่าน สส. ทุกท่าน ช่วยกันผลักดันเรื่องนี้เพื่อแจ้งให้รัฐบาลทราบถึงปัญหาและขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทบทวนระเบียบหลักเกณฑ์ดังกล่าว หากไม่ดำเนินการอะไรหวั่นใจว่าเกษตรกรจะนำน้ำนมดิบจำนวนหลายตันออกมาเททิ้งริมถนนอย่างแน่นอน เพราะหากผลิตต่อไปก็ไม่มีกำไร หรือไม่รู้ใครจะรับซื้อเพราะระเบียบที่ออกมา คือ ปัญหาที่ทำร้ายผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวอย่างรุนแรง
.
นายศิรสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวออกมาในปี พ.ศ. 2567 – 2568 จากเดิมที่กำหนดให้ภาคเอกชน ได้รับจัดสรรสิทธิ 50% และสหกรณ์โคนมได้รับจัดสรร 50% เท่ากัน มองว่ามีความไม่สอดคล้องกับกลไกการผลิตในปัจจุบัน เนื่องจากโรงงานผลิตนมเอกชนรายย่อย มีจำนวนโรงงานมากกว่าสหกรณ์โคนม ขณะที่การจัดสรรสิทธินมโรงเรียน โดยนำองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้รวมกับภาคเอกชน ควรมีการแก้ไขปรับปรุงและขอคุ้มครองโรงงานผลิตนมขนาดเล็ก ที่มีกำลังผลิต ไม่เกิน 5 ตัน โดยหากโรงงานใด ที่สมัครร่วมโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนไม่เกิน 5 ตัน ให้จัดสิทธิเพื่อป้องกัน การหาซื้อนมดิบจนเกินสิทธิที่ได้รับการจัดสรร เพื่อแก้ปัญหานมล้น
.
“กรณีดังกล่าวส่งผลกระทบกับเกษตรผู้เลี้ยงวัวนมและผู้ประกอบการรายย่อย เพราะทุกโรงงานซื้อนมตุนไว้จำนวนมาก และเมื่อจัดสรรสิทธิได้น้อย ทำให้มีนมเหลือ และต้องขายขาดทุน หรือเททิ้ง ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิการผลิตไม่เกิน 5 ตัน จะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหานมดิบของเกษตรกรได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้จากหลักเกณฑ์โรงงานนมทุกแห่ง ต้องมีศูนย์นมเป็นของตัวเองและต้องมีนมไม่น้อยกว่า 3 ตัน หรือมีวัวไม่ต่ำกว่า 200 ตัว ถือเป็นการกีดกัน SME ซึ่งไม่มีศูนย์นมเป็นของตัวเอง จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลให้หลายโรงงานไม่สามารถเข้าร่วมโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนได้ ดังนั้น พร้อมนำข้อร้องเรียนจากเกษตรกรเข้าหารือในสภาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงความเดือดร้อนของโรงงาน โดยภาครัฐต้องมีแนวทางแก้ไข เพื่อให้โรงงานขนาดเล็ก สามารถอยู่ในระบบโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนต่อไปได้” สส.เลย พรรคเพื่อไทย กล่าว
#พรรคเพื่อไทย