นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบกระทู้ถามด้วยวาจาของนางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุขรวมถึงแนวทางการช่วยให้คนไทยปลอดภัยห่างไกลจากโรค 

.

นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี กล่าวว่าปัจจุบันทราบดีว่าไทยขาดแคลนแพทย์ และพยาบาลจำนวนมาก ทำให้การรักษาพยาบาลพี่น้องประชาชน ต้องรอคิวรักษานานโรคบางโรคต้องรอคิวรักษานานกว่า 4 เดือน โดยมีข้อมูลว่าในปีที่ผ่านมาเราขาดแคลนแพทย์ประมาณ  9,000 คน และมีปีที่ผ่านมามีแพทย์ลาออกมากกว่า 5,000 คน โดยแพทย์ปฏิบัติงานกระจุกอยู่ในตัวเมือง ทำให้พื้นที่ชนบทขาดแคลนแพทย์รวมถึงยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยดังที่มีข่าวว่ามีการวางเพลิงในโรงพยาบาล หรือข่าวการทำร้ายร่างกายแพทย์ พยาบาลในโรงพยาบาล ท้ายที่สุดจึงทำให้แพทย์-พยาบาล และบุคลากรการแพทย์ไหลออกนอกระบบ จึงมีคำถามว่า  ก.สาธารณสุขมีแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์-พยาบาล กระจายแพทย์-พยาบาลลงพื้นที่ชบนทห่างไกลเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างไร

.

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข กล่าวตอบว่าปัญหาบุคลากรการแพทย์ขาดแคลน และไม่กระจายตัวให้เหมาะสมเป็นปัญหาที่ต้องแก้เป็นระบบ เราจะแก้เพียงแค่การสร้างแพทย์เพิ่มเติมไม่ได้ แต่เราต้องคิดต่อว่าจะเพิ่มอย่างไรแต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องลดจำนวนผู้ป่วยด้วยไปในเวลาเดียวกัน

.

ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีบุคลากรบรรจุอยู่ 377,887 ราย และเมื่อเปรียบเทียบแพทย์ต่อจำนวนประชากร พบว่า ประชากร 10,000 คน ต่อแพทย์ 900 คน ขณะที่ญี่ปุ่นประชาชากร 10,000 คนต่อแพทย์ 20 กว่าคนซึ่งมากกว่าไทย ส่วนพยาบาลนั้น ญี่ปุ่นมีสัดส่วนพยาบาล 1 คนต่อประชากร 20 แต่ของเราพยาบาล 1 คนต่อประชากร 300 คน เป็นต้น 

.

รัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ครม. เพื่อเพิ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น โดยเรามีหน้าที่จะต้องผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นอีกปีละ 30,000 คนในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งหมายความว่า ถ้าจำนวนผู้ป่วยไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย จำนวนแพทย์ที่เพิ่มขึ้นก็จะเพียงพอ แต่นี่ เป็นไปไม่ได้แน่ และแผนการเพิ่มแพทย์นี้เป็นแผนในระยะยาว  และถามว่า ในระยะกลางจะดำเนินการอย่างไร

.

เอาจริงแล้ว การเพิ่มแพทย์เพียงอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้หากผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นไม่ลดลง เราจึงไปดูแล้วพบว่า คนไทยที่เข้ามาหาหมอ พบว่าป่วยในโรคกลุ่ม NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายความว่าอย่างไร

.

หมายความว่า คนไทยเกินครึ่งหนึ่งมาหาหมอ ด้วยโรค NCDs คือโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพองและโรคไขมันในเส้นเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง กินแป้งน้ำตาลไขมันจำนวนมาก ไม่ออกกำลังกาย ไม่ดูแลสุขภาพ นานวันไปสะสมก็ทำให้เกิดโรคโดยไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน โรคเหล่านี้ ป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้ชีวิตดูแลสุขาภาพ ด้วยการไม่ทานอาหารรสจัดเช่น ไม่หวานจัด ไม่เค็มจัด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่นอดดึกหรือเครียดและไม่สูบบุหรี่ 

.

ในปีหนึ่งจะมีคนป่วยโรค NCDs จำนวน 33 ล้านคน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละ 2 ล้านคน แต่เสียชีวิตปีละ 4 แสนคน โดยสถิติพบว่า โรคนี้ต้องใช้งบประมาณในการรักษาจากบัตร 30 บาทฯ มากกว่าร้อยละ 60 ซึ่งสูงมากและทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่ดปี 

.

โรคนี้ เป็นโรคที่ป้องกันได้ ไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม ถ้าเราลดคนป่วยได้ ความแออัดในโรงพยาบาลก็จะลดลง งานของแพทย์พยาบาลก็จะลดลง ดังนั้นทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา เริ่มต้นที่การเลือกทาน ไม่ทานแป้ง น้ำตาล มากจนเกินไป และออกกำลังกาย ถ้าเราสุขภาพดี โรคเบาหวาน ความดันโลหิตไม่สูง สุขภาพดี โรคอื่นก็จะไม่ตามมา 

.

กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายรณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศ ได้รู้ถึงความสำคัญของโรค NCDs.  ให้มากที่สุด เริ่มรณรงค์ทั่วประเทศและรวมถึงกลุ่มพระสงฆ์ด้วย 

.

#พรรคเพื่อไทย