นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบกระทู้ถามของ พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์ สมาชิกวุฒิสภา เรื่องการเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์
ว่ารัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตรและ รัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มีนโยบายเชื่อมโยงทั้งระบบทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อเชื่อมเครือข่ายในประเทศกับนานาชาติ ผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาคอย่างยั่งยืน
.
โดยในทางบกนั้น กระทรวงคมนาคม มีแผนการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำนักนโยบายแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรางของไทยและเพื่อนบ้าน
.
โดยเมื่อปี 2561-2562 สนข. ได้ศึกษาจัดทำแผนแม่บทและมอบให้ กทท.พิจารณาศึกษาหารือความเป็นไปได้ กับ รฟท. เกี่ยวกับแนวเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือบก รวมถึงการเชื่อมต่ออื่นๆ โดยเบื้องต้น มีการกำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมรวม 4 จุดคือ
.
1.ตำบลดอนทราบ และตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา
2.ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน นครราชสีมา
3.ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง ขอนแก่น
4.ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์
.
เมื่อมีการพัฒนาท่าเรือบกแล้ว ก็จะต้องมีกลไกในการตอบสนองการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ด้วยการเชื่อมรถไฟทางคู่เข้าไปทั่วประเทศ โดยจะมีการจัดทำเส้นทางรถไฟทางคู่ใน 3 ระยะ ได้แก่
.
ทางคู่ระยะที่ 1 (พ.ศ.2560-2564) จำนวน 7 เส้นทาง 993 กิโลเมตร
ทางคู่ระยะที่ 2 (พ.ศ.2565-2569) จำนวน 7 เส้นทาง 1,479 กิโลเมตร
ทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ระยะทาง 677 กิโลเมตร
.
นอกจากนี้ ยังจะพัฒนาขนส่งทางถนน เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้า โดยปัจจุบันมีอยู่ 3 โครงการ ได้แก่
.
1.M6 บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา คาดเปิดปี 68
2. M81 บางใหญ่ กาญจนบุรี คาดเปิดปี 68
3. ทางพิเศษและทางยกระดับพระราม 2 ช่วงบางขุนเทียน บ้านแพ้ว รวมถึงทางสายพระราม 3 ดาวคะแนน วงแหวนรอบนอกกรุงเทพด้านตะวันตก ซึ่งหากทั้งเส้นแล้วเสร็จ จะบรรเทาการจราจรถนนพระราม 2 ได้มาก
.
ส่วนการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ กระทรวงคมนาคม เร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 รองรับตู้สินค้าได้มากถึง 18 ล้านตู้ต่อปี และการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด รองรับสินค้าปิโตรเลียม 31 ล้านตันต่อปี
.
รวมทั้ง การพัฒนาการขนส่งอากาศ เช่น แผนพัฒนาท่าอากาศยานใหม่ภาคเหนือ คือ ท่าอากาศยานล้านนา ในจังหวัดลำพูน ห่างจากเชียงใหม่ 22 กิโลเมตร และพัฒนาท่าอากาศยานภาคใต้ ได้แก่ ท่าอากาศยานอันดามัน ห่างจากภูเก็ต 23 กิโลเมตร เพื่อเป็นศูนย์กลางเดินทางภาคใต้
.
ทั้งนี้ เมื่อมีการพัฒนาระบบขนส่งตามที่กระทรวงคมนาคมวางแผนไว้แล้ว จะทำให้การขนส่งของประเทศสะดวก ลดต้นทุน และสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาชาติตามนโยบายรัฐบาล
.
#พรรคเพื่อไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง
