สส.พรรคเพื่อไทยเสนอญัตติมาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ นำโดย นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อในฐานะผู้เสนอญัตติด่วนเรื่องขอให้สภาผู้แทน ศึกษาและติดตามมาตรการการขึ้นภาษีนำเข้าของประเทศสหรัฐฯ

และเสนอแนวทางให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการ โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ นายรวี เล็กอุทัย สส.อุตรดิตถ์ นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ นางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สส.นครสวรรค์ นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ  โดยเน้นย้ำว่า ปัญหาเรื่องกำแพงภาษีสหรัฐฯ เป็นเรื่องใหญ่ ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดกลาง การเจรจาการค้ากับรายใหญ่ต้องอาศัยมิตรภาพที่ดี และไม่ผลีผลามเร่งรีบ แต่ต้องรอบคอบ ซึ่งมั่นใจว่า การร่วมระดมความเห็นจากสส.ทุกคน จะมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาล เพื่อร่วมกันหาทางออกที่ทุกฝ่ายกระทบกระเทือนน้อยที่สุด และพลิกวิกฤตินี้เป็นโอกาสให้ได้

.

[รัฐมนตรีฟังข้อเสนอแนะญัตติ]

.

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อประธานในที่ประชุมว่าญัตติด่วนเรื่องมาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ นี้เป็นเรื่องสำคัญ นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ดำริให้นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง และนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย และอีกหลายท่านที่จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาฐานะตัวแทนคณะรัฐมนตรี รวมถึงตัวแทนส่วนข้าราชการ เข้าฟังเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น สรุปข้อเสนอเพื่อนำเสนอส่งต่อแก่รัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว

.

[รักษาสมดุลความสัมพันธ์ จีน-สหรัฐ]

.

นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายว่าจากปัญหากำแพงภาษี เป็นเรื่องใหญ่ที่เราจะต้องเข้าใจความเป็นจริงว่าเราเป็นประเทศขนาดกลาง เราต้องยึดหลักให้ชัดเจนว่า 1. นโยบายต่างประเทศยืนยันชัดเจนว่าผลประโยชน์ของประเทศต้องมาก่อน 2. เนื่องจากเราเป็นประเทศขนาดกลาง เราจึงต้องมีหลักพิงหรือต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ยึดกฎหมายเป็นหลัก ยึดพหุภาคีนิยมมากกว่าการตัดสินใจเพียงลำพัง 3.ความสัมพันธ์ระหว่าง จีนกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาอำนาจเราทั้งคู่ เราจะเลือกที่รักมักที่ชังไม่ได้ เราอยากรักทั้งสองประเทศ จึงต้องดำเนินนโยบายที่สมดุลกับความสัมพันธ์ของสองประเทศ ไม่มีใครบังคับเราเลือกข้าง 4. ไทยจะต้องเป็นผู้ส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งในโลกอย่างแข็งขัน ซึ่งเป็นบทบาทที่เราจะต้องเป็นให้ได้ เพื่อฝ่าวิกฤตในครั้งนี้

.

[ไม่สวมสิทธิแหล่งผลิต]

.

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ กล่าวเสนอแนะว่ารัฐบาลต้องรีบดำเนินการให้เป็นรูปธรรม คือมาตรการการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าที่ออกจากไทยก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ป้องกัน ‘สินค้าผีปลอมสัญชาติ’ หรือการสวมสิทธิแหล่งที่มาจากประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น ซึ่งไม่ใช่มีแค่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ เท่านั้น แต่มีการส่งออกไปยังประเทศอื่นด้วย เช่น การสวมสิทธิสินค้าเกษตรไทยส่งออกไปยังประเทศจีน เป็นต้น การจัดการกับเรื่องนี้ให้เด็ดขาด นอกจากจะลดการเกินดุลการค้ากับประเทศต่างๆ โดยไทยไม่ได้เสียอะไรแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้สินค้าที่ผลิตในประเทศอย่างแท้จริงได้มีโอกาสทางการแข่งขันเพิ่มขึ้นด้วย

.

[ต้องเจรจาด้วยมิตรภาพ ไม่ทำร้ายผู้ผลิตในประเทศ]

ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดกลาง การเจรจาการค้ากับรายใหญ่ต้องอาศัยมิตรภาพที่ดี และไม่ผลีผลามมุ่งช่วยเหลือผู้ส่งออกจนทำร้ายผู้ผลิตในประเทศ มั่นใจว่ารัฐบาลจะหาทางออกที่ win-win ทุกฝ่าย และพลิกวิกฤตินี้เป็นโอกาสให้ได้

.

[เจรจาอย่างเข้าใจ ไม่เปิดไพ่ทุ่มหมดหน้าตัก]

.

นายรวี เล็กอุทัย สส.อุตรดิตถ์ กล่าวเสนอว่าการเจรจากับสหรัฐฯนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ แต่ต้องอย่าลืมว่า ไทยเรามีจุดยืนที่ไม่ได้ต้องการเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร แต่เราควรหาจุดแลกเปลี่ยนที่ลงตัว หรือการหาดุลสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ โดยที่ไม่ใช่เปิดไพ่ทุ่มแบบหมดหน้าตักซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในสงครามการค้าครั้งนี้ แต่เราต้องหาความต้องการของสหรัฐฯ ให้เจอและคำนึงถึงผลกระทบที่รอบด้าน เพราะถ้าหาความประสงค์แท้จริงของทรัมป์เจอ เราก็จะได้เจรจาในสิ่งเราเราควรได้ เขาต้องการและไม่เจรจาในสิ่งที่เราจะสูญเสียประโยชน์ไปเปล่า 

.

[ปรุบปรุงระบบราชการล่าช้าไม่ตอบสนอง]

.

นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ มีข้อเสนอแนะว่า 

.

1.ดูสิ่งที่เราขาด คือการดูศักยภาพของประเทศว่าเรามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรอย่างจริงใจและทบทวนตัวเอง เพื่อนำไปแก้ไข 

2. ภาษีอะไรที่เราเก็บได้น้อยและเป็นภาษีที่สร้างความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ยอมลดเพื่อแลกกับประโยชน์อื่นที่ใหญ่กว่า 

3. อุปสรรคการค้ายุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภาษี แต่รวมถึงกระบวนการต่างๆ ภายในประเทศ เช่นระบบราชการที่ล่าช้า ก็ใช้โอกาสนี้ปรับปรุงกระบวนการทั้งหมดดังกล่าว 

4. เพิ่มความโปร่งใสเรื่องแหล่งกำเนิดของสินค้า คือไทยต้องไม่เป็นทางผ่านของสินค้าจากประเทศที่ถูกกีดกัน จะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ จริงใจในการเป็นคู่ค้าที่โปร่งใสยึดหลักธรรมาภิบาล และ 5. หาโอกาสในสิ่งที่เราต้องการเพื่อเพิ่มโอกาสลงทุนในต่างประเทศ คือพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้างเศรษฐกิจเชิงรุก

.

[ข้าวโพดไม่ได้ขาดแคลน]

.

นางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา กล่าวแสดงความกังวลมาตรการการแก้ไขปัญหาข้อหนึ่งคือเรื่องของการนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ ซึ่งมีผู้ประกอบการตั้งข้อสังเกตว่าในปีที่ผ่านๆ มาก็ได้มีความขาดแคลน แต่เหมือนจะเป็นข้ออ้างของผู้ประกอบการในการขอนำเข้าข้าวสาลีมาเพื่อใช้เป็นวัตถุผลิตอาหารสัตว์แทนข้าวโพดโดยที่ไม่ได้มีวิกฤตอะไร อีกทั้งเป็นการนำเข้าโดยภาษีเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่เกษตรกรและผู้ประกอบการกังวลคือหากเรานำเข้าข้าวโพดเข้ามาตามนโยบายของสหรัฐฯ จะทำลายระบบตลาดและราคาข้าวโพดของไทยอย่างรุนแรง  จึงมีคำถามว่า วันนี้ข้าวโพดมีต้นทุนการผลิตในประเทศสูง แต่ขายได้ราคาต่ำอยู่แล้ว แต่กลับยังมีการนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ เข้ามา เกษตรกรข้าวโพดจะอยู่อย่างไร

.

[ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังล้นตลาด อย่าเพิ่งนำเข้ามาเพิ่ม]

.

นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สส.นครสวรรค์ กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาดุลการค้าเกินดุลที่เกิดขึ้น เกิดกับสินค้าภาคอุตสาหกรรม แต่ในขณะที่สินค้าเกษตรเช่นข้าว กลับมีตัวเลขส่งออกน้อยมากแค่2.8 หมื่่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นหากมาแก้ไขปัญหาเกินดุลในภาคอุตสาหกรรมด้วยสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าต่ำอยู่แล้ว ดูจะไม่สมเหตุผล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อ้างว่าเราขาดแคลนข้าวโพด จึงต้องนำเข้าข้าวสาลี แต่ไปดูจากตัวเลข

.

[แนะใช้เวทีระดับภูมิภาคเพิ่มอำนาจต่อรอง]

.

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ เสนอ 3 แนวทางในการแก้ไขปัญหากำแพงภาษีสหรัฐฯ ดังนี้

.

แนวทางที่ 1: มาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า คือการจัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจด้านการค้า” เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดทำบัญชีดุลการค้าใหม่ เพื่อสะท้อนรายได้ของสหรัฐฯ จากไทยอย่างรอบด้าน และเร่งฟื้นฟูมาตรฐานแรงงานให้สอดคล้องสากล เพื่อใช้ต่อรองขอคืนสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP)

.

แนวทางที่ 2: การทูตเชิงรุกและสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค คือการใช้เวทีอาเซียนและ RCEP เสริมอำนาจต่อรอง การเสนอความร่วมมือใหม่กับสหรัฐฯ เช่น ด้านอาหาร สุขภาพ ท่องเที่ยว ซึ่งการเจรจานี้จะต้องเป็นการเจรจาแบบ Win-Win เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น นวัตกรรม เศรษฐกิจสีเขียว ดิจิทัล โดยย้ำบทบาทว่าไทยอยู่ในฐานะ “พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์” ไม่ใช่คู่แข่งทางการค้า

.

แนวทางที่ 3: เยียวยาและสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ  อาจมีการจัดตั้ง “กองทุนเสริมศักยภาพผู้ส่งออก” การค้าขายผลักดันสินค้าไทยสู่ระบบ e-commerce และแพลตฟอร์มดิจิทัล การสนับสนุน SMEs ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและคำปรึกษาด้านส่งออก ออกมาตรการสนับสนุนนำเข้าวัตถุดิบ-เครื่องจักร และส่งเสริมการลงทุนในสหรัฐฯ

.

แนวทางที่ 4: รัฐจะต้องช่วยประคองเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ  ด้วยการสร้างระบบติดตาม-ดูแลหรือช่วยเยียวยาราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางรายได้น้อยและอาจต้องสนับสนุนโครงการ reskill และ upskill แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออก

.

#พรรคเพื่อไทย #ภาษีสหรัฐฯ