ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยันที่ประชุม สนช. ถอดถอนซ้ำซ้อน หวั่นเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ยันที่ประชุม สนช. ถอดถอนซ้ำซ้อน หวั่นเป็นเครื่องมือทางการเมือง เชื่อสมาชิกสนช.จะพิจารณาด้วยความเป็นธรรม
เดินหน้าสู่ความปรองดอง พร้อมโต้ข้อกล่าวหา ป.ป.ช. ทุกประเด็น
วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 10.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่ง
ภายหลังการชี้มูลความผิดคดีละเลยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว
โดยระบุว่า ขอเรียนให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบว่า ประเด็นที่ที่กำลังพิจารณาอยู่นี้มีความสำคัญ
และจะมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารเศรษฐกิจ อย่าง รุนแรง
กว้างขวาง และโดยประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความถูกต้อง ชอบธรรม
และความจำเป็นในการถอดถอน เพราะในความเป็นจริง ดิฉันได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเสมือนถูกถอดถอนมาแล้วถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรก มาจากผลของการยุบสภา ครั้งที่สอง โดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และ
ครั้งที่สาม โดยประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งทั้งหมดมีผลโดยสมบูรณ์แล้ว
ทำให้วันนี้ไม่เหลือตำแหน่งอะไร ที่จะให้มีการดำเนินการถอดถอนอีก
หากจะดำเนินการต่อไป ก็ถือเป็นการถอดถอนที่ซ้ำซ้อน เป็นการสร้างบรรทัดฐานทางการเมือง
และทางกฎหมาย ที่ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรมในอนาคตต่อไป
“การพิจารณาของสภาฯ แห่งนี้ จะมีผลกระทบ
ไม่เพียงแต่ต่อตัวดิฉัน หรือนักการเมืองทั่วไปเท่านั้น แต่จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรไทยทุกคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พี่น้องชาวนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ที่มีฐานะยากจน และมีความหวังอยู่ที่นโยบายรัฐบาล ที่เกี่ยวกับข้าว
และผลิตผลทางการเกษตร ดังนั้น ในการพิจารณาถอดถอนในวันนี้ ก็จะมีผลต่อการจัดทำนโยบาย
เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวนาในอนาคตต่อไป และอาจจะเท่ากับว่าเป็นการตัดความหวัง
และอนาคตของชาวนาไทย ไปอีกนาน”
ทั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยังกล่าวอีกว่า ข้อสรุปของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ยังยอมรับว่า
“พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต”
ดังนั้นจึงขอยืนยันว่า ดิฉันได้บริหารราชการแผ่นดินในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
กฎหมาย ตลอดจนกฎระเบียบข้อบังคับของทางราชการ และแนวทางการบริหารที่ดี โปร่งใส และเป็นธรรม”
“โครงการรับจำนำข้าว
เป็นแนวคิดของพรรคเพื่อไทย เป็น “สัญญาประชาคม” ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีต่อชาวนาไทย และประชาชนคนไทยทุกคน โดยแนวคิดของนโยบาย
มาจากการที่พรรคเข้าใจถึงปัญหาของชาวนา ซึ่งเป็น “กระดูกสันหลังของชาติ”
และ เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่เผชิญกับปัญหาความยากจนต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน
มีรายได้ที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง และต่ำกว่าค่าจ้างแรงงาน ทุกประเภท ทำให้มีหนี้สิน ล้นพ้นตัว ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ทำไม ดิฉัน ในฐานะ นายกรัฐมนตรีจะยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวโดยพลการไม่ได้
เพราะนโยบายการรับจำนำข้าว เป็นนโยบาย
ที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ ต่อรัฐสภา ซึ่งมีผลผูกพัน ตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตาม”
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นไปอย่างเร่งรีบ รวบรัด ข้ามขั้นตอนนั้น
เป็นการส่อเจตนาที่ไม่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา
ด้วยความ รวดเร็ว ผิดปกติ ซึ่งใช้เวลาเพียง 21 วัน โดยไม่มีการไต่สวนข้อเท็จจริง
และใช้เวลาในการชี้มูลความผิด 80 วัน รวม 101 วัน ซึ่งต่างจากกรณีทั่วไป
ที่ใช้เวลาหลายปีการปฏิรูปทางการเมือง ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันและสมาชิกสภานิติบัญญัติทุกท่านต้องการเห็น
หากมีการดำเนินการ ที่ไม่มีหลักนิติธรรม
ไม่มีกฎหมายรองรับ สังคมจะเห็นว่า ไม่ยุติธรรม การปฏิรูป อันจะนำไปสู่ความปรองดองในสังคม จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืนยันว่า
ตลอดระยะเวลา
ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดิฉันมุ่งมั่น ทุ่มเท ปฏิบัติหน้าที่ อย่างสุดความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยคิดที่จะคดโกง หรือกระทำทุจริตแต่ประการใด
“ในยามที่บ้านเมือง ต้องการ
การปรองดอง
และก้าวไปข้างหน้าประเทศ
จะเดินหน้าได้ “ความยุติธรรม” จะต้องมีก่อน ไม่เพียงแต่เฉพาะ
ต่อตัวดิฉัน แต่สำหรับพี่น้องประชาชน
ที่ต้องประสบชะตากรรม ที่หลากหลาย
ที่อาจต้องเสียโอกาส ที่จะได้รับประโยชน์
จากโครงการ”
“ดิฉันหวังว่าสภาฯแห่งนี้
จะพิจารณา ด้วยหลักของความเป็นธรรม ไม่มีอคติ และเป็นกลาง เพื่อประโยชน์ ของประชาชนคนไทย และไม่ตกเป็นเครื่องมือ ทางการเมือง
ที่นำมาทำลายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง อีกต่อไป และในอนาคต ดิฉัน อยากเห็นนโยบาย และโครงการที่ดีๆได้เกิดขึ้น โดยไม่มีปัญหาอุปสรรค
คณะรัฐมนตรีจะได้กล้าดำเนินการ กล้าตัดสินใจ
ข้าราชการที่ดีจะกล้าทำงาน ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
และสุดท้ายประโยชน์ก็จะตกกับประชาชนคนไทยทุกคน”