นายนิวัตน์ธำรง บุญทรงไพศาล ตอบ 35 คำถามที่ถูก สนช. ตัดสิทธิชี้แจง

ตอบ35คำถามที่ถูกสนช.
ตัดสิทธิชี้แจง

นายนิวัตน์ธำรง
บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ตอบคำถามที่ สนช. ตัดสิทธิ์ไม่ให้ตอบ

คำถาม: สำหรับชื่อโครงการรับจำนำข้าวมีที่มาที่ไปอย่างไรและทำไมพรรคเพื่อไทยถึงเลือกที่โครงการรับจำนำข้าวมาหาเสียงและก็มาปฏิบัติครับ

นิวัฒน์ธำรง :ในช่วงของการหาเสียงพรรคก็ทำนโยบายหลายเรื่องทั้งจำนำข้าวทั้งเรื่องการศึกษาสาธารณะสุข  30 สิบบาทรักษาทุกโรคและอื่นๆก็ทำทุกเรื่องการทำนโยบายจะทำโดยนักการเมืองของพรรคและก็นักวิชาการในเรื่องของโครงการรับจำนำข้าวเรื่องข้าวเรื่องชาวนาเป็นเรื่องของประเทศไทยทำมาทุกยุคทุกสมัยเรื่องจำนำข้าวนี้ทำมาแล้ว
33 ปีทุกพรรคพูดถึงเรื่องนี้เพราะว่าชาวนาเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ของประเทศพรรคเพื่อไทยได้ดูเรื่องนี้และก็ได้พัฒนาปรับปรุงเรื่องของการจำนำข้าวจากอดีต
30 กว่าปีที่ผ่านมาทำให้ดียิ่งขึ้น

  เรื่องจำนำข้าวหรือเรื่องเกี่ยวกับเรื่องข้าวไม่ใช่เพียงเฉพาะพรรคเพื่อไทยเท่านั้นที่ทำก็ทำกันทุกพรรคอย่างพรรคประชาธิปัตย์ก็เสนอหาเสียงเหมือนกันก็คือการประกันราคาข้าวอย่างพรรคภูมิใจไทยก็เสนอพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าจะให้กำไรมากขึ้น
25% พรรคภูมิใจไทยก็เคยเสนอให้ตันละสองหมื่นส่วนเพื่อไทยเสนอตันละหมื่นห้าของชาติไทยพัฒนาก็ประมาณนี้ก็จะเห็นโครงการรับจำนำข้าวเป็นเรื่องที่ทุกพรรคทำในส่วนของพรรคเพื่อไทยเราได้ทำมาจากอดีตโดยศึกษาอดีตที่ผ่านมา
33 ปีทุกรัฐบาลทำจำนำข้าวมีเฉพาะประชาธิปัตย์ในช่วงปี 33-34 เท่านั้นเองที่ทำประกันราคานอกนั้นเป็นจำนำข้าวทั้งหมด

  พรรคเพื่อไทยดูจากอดีตที่ผ่านมาว่าปัญหามันคืออะไรที่ทำกันมาในอดีตทำไม่สัมฤทธิ์ผลหรือสัมฤทธิ์ผลไม่เพียงพอไม่ได้แก้ปัญหาให้ชาวนาไม่ได้แก้ปัญหาความยากจนของชาวนาไม่ได้แก้ปัญหาหนี้สินไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาดีขึ้นจากการศึกษาอดีตก็ค้นพบว่าเราประกันราคาต่ำต่ำกว่าราคาตลาดเยอะมากจำนำก็น้อยมากจำนำราคาน้อยกว่าตลาดและปริมาณก็น้อยมากประมาณ
10% ของตลาดการที่เป็นเช่นนั้นมันไม่สามารถผลักดันให้ราคาข้าวสูงขึ้นพูดง่ายๆคือไม่ได้ไปช่วยทำให้ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้นมีหนี้สินเหมือนเดิมปัญหาอีกอย่างที่สำคัญก็คือกลไกลตลาดมันไปอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลางชาวเป็นมีหนี้สินเยอะสายป่านสั้นมีข้าวก็ต้องขายทันทีส่วนพ่อค้าสายป่านยาวซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ให้ราคาเท่าไหร่ก็ได้กลไกลการตลาดในสมัยอดีตเป็นเสรีแต่ไม่เป็นธรรมทั้งที่ว่าคือปัญหาใหญ่ๆ

  ตอนนี้พรรคเพื่อไทยคิดว่าในปัจจุบันนี้ราคาควรจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ควรจะจำนำประมาณเท่าไหร่จนออกมาเป็นหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อตันข้าวเจ้าขาวข้าวเปลือกและก็จำนำทุกเม็ดทั้งหมดก็เป็นที่มาโครงการรับจำนำข้าวนโยบายของพรรคเพื่อไทยและเมื่อได้นำไปหาเสียงก็ปรากฏว่าประชาชนให้คะแนนเสียงท้วมท้นทำให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นเสียงข้างมากในสภาและก็ตั้งรัฐบาลโครงการรับจำนำข้าวก็เลยได้กลายเป็นนโยบายของรัฐบาลด้วยโดยที่โครงการรับจำนำข้าวถูกนำเป็นแถลงเป็นนโยบายในรัฐสภาเมื่อวันที่
23 สิงหาคม 2554 เพราะฉะนั้นโครงการรับจำนำข้าวจึงเป็นสัญญาประชาคมเพราะประชาชนให้ความนิยมให้เสียงข้างมาก

  นโยบายจำนำข้าวเป็นนโยบายสาธารณะที่ได้ถูกแถลงไว้ต่อรัฐสภาซึ่งหมายความว่ารัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา
178 ทั้งหมดก็เป็นที่มาของนโยบายโครงการรับจำนำข้าวพรรคเพื่อที่ได้ดำเนินการมาจนกระทั้งสิ้นสมัยของรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ชินวัตร

คำถาม : ในต่างประเทศมีโครงการที่ช่วยเหลือเกษตรกรหรือว่าชาวนาที่คล้ายกับโครงการรับจำนำข้าวนี้บ้างหรือไม่
?

นิวัฒน์ธำรง :โครงการช่วยเหลือประชาชนหรือโครงการสาธารณะประโยชน์มีในต่างประเทศจำนวนมากในประเทศไทยเองก็มีนอกเหนือจากโครงการรับจำนำข้าวก็ยังมีโครงการอื่นๆที่เป็นโครงการสารธารณะอีกหลายอย่างเช่นโครงการช่วยเหลือประชาชนช่วยเหลือเกษตรกร

ในส่วนของประเทศไทยเรามีโครงการอื่นๆอย่างเช่นช่วยยางพาราทั้งจำนำก็มีประกันก็มีช่วยข้าวโพดช่วยอ้อยหรือไม่ว่าจะเป็นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคก็เป็นโครงการช่วยเหลือประชาชนเป็นโครงการสาธารณะเช่นกันและแม้กระทั้งโครงการปรส.
โครงการประกันราคาโครงการ 1000 บาทต่อไร่ล้วนก็เป็นโครงการชนิดเดียวกัน

ในต่างประเทศโครงการช่วยเหลือเกษตรกรถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากเรามีสถิติข้อมูลจากหน่วยงานองค์กรระหว่างประเทศ OECD เป็นหน่วยงานที่มีสมาชิกเกือบทั่วโลกดูแลในหลายๆเรื่องเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องการเกษตรและเรื่องอื่นๆรวบรวมไว้เป็นสถิติ

จากการที่ได้ศึกษาเรื่องการช่วยเหลือการเกษตรข้าวจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดโดยจะมีการช่วยเหลือเรื่องข้าวมากกว่าสินค้าการเกษตรอื่นถึง 2-3 เท่าตัว

  ในบางประเทศช่วยเหลือเกษตรกรโดยที่มีมูลค่ากว่าถึง
50% ของรายได้รวบของเกษตรกรถือว่ามากทีเดียวและยังมีในบางประเทศอย่างเช่นญี่ปุ่นเกาหลีใต้นอร์เวย์สวิตเซอร์แลนด์ประเทศเหล่านี้ให้การช่วยเหลือที่มีมูลค่าเกินกว่า
50% รายได้รวมของเกษตรกรมีประเทศบางประเทศที่ถ้าเทียบเป็น GDP กับความช่วยเหลือบางประเทศที่ช่วยเหลือถ้าเอามาเทียบกับ GDP แล้วถือว่าสูงมากยกตัวอย่างอินโดนีเซียให้การช่วยเหลือถึง 3.5% ของ GDP อย่างประเทศไทย GDP 12 ล้านล้านบาทให้การช่วยเหลือคิดเป็น 3% ก็ประมาณสามแสนกว่าล้านบาทอินโดนีเซียประเทศใหญ่กว่าเรามีเศรษฐกิจใหญ่กว่าถึงได้เป็น 3.5%  ยกตัวอย่างประเทศจีนคิดเป็นประมาณ 2.2% แต่เนื่องจากประเทศจีนมี GDP ที่ใหญ่มากจึงเป็นเงินที่มหาศาลเมื่อพูดถึงตัวเงินอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือเกษตรกรคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละแปดหมื่นสามพันล้านเหรียญ

           ส่วนประเทศไทยคิดเป็นเงินประมาณเจ็ดพันล้านเหรียญสูงกว่ากันสิบกว่าเท่าญี่ปุ่นประมาณหกหมื่นสามพันล้านเหรียญก็ยังสูงกว่าไทยร่วมสิบเท่าเพราะฉะนั้นจะเห็นว่าแทบจะทุกประเทศจะดูแลในเรื่องของเกษตรกรที่ซึ่งเป็นกลุ่มคนทีเป็นกลุ่มใหญ่แต่ว่ามีความด้อยโอกาสมีรายได้น้อยทุกประเทศจึงให้ความสำคัญและให้ความช่วยเหลือประเทศไทยก็ได้ทำมาพอสมควรแล้วแต่ยุคแล้วแต่สมัยแต่อย่าไรก็ตามถ้าดูจากสถิติโดยรวมของหลายๆประเทศแล้วในเรื่องของการช่วยเหลือเกษตรกรถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะโครงการประเภทนี้โครงการช่วยเหลือประชาชนโครงการสาธารณะประโยชน์ทั้งหลายเงินที่ทำมาใช้ไปกับโครงการเหล่านี้ถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลช่วยเหลือประชาชนแก้ไขปัญหาประชาชนในระบบสากลถือว่าเป็นการลงทุนไม่ใช่คิดกำไรขาดทุนถ้าหากจะถามว่ามีการขาดทุนจากเกษตรกรเท่าไหร่อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็แปดหมื่นสามพันล้านเหรียญญี่ปุ่นก็หมื่นสามพันล้านเหรียญนั่นคือเงินที่ใช่นั่นเอง

  เพราะฉะนั้นเรื่องอย่างนี้เราทุกคนต้องเข้าใจเพราะถ้าหากเราไม่แก้ไขปัญหาเกษตรกรก็จะมีปัญหาอื่นๆเกิดขึ้นอีกมากมายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแต่ประเทศจะดูแลแก้ปัญหากลุ่มเกษตรกรเพียงกลุ่มเดียวแต่ก็ดูแลทุกกลุ่มซึ่งประเทศไทยก็เหมือนกันก็ดูทั้งเกษตรกรดูกลุ่ม
SME ดู OTOP ทุกหลากหลายทุกกลุ่มแล้วแต่ว่ากลุ่มใดโครงการแบบไหนจะใช้เงินเท่าไหร่ก็จะต้องจัดการให้เหมาะสมแตกต่างกันไป

คำถาม : ทางรัฐบาลเพื่อไทยถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตทุกขั้นตอนจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร?

นิวัฒน์ธำรง :โครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายมีมานานแล้วระบบการทำงานโครงสร้างองค์กรกระบวนการ

ขั้นตอนเงื่อนไขต่างๆมีมาตั้งแต่ต้นและได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆตั้งแต่รัฐบาลก่อนๆมาจนวันนี้เราก็ใช้วิธีคล้ายกันมาพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อประสิทธิภาพและป้องกันการทุจริตรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์หลังชนะเลือกตั้งก็เลยมีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติหรือกขช. มีการตั้งอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอีก
5 คณะซึ่งมุ่งเน้นไปที่การกำกับตรวจสอบในขั้นตอนการทำงานก็เช่นกันเราก็มีการปรับปรุงและจำแนกได้ออกเป็น
4 ประเภทได้แก่ 1. การป้องกันการทุจริต
2. การตรวจสอบ 3.การลดความเสี่ยง 4.การปราบปราม

ในเรื่องการป้องกันถ้าเรามีองค์กรที่ดีกระบวนการที่ดีก็ป้องกันได้มากอยู่แล้วรัฐบาลได้วางแนวทางไว้ 13 ข้อดังนี้

ยกตัวอย่างเราได้มีการทำเรื่องการจดทะเบียนเกษตรกรเราได้เอาคอมพิวเตอร์และจีพีเอสมาใช้เพื่อทำพิกัดของพื้นที่ปลูกข้าวเมื่อกระบวนการเสร็จสมบูรณ์เราจะเห็นได้เลยว่าประเทศเราปลูกข้าวตรงไหนบ้างนอกจากนั้นเราก็มีคณะทำงานเพื่อจดทะเบียนเกษตรกรและเรายังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเช่นผู้ใหญ่บ้านกำนันเจ้าหน้าที่ของธกส. ตัวแทนจากอำเภอเข้ามาเป็นคณะกรรมการเพื่อมาทำประชาคมว่าเรามีการทำนาจริงมีเกษตรกรเท่านี้ๆนี่คือจุดเริ่มต้นของการตรวจสอบในส่วนของจุดรับจำนำข้าวเราก็มีคณะกรรมป้องกันตรวจสอบเหมือนกันมีตัวแทนเกษตรกร
3 คนคอยดูว่าข้าวจริงหรือไม่? สวมสิทธิ์หรือไม่?
และก็มีคนของอคส. อตก. คนจองจังหวัดและมีตำรวจด้วยตรงนี้เป็นเรื่องของการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าระบบเดิม

และท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการอยู่ตลอดเวลาให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องดูแลในส่วนของขั้นตอนการทำงานหรือแม้กระทั่งองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งข้อมูลทั้งหลายเราก็รับจากทุกภาคส่วนจากองค์กรภายนอกเช่นปปช. สตง.
หรือแม้แต้จากองค์กรภายในเองเช่นจากคณะอนุกรรมการปิดบัญชีหรือคณะทำงานทั้งหลาย

ในเรื่องการตรวจสอบรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่ตั้งคณะอนุกรรมการปิดบัญชีข้าวโดยตรงโดยเน้นให้ดูแลเรื่องประสิทธิภาพการใช้เงินรวมถึงเรื่องเป็นการช่วยดูแลสอดส่องการทุจริตได้ด้วยเราได้ตั้งคณะกรรมการดูแลการจำนำข้าวระดับจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าเรามีคณะตรวจสอบประจำทั้งจากกรมการค้าภายในและกรมการค้าระหว่างประเทศรวมถึงมีคณะตรวจสอบเฉพาะกิจเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพราะเรื่องการป้องกันการทุจริตเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญ

ในเรื่องการลดความเสี่ยงนั้นเมื่อทำนโยบายไปได้ระยะหนึ่งแล้วเราก็มีการปรับลดขนาดของการรับจำนำให้เหมาะสมกับกรอบวินัยการคลังและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเดิมทีจากการรับจำนำทุกเมล็ดเป็นไม่เกิน 5 แสนบาทต่อรายและปรับอีกครั้งเป็นไม่เกิน 3.5 แสนบาทต่อรายรวมถึงกรอบการใช้งบประมาณจากเดิมที่เคยตั้งไว้ไม่เกิน
3.5 แสนล้านบาทต่อปีก็ปรับลดมาในปีสุดท้ายเหลือเพียงไม่เกิน
2.7 แสนล้านบาทในครั้งหนึ่งเราเคยมีข้อเสนอเรื่องการปรับลดราคารับจำนำแต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะถูกคัดค้านอย่างรุนแรงทั้งจากชาวนาและผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้น

ในเรื่องการปราบปราบซึ่งก็เป็นเรื่องท่านอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์เน้นเป็นอย่างยิ่งท่านต้องการให้ทำกันอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพก็ได้ตั้งคณะกรรมการปราบปรามทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวขึ้นมาโดยแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุงขึ้นเป็นประธานและก็ได้ทำงานอย่างเข้มแข็งและสามารถดำเนินการจับกุมฟ้องร้องดำเนินคดีได้ถึง
270 ซึ่งมีคดีหลากหลายตั้งแต่ข้ามเขตลักทรัพย์ยักยอกทรัพย์ที่เขาบอกว่าไม่มีการตรวจสอบจริงๆแล้วมีมีถึง
270 คดี

และทุกครั้งที่มีการกล่าวหาเรื่องทุจริตรัฐบาลก็ไม่เคยนิ่งนอนใจได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและสอบสวนข้อเท็จจริงเช่นกรณีที่มีการกล่าวหาเรื่องการระบายข้าวรัฐต่อรัฐก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยมีท่านวัชรีวิมุกตายนปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานและคณะกรรมการตรวจสอบก็เป็นข้าราชการประจำทั้งสิ้นไม่ได้มีนักการเมืองแต่อย่างใดมีการตรวจสอบเอกสารย้อนหลัง 3 ปีและสรุปก็ออกมาว่าไม่ได้พบการกระทำความผิดหรือทุจริตแต่อย่างใด

หรือแม้แต่ตอนมีเรื่องข้าวถุงก็มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหมือนกันโดยให้ท่านสมชาติสร้อยทองอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธานได้มีการตรวจสอบได้ผลแล้วแต่ผลการตรวจสอบมาถึงกระทรวงในช่วงเดือนพฤษภาปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงทางการเมืองพอดี

ฉะนั้นมาตรการที่ออกมาทั้งหมดรวมถึงการตั้งคณะกรรมการต่างๆก็สะท้อนให้เห็นได้ว่ารัฐบาลไม่ได้ปล่อยปละละเลยหรือนิ่งนอนใจแต่อย่างใด

คำถาม : ทำไมรัฐบาลถึงไม่ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวตามที่หน่วยงานต่างๆปปช. สตง. ทีดีอาร์ไอได้เตือนมา

นิวัฒน์ธำรง : ในส่วนขององค์กรภายนอกมีสององค์กรที่เสนอให้ยกเลิกโครงการได้แก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติหรือปปช. ซึ่งมีหนังสือลงนามเมื่อวันที่
7 ตุลาคม 2554 หลังจากที่รัฐบาลได้แถลงโครงการนี้กับรัฐบาลและหลังจากที่เปิดโครงการไปแล้วด้วยฉบับที่สองมาในเดือนเมษายนปี
2555 ซึ่งก็เป็นข้อแนะนำธรรมดาและรัฐบาลเองก็ได้นำข้อเสนอของปปช.
มาปรับปรุงการรับจำนำให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการทุจริตให้ดียิ่งขึ้น

สตง. มีจดหมายมา
4 ฉบับฉบับแรกมาวันที่ 24 สิงหาคม 2554
เพียง 1 วันหลังแถลงนโยบายแต่ก็ไม่ได้ให้ยกเลิกนะจดหมายของสตง.
4 ฉบับนี้ 3 ฉบับแรกไม่ได้มีเรื่องของการยกเลิกเลยเป็นแต่เพียงข้อแนะนำในการบริหารจัดการโครงการฉบับสุดท้ายเป็นฉบับที่ขอให้ยกเลิกคือฉบับลงวันที่
1 มกราคม 2557 แต่ฉบับนั้นมาหลังจากการยุบสภาไปแล้วซึ่งในขณะนั้นเราเป็นรัฐบาลรักษาการไม่สามารถทำนโยบายรอบใหม่ได้

ฉะนั้นถามว่าคำทักท้วงให้ยกเลิกมีไหมก็มีจากองค์กรภายนอกแต่ช่วงเวลาที่ทักท้วงมาก็ไม่ได้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานรวมถึงก็ยังไม่มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกด้วยถามว่ามีความเสียหายไหม? ก็พบว่ามีแต่คนกล่าวหาเสียหายเพราะถ้าไปดูตัวเลขไปดูผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับและดูถึงผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศก็จะพบว่าโครงการนี้ไม่ได้มีความเสียหายอะไร

เรื่องการทุจริตที่มีการกล่าวหาเราก็มีการติดตามดำเนินคดีรองนายกฯเฉลิมก็ฟ้องร้องไปกว่า 270 คดีแต่เป็นเรื่องของระดับปฏิบัติซึ่งใครทำผิดก็ต้องลงโทษกันไปซึ่งรัฐบาลก็สนับสนุนในเรื่องการปราบปรามการทุจริตอยู่แล้วเราให้ความสำคัญกับการต่อต้านการคอรัปชั่นอย่างเข้มงวดไม่ได้มีการทุจริตอะไรในเรื่องที่เป็นเชิงนโยบายเลยแม้กระทั่ง
G TO G เองหรือเรื่องข้าวถุงเองก็เป็นเรื่องขอการปฏิบัติเพราะในเรื่องของ
G-To-G นโยบายบอกว่าให้ระบายข้ามตามแนวปฏิบัติของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งทำกันมาหลายรัฐบาลส่วนกระทรวงพาณิชย์จะไปปฏิบัติแล้วทำผิดก็เป็นส่วนในระดับปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายไม่ได้เกี่ยวกับตัวนายกรัฐมนตรีเลยรวมถึงไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวด้วยเพราะนโยบายจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ดีแต่คุณไปทำผิดคุณก็ถูกลงโทษ

คำถาม : โครงการรับจำนำข้าวทำให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้นจริงหรือไม่?

นิวัฒน์ธำรง : โครงการรับจำนำข้าวเราต้องการแก้ปัญหาความยากจนและหนี้สินของชาวนาเราจึงตั้งราคาจำนำที่ระดับ 15,000 บาทต่อตันโดยที่เราดูว่าด้วยราคานี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ดีเพียงพอต่อการลงทุนและการดำรงชีพและทำให้ชาวนามีรายได้ใกล้เคียงกับรายได้ขั้นต่ำณราคาที่
15,000 บาทนั้นจะทำให้ชาวนามีรายได้เฉลี่ยที่วันละ 259 บาทยังต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทแต่ก็ใกล้เคียงเพื่อรักษาอาชีพชาวนาจากสถิติที่ไปเก็บจากชาวนาพบว่ารายได้มากขึ้นกว่า
50% และหนี้สินลดลงกว่าครึ่งด้วยเหมือนกัน

ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าชาวนาที่ร่ำรวยกว่าจะได้ประโยชน์มากกว่ากันหรือไม่ก็มีสถิติจากธกส. ว่าชาวนารายย่อยพื้นที่นาประมาณ​12
ไร่ได้เงินต่ำกว่า 150.000 ต่อรายมีถึง
54% กว่าครึ่งของจำนวนชาวนาทั้งหมดคนที่ได้ไม่เกิน 200,000 หรือราว 20 ไร่มีกว่า 64% อันนี้ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันว่าชาวนาขนาดเล็กได้ประโยชน์มากที่สุดซึ่งภายหลังเราก็มีการจำกัดว่าหนึ่งรายได้ไม่เกิน
350,000 ยิ่งทำให้กลุ่มรายย่อยได้ประโยชน์ชัดเจนมากขึ้นอีกส่วนรายชาวนารายใหญ่ที่มีที่นามากๆก็จะถูกจำกัดเพดานทำให้เงินงบประมาณที่ใช้ได้กระจายไปอยู่กับชาวนารายย่อยให้ได้มากที่สุด

คำถาม : จากที่ฟังคำถามของสมาชิกสนช. ท่านคิดว่าอยากจะชี้แจงประเด็นไหนมากที่สุดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในนโยบายรับจำนำข้าว

นิวัฒน์ธำรง : ผมคิดว่าเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนที่สุดก็คือเรื่องของกำไร-ขาดทุนเพราะถ้าคุณจะมีที่เพื่อประชาชนช่วยเหลือประชาชนคุณจะมาคิดเรื่องกำไร-ขาดทุนอย่างนี้มันไม่ได้เพราะเราต้องดูผลประโยชน์โดยรวมที่เกิดขึ้นด้วยดูแค่ตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้อย่างโครงการรับจำนำข้าวที่ทำมาแล้วตามหลักเศรษฐศาสตร์ทำให้จีดีพีของประเทศในส่วนของเม็ดเงินจำนำข้าวโตถึง
2.8 เท่าในปี 55-56 ใช้เงินในโครงการรับจำนำข้าวไปกว่า
3 แสนล้านฉะนั้นก็จะทำให้จีดีพีโตขึ้นกว่า 8 แสนล้านแล้วเราจะรู้สึกได้เลยว่าในยุคนั้นเศรษฐกิจของประเทศจะเฟื่องฟูการทำมาค้าขายการจ้างแรงงานดีขึ้นมา

ในเรื่องที่สองเรื่องข้อกล่าวหาทุจริตเป็นเรื่องที่ต้องพูดกันเราต้องดูว่านโยบายนี้ดีหรือไม่และปัญหาของนโยบายนี้คืออะไรแล้วถ้าโครงการนี้มีการทุจริตจริงก็ต้องแก้ปัญหาตรงนี้นโยบายดีต้องเก็บไว้แล้วถ้ามีการทุจริตเราต้องช่วยกันดูและต้องลงโทษไม่ใช่พอมีการทุจริตตรงนี้หน่อยตรงนั้นหน่อยก็เลิกโครงการไปเลยตรงนี้ผมว่าเราคิดผิด

http://youtu.be/j_1tCIX9oo8