นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ตอบ 35 คำถามที่ถูกสนช. ตัดสิทธิชี้แจง

ตอบ 35 คำถามที่ถูกสนช.
ตัดสิทธิชี้แจง

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

คำถาม ข้อ 6 หากโครงการรับจำนำข้าวเกิดผลเสียหาย
ทำให้ต้องมีการใช้ภาษีของประชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่ทราบเวลาที่สิ้นสุด
ถ้าเกิดความเสียหายตรงนี้ ท่านรับผิดชอบอย่างไร

กิตติรัตน์:

ยืนยันว่าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ
แต่ต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ด้านอื่น ทั้งทางสังคมคือคุณภาพชีวิตของชาวนาที่ดีขึ้น
ทั้งทางเศรษฐกิจเมื่อการดำเนินโครงการนั้นได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องของรายได้ของผู้ที่มีรายได้น้อยซึ่งก็คือชาวนา
และนำไปสู่การใช้จ่ายที่เป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

การคำนวณของสำนักงานเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง
นั้นมีการคำนวณว่า การดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวในปีฤดูกาลผลิต 2554/2555 ได้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงถึง 308,000 ล้านบาท และในปี 2555/2556 นั้นได้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าถึงกว่า
315,000 ล้านบาทเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ
หมายถึงโครงการรับจำนำข้าวสามารถทำให้  จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นกว่าในกรณีที่ไม่มีการดำเนินโครงมากกว่าถึงร้อยละ
2.7 ของ จีดีพีในแต่ละปี

สำหรับตัวเลขที่เป็นเรื่องของการคำนวณผลขาดทุนทางบัญชีนั้น
เป็นเรื่องของการคำนวณเพื่อให้สามารถทราบได้ว่าเราจะจัดสรรวงเงินหมุนเวียนจัดสรรเงินงบประมาณเข้าไปดูแลค่าใช้จ่ายในรายปีฤดูกาลผลิตอย่างไร
การนำเอาตัวเลขทางบัญชีในหลายๆปีมาบวกทบๆกัน
แล้วอ้างว่าเป็นเรื่องของการขาดทุนบัญชีสะสม แล้วอ้างว่าเป็นเรื่องของความเสียหายที่มากขึ้นเรื่อยๆนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

คำถาม ข้อ 7 ท่านทราบหรือไม่ว่าการที่ท่านนำตัวเลขการสูญเสียในกรณี  ปรส. 
มาใช้อ้างอิงนั้นเป็นกรณีที่เปรียบเทียบกันมิได้
?

กิตติรัตน์:

ในกรณีของ ปรส. เป็นเรื่องที่ต้องดูแลปัญหาทางการเงินซึ่งเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจในเวลานั้น
อาจมีบางคนพูดว่าสถาบันการเงินเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและเป็นปัญหาของประเทศ
ในขณะที่การดูแลประชาชนซึ่งมีจำนวนถึงเกือบ 4 ล้านครัวเรือน
จำนวนถึงมากกว่า 15 ล้านคนนั้น ไม่ใช่ปัญหาของประเทศ
ชาวนาอยู่ในสถานะที่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยมาก
ถ้าหากว่าไม่มีโครงการรับจำนำข้าวหรือโครงการที่จะพยายามจะดูแลชาวนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น

ในการดูแลชาวนาใช้งบประมาณในแต่ละปีไม่เกินร้อยละ
5 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เกินเลยในการที่จะดูแลเกษตรกรจำนวนถึง 23% ของประชากรทั้งประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และการดูแลผู้ที่มีรายได้น้อยเหล่านี้ นอกจากจะมีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้ว
ยังเป็นการ
เพิ่มกำลังซื้อให้กับคนกลุ่มนี้
ในที่สุดแล้วก็กลายเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับผู้ที่มีรายได้ระดับสูงๆกันไปด้วย

คำถาม ข้อ 8 หากในอนาคตท่านมีโอกาสกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล ท่านจะดำเนินนโยบายโครงการจำนำข้าวในลักษณะที่ผ่านมาอีกหรือไม่? จะป้องกันการคอร์รัปชั่นได้อย่างไร? จะจัดหางบประมาณมาจากไหน
และจะป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร?

กิตติรัตน์:

คำถามในลักษณะที่ใช้ข้อมูลว่า “ถ้า” ก็หมายถึงว่าในอนาคตถ้าอย่างนั้นถ้าอย่างนี้
ก็เป็นคำถามที่ไม่เหมาะนักในการมาตั้งถามผู้ถูกกล่าวหา
ขอเรียนว่าในการดำเนินโครงการดูแลเกษตรกรที่ผ่านมาของประเทศไทยและก็มีหลายๆประเทศที่ใช้กัน
ก็มีการดำเนินโครงการอยู่ 3 ลักษณะ

 ลักษณะแรกก็คือเรื่องของการรับจำนำในลักษณะที่ทางรัฐบาลของเราได้ดำเนินการช่วงผ่านมา
อีกลักษณะหนึ่งเป็นเรื่องของการประกันความเสี่ยงด้านราคามีการกำหนดราคาเป้าหมาย
ก็ทราบว่าราคาที่เกษตรกรสามารถจำหน่ายได้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
รัฐบาลก็จะชดเชยเงินส่วนต่างตรงนั้นให้
ซึ่งในรัฐบาลก่อนหน้านี้ใช้คำว่าประกันรายได้ ซึ่งน่าเรียกว่าประกันราคามากกว่า

การดำเนินโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่เรียบง่ายในทางปฏิบัติ
แต่เป็นโครงการซึ่งมีความเสี่ยงจากการทุจริต เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย
การที่เกษตรกรไปขึ้นทะเบียนผู้ปลูก และถึงเวลาก็อ้างว่ามีการปลูกจริง
ซึ่งอาจจะไม่ได้มีการปลูกเลยก็ได้ แล้วก็ได้รับเงินชดเชย ซึ่งก็มีการทุจริตได้มาก
โอกาสตรวจสอบมีได้น้อย

อีกลักษณะหนึ่งเป็นการชดเชยต้นทุนการผลิต
โดยมักจะอ้างอิงถึงพื้นที่เพาะปลูก จำนวนไร่ที่มีการเพาะปลูก
รัฐบาลผมเองก็เคยทำกับเกษตรกรสวนยางพารา
การดำเนินโครงการลักษณะนี้เหมาะสมกับพืชยืนต้น เพราะว่ามีระยะเวลาในการตรวจสอบได้
ว่าการเพาะปลูกจริงมีพื้นที่ประมาณเท่าไร แม้ว่าภายหลังมีการกล่าวหาว่ามีการทุจริต
การไปตรวจสอบว่ามีพื้นที่เพาะปลูกของพืชยืนต้นนั้น ว่ามีอยู่จริงไหม
ในขณะนี้เรามีการชดเชยนี้ทำได้ง่าย
แต่จะไม่สามารถทำได้กับพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่หรือพืชนาที่เป็นพืชหมุนเวียน

ดังนั้นโครงการที่จะดูแลเกษตรกรนั้น
ผมเชื่อว่ารัฐบาลในอนาคตไม่ว่ารัฐบาลไหนๆก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงภารกิจที่จะต้องช่วยดูแลเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาที่มีรายได้น้อย

คำถาม ข้อ14 ความเสียหายที่เกิดขึ้น
มีผลประโยชน์ใดเกิดกับชาวนาผู้เป็นเกษตรกรของชาติ อย่างยังยืนหรือไม่
?

กิตติรัตน์:

การจะดูว่ามีการคุ้มค่าหรือไม่ จะต้องเทียบเคียงประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับการดำเนินโครงการการปิดบัญชีนั้นยังมีข้อโต้แย้งอยู่หลายเรื่อง
เรื่องที่สำคัญคือเรื่องของการประเมินมูลค่าสต็อกหรือสินค้าคงคลัง
มีความเห็นที่แตกต่างกันมีข้อมูลที่ชัดเจนที่แตกต่างกันว่า อนุกรรมาธิการปิดบัญชีไม่ได้รวมคำนวณข้าวสารจำนวนเกือบ
3 ล้านตัน ทั้งๆที่ส่วนราชการที่ผู้ดูแลรับผิดชอบสินค้าคงคลังจำนวนนี้คืออตก. และ อคส.ได้ยืนยันถึงความมีอยู่จริงของสินค้าคงคลังจำนวนนี้

นอกการนั้นยังมีข้อสังเกตในเรื่องของการใช้ราคามาประเมินสินค้าคงคลังเป็นจำนวนที่มีการคำนวณไว้ทั้งหมด
มีแนวคิดที่แตกต่างกันในเรื่องของการใช้ราคาสินค้ามาคำนวณ ราคาที่ใช้แตกต่างกันก็มีผลต่อการคำนวณค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันด้วย
และยังมีรายละเอียดในเรื่องของการที่ไม่ได้คำนวณ ในกรณีที่ถ้าว่ามีการนำข้าวในสต็อกไปจำหน่ายให้กับส่วนราชการเพื่อที่จะปฏิบัติภารกิจในส่วนของการดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนโดยใช้ข้าวในสต็อก
และไม่ได้มีการคำนวณนำมารวมด้วย ดังนั้นตัวเลขที่ได้มีหยิบยกข้อมูลจากการปิดบัญชีของคณะกรรมการปิดบัญชีนั้นยังมีข้อโต้แย้งอยู่ต่อให้แตกต่างกันก็ยังมีผลที่เรียกว่าการขาดทุนทางบัญชีอยู่
ย้ำอีกครั้งว่าการที่นำตัวเลขของแต่ละปีการผลิตมาบวกมารวมกันหลายๆปีแล้วมาเรียกว่าการขาดทุนสะสมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควร

ถ้าหากจะต้องการนำมาทบๆกันอย่างนั้นจริง จำเป็นต้องนำประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรายปีมาบวกทบๆกันด้วยดังนั้นหากต้องการตัวเลขทางบัญชีปีเดียวก็ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจปีเดียวมาเทียบ
หรือถ้าในกรณีที่ท่านผู้แทนกล่าวหาได้หยิบยกการปิดบัญชีหลังจากกรณีที่ได้ใช้ปิดสำนวนของท่านผู้ถูกกล่าวแล้ว
ก็เป็นตัวเลขของการปิดบัญชีถึง3 ปี ดังนั้นถ้าหากนำตัวเลขการปิดบัญชี 3ปีมาเทียบ
ก็ต้องนำเอาประโยชน์ทางเศรษฐกิจถึง
3 ปีมาเทียบด้วย 

 
ตามที่ท่านได้แก้ข้อกล่าวหาว่าได้สั่งการตั้งกรรมการชุดต่าง
ๆ  มาแก้ปัญหาแล้ว 
ผลปรากฏว่าปัญหาความเสียหายหมดไปหรือไม่

กิตติรัตน์:

ในกลไกปฏิบัติเราสามารถตรวจพบความไม่ปกติและได้มีการดำเนินคดี มีการกล่าวหากล่าวโทษผู้ที่ปฏิบัติในส่วนนั้นและคดีก็ได้ดำเนินเข้าสู่ขบวนการตามปกติโดยได้มีการติดตาม
จริงๆแล้วผู้แทนผู้กล่าวหาพูดราวกับว่าไม่เคยพบการปฏิบัติที่ไม่สุจริต
พูดราวกับว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จึงไม่ตรวจพบ
ที่จริงแล้วตรวจพบและมีการดำเนินทุกคดีทุกกรณี ในขณะเดียวกันอาจจะมีคนบอกว่าการที่ตรวจพบแสดงว่ามีการทุจริตนะสิย้ำอีกครั้งว่าการดำเนินการเรื่องใดๆไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐทั้งประเทศนี้และประเทศอื่นหรือเอกชนไม่ว่าองค์กรระดับไหนมีโอกาสที่จะเกิดการปฏิบัติที่ไม่สุจริตทั้งสิ้นขอให้เมื่อพบแล้วมีการดำเนินการอย่างจริงจังไม่ปล่อยปะละเลย
ดังนั้นการดูแลในส่วนนี้เป็นภารกิจได้ดำเนินมาแล้วต่อเนื่อง
แล้วมีการตั้งคณะกรรมการ และมีการตรวจสอบกันอย่างจริงจัง

 
ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการ
ตามนโยบายของรัฐบาลของท่านอย่างไร

กิตติรัตน์:

ความจริงเป็นเรื่องของโครงการที่มีความไตร่ตรองไว้อย่างครบถ้วน
ได้มีการไตร่ตรองและคำนวณความคุ้มค่า กลายมาเป็นนโยบายที่เสนอต่อรัฐสภา
ก่อนที่จะนำมาปฎิบัติว่าเป็นโครงการที่ทีการไตร่ตรองที่ดี
ถ้าเปรียบเทียบความเสียหายแล้วเราสามารถยืนยัน แน่นอนว่าการที่เราเลือกที่จะทำหรือไม่ทำนั้นเป็นเรื่องของประโยชน์และความคุ้มค่า

ในการใช้จ่ายงบประมาณสุดท้ายต้องมีความระมัดระวัง
ในการถูกกล่าวหาว่าใช้ภาษีเงินได้ของคนทั้งประเทศ
ความจริงการดำเนินโครงการของภาครัฐก็ใช้ส่วนทรัพยากรของประเทศ ซึ่งการดำเนินโครงการล้วนก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงทางอ้อม
ต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อประชาชนอย่างไรนั้น ถ้ากลัวว่าการดำเนินนโยบายแล้วจะเกิดความเข้าใจผิดจนไม่กล้าลงทุน
ผมคิดว่ารัฐบาลในอนาคตเหล่านั้นเป็นรัฐบาลที่ต้องถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ทำร้ายประเทศ

คำถามข้อ 18ตั้งแต่ทำโครงการรับจำนำข้าว  ท่านได้มีการวางแผนเพื่อติดตามควบคุมและแก้ไขปัญหาไว้หรือไม่? 
อย่างไร
?

กิตติรัตน์:

ความจริงตั้งแต่มีการดำเนินโครงการก็มีการจ่ายเงินให้เกษตรกรจำนวนเงินมากกว่า
ในการจ่ายเกษตรกรใช้การจ่ายเงินเข้าบัญชีชาวนาซึ่งชาวนาเปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ธกส.
เพราะเงินจำนวนนี้รั่วไหลไปไหนไม่ได้ โครงการได้ดำเนินการแบบใช้เงินทุนหมุนเวียนโดยเมื่อมีการจ่ายเงินค่าจำนำแล้ว
ก็มีในส่วนของการนำข้าวในสต๊อกไประบายออกเมื่อมีรายได้กลับมาก็ไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไป

รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ดูแลโครงการอย่างเหมาะสมทั้งในส่วนของการดูแลดอกเบี้ย
เงินต้น และเป็นค่าใช้จ่าย ร่วมทั้งการจัดตั้งงบประมาณ
ไม่ใช่จะดูแลแต่งบรัฐบาลเราเท่านั้น โครงการดูแลเกษตรกรที่ข้ามมาจากรัฐบาลเดิม
หลายๆโครงการ ก็ยังคงได้รับการดูแล และจัดงบประมาณที่เหมาะสมไปดูแลโครงการนั้นด้วย

การดูแลโครงการเหล่านี้ ยืนยันอีกครั้งไม่ใช่เป็นเรื่องการเสียหาย
และก็ถามว่าจะเอาเงินมาจากไหน เศรษฐกิจดีรายรับของรัฐบาลก็ดีด้วยจากรายได้ภาษีของประเทศต่างๆ
และก็ท่านจะเห็นได้ว่าในช่วงที่รัฐบาลนี้รับผิดชอบอยู่นอกจากจะไม่ไปเพิ่มภาษีอะไรแล้ว
ยังคงลดอัตราภาษีสำคัญลงหลายเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้นการดูแลรายได้ที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากนัก

โครงการเหล่านี้ดำเนินร่วมไปกับโครงการด้านอื่นๆ
หนี้สาธารณะของประเทศ อยู่ใน จีดีพี ร้อยละ 45
ต่ำกว่าเพดานที่กำหนดไว้รัฐบาลก่อนหน้าโดยรัฐบาลก่อนหน้านั้นได้กำหนดเพดานไว้ที่ร้อยละ
60ขณะที่หนี้สาธารณะที่เรารับผิดชอบอยู่ ในระดับเกณฑ์ ร้อยละ 45 ของจีดีพี
และถ้าหากว่าจะคำนวณหนี้สาธารณะที่เป็นธรรมมันจะเหลือเพียงระดับ ร้อยละ 30
เท่านั้นเพราะว่าหนี้สาธารณะจำนวนหนึ่งรัฐบาลรับผิดชอบร่วมอยู่ด้วยได้ดำเนินการบริหารจัดการหนี้สาธารณะไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน

คำถามข้อ 26เมื่อสถานการณ์การขาดทุนสะสมเพิ่มมากขึ้น
ตามวงรอบฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวท่านได้กำหนดแนวทางการแก้ไขอย่างไรความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ในความรับผิดชอบของท่านหรือผู้ใด
? อย่างไร?

กิตติรัตน์:

โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่กำหนดราคา ไว้ที่
15,000 บาท/ตัน เป็นการคำนวณถึงระดับรายได้ที่ชาวนาโดยถัวเฉลี่ยจะได้รับจากผลผลิตที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้นั้น
แม้แต่ระดับที่ได้คำนวณไว้ที่ 15,000 บาท/ตัน เกษตรกรโดยเฉลี่ยก็มีรายได้ต่อวัน
ไม่สูงเท่ากับคนที่มีรายได้อยู่ในสังคมเมือง ดังนั้นในระดับ 15,000 บาท/ตัน ยืนยันว่าไม่สูง
เมื่อเทียบกับรายรับของเขาที่ควรจะได้รับ ในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่งจึงตัดสินใจในฐานะที่มีอาชีพเป็นชาวนา

ประเทศผู้ผลิตข้าวรายสำคัญของโลกในอินเดีย ได้ตัดสินใจเอาสินค้าในคลังส่วนเกินที่ประเทศได้สะสมเอาไว้นานมาระบายออกในช่วงเวลานั้น
ย่อมทำให้ราคาในตลาดโลกอ่อนตัวลงในช่วงเวลานั้นรัฐบาลมีสต๊อกข้าวอยู่
และเราเห็นการระบายข้าวออกมาอย่างมากของประเทศผู้ผลิตรายอื่น
การที่เราจะชะลอการขายของเราเป็น ลงไปบ้าง ก็มีส่วนสำคัญที่จะไม่ไปซ้ำเติมราคาข้าวให้อ่อนลงอีก

การกล่าวอ้างว่าโครงการนี้ทำให้ตลาดข้าวมีความเสียหาย
แล้วก็ทิ้งผู้แทนการกล่าวหา อาจจะพูดในช่วงเวลาหนึ่งว่า
การที่จะกล่าวอ้างว่าการดำเนินโครงการนี้
ทำให้ตลาดข้าวได้รับความเสียหายได้ทำให้ข้าวทั้งหมดของประเทศไทย
เข้าไปอยู่ในฝั่งรัฐบาล ตรงนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้กล่าวหา
การเปิดให้มีการจำนำได้ทุกเมล็ดนั้น หมายถึงว่าถ้าใครต้องการเข้ามาจำนำ
แต่โดยข้อเท็จจริงข้าวที่มีการปลูกนั้นได้เข้ามาสู่ระบบจำนำเพียงประมาณครึ่งเดียว
อีกครึ่งหนึ่งยังคงมีกระบวนการจำหน่ายทั้งในประเทศและนอกประเทศกันเป็นปกติ
โดยที่ไม่ได้เข้ามาที่กระบวนการรับจำนำ

การที่ข้าวจำนวนดังกล่าวได้เข้ามาในระบบจำนำนั้นก็มีการสำรวจพบได้ว่า
ข้าวจำนวนดังกล่าวได้รับราคาที่ดีขึ้น เพราะว่าการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางต่างๆทำได้ยากเนื่องจากชาวนา
สามารถมีทางเลือกได้มากกว่าหากราคาในตลาดสูงพอสมควร ถ้าอย่างนั้นการอ้างว่า ข้าวเข้ามาในคลัง
ผูกขาดและก้าวเข้ามาในกลไกตลาดจึงไม่เป็นความจริง และการที่จะกล่าวอ้างว่า
นักธุรกิจนั้น หันมาทำธุรกิจเรื่องข้าว จึงไม่สามารถมีข้าวได้จึงต้องหันมา
ใช้วิธีพิเศษต่างๆที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเพื่อให้ได้ข้าวไปจำหน่ายนั้นก็ไม่เป็นความจริง

กระบวนการในการระบายข้าวนั้นใช้กลไกในการประมูล
ดังนั้นผมจึงเรียนได้ว่าไม่ได้มีความเสียหายของกลไกในตลาดข้าว
ในทางกลับกันได้สร้างความเป็นธรรมสร้างความเสรีให้กับการค้าในตลาดข้าว เพราะมีภาครัฐเป็นอีกรายหนึ่งที่ได้เสนอตัวเข้ามาทำหน้าที่ในการรับจำนำด้วย

http://youtu.be/XICRMEkK2cE