เพื่อไทยชี้แจงคลายปมถูกถอดถอน ยันทำถูกต้องทุกขั้นตอน ทั้งหลักกฎหมาย ข้อบังคับ และนิติบัญญัติประเพณี
เพื่อไทยชี้แจงคลายปมถูกถอดถอน ยันทำถูกต้องทุกขั้นตอน
ทั้งหลักกฎหมาย ข้อบังคับ และนิติบัญญัติประเพณี
“6 ประเด็นชี้แจง”กรณี
ป.ป.ช. ยื่นถอดถอน 248 ส.ส.แก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง
1. รัฐธรรมนูญ 2550 ได้
“ถูกยกเลิก” ไปแล้ว
• คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวหาว่าอดีต
ส.ส. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่
ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง
แต่เมื่อได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 23
พฤษภาคม 2557 ให้รัฐธรรมนูญ 2550
สิ้นสุดลง และต่อมาได้ประกาศใช้
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
แล้ว จึงเท่ากับไม่มีมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ
2550
หรือมาตราอื่นใดใช้บังคับอยู่ที่จะให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.อาศัยเป็นฐาน
ในการพิจารณา
จึงเท่ากับว่ากฎหมายหลักที่ใช้เป็นข้อกล่าวหาชี้มูลความผิด
อันจะนำไปสู่การถอดถอนนั้นได้
“ถูกยกเลิก” ไปแล้ว
• การกล่าวอ้างของ
ป.ป.ช. ว่าได้มีมติวินิจฉัยไปก่อนวันที่ 23 พฤษภาคม 2557
ที่มีประกาศฉบับที่ 11/2557
ให้รัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิก ผลก็คือ
ผู้กระทำย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด
การดำเนินการทั้งหลายจะต้องสิ้นสุดลง
ตามหลักกฎหมายทั่วไป ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจส่งเรื่องมายัง
สนช. ได้
2.
คำวินิจฉัยที่ปราศจากอำนาจย่อมไม่ผูกพันองค์กรอื่น
• การถอดถอนในครั้งนี้มีที่มาจากการใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งในเรื่องการรับคำร้องโดยตรงทั้งที่ไม่ผ่านอัยการสูงสุด
และการเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจตรากฎหมายของรัฐสภา
ทั้งที่รัฐธรรมนูญ
ไม่ได้ให้อำนาจ
• ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจเฉพาะตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจ
ไว้เท่านั้น
เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา รัฐธรรมนูญ
ไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบได้
และมาตรา 291 มิได้ให้อำนาจ
ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
• ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำนาจตัวเองผิดไปจากที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ไว้ในสองประการ ได้แก่
1)
ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาโดยตรง โดยที่ยังไม่ผ่าน
การตรวจสอบข้อเท็จจริงของอัยการสูงสุด
2)
การตีความของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อใช้อำนาจตรวจสอบ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่
ของฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั้งที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจ
• สำหรับกรณีที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช. อ้างว่าตนเองต้องผูกพันในผลแห่งคดี
ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15–18/2556 นั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550
ยังมีผลใช้บังคับอยู่ และประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ก็เป็นเรื่องขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่
คณะกรรมการป.ป.ช.
พิจารณาคำร้องขอถอดถอนจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นการพิจารณา
ตามมาตรา 270 และมาตรา 291
3. การดำเนินการของ
ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เที่ยงธรรม
• นายภักดี โพธิศิริ
กรรมการ ป.ป.ช. มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เพราะไม่ได้ลาออกจากบริษัท
องค์การเภสัชกรรม – เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด ภายในกำหนด 15
วันนับแต่ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งขัดต่อมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ซึ่งถือว่า นายภักดี โพธิศิริ
มิได้มีสถานะทางกฎหมายเป็นกรรมการ
ป.ป.ช. มาตั้งแต่แรก จึงไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ที่จะเข้าประชุมและมีมติร่วมกับคณะกรรมการ
ป.ป.ช.
• นางสุภา ปิยะจิตติ
กรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. มีผลตั้งแต่วันที่ 9
กันยายน 2557
แต่กลับไปลงนามในสำนวนชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557
มติให้ชี้มูลความผิดในคดีนี้ของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. นี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
• นายวิชา มหาคุณ
ประธานคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง มีทัศนคติที่เป็นลบต่อ ส.ส. และ
ฝ่ายการเมือง
เพราะได้แสดงออกซึ่งทัศนคติดังกล่าวผ่านสาธารณะหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีนี้ได้ออกมาให้สัมภาษณ์และให้ความเห็นหลายครั้งในลักษณะของการชี้นำผลของคดีและได้แสดงออกถึงความไม่เป็นกลางทางการเมืองมาโดยตลอด
จึงไม่สมควรที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช.จะแต่งตั้งเป็นองค์คณะในการไต่สวนและผู้รับผิดชอบสำนวน
• การไต่สวนของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. นั้น มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการให้การต่อสู้คดีหรือไม่ได้รับโอกาสในการชี้แจงด้วยวาจาเพิ่มเติม
การที่ผู้ถูกกล่าวหา
เป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ
แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.รีบเร่ง รวบรัด วินิจฉัยคดี ชี้มูลผู้ถูกกล่าวหา
• ผู้ร้องให้มีการถอดถอนเป็น
ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ บุคคลเหล่านี้ได้ร่วมในการพิจารณาญัตติ
ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในที่ประชุมรัฐสภามาตลอดตั้งแต่วาระที่
1 วาระที่ 2 และวาระที่ 3
และยังได้ร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาในวาระที่
2 เห็นได้ว่า ผู้ร้องเองก็สนับสนุนแนวคิด
ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ
ส.ว. แต่กลับมาร้องให้เป็นคดี และคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ก็รับเรื่องไว้พิจารณา
แสดงถึงความไม่เที่ยงธรรมของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
• คำร้องของผู้ร้องมิได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามข้อบังคับการร้องเรียนแต่อย่างใด
กรณีเช่นนี้
จึงถือเป็นคำร้องที่ไม่สมบูรณ์
ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ สนช. ไม่อาจรับไว้พิจารณาดำเนินการได้กรณีที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช. รับคำร้องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
จึงเป็นการดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อมาตรา 61 แห่ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
อย่างชัดเจน 6
4. ถอดถอน
“ผู้ไม่มีตำแหน่ง”ออกจากตำแหน่ง
• องค์ประกอบสำคัญที่จะถอดถอนได้
คือ ผู้นั้นต้องยังดำรงตำแหน่งอยู่
การถอดถอนออกจากตำแหน่ง รัฐธรรมนูญ
2550 มาตรา 270 กำหนดไว้ชัดเจนว่า
“ผู้ดำรงตำแหน่ง”
ไม่ได้บัญญัติไปถึง “ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง” ด้วย
ดังนั้นการจะถอดถอน
ก็ต้องมีข้อเท็จจริงว่า
บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งอยู่ จึงจะถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งได้
• การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งเป็นความรับผิดชอบทางการเมือง
ที่คำนึงถึงตำแหน่งที่บุคคลนั้นดำรงอยู่เป็นสำคัญ
จึงให้องค์กรทางการเมือง คือ
วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอน
เมื่อผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ไปโดยการยุบสภา
จึงไม่สามารถถูกถอดถอนซํ้าสองอีกได้ ยุบสภา
= ส.ส.ทั้งหมดพ้นจากตำแหน่ง
5. แก้ข้อกล่าวหารายประเด็น
กรณีเปลี่ยนแปลงการปกครอง
• การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีข้อห้ามไว้ตามมาตรา 291 แต่เพียงห้ามแก้ไข
ซึ่งมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐเท่านั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่อง
ที่มาของ
ส.ว.ก็เพื่อให้กระบวนการได้มาซึ่ง ส.ว. มีความเป็นประชาธิปไตย
และยึดโยงอำนาจของประชาชน โดยกำหนดให้
ส.ว. ซึ่งเดิมมาจากการเลือกตั้งบางส่วน
และสรรหาบางส่วน
แก้ไขเป็นให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จึงไม่ได้เป็นการแก้ไข
เพื่อการได้มาซึ่งอำนาจ
หรือเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่อย่างใด
กรณีร่างใหม่ VS ร่างเดิม
• เพื่อทำให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมีความสมบูรณ์สอดคล้องกับหลักการ
ที่ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง
ซึ่งสามารถกระทำได้ โดยวิธีการอาจเป็นการแก้ไข
เฉพาะหน้าที่ผิด
หรือจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือร่างพระราชบัญญัติ
ทั้งฉบับโดยยังคงใช้เลขรับเดิม
ก่อนที่ประธานรัฐสภาจะบรรจุระเบียบวาระ โดยที่
ไม่จำต้องให้สมาชิกรัฐสภามาเข้าชื่อกันใหม่
• เหตุที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมก็เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ซึ่งได้ทำก่อนที่ประธานรัฐสภา
จะอนุญาตให้บรรจุร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา
ซึ่งสามารถทำได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
ที่ผ่านมาก็มีการทำเช่นนี้เป็นประจำ
ในกรณีของร่างพระราชบัญญัติ
ถือเป็นนิติบัญญัติประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา
และผู้ร่วมเข้าชื่อเสนอญัตติก็ได้ทราบถึงการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นแล้ว
จนได้พิจารณาผ่านวาระ
ที่ 1 ที่ 2 และวาระที่ 3 สมาชิกรัฐสภาทุกคนก็ได้พิจารณาและอภิปรายในร่างแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญร่างเดียวมาตลอดตั้งแต่วาระที่
1 ถึงวาระที่ 3
• การนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาเปลี่ยนกับร่างเดิม
จึงเป็นขั้นตอนทางธุรการ
ก่อนบรรจุระเบียบวาระและเป็นไปตามหลักการที่ให้
ส.ว. มาจากการเลือกตั้งของ
ประชาชน ไม่จำกัดสิทธิของ ส.ว.
ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง
ได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค
เพราะหลักการมาจากประชาชน ประชาชนจะเลือกหรือไม่
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หลักการดังกล่าวเป็นที่รับรู้ในหมู่มวลสมาชิกรัฐสภาที่เข้าชื่อเสนอญัตติ
กรณี ส.ส. VS หน้าที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
• การลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้น
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ถือเป็นเอกสิทธิ์
โดยเด็ดขาดของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ
2550 มาตรา 130
และถือเป็นขั้นตอนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2550
มาตรา 291
จึงไม่มีกรณีใดที่จะถือว่ากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญ
กรณีมติไม่ถอดถอน ส.ว.
• การถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 248 คน ออกจากตำแหน่งในครั้งนี้
เป็นกรณีเดียวกันกับที่ ป.ป.ช.
มีมติชี้มูลความผิดอดีตสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 คน
และที่ประชุมสภานิติญัตติแห่งชาติในการประชุมครั้งที่
16/2558 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม
2558 ได้มีมติไปแล้ว
โดยเสียงส่วนใหญ่ของ สนช. มีมติไม่ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา
กรณีนี้เป็นประเด็นข้อกล่าวหาในเรื่องเดียวกัน
ข้อเท็จจริงอันเดียวกัน
• เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีมีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน
ก็สมควรมีมติไปในทำนองเดียวกัน
เมื่อ
สนช.มีมติไม่ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา ก็ไม่สมควรที่จะถอดถอนอดีตสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรด้วย
การลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็น
“เอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด” ของสมาชิกรัฐสภา
• สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกรัฐสภาในการเสนอ
และพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญได้
บัญญัติไว้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ไม่มีการกระทำใดที่จะถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
• การกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มิใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ
เพื่อล้มล้างการปกครองประเทศ
หรือกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง
ประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
หากแต่เป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบ
และครรลองของวิถีทางประชาธิปไตย
• เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติได้ใช้อำนาจ
นั้นในนามของปวงชนชาวไทย
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.
ก็เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจได้ตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเองโดยตรง
และการดำเนินการก็อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 291
โดยมิได้มีการล้มล้างการปกครอง
หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐใดๆ
• การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
จึงไม่ใช่เป็นการล้มล้าง
การปกครอง
และไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวงที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง
จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง
E-Book : http://issuu.com/sample22/docs/6__________________________________