ทนาย นรวิชญ์ “เห็นต่าง” อ.วิษณุ ในกรณี อายุความ จะคดีแพ่ง (จำนำข้าว) ยังไม่เริ่มนับอายุความ อย่าอ้างว่าคดีแพ่งขาดอายุความ คดีมีทุนทรัพย์สูง ไม่ควรรีบเร่ง ควรให้ความเป็นธรรมในการไต่สวนข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน ก่อนสรุปความเสียหาย

        จากที่ปรากฏเป็นข่าว ว่าจะมีการสรุปสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด  ให้เสร็จสิ้น   ภายใน วันที่ ๓๐  กันยายน ๒๕๕๘   เพื่อไม่ให้คดี ขาดอายุความนั้นนาย นรวิชญ์   หล้าแหล่ง ในฐานะทนายความส่วนตัว ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกล่าวว่าในเรื่องอายุความ    มีความ  “  เห็นต่าง”   ในเรื่องอายุความ
​​        ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  พ.ศ. ๒๕๓๙  มาตรา ๑๐  วรรคสอง   กำหนด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่   มีกำหนดอายุความ  ๒  ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด  และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
        ​​คำว่า    นับแต่วันที่ หน่วยงานของรัฐ  “รู้”  ถึงการละเมิด  และ  “รู้”   ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ก็คือ วันที่ พลเอกประยุทธ ฯ  และ  รมว. คลัง  ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ในโครงการรับจำนำข้าว   ได้วินิจฉัย ว่า “มีผู้กระทำผิด หรือไม่ เท่าใด”   จึงต้องเริ่มนับอายุความ   ๒  ปี

        ​​ดังนั้น เมื่อ พลเอกประยุทธ ฯ  และ  รมว. คลัง  ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า  มีเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำผิด  หรือไม่  เท่าใด      “   การเริ่มนับอายุความ   ๒ ปี จึงยังไม่เริ่มนับ    เมื่ออายุความยังไม่เริ่มนับ   อายุความคดีแพ่งจึงยังไม่ขาดอายุความ”

        ​​คดีนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ฯ  เพิ่งจะได้ให้ถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรไปเมื่อวันที่                ๒  กันยายน  ๒๕๕๘  ที่ผ่านมา  ซึ่งในการให้ถ้อยคำเป็นหนังสือนั้นได้อ้างพยานบุคคล  ที่เกี่ยวข้อง   ในโครงการรับจำนำข้าว  ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ  แต่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด  กลับไม่ไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เสียก่อน
​​ซึ่งในเรื่องนี้ ตาม  ข้อ ๑๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  พ.ศ.๒๕๓๙ ระบุไว้ชัดเจนว่า  คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด  ต้องให้โอกาสแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง  แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ  และเป็นธรรม

        ​​ดังนั้น คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด  ต้องให้โอกาสแก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ  ในฐานะผู้เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง  แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ  และเป็นธรรม    โดยให้มีการไต่สวนพยานบุคคล ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ ในฐานะผู้เกี่ยวข้องได้อ้างไว้แล้วนั้น  ให้เสร็จสิ้น ครบถ้วน ก่อนสรุปสำนวน

​​        การที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด   ไม่ได้ให้โอกาสแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง  แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ  และเป็นธรรม  ซึ่งในเรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีแนวคำพิพากษาไว้แล้ว           ว่าเป็นการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ​​

​​        นายนรวิชญ์กล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้ทีมทนายความ  กำลังรวบรวมพยานหลักฐาน หากเห็นว่าเกิดความเสียหาย   แก่นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ  จะได้ดำเนินการตามกฎหมายทั้ง ทางอาญา  และทางแพ่งกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: https://m.facebook.com/NorrawitSocial/photos/a.1639020283022428.       1073741830.1549395275318263/1648612702063186/?type=3&source=48