จดหมายเปิดผนึกพรรคเพื่อไทย ถึง ประธาน กรธ







จดหมายเปิดผนึกพรรคเพื่อไทย

เรื่อง  ขอให้ยึดหลักการประชาธิปไตยและน้อมนำพระราชหัตถเลขาของล้นเกล้าล้นกระหม่อม

รัชกาลที่ 7 มาใช้ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ

เรียน  นายมีชัย ฤชุพันธ์
ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

  เนื่องด้วยวันที่ 10 ธันวาคม 2558 เป็นวันครบรอบ 83 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย
ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับเป็นเวลายาวนานที่สุดในบรรดารัฐธรรมนูญทุกฉบับของประเทศไทย
ซึ่งต่อมาทางการได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันรัฐธรรมนูญจวบจนถึงทุกวันนี้

  สำหรับวันที่ 10
ธันวาคม 2558 ในปีนี้นั้น
โอกาสแห่งการน้อมรำลึกถึงวันรัฐธรรมนูญกลับเป็นวันที่ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญบังคับใช้

เหตุเพราะมีการยึดอำนาจการปกครองประเทศและยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่โดยคณะรัฐประหาร
เป็นช่วงเวลาที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 

  นอกจากนั้นวันรัฐธรรมนูญในปีนี้เป็นช่วงระยะเวลาที่ใกล้กับวันที่ประเทศไทยต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในวันที่
31 ธันวาคม 2558 โดยที่ 9
ประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนมีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหมดแล้ว ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้นำอาเซียนในอดีตกลับไม่มีรัฐธรรมนูญของตัวเอง
อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์และเกียรติภูมิของประเทศที่ตกต่ำลงอย่างน่าเสียดาย
  ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความไม่พร้อมที่จะมีรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับ
“กฎบัตรอาเซียน” ที่เน้นในเรื่องความเป็นประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนเป็นสำคัญ

  อย่างไรก็ตามเนื่องในโอกาสที่วันรัฐธรรมนูญได้เวียนมาบรรจบในครั้งนี้
พรรคเพื่อไทยจึงขอเรียกร้องมายังประธานและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาดังต่อไปนี้

1. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญควรจะได้น้อมรำลึกและตระหนักถึงพระราชหัตถเลขาของล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่
7 ที่เป็นเสมือนพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเมื่อวันที่
2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่ว่า

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด

คณะใด โดยเฉพาะ
เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

การร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ยึดถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
ให้ประชาชนมีสิทธิตัดสินใจและมีส่วนร่วมทางการเมือง ให้อำนาจทางการเมืองและอำนาจในการตรวจสอบไปตกอยู่กับคณะบุคคลหรือองค์กรซึ่งมาจากการแต่งตั้ง  อย่างเช่น การกำหนดให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง
การให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งหรือสรรหา
การให้องค์กรหรือคณะบุคคลที่มาจากการแต่งตั้งมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
การกำหนดวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. ให้แปลกพิสดารและยุ่งยากสับสน
การให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่มาจากการแต่งตั้งมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหารและประธานรัฐสภาซึ่งเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติและมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
การเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดความขัดแย้งทางการเมืองหรือ “ผ่าทางตันทางการเมือง” ซึ่งผิดแปลกไปจากหน้าที่ตามปกติของศาลรัฐธรรมนูญที่ยึดถือเป็นสากลว่าไม่มีหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
การกำหนดกฎเกณฑ์
กติกา ที่ดูเหมือนจะเป็นการกีดกันบุคคลหรือคณะบุคคลบางฝ่ายโดยเฉพาะเจาะจง  และการเขียนรัฐธรรมนูญที่จะเปิดโอกาสให้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวอย่างของการเขียนรัฐธรรมนูญที่เป็นการสวนทางและขัดแย้งกับพระราชปณิธานอันปรากฏในพระราชหัตถเลขาของล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่
7 อย่างชัดเจน 

2. เนื่องด้วยการรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศไปจากรัฐบาลประชาธิปไตย
ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับ
และจัดตั้งองค์กรหรือคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า
แม้ท่านมิได้รับมอบอำนาจจากประชาชนให้เป็นผู้ร่างกติกาสูงสุดของประเทศ แต่เมื่อท่านมีโอกาส
ท่านน่าจะใช้โอกาสนี้ร่างรัฐธรรมนูญที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากล
เคารพในสิทธิมนุษยชน ยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม
สร้างดุลยภาพ
ระบบตรวจสอบที่เหมาะสมและความรับผิดชอบของทุกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย
ให้การเคารพในอำนาจตัดสินใจของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการของรัฐของประชาชน
เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และผลักดันการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ
อย่างเป็นรูปธรรมดังนั้น คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องไตร่ตรองโดยรอบคอบว่า
จะร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
หรือจะร่างรัฐธรรมนูญโดยมีเป้าหมายทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีอำนาจ

  3. อย่างไรก็ตามเมื่อได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.
2557 ให้นำร่างรัฐธรรมนูญไปจัดทำประชามติ เพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชน
อันถือได้ว่าได้มีการให้ความสำคัญและเคารพความเห็นและการตัดสินใจของประชาชน
พรรคเพื่อไทยจึงขอให้กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญตระหนักว่า
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรทำให้ประชาชนรู้สึกสะดวกใจและเต็มใจที่จะรับร่าง
การร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะที่รู้อยู่แล้วว่าจะไม่ผ่านการออกเสียงประชามติหรือหากผ่านก็ต้องไปรณรงค์ต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตายจนกลายเป็นความขัดแย้งระดับชาติขึ้นมาอีก
ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนั้น ในการร่างรัฐธรรมนูญเป็นขั้นตอนสำคัญในการคืนอำนาจและคืนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน
ไม่ใช่เพียงแค่ “คืนการเลือกตั้ง” เท่านั้น
ดังนั้น
ร่างรัฐธรรมนูญต้องมีความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550 ที่ถูกยกเลิกไปโดยการรัฐประหาร
และต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมให้แก่คนในสังคมโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน

  4. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญควรตระหนักอยู่เสมอว่า
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อที่จะปกป้องสิทธิ เสรีภาพและผลประโยชน์ที่ประชาชนคนไทยจะพึงได้รับเท่านั้น
หากแต่จะต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและผลประโยชน์ของพลเมืองอาเซียนทั้ง
600 กว่าล้านคนด้วย
เพราะตามกฎบัตรอาเซียน ซึ่งคล้าย ๆ
จะเป็นรัฐธรรมนูญของประชาคมอาเซียนนั้นได้บัญญัติไว้ว่า “พลเมืองอาเซียนไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใดย่อมมีสิทธิ
เสรีภาพ และความคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิเสรีภาพในทางการเมือง
เสรีภาพในทางวิชาการ และสิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน”

พรรคเพื่อไทย

  10 ธันวาคม 2558

Open
Letter from Pheu Thai Party to CDC

10
December 2015

Subject:  Request for Adherance
to Democratic Principle and Inducing King Rama VII’s Royal Writing to be Applied to the Draft
of the Constitution

To:  Mr. Meechai Ruchupan, Chairman
of the ConstitutionDrafting Committee (CDC)

December 10th, 2015 is the 83rd Year Anniversary
of the day His Majesty King Prajadhipok
granted
the first constitution for the Thai people. It was
considered the longest Constitution that had ever been enforced in Thailand. Subsequently,
government authorities had set this notable date as the Constitution Day, up to
now.

However, December 10of this
year, the day for commemorating Constitution Day is the year that Thailand has
no Constitution enforcement,
due to the seizure of
power and abolishment of the Constitution by the junta. It is time for the ConstitutionDrafting Committee to draft a new one.

In addition, this year’s Constitution Day is during
a period close to which Thailand is officially approaching the ASEAN Community
on December 31, 2015. Nine ASEAN member countries have their own Constitutions
which is the supreme law governing their countries. On the contrary, Thailand,
which was known as the ASEAN leader in the past, has no constitution of its
own. This unfortunately reflects on the regressive image and prestige of the
country.
Besides, Thailand is experiencing political instability and is
unprepared to have a Constitution that harmonizes with the “ASEAN Charter”,
which ultimately focuses on democracy and freedom of the people in the region.

On the occasion of the Constitution Day this year, Pheu
Thai Party would like to make a request to the Chairman and the ConstitutionDrafting Committee as follow:

1. 
The Constitution Drafting Committee should remember and recognize King
Rama VII’s
royal writingswhich he had granted with great
determination to all Thai people on March 2nd, 1934 stating that,

I am willing to surrender the powers I formerly exercised to the people
as a whole, but I am not willing to turn them over to any individual or any
group to use in an autocratic manner without heeding the voice of the people.”
 

In drafting the Constitution, if it does not respect
the democratic principle that should ensure that sovereignty belongs to the Thai
people; that people have the right to decide and have freedom in political
participation; that the drafted Constitution allows the political power, and the
power of check and balance consecrated on the appointed individuals or
organizations, such as determining that Prime Minister does not need to be elected,
and senators are appointed or nominated, allowing appointed organizations or a
group of persons to dominate the Legislative and the Executive Branches which
are elected by people, dictating MPs voting
methods to be eccentric and confusing, allowing and empowering the
Constitutional Court or appointed organizations to remove the Prime Minister who
is the Chief of the Executive Branch, including the Speaker of the Parliament
who is the Chief of the Legislative Branch; empowering the Constitutional Court
to solve political conflicts or “Dissect political stalemate” that
distorts the normal duty of the Constitutional Court, which in fact, has no
role in solving political conflicts; specifying rules and criteria that manifest
themselves to obstruct individuals or some group of persons, as well as drafting the Constitution to enable the
perpetuation of power of the junta; all of these are clear examples of a
draft Constitution which contradicts with the determination of King Rama VII’s royal writings.

2. 
Due to the fact that coups seizing power
from a democratic government, abolishing on-going constitution and establishing organizations, or Constitution
Drafting Committees to draft new constitutions, have recurred so frequently, the
Constitution Drafting Committee should question itself.  In
spite of the fact that you are not mandated from the people to draft the
supreme law of the country, however, now that you have the opportunity to do so, you should draft
an exemplary Constitution which is in accordance with universal democracy, respecting
human rights, adhering to the rule of law, balancing the system, creating proper
monitoring systems, and assuring accountability of all organizations exercising
sovereign power, respecting decisions of people who are the true owners of the sovereign
power, promoting freedom and participation in national activities, supporting reconciliation
and pushing forward national reforms in all aspects. Therefore, the
Constitution Drafting Committee must carefully consider whether it will draft a
democratic Constitution, or draft a Constitution that is embedded with a
political goal to comply with the needs of the authority.

3. 
However, if the Constitution (Interim) B.E.
2557 (2014) is amended, the drafted Constitution must be brought to a
referendum to be approved by the people. This implies that it gives precedence to and respects people’s
decisions.
Pheu Thai Party would
like to request the Constitution Drafting Committee to realize that the new
constitution should make people feel more comfortable so that they will be
willing to accept the draft.
Drafting
the constitution with an intention that it will not pass a referendum, or if it
passes, there will be an aggressive campaign which will lead to national
conflict again is undesirable. In addition, the Constitution draft is an
important step in returning the power and restoring democracy to people, not
merely just to “Return an Election”.
Therefore, the draft must be more progressive towards democracy than
the Constitutions of B.E. 2540 (1997)
and B.E. 2550 (2007), which were abolished by the coups, and must aim to promote
fairness and equality in society.

4. 
The Constitution Drafting Committee should
always realize that the constitutional draft is intended not only to protect
the rights, freedom and interests of the Thai people, but there must also be an
assurance of the protection of freedom and interests of more than 600 Million ASEAN
people. Since the ASEAN Charter, which is similar to the constitution of ASEAN,
has stated that“ASEAN
citizens, living in any countries have equal rights, freedom and immunity
particularly in political freedom, academic freedom and freedom over their lives and bodies”

Pheu Thai Party