คำแถลงพรรคเพื่อไทยข้อเสนอในการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับย่อ)
ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกเสร็จสิ้นและส่งให้องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคการเมืองได้พิจารณาและเสนอข้อคิดเห็นตลอดจนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ
เพื่อประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้เกิดความเหมาะสมต่อไป นั้น
พรรคเพื่อไทยเห็นว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีผลต่อทุกคนในสังคม
เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องมีความเป็นประชาธิปไตย
และมีสาระสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคมยอมรับได้
แต่เมื่อได้พิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแล้ว มีหลักการและสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญหลายประเด็นที่นับเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ อันจะนำไปสู่ปัญหาและวิกฤตของชาติรอบใหม่ พรรคเพื่อไทยจึงขอสรุปประเด็นอันเป็นปัญหาสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ
ดังนี้
1. การตั้งโจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาด
การร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่ดีนั้น
จะต้องเข้าใจปัญหาของประเทศให้ถูกต้องว่าต้นเหตุของปัญหานั้นคืออะไร การตั้งโจทย์หรือปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาด
นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหาแล้วก็จะเป็นการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นใหม่
และซับซ้อนเข้าไปอีก
เจตนาของพรรคการเมืองและนักการเมืองรวมถึงความหวังของประชาชนได้ถูกบิดเบือนและทำลายลงไปทุกครั้งเมื่อมีการทำรัฐประหาร
โดยคณะรัฐประหารที่มุ่งจะได้อำนาจการปกครองของประเทศได้สร้างเงื่อนไขและความชอบธรรมให้กับตนเอง
โดยการโจมตีใส่ร้ายทำลาย
ความชอบธรรมของนักการเมืองและรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้น เมื่อทำรัฐประหารได้สำเร็จก็มีการสร้างกฎกติกาของตนเองเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย
มุ่งเอาผิดกับนักการเมืองและผู้บริหารประเทศที่ตนเองไปยึดอำนาจเขามา และโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมืองว่าเป็นต้นตอของปัญหา
เมื่อมีการตั้งโจทย์ว่า นักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นต้นตอของปัญหา
จึงนำไปสู่การกำหนดกรอบรัฐธรรมนูญใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 มาตรา 35
ปูแนวทางไปสู่รัฐธรรมนูญใหม่ที่มุ่งจำกัดบทบาทของนักการเมืองและพรรคการเมือง
ขณะเดียวกันก็เพิ่มอำนาจและบทบาทให้องค์กรอิสระและศาลโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้น
สร้างกระบวนการเพื่อถอดถอนหรือให้นักการเมืองรวมทั้งรัฐบาลพ้นจากตำแหน่งง่ายขึ้น
ตั้งแต่สร้างระบบเลือกตั้งเพื่อให้ได้รัฐบาลผสมหลายพรรค เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่ไม่ได้เป็น
ส.ส. เพื่อเตรียมการให้กลุ่มผู้มีอำนาจปัจจุบันได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าการตั้งโจทย์หรือปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญผิดพลาดตั้งแต่ต้น
อันจะทำให้เกิดปัญหาและวิกฤติในอนาคต
หากไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ
2. ประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหาและสมควรปรับปรุงแก้ไข
2.1 ระบบการได้มาซึ่ง ส.ส.
ระบบการเลือกตั้งแบบ
“จัดสรรปันส่วนผสม” จะสร้างปัญหาตามมามากมาย ดังนี้
1.) การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
เป็นการปิดโอกาสของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน
ผลการเลือกตั้งจะไม่สะท้อนถึงความต้องการอันแท้จริงของประชาชนในการเลือกผู้แทน
2.) การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการซื้อเสียงแต่จะทำให้การซื้อเสียงง่ายขึ้น
3.)
ผลคะแนนที่ได้รับไม่ได้สะท้อนถึงคะแนนความนิยมที่มีต่อพรรคการเมือง
4.)
การนำคะแนนเสียงทุกคะแนนเสียง แม้จะเป็นคะแนนที่แพ้มารวมคำนวณเพื่อคิดคะแนนให้กับ
ส.ส.บัญชีรายชื่อนั้น ขัดต่อหลักประชาธิปไตยที่ถือเสียงข้างมากเป็นตัวชี้ขาด
5.)
จะทำให้พรรคเล็กเสียเปรียบในการเลือกตั้ง เพราะไม่สามารถส่งผู้สมัครครบทุกเขตได้
6.) ทำให้ได้รัฐบาลผสมหลายพรรค ส่งผลให้รัฐบาลอ่อนแอ
ไร้เสถียรภาพในการบริหารประเทศ พรรคที่ได้ที่นั่ง ส.ส.มากที่สุดอาจไม่ได้เป็นรัฐบาล
เกิดการฮั้วกันทางการเมืองและเกิดระบบผลประโยชน์ตอบแทน
รัฐบาลต้องเสียเวลากับการบริหารการเมืองเพื่อความอยู่รอดของตน มากกว่าการที่จะบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนในที่สุดรัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารประเทศต่อไปได้
ถ้าไม่ยุบสภาก็ต้องถูกทำรัฐประหารเหมือนเช่นอดีต
ข้อเสนอ
ควรนำระบบการเลือกตั้งแบบผสมที่ใช้ในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี
2540 หรือ 2550 มาใช้ทำให้ประชาชนมีความเป็นอิสระสามารถใช้สิทธิเลือกตัวแทนของตนตามที่ชอบ
และเลือกพรรคที่ตนเองศรัทธาได้ สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย
ส.ส.ที่ได้สะท้อนความเป็นผู้แทนของประชาชนมากที่สุด
2.2 ระบบการได้มาซึ่ง ส.ว.
กำหนดให้ ส.ว.
ทั้งหมดมาจากการสรรหาของคนเพียงกลุ่มหนึ่ง โดยให้มีอำนาจสำคัญในการเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและบุคคลในองค์กรอิสระ
แสดงให้เห็นนัยยะว่าต้องการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อต้องการสร้างระบบอำนาจใหม่ให้เกิดการควบคุมและครอบงำศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้
กล่าวคือผู้มีอำนาจได้สร้างระบบตัวแทนของตัวเองขึ้นมามีอำนาจเหนือประชาชน
ข้อเสนอ
ควรให้การได้มาซึ่ง ส.ว.
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งทำให้ได้ ส.ว.ที่มีความหลากหลายในวิชาชีพได้
เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลในทุกสาขาอาชีพสมัครได้
และยังถือเป็นผู้แทนของปวงชนอย่างเต็มภาคภูมิด้วย
2.3 ที่มาของนายกรัฐมนตรี
ที่มาของนายกฯว่าไม่จำต้องเป็น
ส.ส. มีนัยสำคัญว่าเป็นการเตรียมแผนรองรับผู้ที่มีอำนาจในปัจจุบัน
หรือบุคคลที่ผู้มีอำนาจเตรียมการไว้ให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกฯ เนื่องจากคาดหมายได้ว่าหลังการเลือกตั้งต้องได้รัฐบาลผสมแน่นอน
และต้องมีการต่อรองตำแหน่งนายกฯ เพื่อให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ การเขียนรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้เป็นการหมกเม็ดเพื่อหวังสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน
ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการยอมรับของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อเสนอ
ควรต้องกำหนดให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกฯต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น เพื่อให้ได้นายกฯ ที่มาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
มิใช่อำนาจอื่นๆ
2.4 การสร้างข้อจำกัดในการบริหารราชการแผ่นดินให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบาลอย่างเข้มงวดจนเป็นข้อที่ทำให้กังวลว่าจะมีการใช้ช่องทางดังกล่าวในการล้มรัฐบาลได้โดยง่าย เช่น
1.) การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อใช้กับองค์กรของตนและกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย
และการฝ่าฝืนจริยธรรมเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้
2.) การจำกัดบทบาทพรรคการเมืองและรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศไว้ตั้งแต่ในชั้นการหาเสียงเลือกตั้ง
ที่ให้ กกต. ตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมืองได้ด้วย
3.) การกำหนดว่านโยบายที่จะใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่จัดทำโดย
คสช. (ซึ่งมีเป้าหมายไว้ 20 ปี) ซึ่งทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถที่จะกำหนดนโยบายอื่นๆ
ได้เอง
4.) การพิจารณางบประมาณรายจ่ายของสภาผู้แทนราษฎรที่ห้าม
ส.ส. ส.ว. และกรรมาธิการแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขที่มาในรายการหรือจำนวนในรายการ
หากฝ่าฝืนผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง อันจะทำให้โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในระหว่างนั้นไม่อาจทำได้
5.) รัฐบาลมีข้อจำกัดในการลงทุนในโครงการสำคัญๆ
เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนด เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องรักษาวินัยการเงิน
ต้องแสดงที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สร้างข้อจำกัดให้แก่โครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินกู้มาดำเนินการ
ทำให้ไม่อาจพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอ
ควรให้อิสระแก่รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศในการที่จะกำหนดนโยบายได้
ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ของประเทศในช่วงเวลานั้นๆ
ไม่ผูกพันรัฐบาลไว้กับยุทธศาสตร์ที่รัฐบาล คสช. กำหนดไว้
การกำหนดข้อผูกพันดังกล่าวจะเป็นข้อผูกมัดประเทศไว้
ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ได้
2.5 เพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญจนกลายเป็น “ซูเปอร์องค์กร”
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนนักการเมืองได้
นอกจากนี้ยังให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญได้อย่างกว้างขวาง มีสิทธิชี้ขาดว่าในยามประเทศมีวิกฤตสามารถวินิจฉัยและให้บังคับตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้
ซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
อำนาจดังกล่าวอาจตีความได้ถึงการให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือการตรากฎหมายของรัฐสภาตลอดจนอาจชี้ขาดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
เป็นต้น
ข้อเสนอ
ควรจำกัดอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญให้มีหน้าที่ในการวินิจฉัยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไม่ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หรือวินิจฉัยตีความรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ประเพณีการปกครองประเทศตามที่ร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
อนึ่ง
พรรคเพื่อไทยเห็นว่า องค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญนั้น
ไม่ควรอยู่ในระบบเดียวกันกับศาลทั่วไป สมควรแยกเป็นอิสระจากหมวดศาลแล้วตั้งเป็น
“คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” เหมือนเช่นในอดีต เพื่อจำกัดบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ
ในเรื่องที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น
2.6 ให้องค์กรอิสระ (กกต. , ปปช. , คตง.)
มีอำนาจเหนือรัฐบาลและรัฐสภา
องค์กรเหล่านี้สามารถชี้ทิศทาง
โดยการท้วงติงไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาล โดยอ้างว่ามีการทุจริต
ทำให้รัฐบาลและรัฐสภาขาดความเป็นอิสระในการบริหารราชการแผ่นดินและในการตรากฎหมาย
องค์กรเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่อต้านนโยบายของรัฐบาล
ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศและประชาชนได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะขัดขวางนโยบายสำคัญๆ ของรัฐบาล แม้จะแถลงต่อรัฐสภาแล้วก็ตาม
ข้อเสนอ
การให้อำนาจพิเศษแก่องค์อิสระข้างต้น
จะทำให้องค์อิสระสามารถเข้ามาแทรกแซงองค์กรฝ่ายบริหารได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
จึงเห็นควรยกเลิกอำนาจในส่วนนี้ขององค์อิสระและให้อำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ
เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่
2.7 การกำหนดให้รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ยากที่สุด จะก่อให้เกิดวิกฤตของชาติในอนาคต
กำหนดว่าการให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น
ต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาและต้องมีจำนวน
ส.ส.จากพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 10 คน
เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรค และต้องมี ส.ว.
เห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมด การกำหนดเงื่อนไขการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ดังกล่าว
จึงทำให้โดยข้อเท็จจริงแล้วจะทำให้รัฐธรรมนูญที่จะใช้บังคับไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้อย่างแน่นอน
การกำหนดเช่นนี้จะก่อให้เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อเสนอ
ควรยึดหลักการเดิมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เพราะแม้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่อาจคาดหมายได้ทั้งหมดว่าในวันข้างหน้าสถานการณ์ของประเทศและของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
จึงควรให้ผู้มีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในขณะนั้นได้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้พลวัตรไปตามสถานการณ์
2.8 การคงอำนาจของ คสช. และหัวหน้า คสช.
ไว้หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
บทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้
คสช. และหัวหน้า คสช. ยังคงมีอำนาจหน้าที่ต่อไป
ซึ่งรวมถึงอำนาจพิเศษของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี
2557 ด้วยนั้น แสดงถึงการไม่ยอมปล่อยวางอำนาจของ คสช.
ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร ทำให้การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่อาจดำเนินการไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมได้
เพราะ คสช. ยังมีอำนาจควบคุมกลไกอำนาจรัฐไว้ทั้งหมดได้
ข้อเสนอ
ควรตัดบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ
คสช. และหัวหน้า คสช. ออก โดยให้ คสช. สิ้นสุดลงทันทีเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว
ด้วยปัญหาต่างๆ
ที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น พรรคเพื่อไทยจึงขอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักการและสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามข้อเสนอของพรรคฯ
ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างยิ่ง
พรรคเพื่อไทย
21 กุมภาพันธ์ 2559
(Abridged)
Pheu Thai Party
Statement
Proposal concerning
the drafting and making changes to the draft constitution
The Constitution Drafting Committee
have completed the first draft of the charter and sent out to organizations and
agencies involved including political parties to consider and propose opinions.
It also orchestrated venues to gather feedback from people in various regions to
be used in considering changes to make the draft charter more appropriate.
Pheu Thai Party sees the
constitution as the highest law that affects everyone in the society. Thus the
contents of the draft charter must be democratic and its key contents
acceptable to all sectors of the society. However, when the contents in this
draft charter is considered it is found to have several principles and key
themes that are a major hindrance to the democratic, economic, political and
social development of the nation which eventually will lead to problems and spur
another national crisis. Pheu Thai Party thus summarizes the key issues in the
draft charter a follows:
1.
The charter was drafted with the wrong
objective
The issues of the nation must be
understood and the cause correctly determined in order to draft a good
constitution. If the objective in drafting the charter is wrong not
only the existing problems cannot be resolved but will cause more issues that
will further complicate the matter.
The intent of the political party and the
politicians and the hope of the people were thwarted and dashed every time there is a coup d’état. The
junta, bent on seizing power to administer the nation would always cite the
prevailing conditions and justify its action by destructively accusing and
attacking the behavior of politicians and the ruling government. Once the
coup is successful their own rules would be enforced as law while seeking to
implicate politicians and administrators whose power was seized. The politicians and the political parties are
also accused as the source of the problems.
When politicians
and the political parties were deemed as the cause of the problem the 2014
Interim Constitution Article 35 thus paved the way to formulate a new
constitutional framework that seek to curtail the roles of politicians and
political parties while increasing power and roles of the
Independent Agencies and the Courts especially the Constitutional Court.
Procedures were created to speedily dismiss politicians or remove the
government. This begins with the electoral system that intend to result in a
multi-party coalition government and allow non-MPs to become Prime Minister
which paves the way for those presently in power to be nominated as Prime
Minister.
Pheu Thai Party thus sees that the
Constitution Drafting Committee started out with the wrong objective in
drafting the charter which will cause problems and spur national crisis in the
future should there be no change made to the key contents.
2. The key issues in the draft constitution
that should be changed
2.1 The MP selection system
The
“Apportionment” electoral system will cause numerous problems as follows
1)
Using a single ballot deny the people
their opportunity to elect constituency MP separate from the political party. The
result of the election thus will not reflect the true mandate of the people in
selecting their representatives.
2)
Using a single ballot cannot solve the
problem of vote buying but instead makes it easier.
3)
The resulting votes does not reflect the
popularity of the political parties.
4)
Using every vote
including those cast for lost candidates to calculate the number of party
list MPs is contradictory to the democratic principle that requires
majority vote to make the decision.
5)
Small political parties are put at a
disadvantage in the election because they cannot send candidates for every
electoral district.
6)
This will result in a multi-party
coalition government which is weak and unstable in administering the nation. The
political party that garner most MP seats may not become the government and
political collusion will ensue resulting in a system that foster mutual
benefits. The government has to waste time in politics more than managing for
the welfare of the nation and the people. Eventually the government will not be
able to continue administering the nation and will have to dissolve the
parliament or face another coup d’état as in the past.
Proposal
The
“Mixed” electoral system in the 19987 or the 2007 Constitution should be
adopted as the people has the liberty to exercise their rights in selecting their
preferred candidate and the political party they trust. This
is in accordance with democratic principles that the MPs must represent the
people as much as possible.
2.2 The senate selection system
Stipulating that the senate be
selected by only a group of people while retaining their power to endorse
Constitutional Court judges and people in the Independent Agencies implies that
this charter is being drafted to establish a new power system that can control
and dominate the Constitutional Court and the Independent Agencies. This
means that those currently in power have created a nominee system for
themselves to have power over the people.
Proposal
The selection of the senate should
directly come from election by the people. This will allow
the senate to come from varied profession and open the opportunity for people
from all occupations to enroll as electoral candidates and could be considered
as proud representative of the people.
2.3 The selection of the Prime Minister
The prerequisite for the Prime
Minister that need not to be an MP imply that a plan has been prepared for
those currently in power or their nominee to assume the position of Prime
Minister.
This is because it is expected that the upcoming election would definitely
result in a coalition government and there would be negotiations for the
position of Prime in order to form the government. Drafting the constitution in
this manner is a surreptitiously ploy to succeed power which inevitably will not
have the support of the people.
Proposal
The constitution should clearly
stipulate that the person to become Prime Minister must be an MP so the
Prime Minister will come from the mandate of the people and not by other
powers.
2.4 Imposing limitation for the elected
government to administer the nation
The system to supervise power
exercised by the government is so stringent that it could easily be used to
overthrow the government such as
1) Stipulating
that the Constitutional Court and the Independent Agencies must jointly
establish a moral standard for themselves and also for those in political
positions to follow. Any breach in this moral standard will result in the
offender being removed from office.
2) Limiting
the role of the political parties and the government in formulating national
administrative policies during electoral campaigning by granting
the Election Commission (EC) the power to scrutinize the policies of each
political parties.
3) Imposing
that all national administrative policies must coincide with the national
strategy prepared by the NCPO (which spans 20 years). This
prevent the elected government from setting its own policies.
4) The
budget meeting by the House of Representatives forbid MPs, the senate or
amendment commission to alter or change the source and amount in the list.
Person found breaking this would be removed from position. This makes carrying
out urgent projects impossible.
5) The
Government is limited from investing in important projects. Since the
constitution stipulates that the State has the duty to maintain financial discipline and is
legally required to declare the source of income to be used for expenses. This
inhibit large projects that require financial loan to proceed making sustained
national development not possible.
Proposal
The government should have the
liberty to administer the nation by formulating policies that are appropriate
for the situation and must not be bound to the strategy set by the NCPO. Such
obligation binds the nation and prevent it from adapting to the changing
situation.
2.5 Increasing power of the Constitution Court
to become the “Super Organization”
This
constitution allow the Constitutional Court to remove politicians and also grant
it sweeping powers to interpret the constitution. In times of
national crisis the Constitutional Court has the power to make ruling in
accordance with the tradition under democratic regime making it able to
exercise power over the Executive and Legislative branch. Such power may
include the dismissal of the government, carry out additional amendment to the constitution,
legislate new parliament bills or even deciding whether a new election should
be held.
Proposal
The
power of the Constitutional Court should only be limited to determining matters
related to preserving the constitution as the highest law and the Constitution
Court should not have the power to hand down ruling for the removal of persons
in political office or have the power to make constitutional ruling to adopt
the tradition for national administration as stipulated in the draft charter.
Pheu
Thai Party sees that the organization having the role to resolve constitutional
conflicts should not be in the usual court system but independently established
as the “Constitutional Tribunal” as in the past. This is to limit the roles and
power of such organizations so it may only make ruling on constitutional conflicts
that are important and necessary.
2.6 Giving the independent agencies (Election
Commission: EC, National Anti-Corruption Commission: NAC and the Office of the
Auditor General: OAG) power over the government and parliament
These
agencies can direct,
protest and disagree with government policies by citing corruption. This
deprives the government and parliament the liberty to administer and legislate. These agencies will seek to
oppose government policies and renders it impossible to address problems of the
nation and of the people especially by blocking important government policies
which has already been announced in the Parliament.
Proposal
Granting special powers to these
independent agencies will allow them to extensively interfere with the
executive branch. It is thus appropriate to repel such powers and retain only
current power and roles that has already been stipulated for these independent
agencies in the existing law.
2.7 Making
the constitution extremely difficult to amend will cause future national
crisis.
Amending the constitution requires
the approval of more than half of all members from both houses. It must also
have the approval from at least 10 percent of MPs in every political party that
has more than 10 MPs in the House and at least 1/3 of the total appointed
senate must agree. In reality, imposing such criteria makes it impossible to
amend the constitution once it is promulgated and will inevitably bring about
another constitutional crisis.
Proposal
The principles to amend the constitution in the 2007 Constitution
should be adopted.
Even though the constitution is the highest law but the drafters cannot foresee
how future events of the nation and the world may unfold thus those in power at
that time should be able to consider and make amendments necessary based on the
prevailing situation.
2.8 Retaining
the power of the NCPO and the Head of the NCPO after the promulgation of the
constitution.
The
temporary provision of the draft charter stipulate the NCPO and the Head of the
NCPO continue to retain power including the special power of the Head of
the NCPO according to Article 44 of the Interim Constitution 2014. This signify
the unwillingness of the NCPO to let go of power it seized by coup d’état.
The election according to the new constitution thus cannot proceed in a
transparent and just manner because the NCPO still controls the entire power of
the State.
Proposal
The
temporary provision in the draft charter giving power to the NCPO and the Head
of the NCPO should be omitted and the NCPO should cease immediately once the
constitution is promulgated.
With
the various problems in the draft charter mentioned, Pheu Thai Party call for
the Constitution Drafting Committee to consider making changes to the
principles and key content in the draft charter in accordance with this
proposal in order to benefit the nation and the people.
Pheu
Thai Party
21st
February 2016