คำแถลงพรรคเพื่อไทยข้อเสนอในการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับเต็ม)

  ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกเสร็จสิ้นและส่งให้องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคการเมืองได้พิจารณาและเสนอข้อคิดเห็นตลอดจนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ
เพื่อประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้เกิดความเหมาะสมต่อไป นั้น

  พรรคเพื่อไทยเห็นว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีผลต่อทุกคนในสังคม
กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงควรให้ประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย
แต่พรรคเพื่อไทยเข้าใจและยอมรับต่อความจำเป็นของสถานการณ์ เนื่องจากเป็นการร่างรัฐธรรมนูญภายหลังที่มีการรัฐประหาร
อย่างไรก็ดีเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะมีความเป็นประชาธิปไตย
และมีสาระสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคมยอมรับได้
แต่เมื่อได้พิจารณากรอบแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่แสดงออก  ผ่านการให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณชนและเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
มีหลักการ  และสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญหลายประเด็นที่นับเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ อันจะนำไปสู่ปัญหา  และวิกฤตของชาติรอบใหม่ พรรคเพื่อไทยจึงขอสรุปประเด็นอันเป็นปัญหาสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ
ดังนี้

1.   การตั้งโจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาด

  การร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่ดีนั้นจะต้องเข้าใจปัญหาของประเทศ  ให้ถูกต้องว่าต้นเหตุของปัญหานั้นคืออะไรเสียก่อน
การตั้งโจทย์หรือปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาด นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหาแล้ว ก็จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น
และซับซ้อนเข้าไปอีก

  เมื่อพิจารณาปัญหาของประเทศไทย จะเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญคือ
ปัญหาปากท้องของประชาชน มีประชาชนจำนวนมากยังมีฐานะยากจนมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตจากผลของรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
ขณะที่การปรับตัวของราคาสินค้าและค่าครองชีพ 
สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในภาคเกษตรต้องประสบกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่  ไม่แน่นอน
ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทุกรัฐบาลได้รับรู้ถึงปัญหาและได้ช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด
จนปัญหาดังกล่าวได้ลดระดับความรุนแรงลงและทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
เห็นได้จากการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งประชาชนมักจะเลือกพรรคการเมืองที่มีแนวคิดที่มุ่งให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของตนเอง
และรัฐบาลก็ต้องบริหารประเทศให้ได้ตามนโยบายที่ได้สัญญาไว้ แต่เจตนาของพรรคการเมืองและนักการเมืองรวมถึงความหวังของประชาชนได้ถูกบิดเบือนและทำลายลงไปทุกครั้งเมื่อมีการทำรัฐประหาร
โดยคณะรัฐประหารที่มุ่งจะได้อำนาจการปกครองของประเทศได้สร้างเงื่อนไขและความชอบธรรมให้กับตนเอง
โดยการโจมตีใส่ร้าย ทำลายความชอบธรรมของนักการเมืองและรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้น
ทั้งข้ออ้างเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยอ้างว่ามีการใช้นโยบายประชานิยมบ้าง หรือการทุจริตเชิงนโยบายบ้าง เป็นต้น

  และเมื่อทำรัฐประหารได้สำเร็จ ก็มีการสร้างกฎกติกาของตนเองเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย
มุ่งเอาผิดกับนักการเมืองและผู้บริหารประเทศที่ตนเองไปยึดอำนาจเขามา ซึ่งกฎกติกาเหล่านั้น
แม้โดยรูปแบบและเนื้อหาจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างชัดแจ้ง  ก็รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
จนยากที่ศาลจะพิจารณาให้เป็นอย่างอื่นได้

นอกจากนี้ก็รับรองผลการกระทำของคณะรัฐประหารว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เพื่อไม่ให้ตนเองต้องถูกตรวจสอบ เมื่อเอาผิดกับนักการเมืองได้สำเร็จก็อ้างคำพิพากษาของศาลเพื่อโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมืองว่าเป็นต้นตอของปัญหา
ทั้งที่ข้อเท็จจริงปัญหาต่างๆ ของประเทศและของประชาชนที่ผ่านมา ก็มีนักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นผู้แก้ปัญหา  ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง แล้วเข้ามากำหนดนโยบายของรัฐบาลอันเป็นหลักการสากลที่ทั่วโลกยอมรับ

  ในการบริหารราชการ อาจมีนักการเมืองบางคนมีปัญหาบ้าง
แต่รัฐธรรมนูญและกฎหมายก็มีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการถอดถอนจากตำแหน่งหรือการดำเนินคดีอาญา และรัฐธรรมนูญก็เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรียุบสภาเพื่อแก้ไขปัญหาได้
แต่มิใช่ว่านักการเมืองและพรรคการเมืองทั้งหมดจะเป็นคนเลวหรือเป็นคนไม่ดีตามวาทกรรมที่ฝ่ายผู้ยึดอำนาจโจมตีใส่ร้าย

  หากพิจารณาจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงแล้ว  ต้องยอมรับว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยและการพัฒนาประเทศต้องหยุดชะงัก
ก็เนื่องมาจากการที่ทหารไม่ทำหน้าที่ของทหาร
แต่มุ่งจะได้อำนาจรัฐและเข้าบริหารประเทศเสียเอง ด้วยการทำรัฐประหารบ่อยครั้ง
เป็นการไม่ยอมรับในรัฐธรรมนูญและกระบวนการประชาธิปไตยที่มีอยู่
จึงทำให้เป็นปัญหาซ้ำซาก

  การทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22
พฤษภาคม 2557 ก็ทำนองเดียวกัน
ข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่าหากทหารได้ทำหน้าที่ของตนเองตามที่รัฐบาลร้องขอก็จะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงใดๆ
ขึ้น แต่ทหารกลับเลือกแนวทางรัฐประหารแล้วเข้าบริหารประเทศเสียเอง
ในวันที่ทำการรัฐประหารข้ออ้างสำคัญคือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมและการปฏิรูป
แต่แม้จะบริหารราชการมาเกือบ 2 ปีแล้ว
ปัญหาทั้งสองก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างใดเลย
กลับยิ่งจะสร้างปัญหาความขัดแย้งให้เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลและ คสช.กลายเป็นคู่ขัดแย้งของประชาชน  เสียเอง

ส่วนการทุจริตของรัฐบาล
ไม่ใช่เป็นข้ออ้างในขณะยึดอำนาจ แต่เมื่อได้อำนาจบริหารมาแล้ว
ก็มีการหยิบยกข้ออ้างนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตนเองและนำไปบรรจุ  ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี
2557 มาตรา 35 ที่มุ่งจำกัดบทบาทของนักการเมือง เสมือนกับนักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นผู้ร้ายและตนเองเป็นพระเอก
ซึ่งกรอบของรัฐธรรมนูญ มาตรา 35
ประกอบกับแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นอัตตาสูง
จึงได้ทำให้เกิดเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญผิดเพี้ยนไปจากหลักการสากลและปัญหาของประเทศอย่าง  มีนัยสำคัญ มุ่งทำลายนักการเมืองและพรรคการเมือง
สร้างกลไกและกระบวนการเพื่อสร้าง  กลุ่มอำนาจใหม่ในการบริหารประเทศให้กับตนเองและพวกพ้องถึงขนาดตั้งชื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า
“ฉบับปราบโกง”

  สำหรับข้ออ้างเรื่องความขัดแย้งของคนในสังคมนั้น
เมื่อพิเคราะห์อย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของปัญหาแล้ว
ก็มิใช่สิ่งที่รัฐบาลที่ถูกยึดอำนาจได้เป็นผู้สร้างปัญหา
แต่ต้องศึกษาย้อนไปตั้งแต่เมื่อมีการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจและสร้างกลไกเพื่อมุ่งไล่ล่าทำลายล้างนักการเมืองที่เป็นปรปักษ์
จนส่งผลไปถึงกระบวนการยุติธรรมที่ต้องใช้กฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นนั้น ทำให้เกิดปัญหาความยุติธรรมสองมาตรฐานขึ้นในหลายคดี
แม้จะสร้างกลไกสกัดนักการเมืองและพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามผ่านรัฐธรรมนูญปี 2550
แล้ว แต่ประชาชนก็ยังเลือกตัวแทนของตนเข้ามาเป็นรัฐบาล แต่กลับมีการสร้างเงื่อนไขไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจนมีการบุกยึด
ปิดล้อมหน่วยงานสำคัญ จนถึงทำเนียบรัฐบาลและ 
ท่าอากาศยานสำคัญๆ ของชาติ
แต่ผู้ที่กระทำการดังกล่าวได้รับการปกป้องจากกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลที่มาตามระบอบประชาธิปไตยได้ถูกดำเนินการอย่างเร่งรีบ
เฉียบขาด ไร้ความปราณี
เมื่อออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมกลับต้องถูกปราบปรามจนเสียชีวิต บาดเจ็บจำนวนมาก
โดยรัฐบาลและทหารที่มีส่วนในการกระทำก็ไม่ต้องรับผิดใดๆ
ในส่วนขององค์กรอิสระก็ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติมุ่งลงโทษเฉพาะกลุ่มการเมืองฝ่ายหนึ่งและช่วยเหลืออีกฝ่ายหนึ่ง
จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

  จึงเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญของบ้านเมืองเป็นปัญหาจากการไม่ยอมรับกติกาตามรัฐธรรมนูญของทหารและกลุ่มการเมือง
การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนนักการเมืองหากบริหารประเทศผิดพลาดอย่างไรก็มีกระบวนการตรวจสอบอยู่แล้ว
แต่กลุ่มต่างๆ ที่กล่าวมาไม่มีใครเข้าไปตรวจสอบได้เลย
หรือจะตรวจสอบก็มีการช่วยเหลือกันอย่างเห็นได้ชัด

  เมื่อมีการตั้งโจทย์ว่านักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นต้นตอของปัญหา
จึงทำให้การเขียนรัฐธรรมนูญมุ่งจำกัดบทบาทของนักการเมืองและพรรคการเมือง
ขณะเดียวกันก็เพิ่มอำนาจและบทบาทให้องค์กรอิสระและศาลโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้น
สร้างกระบวนการเพื่อถอดถอนหรือให้นักการเมืองรวมทั้งรัฐบาลพ้นจากตำแหน่งง่ายขึ้น
ตั้งแต่สร้างระบบเลือกตั้งเพื่อให้ได้รัฐบาลผสมหลายพรรคและสร้างกลไกให้องค์อิสระและศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในเครือข่ายอำนาจที่สามารถประสานประโยชน์กับผู้มีอำนาจปัจจุบันได้
เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่ไม่ได้เป็น ส.ส.
เพื่อเตรียมการให้กลุ่มผู้มีอำนาจปัจจุบันได้เข้า  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
หากบุคคลเหล่านี้ได้เป็นผู้นำรัฐบาล บรรดาองค์กรอิสระ  และศาลรัฐธรรมนูญก็จะเป็นเครื่องมือปกป้องให้ได้อยู่ในอำนาจนานๆ
แต่หากฝ่ายตรงข้ามได้เป็นรัฐบาลก็จะใช้กระบวนการทางรัฐธรรมนูญปลดออกจากตำแหน่งได้โดยง่าย
ทั้งที่องค์กรอิสระต่างๆ และศาลรัฐธรรมนูญมิได้มีที่มาที่เชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชน
จึงเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปลี่ยนหลักการสำคัญที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมาเป็นขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งบุคคลในองค์กรดังกล่าวส่วนใหญ่ก็มาจากอดีตข้าราชการ
ขณะที่ประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนได้ถูกลดบทบาทการทำหน้าที่ผู้แทนลงอย่างมาก

  พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าการตั้งโจทย์หรือปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญผิดพลาดตั้งแต่ต้น
อันจะทำให้เกิดปัญหาและวิกฤตในอนาคต
หากไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ

2.   ประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหาและสมควรปรับปรุงแก้ไข

  2.1   ระบบการได้มาซึ่ง
ส.ส. และ ส.ว.

ระบบการเลือกตั้ง
ส.ส.

ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้สร้างระบบการเลือกตั้งแบบ
“จัดสรรปันส่วนผสม” มาใช้โดยที่ยังไม่เคยมีประเทศใดในโลกนำมาใช้เลยนั้นจะสร้างปัญหาตามมามากมาย
ดังนี้

1.) การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
เลือกทั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตและเลือกพรรค (บัญชีรายชื่อ) ไปพร้อมกันนั้น
เป็นการปิดโอกาสหรือทางเลือกของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน
ผลการเลือกตั้งจะไม่สะท้อนถึงความต้องการอันแท้จริงของประชาชนในการเลือกผู้แทน
เป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนมากกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550

2.) การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการซื้อเสียง แต่จะทำให้การซื้อเสียงง่ายขึ้น

3.) การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวไม่ได้สัมพันธ์กับข้ออ้างที่ว่าจะทำให้พรรคการเมืองส่ง  คนดีมีความรู้ลงสมัคร
เพราะโดยปกติการส่งผู้ใดลงสมัครนอกจากพรรคจะดูว่าผู้สมัครเป็นคนที่ประชาชนในพื้นที่ให้ความไว้วางใจแล้ว
ก็ย่อมต้องเลือกตามที่เห็นว่าดีที่สุดอยู่แล้ว

4.) ผลคะแนนที่ได้รับ
ไม่ได้สะท้อนถึงคะแนนความนิยมที่มีต่อพรรคการเมือง คะแนนที่ได้อาจเป็นเพราะประชาชนชอบผู้สมัคร
แต่ไม่ชอบพรรคการเมืองนั้นก็ได้

5.) การนำคะแนนเสียงทุกคะแนนเสียงแม้จะเป็นคะแนนที่แพ้การเลือกตั้งในเขตมารวมคำนวณเพื่อคิดคะแนนให้กับ
ส.ส.บัญชีรายชื่อนั้น ขัดต่อหลักประชาธิปไตยที่ถือเสียงข้างมากเป็นตัวชี้ขาด
และไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน

6.)
จะทำให้พรรคเล็กเสียเปรียบในการเลือกตั้ง เพราะไม่สามารถส่งผู้สมัครครบ  ทุกเขตได้

7.) ประชาชนจะไม่ให้ความสำคัญกับผู้สมัคร
ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ แต่จะดูผู้สมัครแบบแบ่งเขตเป็นสำคัญ
ทำให้พรรคการเมืองไม่ให้ความสำคัญกับรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ

ผลที่จะเกิดจากการใช้ระบบเลือกตั้งดังกล่าว

  1.) จะทำให้ได้รัฐบาลผสมหลายพรรค
ส่งผลให้รัฐบาลอ่อนแอ ไร้เสถียรภาพในการบริหารประเทศ

  เนื่องจากความมีเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ที่นำมาใช้จะทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใด  ที่จะสามารถชนะการเลือกตั้งและมีเสียง
ส.ส. เกินกึ่งหนึ่งได้ แต่จะเกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค

  พรรคที่ได้ที่นั่ง ส.ส.
มากที่สุดอาจไม่ได้เป็นรัฐบาล ซึ่งขัดต่อความต้องการของประชาชน
จะเกิดการต่อรองตำแหน่งในคณะรัฐบาล
แม้แต่ตัวผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็อาจมีการต่อรองเอาบุคคลของพรรคที่ได้จำนวนที่นั่งรองๆ
ลงไปมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เพราะมิฉะนั้นจะไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้
จึงอาจเกิดการฮั้วกันทางการเมืองและเกิดระบบผลประโยชน์ตอบแทนทางการเมืองขึ้น
ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องยอมให้พรรคการเมืองต่างๆ ในการบริหารราชการ
มิฉะนั้นจะเกิดการถอนตัวจากรัฐบาลเหมือนเช่นในอดีต
รัฐบาลต้องเสียเวลากับการบริหารการเมืองเพื่อความอยู่รอดของตนมากกว่าการที่จะบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน

  ที่ผ่านมาได้มีบทพิสูจน์แล้วว่า
รัฐบาลผสมหลายพรรคนั้นมีปัญหาทั้งทางการเมือง และการบริหารราชการแผ่นดิน
แต่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพสามารถแก้ปัญหาสำคัญๆ ของประเทศ  และสร้างความเจริญก้าวหน้าในการแก้ปัญหาต่างๆ
ให้กับประชาชนและประเทศได้

  เมื่อระบบการเมืองและพรรคการเมืองอ่อนแอ
นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาการเมือง  และการบริหารประเทศแล้ว
การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศก็ไม่อาจเดินหน้าไปได้
เพราะพรรคการเมืองต้องมาคอยดูแลประสานประโยชน์กับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล
ไม่มีโอกาสสร้างเสริมนโยบายใหม่ๆ หรือเพื่อช่วยเหลือประชาชน เพราะนโยบายต่างๆ
จะต้องให้พรรคร่วมรัฐบาลเห็นชอบด้วย อันจะทำให้นโยบายดีๆ ของบางพรรคอาจไม่สามารถนำมาใช้ได้
เพราะ  แต่ละพรรคจะมุ่งสร้างฐานคะแนนความนิยมของพรรคตนเองเป็นหลัก

  นอกจากนี้เมื่อรัฐบาลซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในฝ่ายบริหารอ่อนแอ
ก็จะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติเป็นไปได้ยาก
กลไกการปฏิบัติราชการก็จะขาดความเป็นเอกภาพ กลายเป็นว่ากระทรวงใด พรรคใดรับผิดชอบก็ดูแลกันเอาเอง

  ในที่สุดรัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารประเทศต่อไปได้
ถ้าไม่ยุบสภาก็ต้องถูกทำรัฐประหารเหมือนเช่นอดีต

  ข้อเสนอ

  ควรนำระบบการเลือกตั้งแบบผสมที่ใช้ในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี
2540 หรือ 2550 มาใช้ซึ่งจะส่งผลดีหลายประการ ดังนี้

  1.) เนื่องจากมีการแยกบัตรเลือกตั้ง
2 ใบ ระหว่างการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ
ทำให้ประชาชนมีความเป็นอิสระ  สามารถใช้สิทธิเลือกตัวแทนของตนตามที่ชอบ
และเลือกพรรคที่ตนเองศรัทธาได้

  2.) ระบบเลือกตั้งดังกล่าว สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย
ส.ส.ที่ได้
สะท้อนความเป็นผู้แทนของประชาชนมากที่สุด

  3.) ระบบเลือกตั้งดังกล่าว จะทำให้ประชาชนให้ความสำคัญต่อทั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขต
และแบบบัญชีรายชื่อของพรรค
ทำให้พรรคการเมืองต้องเข้มงวดในการคัดเลือกผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อจะได้คนที่ดีและมีความรู้เป็น
ส.ส.

  4.) ระบบเลือกตั้งดังกล่าวได้ใช้ในการเลือกตั้งมาหลายครั้งแล้ว
จนประชาชนมีความคุ้นเคย สถิติการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนก็เพิ่มสูงขึ้นและก็ไม่ปรากฏว่าเกิดปัญหาใดๆ
ในการใช้ระบบดังกล่าว  คงมีเพียงข้ออ้างของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่อ้างว่าระบบนี้จะเกิดเผด็จการรัฐสภา
ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวไม่มีอยู่จริง หรืออ้างว่ารัฐบาลเข้มแข็งเกินไปอาจใช้อำนาจในทางมิชอบ
ก็ไม่สมเหตุสมผล เพราะมีระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลอยู่แล้ว

  5.) ระบบเลือกตั้งดังกล่าว ได้มีข้อพิสูจน์ถึงผลลัพธ์ที่ได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
แล้วเหตุใดจึงจะเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่น ซึ่งยังไม่มีใครเคยใช้ เป็นการไม่คุ้มที่จะลองผิดลองถูก
เพราะนั่นคือการเอาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นตัวประกันของระบบที่จะสร้างขึ้น

  6.) ระบบเลือกตั้งดังกล่าว ได้สร้างความเป็นธรรมให้กับทุกพรรคการเมือง
เพราะแยกการเลือกตั้งทั้งสองแบบออกจากกัน ทำให้พรรคการเมืองเล็กๆ สามารถเลือกส่งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งได้

  2.2   ระบบการได้มาซึ่ง
ส.ว.

  กำหนดให้ ส.ว.
ทั้งหมดมาจากการสรรหาของคนเพียงกลุ่มหนึ่ง โดยให้มีอำนาจสำคัญในการเป็นสภากลั่นกรอง
มีอำนาจให้ความเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและบุคคล  ในองค์กรอิสระ แสดงให้เห็นนัยยะว่าต้องการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อต้องการสร้างระบบอำนาจใหม่
ให้เกิดการควบคุมและครอบงำศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้
จึงมีการเชื่อมโยงกระบวนการได้มาของ ส.ว.
ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระในลักษณะดังกล่าว การที่ให้อำนาจสำคัญแก่ ส.ว.
ดังกล่าว จึงควรที่จะพิจารณาให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
เพราะศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมีหน้าที่สำคัญที่จะชี้ถูกชี้ผิด ส.ส. และ ครม.
ซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน การใช้ระบบการได้มาซึ่ง ส.ว. แบบนี้
จึงเป็นการไม่เคารพในอำนาจและการตัดสินใจของประชาชน แต่เป็นการเปิดโอกาสให้มีการสร้าง  กลุ่มอำนาจใหม่ที่เป็นข้าราชการ นักวิชาการ
ขุนนาง ชนชั้นนำที่เป็นพวกพ้องของกลุ่ม  ผู้มีอำนาจได้สร้างระบบตัวแทนของตัวเองขึ้นมามีอำนาจเหนือประชาชน
ถือเป็นการนำประชาธิปไตยที่พัฒนามาไกลแล้ว กลับถอยหลังไปอีกหลายปี

  ข้อเสนอ

  ควรให้การได้มาซึ่ง ส.ว.
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งทำให้ได้ ส.ว. ที่มีความหลากหลายในวิชาชีพได้
เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลในทุกสาขาอาชีพสมัครได้
และยังถือเป็นผู้แทนของปวงชนอย่างเต็มภาคภูมิด้วย

  2.3   ที่มาของนายกรัฐมนตรี

  โดยที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้พยายามอย่างยิ่งที่จะคงบทบัญญัติในส่วนของที่มาของนายกรัฐมนตรีว่า
ไม่จำต้องเป็น ส.ส. ก็ได้
แม้จะได้กำหนดว่าให้พรรคการเมืองสามารถเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่เกิน
3 คน หรือจะไม่เสนอก็ได้ โดยอ้างว่าเพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ในชั้นการเลือกตั้งก็ตาม
สาระสำคัญก็คือยังคงให้ผู้ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้นั่นเอง

    กรณีดังกล่าวย่อมมีนัยสำคัญว่า
เป็นการเตรียมแผนรองรับผู้ที่มีอำนาจในปัจจุบัน หรือบุคคลที่ผู้มีอำนาจเตรียมการไว้ให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากคาดหมายได้ว่า  หลังการเลือกตั้งต้องได้รัฐบาลผสมแน่นอน
และต้องมีการต่อรองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ การเขียนรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้เป็นการหมกเม็ดเพื่อหวังสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน
เพราะหลักการที่เขียนไว้นั้นไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย เนื่องจาก  ที่ผ่านมาได้มีการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง
จนรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.
เท่านั้น การมาเปลี่ยนหลักการเดิมนอกจากจะทำให้ประชาธิปไตยถดถอยแล้ว
ยังเป็นการปูทางเพื่อให้บางคนได้สืบทอดอำนาจต่อ
ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการยอมรับของประชาชนได้

    ข้อเสนอ

    ควรต้องกำหนดให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น
เพราะที่ผ่านมาในการเลือกตั้ง แต่ละพรรคก็ต้องชูผู้นำพรรคของตน หรือแกนนำ 
ในการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งอยู่แล้ว
ประชาชนก็ทราบ  กันอยู่
จึงสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ไม่จำต้องมากำหนดให้มีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า
เพื่อเบี่ยงเบนประเด็นการสืบทอดอำนาจเช่นนี้

  2.4   การสร้างข้อจำกัดในการบริหารราชการแผ่นดิน
ขณะที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้แก่รัฐบาลจำนวนมากจนทำให้เกิดปัญหาเป็นรัฐบาล
“เป็ดง่อย” นอกจากทำอะไรไม่ได้แล้ว ยังอาจถูก 
ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้โดยง่ายด้วย

  นอกจากระบบเลือกตั้งที่ทำให้ได้รัฐบาลผสมที่อ่อนแอไร้เสถียรภาพในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
ยังมีระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบาลอย่างเข้มงวดจนเป็นข้อที่ทำให้กังวลว่า จะมีการใช้ช่องทางดังกล่าวในการล้มรัฐบาลได้โดยง่าย
เช่น

    1.)
การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อใช้กับองค์กรของตนและกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย
และการฝ่าฝืนจริยธรรมเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้โดยการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง
จากเดิมที่ต้องให้วุฒิสภาเป็นผู้ถอดถอนจากตำแหน่ง

    2.)
การจำกัดบทบาทพรรคการเมืองและรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศไว้ตั้งแต่ในชั้นการหาเสียงเลือกตั้ง
ที่ให้ กกต. ตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมือง 
ได้ด้วย

    3.)
การกำหนดว่านโยบายที่จะใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับการ  ของบประมาณรายจ่ายประจำปี
และในบทเฉพาะกาลให้อำนาจรัฐบาล คสช. จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (ซึ่งมีเป้าหมายไว้ 20
ปี) กรณีนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า คสช. จะกำหนดยุทธศาสตร์ชาติไว้ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามเป็นระยะเวลาอีกนาน
ทำให้รัฐบาลที่มาจาก  การเลือกตั้งไม่สามารถที่จะกำหนดนโยบายอื่นๆ
ได้เอง ตามที่เห็นว่าเป็นความจำเป็น 
และเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นได้ ถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของรัฐบาล

    4.)
การพิจารณางบประมาณรายจ่ายของสภาผู้แทนราษฎรที่ห้าม ส.ส. ส.ว.
และกรรมาธิการแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขที่มาในรายการหรือจำนวนในรายการ
ซึ่งรวมถึงห้าม ครม.ด้วย หากฝ่าฝืนผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง ส่วน
ครม.ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้สภาหรือรัฐบาลไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรายการ หรือจำนวนในรายการของงบประมาณรายจ่ายตามที่
ส.ส. ส.ว. กรรมาธิการ หรือรัฐบาลเห็นสมควรปรับปรุงได้ อันจะทำให้โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในระหว่างนั้นไม่อาจทำได้
ต้องไปเสนอเป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภาก็จะกลายเป็น  สภาตรายางไป
ทั้งที่เรื่องงบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ

    ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญบังคับให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอแก่รัฐสภา  ศาล องค์กรอิสระและองค์กรอัยการ
โดยจะมีการตราหลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยเหตุนี้รัฐบาลในอนาคตจะมีข้อจำกัดในการพัฒนาเศรษฐกิจและดูแลช่วยเหลือประชาชน
เพราะนโยบายที่ช่วยเหลือประชาชนจะถูกกล่าวหาว่าเป็นประชานิยม  และไม่สามารถนำมาใช้ในการหาเสียงหรือบริหารราชการแผ่นดินได้
ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ของรัฐไว้มากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระ
เช่น ป.ป.ช. กกต. และ คตง. สามารถทักท้วงนโยบายดังกล่าวได้
หน่วยงานเหล่านี้จะเป็นผู้ฉุดรั้งนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ นโยบายช่วยเหลือประชาชน

    5.)
รัฐบาลมีข้อจำกัดในการลงทุนในโครงการสำคัญๆ

    เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนด
เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องรักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐบาลมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืน
ต้องแสดงที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยรัฐบาล คสช. จะตรากฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ  จะทำให้รัฐบาลใหม่มีข้อจำกัดในการที่จะริเริ่มในการจัดทำโครงการ  อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
หรือการพัฒนาด้านต่างๆ ที่จะต้องใช้เงินกู้มาดำเนินการ  ไม่อาจพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
คิดนโยบายระยะยาวไม่ได้ ไม่อาจแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนได้

  ข้อเสนอ

  ควรให้อิสระแก่รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศในการที่จะกำหนดนโยบายได้ 
ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ของประเทศในช่วงเวลานั้นๆ
ไม่ผูกพันรัฐบาลไว้กับยุทธศาสตร์ที่รัฐบาล คสช. กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
รวมถึงสถานการณ์โลกด้วย
การกำหนดข้อผูกพันในรัฐบาลต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล คสช.
จะเป็นข้อผูกมัดประเทศไว้ ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ได้

  นโยบายของรัฐบาลเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำพาประเทศและประชาชนไปสู่  ความเจริญก้าวหน้า
จึงควรให้รัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายได้เอง
เพียงแต่กำหนดกรอบเรื่องวินัยการเงินการคลังไว้ก็น่าจะเพียงพอ
ไม่ควรสร้างข้อจำกัดจนรัฐบาล  ไม่สามารถกำหนดนโยบายหรือบริหารประเทศได้

  2.5   เพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญจนกลายเป็น
“ซูเปอร์องค์กร”

    โดยเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลก็เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในเรื่องการวินิจฉัยกรณี
พิพาทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น และเป็นศาลที่มีอำนาจจำกัดเฉพาะที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น
ไม่ใช่ศาลที่มีอำนาจทั่วไปดังเช่นศาลยุติธรรม ที่ผ่านมาพบว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจหน้าที่วินิจฉัยหลายคดีที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ถึงความถูกต้องเที่ยงธรรม
ใช้อำนาจ  เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
แทนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะปรับปรุงโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีที่มาที่ยึดโยงกับอำนาจของประชาชนและให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในการตัดสินหรือวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น
กลับเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนนักการเมืองได้
แทนที่อำนาจดังกล่าวควรจะเป็นของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพราะเป็นผู้แทนของปวงชน

  นอกจากนี้ยังให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญได้อย่างกว้างขวาง
มีสิทธิชี้ขาดว่าในยามประเทศมีวิกฤติสามารถวินิจฉัย และให้บังคับตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้  มีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และองค์กรอิสระ ซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
อำนาจดังกล่าวอาจตีความได้ถึงการให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือการตรากฎหมายของรัฐสภา  ตลอดจนอาจชี้ขาดให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ได้
เป็นต้น

  ข้อเสนอ

    ควรจำกัดอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญให้มีหน้าที่ในการวินิจฉัยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เช่น วินิจฉัยว่าบทบัญญัติกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
หรือกรณีวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. / ส.ว. / หรือกรณีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิและ  ไม่มีหนทางเยียวยาโดยวิธีการอื่นเท่านั้น
ไม่ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หรือวินิจฉัยตีความรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ประเพณีการปกครองประเทศตามที่ร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้

    นอกจากนี้ผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ควรจะเปิดช่องให้มีการสมัครและสรรหาได้อย่างกว้างขวาง
ไม่ใช่ให้ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดเป็นผู้เสนอชื่อจาก  ผู้พิพากษาจำนวนถึง 5 คนซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
และคณะกรรมการสรรหาก็ไม่ควรจำกัดเพียงประธานศาลฎีกา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้นำฝ่ายค้าน
ประธานศาลปกครองสูงสุดและบุคคลที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระแต่งตั้งเท่านั้น
แต่ควรมี  ภาคส่วนของสังคมที่ไม่มีส่วนได้เสีย
เข้ามาเป็นกรรมการสรรหาด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้  เกิดปัญหาตุลาการภิวัฒน์เหมือนในอดีต
ส่วนองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 5 คนนั้นก็มีปัญหา
เพราะคดีรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ ให้บุคคลเพียง 5 คนเป็นองค์คณะ 
ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีตุลาการเสียงข้างมากเพียง 3 คน ใน 9 คน
ตัดสินวินิจฉัยประเด็นสำคัญ 
ของบ้านเมืองได้ จึงควรกำหนดให้องค์คณะมีไม่น้อยกว่า 7 คน

  อนึ่ง
พรรคเพื่อไทยเห็นว่า องค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญนั้น
ไม่ควรอยู่ในระบบเดียวกันกับศาลทั่วไป สมควรแยกเป็นอิสระจากหมวดศาล แล้วตั้งเป็น
“คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” เหมือนเช่นในอดีตที่เคยมีมาตั้งแต่ปี 2489 ถึง 2539
เป็นเวลากว่า 50 ปี
เพื่อจำกัดบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ
ในเรื่องที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้นโดยองค์กรดังกล่าวจะมีตัวแทนทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ มาทำหน้าที่ ซึ่งอาจรวมถึงตัวแทนจากองค์กรอิสระด้วยก็ได้
ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีตัวแทนจากทุกฝ่าย
ผลคำวินิจฉัยจะได้เกิดการยอมรับและทุกฝ่ายปฏิบัติตาม ไม่มีองค์กรใดที่เป็น “ซูเปอร์องค์กร”
อีกต่อไป

  2.6   ให้องค์กรอิสระ
(กกต. , ปปช. , คตง.) มีอำนาจเหนือรัฐบาลและรัฐสภา

  โดยการชี้ทิศทาง โดยการท้วงติง
ไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาล โดยอ้างว่ามีการทุจริต
ทำให้รัฐบาลและรัฐสภาขาดความเป็นอิสระในการบริหารราชการแผ่นดินและในการ  ตรากฎหมาย
องค์กรเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่อต้านนโยบายของรัฐบาล ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศและประชาชนได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะขัดขวางนโยบายสำคัญๆ
ของรัฐบาล แม้จะแถลงต่อรัฐสภาแล้วก็ตาม  ขณะที่ให้กรรมการในองค์กรอิสระเป็นกรรมการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระเอง
เป็นการเปิดช่องการสืบทอดอำนาจ

  ข้อเสนอ

    เนื่องจากระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ขององค์อิสระแต่ละองค์กร
ครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ไว้หมดแล้วไม่ว่าการตรวจสอบนโยบายซึ่งจะต้องแถลงต่อรัฐสภา เรื่องการทุจริตก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เรื่องการใช้จ่ายเงินแผ่นดินเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ซึ่งกระบวนการตรวจสอบในแต่ละเรื่องมีขั้นตอน  การปฏิบัติอยู่แล้ว
แต่การให้อำนาจพิเศษแก่องค์อิสระข้างต้นในการตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลหรืออ้างว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องนั้น
จะทำให้องค์อิสระสามารถ  เข้ามาแทรกแซงองค์กรฝ่ายบริหารได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
จึงเห็นควรยกเลิกอำนาจในส่วนนี้  ขององค์อิสระและให้อำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ
เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่

  2.7   การกำหนดให้รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ยากที่สุด
จะก่อให้เกิดวิกฤตของชาติในอนาคต

  ตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่า
การให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า  ที่มีอยู่ของทั้งสองสภา และต้องมีจำนวน ส.ส.
จากพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 10
คนเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรค นอกจากนี้ หาก ส.ส.
ของทุกพรรคที่มี ส.ส. อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่าพรรคละ 10 คน ถ้ารวมทุกพรรคแล้วมีจำนวนเกิน 10 คน
ต้องเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวน ส.ส. ทุกพรรค และต้องมี ส.ว.
เห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมด
การกำหนดเงื่อนไขการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ดังกล่าว
จึงทำให้โดยข้อเท็จจริงแล้วจะทำให้รัฐธรรมนูญที่จะใช้บังคับไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้อย่างแน่นอน
เพราะโดยวิธีปฏิบัติหาก ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล หรือ ครม. เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ส.ส. พรรคฝ่ายค้านก็ย่อมไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขนั้นอยู่แล้ว
การกำหนดเช่นนี้จะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญ  ที่แก้ไขไม่ได้
และจะเป็นการเปิดช่องทางให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการลงคะแนนได้
หากต้องการให้รัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบ หลักการเช่นนี้ ผิดหลักการของการ  ร่างรัฐธรรมนูญทั่วไป
ที่จะกำหนดให้รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ แม้จะแก้ไขได้ยากกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป
แต่ก็มิใช่ว่าจะแก้ไขยากที่สุดหรือแก้ไขไม่ได้ การกำหนดเช่นนี้  จะก่อให้เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญขึ้นในบ้านเมืองได้
เมื่อยามที่บ้านเมืองต้องการเปลี่ยนแปลง 
ให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

  ข้อเสนอ

  ควรยึดหลักการเดิมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เพราะแม้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่อาจคาดหมายได้ทั้งหมดว่าในวันข้างหน้าสถานการณ์ของประเทศและของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
จึงควรให้ผู้มีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในขณะนั้นได้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้พลวัตรไปตามสถานการณ์
การจะให้รัฐธรรมนูญหยุดนิ่ง ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เหมือนกับเป็นการหยุดประเทศไว้กับที่

  2.8   การคงอำนาจของ
คสช. และหัวหน้า คสช. ไว้หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

  การที่บทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้
คสช. และหัวหน้า คสช. ยังคงมีอำนาจหน้าที่ต่อไป ซึ่งรวมถึงอำนาจพิเศษของหัวหน้า
คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ด้วยนั้น
แสดงถึงการไม่ยอมปล่อยวางอำนาจของ คสช. ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร
เมื่อยังคงอำนาจดังกล่าวไว้
จึงทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญยังคงมีข้อจำกัดด้วยอำนาจของ คสช.
และหัวหน้า คสช. และ คสช. สามารถใช้อิทธิพล  และอำนาจของตนไม่ว่าทั้งโดยเปิดเผยหรือทางลับชี้นำผลการดำเนินการเลือกตั้ง
ส.ส. หรือการได้มาซึ่ง ส.ว. การสรรหาองค์กรอิสระต่างๆ ได้
จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งจะ 
เข้ารับหน้าที่
หากไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งก็สามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
กรณีเช่นนี้จะทำให้การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่อาจดำเนินการไปด้วย  ความโปร่งใสและเป็นธรรมได้ เพราะ คสช.
ยังมีอำนาจควบคุมกลไกอำนาจรัฐไว้ทั้งหมดได้

  ข้อเสนอ

  ควรตัดบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ
คสช. และหัวหน้า คสช. ออก  โดยให้ คสช.
สิ้นสุดลงทันทีเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว

    ด้วยปัญหาต่างๆ ที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
จะเห็นได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมือง
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ขององค์อิสระ
ซึ่งเป็นองค์กรในระดับบนที่ใช้อำนาจหน้าที่สำคัญมีปัญหาสำคัญ เพราะหากการจัดวางโครงสร้างอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ
เหล่านี้ไม่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดปัญหาที่จะทำให้กลไกต่างๆ
ในรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนหน้าที่ต่างๆ ของรัฐ
ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญได้ การบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญเกิดปัญหาความไม่เที่ยงธรรม  จะเกิดการใช้เงื่อนไขทางรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายหนึ่ง  ฝ่ายใดและเป็นโทษกับอีกฝ่ายได้ง่าย พรรคเพื่อไทยจึงขอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ  ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักการและสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามข้อเสนอของพรรคฯ
ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างยิ่ง

พรรคเพื่อไทย
 21 กุมภาพันธ์ 2559

   

Pheu Thai Party Statement

Proposal concerning
the drafting and making changes to the draft constitution

  The Constitution Drafting Committee
have completed the first draft of the charter and sent out to organizations and
agencies involved including political parties to consider and propose opinions.
It also orchestrated venues to gather feedback from people in various regions to
be used in considering changes to make the draft charter more appropriate.

  Pheu Thai Party sees the
constitution as the highest law that affects everyone in the society. The
constitution drafting process therefore should involve the people or the
representatives of the people but Pheu Thai Party understood the need given the
situation since this charter is being drafted after the coup d’état.
Nevertheless the contents of the draft charter must be democratic and its key themes
acceptable for all sectors of the society.

However,
when the thinking of the Constitution Drafting Committee members were revealed
through public interviews held and the content of this draft charter is
considered, it is found to have several principles and key themes that are a
major hindrance to the democratic, economic, political and social development
of the nation which will eventually lead to problems and spur another national
crisis. Pheu Thai Party thus summarizes the key issues in the draft charter a
follows:

1. 
The charter was drafted with the wrong
objective

The issues of the nation must be understood and the
cause correctly determined in order to draft a good constitution. If the
objective in drafting the charter is wrong not only the existing problems
cannot be resolved but will cause more issues that will further complicate the
matter.

When one consider the problems in Thailand, the most
pressing among these is the issue concerning the livelihood of the people.
Large numbers of people still live in poverty and find it increasingly
difficult to live due to insufficient income for sustenance while the price of
goods and the cost of living continue to rise. This is exacerbated as the
agricultural sector suffers from uncertain price for its produce. Every elected
governments were aware of these problems and have always provided assistance
for the people to alleviate the problems and gradually allow them to enjoy better
standard of living. This can be seen in every election in which the people will
choose the political party that give importance to their livelihood. The
elected government must then administer the nation to fulfill the policies it promised.

But the intent of the political party and the
politicians and the hope of the people were thwarted and dashed every time there is a coup d’état.
The junta, bent on seizing power to administer the nation would always cite the
prevailing conditions and justify its action by destructively accusing and
attacking the behavior of politicians and the ruling government. Such allegations
include corruption, defaming the monarchy (lèse majesté), using populist
policies and dishonest dealing when carrying out government policy (policy
corruption).

Once the coup is successful their own rules would be
enforced as law while seeking to implicate politicians and administrators whose
power was seized. Even though the format and the contents of these rules may be
outright unconstitutional and illegal but since the charter acknowledges it as
constitutional the court is obliged to rule accordingly.

Also the actions of the junta were endorsed as
constitutional to prevent scrutiny. If politicians were successfully prosecuted
then the court verdict would be used to attack the politicians and the
political parties as source of the problems. In truth, past problems of the
nation and the people were resolved by politicians and political parties
through the electoral process and formulation of government policies which is
an internationally accepted method.

In national administration there may be some
questionable politicians but the constitution and law already have stringent
process to supervise the exercise of power whether by the removal from position
or by criminal prosecution. Also the constitution allows the Prime Minister to
dissolve the House to address problems. This does not mean that all politicians
and political parties have to be bad as accused by those that seized power.

If one consider the facts then it will be found that
the key cause that stalled democratic and national development is attributed to
the military not following their designated duty conducted numerous coups to gain
power of the State and manage the nation by themselves. This refusal to accept
the constitution and the democratic process has led to a vicious cycle of
problems.

Similarly in the coup d’état on 22nd May
2014 although the military followed its duty at the request of the government
to prevent violence but it instead choose to conduct the coup to seize
administrative power. On the day of the coup the key excuse cited was to quell
the conflict of people in the society and undertake reforms. Today even though
the junta has ruled the nation for over 2 years but nothing concrete has been
done for the two problems. On the contrary, further conflict is brimming as the
government and the NCPO are putting themselves directly at odds with the
people.

When power was seized, government corruption was not
cited as one of the excuses but once administrative power has been secured the
junta used this allegation to justify themselves which led to the Article 35 in
in 2014 Interim Constitution which seek to curtail the roles of politicians and
the political parties as if are they are the culprits and the junta are the
heroes. The framework of Article 35 and the extreme ego of the Constitution
Drafting Assembly has spawned contents in the draft constitution that is
clearly distorted from international principles and strayed from addressing national
issues. It seek to destroy politicians and the political party while creating a
mechanism to foster a new power group consisting of themselves and friends to
administer the country going as far as naming the draft charter “anti-graft”.

As for the excuse to quell the conflict of people in
the society, if one scrutinize for the root cause of the problems it will be found
that the government whose power was seized did not create these problems. One
need to look back to the 19th September 2006 when the junta seized
power and created mechanisms that focus on hunting down and destroying rival
politicians. This affected the justice system that has to abide by the rules
set forth which resulted in questionable rulings for many cases that are double
standard.

Even though these mechanisms to curtail politicians
and political parties were stipulated in the 2007 Constitution but the people
still voted their representatives to become government. However conditions were
created to deny the legitimacy of the elected government which led to occupying
and laying siege to key government offices including the government house and
important airports in the nation. These offenders were protected by the justice
process while those that supported the democratic government were speedily,
harshly and mercilessly dealt with. Those that came out demanding for justice
were suppressed and there were numerous dead and injured while the government
and the military involved did not have to bear any responsibilities. The Independent
Agencies also exercised power unjustly which has been criticized to this
present day by seeking to punish one political group but helping out another
group.

Thus it can be seen that the problems of the nation
come from the military and certain political group refusing to accept the rules
as set in the constitution, the Independent Agencies and the Constitutional
Court refusing to follow their duties in a just manner, While there are
processes to examine politicians for mismanagement of the nation but none can
scrutinize these groups mentioned and even if investigation is carried out, there
is apparent help provided for them.

When politicians and political parties are deemed as
the cause of the problem, the 2014 Interim Constitution Article 35 thus paved
the way to formulate a new constitutional framework that seek to curtail the
roles of politicians and political parties while increasing power and roles of
the Independent Agencies and the Courts especially the Constitutional Court.
Procedures were created to speedily dismiss politicians or remove the
government. This begins with the electoral system that intend to result in a
multi-party coalition government and allow non-MPs to become Prime Minister. This
paves the way for those presently in power to be nominated as Prime Minister.
Should these people become government leaders, the Independent Agencies and the
Constitutional Court would become tools to ensure their longevity in power but if
their rival become the government then the constitutional process will be
leveraged against them to easily dismiss from position. Since the Independent
and the Constitutional Court has no links to the power of the people as most of
the people in these organizations are ex-government official, this constitution
thus change the principle that sovereign power belongs to the people and
instead made it belong to the Independent Agencies and the Constitutional Court
instead while greatly reducing the roles of the people of their
representatives.

Pheu Thai Party sees that the Constitution Drafting
Committee started out with the wrong objective in drafting the charter which
will cause problems and spur national crisis in the future should there be no
change made to the key contents.

2.  The key issues in the draft constitution
that should be changed

2.1  The MP selection system

The
“Apportionment” electoral system created by the Constitution Drafting Assembly
which has never been used in any other country on earth will cause numerous
problems as follows

1) 
Using a single ballot deny the people
their opportunity to elect constituency MP separate from the political party.
The election result will only not reflect the true mandate of the people in selecting
their representatives but also limit the rights the people even more than the
1997 and the 2007 Constitutions.

2) 
Using a single ballot cannot solve the
problem of vote buying but instead makes it easier.

3) 
Using a single ballot does not correlate
with the argument that the political party will have to nominate good people as
electoral candidates. Usually before enlisting someone the political party must
see that the candidate has the trust of people in the local community and thus
must make the best possible choice in the first place.

4) 
The resulting votes does not reflect the
popularity of the political parties. The votes garnered may be because the people
like the candidate but dislike the political party.

5) 
Using every vote including those cast for
lost candidates to calculate the number of party list MPs is contradictory to
the democratic principle that requires majority vote to make such decision and
does not reflect the mandate of the people.

6) 
Small political parties are put at a
disadvantage in the election because they cannot send candidates for every
electoral district.

7) 
The people will not concern with the
candidates for party-list MPs but will focus on the candidates in their
electoral constituencies making the political party also put little importance
to the party-list candidates.

The result of using this electoral system

1) 
Although stability is crucial for
effective management but in this electoral system no political party can
outright win the election and control more than half of the total number of MPs
thus a multi-party coalition government will result which is weak and unstable
in administering the nation.

The
political party that garner most MP seats may not become the government and
political collusion will ensue resulting in a system that foster mutual
benefits. The person becoming Prime Minister must allow other political parties
to jointly administer otherwise face their withdrawal from the government as in
the past. The government thus has to waste time in politics more than managing
for the welfare of the nation and the people.

  History has proven that coalition
governments usually face a barrage of political and management problems but
governments that are stable can address important issues and bring prosperity
for the people and the nation.

  Weak political system and political
parties not only create political and management problems but also stall the
democratic development of the nation because time must be spent in safeguarding
and collaborating benefits between the ruling parties. There is no opportunity
of formulate new policies to help the people as other coalition parties must
also agree and good policies from certain party may not see light of day as
every party only focus on building popularity for their electoral base.

  When the government which is the highest
executive organization is weak, mobilizing various policies into action becomes
difficult. Administrative mechanism also lack unity as departments under
different political parties in charge are directed separately.

Eventually
the government will not be able to continue administering the nation and will
have to dissolve the parliament or face another coup d’état as in the past.

Proposal

The
“Mixed” electoral system in the 19987 or the 2007 Constitution should be
adopted which has several benefits as follows:

1.)
There are 2 separate ballots for selecting electoral constituency and
party-list MPs which gives the people liberty to exercise their rights in
selecting their preferred candidate and the political party they trust.

2.)
This electoral system is in accordance with democratic principles that the MPs
must represent the people as much as possible.

3.)
In this electoral system the people will give importance to both electoral constituency
and party list candidates and the political parties will have to rigorously
select good and able people for their partly-list candidates.

4.)
The people have grown accustomed to this electoral system since it has been
used several times. Turnout numbers for past elections have increased and no
issue has been found in adopting this electoral system. What remains is the
claim by the drafters of the charter that this system will lead to parliamentary
dictatorship. Such claim is invalid and the notion that a government too strong
may abuse power does not have merit either because there are systems in place that
monitor the government in its use of power.

5.)
Since this electoral system has resulted in a stable government that is
effective in national administration then why should another system that no one
has ever used before be adopted? Such
trial and error is not worthwhile as it put at risk the benefit of the nation
and the people.

6.)
This electoral system is fair for all political parties as two types of voting
are separated which allows small political parties to send candidates for
various electoral constituencies.

2.2  The senate selection system 

Stipulating that the senate be selected by
only a group of people and granting it power as the “screening” House to
endorse Constitutional Court judges and people in the Independent Agencies implies
that this charter is being drafted to establish a new power system that controls
and dominates the Constitutional Court and the Independent Agencies by linking
together the selection process of the senate, Constitutional Court and the
Independent Agencies. Granting such important power to the senate should
require the senators be elected directly by the people. This is because the
Constitutional Courts and the Independent Agencies to be endorsed by the senate
have an important duty in deciding matters concerning the MPs and the Cabinet
who are representatives elected by the people. Using this system to select the
senate not only ignore the power and the mandate of the people but lend opportunity
for new power groups consisting of government officials, aristocrats and the
elites who are affiliated with those currently in power to create a nominee system
for themselves that dominate the people. 
This is taking democracy which has come a long way backwards by many
years.

Proposal

The selection of the senate should
directly come from election by the people. This will allow the senators to come
from varied profession and open the opportunity for people from all occupations
to enroll as candidates. The senators could also be proudly considered as true
representative of the people.

2.3  The selection of the Prime Minister

The Constitution Drafting Committee spare
no efforts to retain the provision concerning the selection of the Prime
Minister that need not be an MP. Even though it is stipulated at the start of
the election political parties can list at most 3 names to become Prime
Minister (or may not list any) in order to let the people know who may become
Prime Minister but this is just a facade because at the core the charter allows
non-MP to assume the position of Prime Minister.

The prerequisite for the Prime Minister
that need not to be an MP imply that a plan has been prepared for those
currently in power or their nominee to assume the position of Prime Minister. This
is because it is expected that the upcoming election will definitely result in
a coalition government and negotiations for the position of Prime will ensue in
order to form the government. Drafting the constitution in this manner is a
surreptitiously ploy to succeed power since such principles violates democratic
principles. In the past there has been demands for the Prime Minister to come
from the election which resulted in the 1997 and the 2007 Constitutions clearly
stipulating that the Prime Minister must only come from MPs. Changing this does
not only put democracy on the decline but also pave the way for certain
individual to succeed power which will not be accepted by the people.

Proposal

The constitution should clearly stipulate
that the person to become Prime Minister must only be an MP because in past
elections every political party has to promote their party leader or a key
person to become Prime Minister during the electoral campaign. The people would
be informed of this and decide accordingly which party to choose. Thus there is
no need to list names to become Prime Minister in advance to deviate attention
from the actual intent to succeed power.

2.4  Imposing limitation for the elected
government to administer the nation
while designating numerous duties for the
government will make it into a “sitting duck” government which cannot do much
and may easily be removed from position.

Apart from the electoral system that will result
in a weak coalition government that lack stability to administer the nation, system
to supervise power exercised by the government that is so stringent that there
is concern that it could easily be used to overthrow the government such as

1)  Stipulating
that the Constitutional Court and the Independent Agencies must jointly
establish a moral standard for themselves and also for those in political
positions to follow. Any breach in this moral standard will result in the
offender being removed from office by granting power for the Constitutional
Court to make such rulings while in the past the senate is responsible for such
dismissals.

2)  Limiting
the role of political parties and the government in formulating national
administrative policies during electoral campaigning by granting the Election
Commission (EC) the power to scrutinize the policies of each political party.

3)  Imposing
that all national administrative policies must coincide with the national
strategy and the government must observe its duties as stipulated in the
constitution such as requesting budget for annual expenses and granting power
for the NCPO in the temporary provision to prepare the national strategy (which
spans 20 years) means that the NCPO will set the national strategy that future
elected government must follow for a long time. This prevent the elected
government from setting its own policies that are necessary and appropriate to
the prevailing situation which is a major roadblock for the government.

4)  The
budget meeting by the House of Representatives forbid MPs, the senate or
amendment commission to alter or change the source and amount in the list. Person found breaking this would
be dismissed from position and the entire Cabinet would be removed and disqualified
to run for election if such breach is committed. The Parliament or Government
are thus unable to amend any items or amount in the expense budget that the
MPs, senates, commissioners or the Government see requires change. This makes
carrying out urgent projects not possible and can only be proposed as an
additional Budget Act. The Parliament thus only serves as a “rubber stamp” even
though budget is such an important matter.

At
the same time the Constitution obligate the Government assign adequate budget
for the Parliament, the Courts, the Independent Agencies and the Attorney
Agencies by stipulating the guidelines in the law concerning financial and
budgetary discipline of the State. For this reason, the future government will
be limited in undertaking economic development and care of the people because
any policies that help the people may be considered populist policies and
cannot be used in electoral campaigns or national administration. At the same
time this draft constitution has listed numerous duty for the State from
economic to social. By giving opportunity for the Independent Agencies such as
the EC, NAC and the OAG to protest will only make these agencies obstruct
policies intended to address economic problems and help the people.

5)  The Government
is limited from investing in important projects. Since the constitution stipulates that the
State has the duty to maintain financial and budgetary discipline in a stable
and sustainable manner it is legally required that the source of income to be
used for expenses must be declared. The NCPO Government will also legislate a
law enforcing the financial and budgetary discipline of the State which will
curtail the new government from undertaking large scale infrastructure or
developmental projects that require financial loan. Thus national development
cannot be sustained, long term policies cannot be formulated and the distress
of people cannot be resolved.

Proposal

The government should have the liberty to
administer the nation by formulating policies that are appropriate for the
situation and not bound to the strategy set by the NCPO. Since no one can
foresee how situation in the nation and the world will unfold. Such obligation
binds the nation and prevent it from adapting to the changing situation.

Government policies are important tools
that can lead the nation and the people to progress and prosperity thus the
government elected by the people should be able to set its own policies and
only framework concerning financial discipline should be predetermined
otherwise the government will be so limited that it is unable to set any policy
and manage the nation.

2.5  Increasing power of the Constitution Court
to become the “Super Organization”

The
intent for establishing the Constitutional Court is to make ruling for disputes
concerning the constitution. This Court should have limited power as stipulated
in the constitution and not granted general powers like the justice court. In
the past the Constitutional Court has made ruling in many cases that were
questioned by the society for being just and fair and using power beyond what
the constitution stipulates. But instead of changing the structure and power of
the Constitution Court to connect with the power of the people and only grant
power to make judgment or ruling on matters related to the constitution, this
draft charter added power to the Constitution Court to remove politicians which
hitherto has been the responsibility of the elected senate who represented the
people.

Furthermore
the Constitutional Court is also granted sweeping powers to interpret the constitution.
In times of national crisis the Constitutional Court has the power to make
ruling in accordance with the tradition under democratic regime making it able
to exercise power over the Executive and Legislative branch. Such power may
include the dismissal of the government, carry out additional amendment to the constitution,
to legislate new parliament bills or even deciding whether a new election
should be held.

Proposal

The
power of the Constitutional Court should only be limited to matters related to
preserving the constitution as the highest law such as determining which legal
provision contradict the constitution or conduct hearing on the eligibility of
MPs and senators or protect the constitutional rights of the people that are
violated and has no other means to address. The Constitutional Court should not
have the power to decide on the removal of persons in political office or make
constitutional ruling to adopt the tradition for national administration as
stipulated in the draft charter.

Furthermore
the enrollment and selection of candidates to preside as constitutional
tribunal should be more open and not only let the Supreme Court and the
Administrative Court nominate as many as 5 judges which numbers more than half
of total number of the constitutional tribunal. The selection committee also
should not only be limited to the President of the Supreme Court, the President
of the House of Representatives, the opposition leader, President of the
Administrative Court and persons appointed by the Constitutional Court and the
Independent Agencies but every sectors of society that has no conflict of
interest should join  this selection
committee. This is to prevent the problem of “judicial activism” as in the
past. Also the Constitutional Tribunal numbering only 5
members can pose a problem as only 3 judges can form the majority out of the
total 5 to make ruling on cases concerning the constitution which are important
national matters. Thus there should at least be 7 judges in the Constitutional
Tribunal.

Pheu
Thai Party sees that the organization having the role to resolve constitutional
conflicts should not be in the usual court system but independently established
as the “Constitutional Tribunal” as in the past from 1946 to 1996
which spanned more than 50 years. This is to limit the roles and power of such organizations
so it may only make ruling on constitutional conflicts that are important and
necessary. This body may be presided by representatives from the legislative,
the executive and the judicial branch and may also include representatives from
the Independent Agencies. This would make the Constitutional Tribunal represent
everyone and its ruling will be accepted and observed by all and there will be
no need for a “Super Organization”.

2.6  Giving the independent agencies (Election
Commission: EC, National Anti-Corruption Commission: NAC and the Office of the
Auditor General: OAG) power over the government and parliament

These
agencies can direct, protest and disagree with
government policies by citing corruption. This deprives the government and parliament
the liberty to administer and legislate. These agencies will seek to oppose
government policies and renders it impossible to address problems of the nation
and of the people especially by blocking important government policies which
has already been announced in the Parliament. At the same time the committee
members in these Independent Agencies can preside as selection committee for
their Independent Agencies which open the opportunity to succeed power.

Proposal 

The
system to examine the government for its use of power already exists in these Agencies
covering various matters from policies that must be inspected by announcing to
the Parliament, investigating corruption allegations which is the
responsibility of the NAC and auditing government spending which is responsibility
of the OAG. For these there are procedures to be followed but to give special
powers to these Agencies to scrutinize government policy on grounds that money
may be inappropriately used will allow these Independent Agencies to
extensively interfere with the executive branch. It is thus appropriate to repeal
such powers and retain only current powers and roles that has already been
stipulated for these independent agencies in the existing law.

2.7  Making
the constitution extremely difficult to amend will cause future national
crisis.

Amending the constitution requires
the approval of more than half of all members from both houses. It must also
have the approval from at least 10 percent of MPs in every political party that
has more than 10 MPs in the House. For political parties with fewer than 10 MPs
in the house if the total MPs from these parties numbers more than 10 then
there must be approval from at least 10 percent of MPs in every political
parties. Also at least 1/3 of the total appointed senators must agree. In
reality, imposing such criteria makes it impossible to amend the constitution
once it is promulgated. Because when MPs from ruling parties or the Cabinet
propose to amend the constitution, the MPs from the opposition party would
surely not agree to such changes. This makes the constitution unamendable and
allows collusion in order to pass such amendments. This violates the general
principle in drafting the constitution that must allow the constitution to be
amendable even though it may be more difficult to amend that general Acts but
it should be too difficult or impossible. Stipulating this will bring about a
constitutional crisis when the nation needs to change and keep up with the developing
situation.

Proposal 

The
principles to amend the constitution in the 2007 Constitution should be
adopted. Even though the constitution is the highest law but the drafters
cannot foresee how future events of the nation and the world will unfold thus
those in power at that time should be able to consider and make amendments
necessary based on the prevailing situation. Setting the constitution in stone
by making it unamendable is putting the nation on a standstill.

2.8  Retaining
the power of the NCPO and the Head of the NCPO after the promulgation of the
constitution.

  The
temporary provision of the draft charter stipulate the NCPO and the Head of the
NCPO continue to retain power including the special power of the Head of the
NCPO according to Article 44 of the Interim Constitution 2014. This signify the
unwillingness of the NCPO to let go of power it seized by coup d’état. Retaining
such power curtails the constitutional rights and liberties of the people as
the NCPO and the Head of the NCPO can wield influence and power openly or covertly
to direct the outcome of MPs elected or the selection of senators and the
Independent Agencies until the elected cabinet assumes power. Should they
disagree with the result of the election certain conditions can be created to
order that a new election be held. Thus the election according to the new
constitution cannot proceed in a transparent and just manner because the NCPO
still controls the entire power of the State.

Proposal

  The
temporary provision in the draft charter giving power to the NCPO and the Head
of the NCPO should be omitted and the NCPO should cease immediately once the
constitution is promulgated.

  The
various problems in the draft charter mentioned are concerned with the
political structure. Since the Independent Agencies are top level agencies with
important roles, inappropriately setting political and power structure for
these organization can create problems that will obstruct the various
mechanisms in the constitution such as the rights and liberties of the people
and the roles of the State. National administration cannot respond to the needs
of the people and the Independent Agencies and the Constitutional Court may be
alleged as unjust. These conditions set forth in the constitution can be easily
turned into a political tool for the benefit of certain groups while causing
detriment to others. Pheu Thai Party thus call for the Constitution Drafting
Committee to consider making changes to the principles and key content in the
draft charter in accordance with this proposal in order to truly benefit the
nation and the people.


Pheu
Thai Party
21st
February 2016