แถลงการณ์พรรคเพื่อไทย เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและข้อเสนอของ คสช.

ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกต่อสาธารณชน และอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นร่างสุดท้าย หลังจากได้รับฟังข้อเสนอของภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ โดยมีการแถลงผลสรุปของการแก้ไขปรับปรุงมาโดยตลอด จนล่าสุด คสช. ได้มีข้อเสนอเป็นหนังสือให้ กรธ. ได้ปรับปรุงแก้ไขบทเฉพาะกาลมาด้วยนั้น

 พรรคเพื่อไทย ได้ติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.มาโดยตลอด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาหลายประการที่จะทำให้ประชาธิปไตยของประเทศถดถอย รัฐบาลขาดเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถูกแทรกแซงจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ กลไกในรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนหรือนโยบายที่มีลักษณะของการช่วยเหลือดูแลประชาชนได้ มีการสร้างกลไกเพื่อมุ่งสืบทอดอำนาจของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็น ส.ส. เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ที่มาของ ส.ว.ก็มาจากการสรรหาแทนที่จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ขณะที่รัฐธรรมนูญก็มีการกำหนดเงื่อนไขให้แก้ไขยากมาก โดยพรรคได้เสนอข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต่อ กรธ. แล้ว แต่ข้อเสนอของพรรคก็ไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแต่ประการใด ขณะที่ คสช. ได้มีข้อเสนอไปยัง กรธ. ดังนี้

 1. ให้มี ส.ว. จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งของคณะบุคคลเพียง 8 – 10 คน โดยคณะบุคคล ที่ทำหน้าที่คัดเลือก ส.ว. 8 – 10 คน ไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใดเลย ส่วนใหญ่คงเป็นคนที่ คสช. คัดเลือกมา จึงอาจกล่าวได้ว่า คสช. เป็นผู้เลือก ส.ว. นั่นเอง นอกจากนี้การให้ ผบ.เหล่าทัพ รวมถึง ผบ.ตร. เป็น ส.ว. ด้วย ยิ่งมีปัญหาเพราะบุคคลเหล่านี้เป็นข้าราชการประจำต้องทำหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาล กลับให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเสียเองและบุคคลเหล่านี้มีอำนาจคุมกำลังทั้งทหารและตำรวจ การให้มาทำหน้าที่ ส.ว. จะทำให้สามารถชี้นำการทำหน้าที่ของ ส.ว.และชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นการขัดต่อสถานะของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว

 ส่วนข้อเสนอที่ให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. มีอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ อำนาจในการขับเคลื่อนการปฏิรูป ซึ่งก็ไม่ต่างจาก คปป. ในร่างของนายบวรศักดิ์ฯ มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ก็เป็นประเด็นที่ขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตยของทั่วโลก เพราะ คสช.ให้บุคคลที่มาจากการแต่งตั้งอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้

 2. การเสนอให้มีการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ 3 คน แต่ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ข้อเสนอตรงนี้พบว่ามีปัญหามาก ซึ่งมีข้อเสียมากกว่าข้อดี การใช้เขตละคนซึ่งเคยใช้ในการเลือกตั้งทุกครั้งในระยะหลังเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เป็นระบบที่ง่าย สะดวกและเป็นธรรม พรรคมองเจตนาได้ว่าข้อเสนอดังกล่าว ต้องการสกัดพรรคการเมืองใหญ่ให้มี ส.ส. เขตลดลง

 3. การขอให้ยกเว้นไม่ต้องให้พรรคการเมืองเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อในการเลือกตั้ง ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องเสนอก็ได้ เพราะร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บังคับว่าพรรคต้องเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสมอไป จะเสนอหรือไม่เสนอก็ได้ เหตุที่ คสช. เสนอดังกล่าว ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส.เข้ามาเป็นนายpกรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น และประชาชนไม่สามารถทราบได้เลย

 พรรคจึงเห็นว่าข้อเสนอของ คสช. ข้างต้นเป็นความต้องการของ คสช. โดยตรงที่ต้องการจะควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป โดยผ่านตัวแทนที่ตนเองแต่งตั้งขึ้นโดยทางอ้อม คือ ส.ว. และนายกรัฐมนตรี แม้จะอ้างว่านายกรัฐมนตรีต้องผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม แต่ด้วยกระบวนการและกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นไปได้สูงว่า จะมีปัญหาการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างแน่นอน สุดท้ายก็ต้องเอาคนที่ คสช. เห็นชอบ เพราะ คสช. ยังมีอำนาจในการควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินไปจนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่

 พรรคเพื่อไทยเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ปรากฏ นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้มี ส.ว.จากการแต่งตั้งทั้งหมด มีอำนาจควบคุมรัฐบาลแล้ว ยังมีประเด็นของการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมีอำนาจเหนือรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นการผิดหลักการประชาธิปไตยอีกด้วย ร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้มีความตั้งใจที่จะสืบทอดอำนาจ ต้องการจะควบคุมและมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของปวงชน จึงเป็นการไม่ให้ความเคารพในอำนาจของประชาชนเลยแม้แต่น้อย

 ด้วยเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญที่มีปัญหา รวมถึงข้อเสนอของ คสช. ที่จะเพิ่มปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้นข้างต้น ประกอบกับการที่ กกต. ได้เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดความผิดและโทษของฝ่ายที่รณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง ขณะที่มีการใช้กลไกของรัฐเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติเป็นไปอย่างกว้างขวาง พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่ากระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงกระบวนการลงประชามติ มิได้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ด้วยความสุจริต โปร่งใส และชอบธรรมแต่อย่างใด  

ดังนั้น พรรคเพื่อไทยจึงออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนของพรรคว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ กรธ. และข้อเสนอของ คสช. ดังกล่าวข้างต้น

พรรคเพื่อไทย
17 มีนาคม 2559

Pheu Thai Party Statement
On Its Disagreement with the Draft Constitution
 and the Proposals by the NCPO

With
regard to the Constitution Drafting Committee’s release of the first
draft of the Constitution to the public, which, through feedback and
suggestions from the public and other sectors, is still in the process
of being  improved on to become the final draft and the summarized
points of the amendments were also made public for notification, latest,
the National Council for Peace Keeping and Order (NCPO) had submitted a
written proposal to the Constitution Drafting Committee to make
amendments to the interim provisions.

Pheu Thai Party has been
following the constitution drafting process throughout and sees that
the draft constitution will have many flaws that will lead to the
setback of the Thai Constitution, loss of government credibility and
capability in administering the country,  the Legislative and Executive
Branch will be intervened by the Constitutional Court and Independent
Agencies, the mechanisms in the Constitution will create significant
obstacles in the administration and development of the country and the
government will not be able to set policies to respond to the people’s
needs or set policies in the form of providing assistance to the
people.  Mechanisms to pass on power from those in power are being
created by paving way for non-elected Representatives to become Prime
Minister, while the senate will be selected rather than elected by the
people and the Constitution will have conditions in it that will make it
very difficult to be amended.
  The Party had given various
recommendations to the Constitution Drafting Committee to help with the
drafting of the Constitution but the proposals were not used for its
improvements in any way, while the NCPO had proposed the following to
the Constitution Drafting Committee:

1.    That there shall be
250 Senators, selected by a group of only 8-10 persons.  This group is
not connected to the people in any way, as the majority of them may be
persons chosen by  NCPO.  So it can be said that the NCPO selects the
senate.  Furthermore, in allowing the Chief of the Army and the Chief of
Police to become senators will lead to more problems as these persons
are government officials and, as such, must abide by the government
policies but, instead, they themselves will have to keep a check on the
government.  These persons will also have the police force and the army
under their control.  Therefore having them assume the role of senators
may give them suggestive influence in sealing the fate of the
government, which conflicts with the role of person holding such office.

As
for the proposal to give more authority to the senate in safeguarding
the constitution and to mobilize the reform process, these are also not
different from that of the National Strategic Reform and Reconciliation
Committee (NSRCC) drafted by Mr. Bawornsak.  The right to hold censure
debates against the government conflicts with the principles of
democracy worldwide as the NCPO will allow people who were selected by
them to hold the censure debates.

2.    The proposal to have 3
elected candidates in a large constituency – while the people may only
elect one candidate.  This will have more setback than advantage. Having
one elected candidate in each constituency, as done in the recent past,
was a good and uncomplicated process and also convenient and fair. 
The Party sees this proposal as an intention to block large political
parties by having less number of Representatives in the constituency.

3.
   Regarding the proposal to exempt political parties from naming 3
nominees for the premiership.  On this point, the proposal was
unnecessary as the Draft Constitution does not demand that the parties
must always name their nominations for the post, but that the parties
may or may not do so.  The NCPO’s proposal will only make it easier
for an outsider who is not an elected Representative to become the Prime
Minister and the people will have no way of knowing (the truth).

The
Party sees that the above proposals by the NCPO is for its own
immediate benefit to maintain control of the country’s administration
which will be done indirectly through their own appointed nominees,

the senate and the Prime Minister.  Even if it is argued that the
appointment of the Prime Minister must be approved by the House of
Representatives, but the process and the mechanisms stipulated in the
Constitution will make it highly likely that problems will definitely
arise in this regard.  In the end, the Prime Minister will be the person
that the NCPO approves of as it will still have the administrative
power until the new government is in place.

Pheu Thai Party sees
that the Draft Constitution that has come out will not only pave way for
all the senate to be appointed and have the power to control the
government, but there also is the issue of giving the Constitutional
Court and Independent Agencies the power over the government and the
Parliament that are elected by the people, which go against the
democratic principles.  Such a draft is written with the intention of
transferring power and to have control over the Executive and the
Legislative Branch that are representatives of the people.  All of this
shows that there is no respect whatsoever for the people’s power.

With
the content of the Draft Constitution  rife with flaws and the
proposals by the NCPO adding to it, along  with the Election Committee’s
proposal for a draft bill that sets harsh penalties for those who
campaign against the referendum of the Draft Constitution while itself
employing widespread use of state mechanisms to assist in garnering
public approval,  Pheu Thai Party sees that the process in drafting the
constitution, its content and methods to hold the referendum are not in
line with the democratic principles of transparency and fairness.

Therefore,
Pheu Thai Party is making this statement to show its standpoint that it
does not approve of the Draft Constitution by the Constitution Drafting
Committee and the proposals by the NCPO as given above.

Pheu Thai Party
17th March 2016