“เพื่อไทย” ส่งความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการสร้างความปรองดองทางการเมือง ต่อ “สปท.”

ที่
พท.๐๐๐๑/๒๕๖๐

๓๐ มกราคม ๒๕๖๐

เรื่อง  ข้อมูลความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง

เรียน  นายเสรี 
สุวรรณภานนท์

ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

อ้างถึง  หนังสือด่วนที่สุดที่ (สปท)๘๕/๒๕๖๐ ลงวันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง

สิ่งที่ส่งมาด้วย  ประเด็นที่ทางคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง
สภาขับเคลื่อนการ

ปฏิรูปประเทศ
ขอความเห็น จำนวน 2 แผ่น

ตามหนังสือที่อ้างถึง
ท่านได้แจ้งมายังพรรคเพื่อไทยเพื่อขอข้อมูลความเห็น
และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง
โดยให้นำส่งข้อมูล ข้อเสนอแนะดังกล่าว แก่คณะกรรมาธิการฯ ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม
๒๕๖๐ นั้น

  พรรคเพื่อไทยขอขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ได้ให้เกียรติในการขอความเห็น
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง
ซึ่งพรรคฯ เห็นว่าการรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ ให้รอบด้านและรอบคอบเช่นนี้
จะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการสร้างความปรองดอง ที่สำคัญ
และเกิดผลเป็นที่น่าพอใจต่อทุกฝ่าย

ในการนี้ พรรคฯ จึงขอนำส่งประเด็นที่ท่านขอความเห็น
(ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้) และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอแนะเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม
และสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศ ต่อไป

     จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

       ขอแสดงความนับถือ

พลตำรวจโท วิโรจน์  เปาอินทร์

รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทย

ประเด็นที่ทางคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ขอความเห็น

1. 
ข้อมูล ความเห็น
และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง

1.1. 
ความขัดแย้งทางการเมืองในระยะเวลาเกือบ 10  ปีที่มาผ่านเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย  สาเหตุหลักเริ่มต้นเมื่อมีพรรคการเมืองสามารถชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น  ได้รับการยอมรับจากประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศตามนโยบายที่ให้สัญญาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองไม่สามารถต่อสู้ทางการเมืองผ่านระบบรัฐสภาได้ จึงนำไปสู่การหาทางต่อสู้ทางการเมืองนอกระบบรัฐสภา กล่าวคือ มีการใช้มวลชนในการต่อสู้ขับไล่รัฐบาล
จนนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหาร ส่งผลให้ขยายความขัดแย้งเพิ่มเติมมากขึ้น
จนนำไปสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน  หากฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้งใช้กระบวนการในระบบรัฐสภา
และเคารพในกติกาประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันทหารวางตนเป็นกลาง ไม่ก่อการรัฐประหาร ความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น

1.2. 
มีการใช้กระบวนการทางกฎหมายที่เป็น 2 มาตรฐาน ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติรัฐ/นิติธรรม การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน มีการใช้กระบวนการยุติธรรมและสร้างกลไกทางกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับการยึดอำนาจ
และทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

1.3. 
การขัดขวางการเลือกตั้ง กล่าวคือ
มีกระบวนการขัดขวางการเลือกตั้งจากฝ่ายที่เป็นรองในการเลือกตั้งทั่วไป
และไม่ต้องการให้เกิดการเลือกตั้ง รวมทั้งการบอยคอตการเลือกตั้ง
นอกจากนั้นในการเลือกตั้งบางครั้งเมื่อประกาศผลแล้ว
ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่พอใจกับผลการเลือกตั้ง ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ใช้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือล้มการเลือกตั้งอย่างไร้เหตุผล

1.4. 
การไม่ยอมรับในหลักการประชาธิปไตย มีวาทกรรมในการชี้ให้สังคมเห็นว่า 1 เสียงของประชาชนที่มีความรู้ต่างกัน
ควรจะมีไม่เท่ากัน
คนที่มีความรู้มากกว่าควรมีเสียงมากกว่าในการกำหนดชะตาชีวิตของประเทศ
ซึ่งวาทกรรมนี้สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นสังคมเป็นอย่างมาก

1.5. 
การสร้างวาทกรรมให้เกิดความเกลียดชังต่อฝ่ายตรงข้าม กล่าวคือ
มีการสร้าง Hate Speech เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
ส่งผลให้สังคมเกิดความเกลียดชัง เคียดแค้น

2. 
แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและการสร้างความปรองดอง

2.1. 
ต้องอาศัยความร่วมมือ
และการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องในปัญหา ทั้งฝ่ายพรรคการเมือง
กลุ่มการเมืองต่างๆ ฝ่ายองค์กรวิชาชีพ และองค์กรเอกชน ฝ่ายผู้มีอำนาจในปัจจุบัน (ซึ่งกองทัพก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา)
รวมถึงฝ่ายและองค์อื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม

2.2. 
ต้องหาสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาว่ามาจากสาเหตุใดบ้าง
ซึ่งในส่วนนี้ คอป.
และสถาบันพระปกเกล้าได้เคยศึกษาไว้อย่างละเอียดและครอบคลุมพอสมควรแล้ว
สมควรที่จะหยิบยกมาพิจารณาประกอบควบคู่กันไป

2.3. 
การจะสร้างความปรองดองได้ ต้องปรับแก้หรือปฏิรูปในด้านต่างๆ
ที่เป็นต้นเหตุของความไม่ปรองดอง หรือเกิดความขัดแย้งในสังคม พรรคเพื่อไทยเห็นว่า
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สังคมมีความเป็นธรรม มีหลักนิติธรรม
ไม่มีระบบสองมาตรฐานอีกต่อไป เป็นกลไกสำคัญที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมได้

2.4. 
คณะกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินการเรื่องการปรองดองควรมีความจริงใจและตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาเรื่องความปรองดอง
ควรมีองค์ประกอบจากผู้ที่มีความเป็นกลาง มีความเป็นอิสระ มีคุณธรรม
และสังคมให้การยอมรับ

………………..

PHEU THAI PARTY STATEMENT

Feedback on Issues Requested by the National Reforms Steering Committee’s Political Reform Committee, National Reforms Steering Assembly

1. Information, Opinions and Recommendations to Solve Conflicts and to Create Political Reconciliation

1.1 The political conflict that has lasted almost 10 years was caused by several factors.  It started off with a landslide win by a political party whose policies were supported by people, to the extent that the opposition was unable to put up a political fight through the parliamentary system and incited the people to oust the government.  This eventually led to the coup d’etat which caused widespread conflict and political divide. This would not have happened if the political party that lost the election had used parliamentary means and played by the rules and if the army had maintained its neutrality and did not stage the coup.

1.2 The use of double standards by various organizations under the constitution went against the principle of legal state/rule of law;  enforcing laws that were partial; manipulating the judicial system to create legal mechanisms to justify the seizure of power and discrediting the oppositions.

1.3 Obstructing election, such as, movements to obstruct the general election by the handicapped party and not wanting the election to take place through boycotting.  In some instances, after the election took place and results were announced, some groups were not satisfied and did not accept the results.  Instead, they used the Constitution Court as a tool to annul the election.

1.4 Non-acceptance of the democratic principle.  Discourses were held to show the society that each vote that comes from a person of different standing should not carry the same weight, but that the more educated persons should be able to set the course of the country. Such discourses have created much conflict within the society.

1.5 ​Discourses that incite hatred against the opposition, such as, hate speeches aimed at destroying the opposition and creating hatred and resentment within the society.

2 Guidelines to Solve the Political Conflict and to Bring About Reconciliation

2.1 ​This will need the cooperation and participation of various groups that are part of the conflict.  These include the political parties, professional groups, independent organizations, those in power (of which the army is part of the problem) as well as other organizations that are  directly or indirectly involved.

2.2 ​Find out the causes of the conflict.  The Truth for Reconciliation Commission (TRC) and King Prajadhipok’s Institute have made detailed studies on this issue, therefore, the findings could be used in parallel with the undertaking to find its causes.

2.3 ​For reconciliation to happen, various reforms will have to be made.  Pheu Thai Party sees that the judicial system will need to be reformed so that  the practice of double standards are done away with and that rule of law prevails.  This will be an important mechanism in solving the conflict within the society.

2.4 ​The committee that will oversee the reconciliation process must be dedicated and sincere in their commitment to solve the problem while its members should be made up of individuals who are neutral, independent, having good morals and who are accepted by the society.

……………………………………

30 มกราคม 2560