คำแถลงของคณะ 40 ส.ส. ที่ได้เคยร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ซึ่งได้ยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ยุติการไต่สวน

คำแถลงของคณะ 40 ส.ส. ที่ได้เคยร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ซึ่งได้ยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ยุติการไต่สวน

ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคำสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริงและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ  ไต่สวน กรณีกล่าวหา นายวรชัย เหมะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 40 คน เสนอร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระท าความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองฯ เมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยกล่าวหาว่า เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เหมารวมผูก้ระทา ผิดกฎหมาย อาญาโดยเจตนาให้พ้นผิด ย่อมเป็นการตรากฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับผู้ทุจริตโดยเจตนาด้วย  จึงเป็นการสมคบกันในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เพื่อผ่านกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการขัดขวาง ต่อกระบวนการยุติธรรม การใช้อิทธิพลเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อนัมิชอบและการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยมี นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ฯ  หลังจากได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนดังกล่าวแล้ว คณะ 40 ส.ส.  ได้มีหนังสือกราบเรียนไปยงัคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ทบทวนการมีคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน โดยเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและเป็นการ  กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ต่อมาสำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา สรุปว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่อาจทบทวนการมีคำสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น นางสมหญิง  บัวบุตร ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว ได้ยื่นฟ้อง พลตำรวจเอกวัชรพล ประสานราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน เป็นจำเลยที่ 1 ถึง 9 และ นายบวร ยสินทร ผู้ยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นจำเลยที่ 10 ซึ่งศาลได้นัดสืบพยานนัดแรกในวนัที่ 13 กมุภาพันธ์ 2561  ในวันนี้คณะ 40 ส.ส. จึงได้ร่วมกันยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะอนุกรรมการไต่สวน ให้ยุติการไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่สรุปได้ ดังนี้  ประเด็นที่ 1 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ เป็นกระบวนการใช้สิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติ  ตามรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคุ้มครองเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด  กล่าวคือ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดเกี่ยวกับ กระบวนการตราพระราชบัญญัติ โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนมี อำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ตามมาตรา 142 ซึ่งในขณะนั้นได้มีการตราข้อบังคับการประชุม สภาผู้ทนราษฎร พ.ศ.2551 ขึ้นใช้บังคับเป็นการเฉพาะ มีหลักเกณฑ์มีขั้นตอนกำหนดไว้ชัดเจน

2 ตั้งแต่การเสนอญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ การอภิปราย การลงมติ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ การลงมติทั้งวาระที่ ๑ ขั้นรับหลกัการ วาระที่ ๒ ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ และวาระที่ ๓ ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ดังนั้น การเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อเนื่องไปจนถึงการลงมติ วาระที่ 3 จึงเป็นกระบวนการเดียวกัน ของการตรากฎหมายโดยสภาผู้แทนราษฎร ดังที่มาตรา 130 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้บัญญัติรับรองเอกสิทธิ์ไว้ว่า ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ที่วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น  หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็น เหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นทางใดมิได้ ดังนั้น คณะ 40 ส.ส. จึงได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองอย่าง เด็ดขาด คณะอนุกรรมการ  ไต่สวนจะนำการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปเป็นเหตุฟ้อง หรือว่ากล่าว เช่น ตั้งข้อกล่าวหากับผู้ถูกกล่าวหาในทางใดมิได้เป็นอันขาด  ประเด็นที่ 2 การเสนอร่างพระราชบัญญัติเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ  ตามรัฐธรรมนูญและเป็นกระบวนการหนึ่งในการตรากฎหมาย  โดยที่ประเทศไทยปกครองดว้ยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีการแบ่งแยกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ออกจากกัน ภายใต้ กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติไว้โดยอำนาจนิติบัญญัติใช้โดย รัฐสภา ซึ่งการเสนอร่างพระราชบัญญัติเป็นกระบวนการหนึ่งในขั้นตอนของการตรากฎหมาย  ส่วนร่างพระราชบัญญัติฉบับใดจะได้รับการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของสภา ผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็เป็นอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งใช้บังคับอยู่ใน ขณะนั้น การดำเนินการต่อไปในขั้นตอนที่ว่าสภาผู้แทนราษฎรจะให้ความเห็นชอบ  ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในวาระที่หนึ่ง วาระที่สอง วาระที่สาม หรือไม่ ก็ถือเป็นอำนาจอิสระ ของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญ  และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรบัญญัติไว้ และเมื่อร่างพระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบ ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ต้องส่งให้วุฒิสภาได้พิจารณาก่อน หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้ว  จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนการนำร่างพระราชบัญญัติเสนอขั้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป  ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเป็นเรื่องที่อยู่ในวงงานของรัฐสภาโดยเฉพาะ นอกเหนือจากนี้แล้วไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้อำนาจองค์กรใดเข้ามา ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะคณะกรรมการ ป.ป.ช.

3  ประเด็นที่ 3 การตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเป็นหลักการทางกฎหมายปกติที่ผ่านมา มีการตรากฎหมายเช่นนี้ ถึง 23 ฉบับ  การนิรโทษกรรมนั้นเป็นหลักการทางกฎหมายที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลว่าเป็นไปเพื่อ ลบล้างความผิดให้กับบุคคลซึ่งต้องกระทำโดยองค์กรที่มีอำนาจในการตรากฎหมาย โดยกฎหมาย  ให้ถือว่าการกระทำนั้น ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป หากผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาแล้วก็ให้ถือว่า  ผู้นั้นไม่เคยกระทำความผิด และไม่เคยได้รับโทษมาก่อน หากรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นยุติลง อันมีผลเป็นการยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษให้กับบุคคล เจตนารมณ์ของกฎหมายนิรโทษกรรม  ก็เพื่อต้องการให้ประชาชนลืมการกระทำนั้นเสีย  ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแล้ว จำนวน 23 ฉบับ  ซึ่งเนื้อหาของการก่อกบฏและรัฐประหารมีโทษถึงประหารชีวิต ก็มีการนิรโทษกรรมมาแล้ว  ทั้งในรูปแบบพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด รวมถึงการนิรโทษกรรมไว้ในบทบัญญัติ  ของรัฐธรรมนูญ  อนึ่ง การเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ฉบับดังกล่าว หาได้เป็นการขัดหรือแย้ง  ต่ออนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตหรือคอรัปชั่นไม่ว่าฉบับหนึ่ง ฉบับใด เพราะเป็นการตรากฎหมายภายในขึ้นบังคับใช้ มิใช่เรื่องการปฏิบัติระหว่างรัฐต่อรัฐ  และโดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้มีบทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อกติกาสากลระหว่าง ประเทศดังกล่าว ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติอีก 23 ฉบบั ที่ได้เคยประกาศใช้ด้วย  ประเด็นที่ 4 ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้มีเนื้อหาเป็นการไปเอื้อประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นการเฉพาะและการทำ หน้าที่ดังกล่าวไม่ถือเป็นการบิดผันการใช้อำนาจ  สำหรับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับดังกล่าวนี้ มีหลักการและสาระสำคัญเป็นไป ทำนองเดียวกับพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่เคยประกาศใช้มาแล้ว ส่วนกรณีใดจะเข้าเงื่อนไข  ที่จะได้รับประโยชน์หากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้วย่อมเป็นดุลพินิจ ของศาลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องที่จะพิจารณาไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน  หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะคิดและวินิจฉัยได้เอง สำหรับข้อกังวลว่าร่างกฎหมายนี้จะมีผลต่อคดี ของอดีตนายกทักษิณ ชินวตัร ในคดีที่ถูกศาลฎีกามีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินกว่า 46,000 ล้านบาท นั้น จะเห็นว่า ตามร่างมาตรา 5 ก็บัญญัติชัดเจนว่าผลของการนิรโทษกรรม  ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใดๆ แก่ผู้ได้รับนิรโทษในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น และคดีดังกล่าว เป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญาที่อยู่ในขอบเขตของร่างพระราชบัญญัตินี้  
 
4  ประเด็นที่ 5 มีการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในคราวเดียวกันนี้ถึง 6 ฉบับ  นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว นั้นสถานการณ์ของประเทศอยู่ในภาวะที่เกิดความขัดแย้งแตกแยกรุนแรงในสังคม ซึ่งรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศต้องการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ จึงได้ประกาศ  เป็นนโยบายของรัฐบาลและได้แถลงต่อรัฐสภา  ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม รวมถึงร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับ การปรองดองซึ่งมีเนื้อหาเป็นการนิรโทษกรรมเช่นกัน จ านวนหลายฉบับต่อสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งรวมได้ในขณะนั้นเป็น จำนวน 10 ฉบับ แต่ขณะนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้บรรจุระเบียบวาระ  เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติทั้งหมด มีเนื้อหาเป็นการนิรโทษกรรมให้กับเหตุการณ์ชุมนุมและ ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งทุกฉบับล้วนมีเจตนาที่ต้องการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้ เกิดขึ้นของคนในชาติ ลืมความขัดแย้งและอดีตที่ขมขื่นและให้อภัยต่อกัน เพียงแต่มีสาระสำคัญที่ แตกต่างกันในรายละเอียดบางประการเท่านั้น  ประเด็นที่ 6 ร่างพระราชบัญญัตินี้ในที่สุด ไม่ถูกตราขึ้นเป็นกฎหมาย จึงไม่มผีลบังคับใช้  ตามข้อเท็จจริงเมื่อร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา ปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติได้ถูกยับยั้งไว้ และต่อมามีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวจึงตกไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของกระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ  มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันอย่างรอบคอบและเป็นขั้นเป็นตอน จึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหามิได้ กระทำความผิดใดๆ จากการร่วมกันลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ซึ่งได้ตกไป  ในที่สุด ไม่อาจกล่าวได้ว่าเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นจากการเสนอร่างพระราชบัญญัติ อีกทั้ง  โดยหลักการก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการพยายามกระทำความผิด เพราะการเสนอร่างพระราชบัญญัติ  หาใช่การลงมือกระทำความผิดและเป็นการใกล้ชิดกับความผิดสำเร็จแต่อย่างใด  ประเด็นที่ ๗ กรณีเทียบเคียงกับกรณีประธานกรรมการ ป.ป.ช. และประธานอนุกรรมการ  ไต่สวนได้ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ….  จะเห็นได้ว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะ 40 ส.ส. และการพิจารณาร่าง พระราชบญัญตัิของกรรมาธิการ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และเป็นไปโดยชอบดว้ย กฎหมาย อันเป็นลักษณะเดียวกับการเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไป โดยขอยกกรณีเทียบเคียงกับการที่ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. (พลต ารวจเอกวัชรพล ประสารราชกิจ)   

5 และประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน (นางสาวสุภา ปิยะจิตติ) เข้าไปร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  พ.ศ…. ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีการเสนอแก้ไขจากหลักการของร่างเดิมหลายประการ  อาทิเช่น การให้กรรมการ ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะตอ้งห้ามเป็นกรรมการ ป.ป.ช.  ตามรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนครบวาระการเพิ่มอำนาจให้กรรมการ ป.ป.ช.  ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดักฟังสื่ออิเลคโทรนิคส์ต่างๆ ได้นั้น ล้วนเป็นการกระทำที่เป็น ประโยชน์ทับซ้อนของบุคคลทั้งสองและบุคคลทั้งสองได้ประโยชน์โดยตรงเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ควรกระทำ  หากจะถือว่าเป็นการกระท าในฐานะการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือว่าเป็น การกระท าความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งมีความชดัเจนและความร้ายแรงเสียยิ่งกว่า กรณีของคณะ 40 ส.ส. ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงใดสนับสนุนว่ามีการกระท าความผิดเลย ดังจะเห็นได้จาก พฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่ประธานอนุกรรมการไต่สวนในคดีนี้ แมข้ณะพิจารณามาตราดงักล่าวจะ ไม่ได้เข้าประชุม แต่ก็ได้สมยอมหรือมีพฤติการณ์ร่วมกันกับ สนช. ด้วยการให้เหตุผลต่างๆ ในที่ ประชุม สนช. เพื่อให้ต่ออายุการทำหน้าที่ของตนและกรรมการ ป.ป.ช ที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม จนในที่สุด สนช. ได้มีมติต่ออายุการทำหน้าที่ของประธานอนุกรรมการไต่สวน และกรรมการ ป.ป.ช. อีกหลายคนอันอยู่ในประการที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นการบิดผัน การใช้อำนาจอย่างแท้จริง  ดังที่คณะ 40 ส.ส. ได้ยื่นหนังสือ ขอความเป็นธรรมและเสนอเหตุผลเพื่อขอให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ยุติการไต่สวนตามสาระสำคัญทั้ง 7 ประเด็น ดังกล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่า เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคำสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริงและคณะอนุกรรมการไต่สวน ดำเนินการไต่สวนอยู่นั้น มิใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะไต่สวนได้  แต่เป็นการก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา การปฏิบัติ หน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ขัดต่อกฎหมายและหลักนิติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 วรรคสอง  คณะ 40 ส.ส. จึงได้เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยุติการไต่สวนเสียทันที

25 มกราคม  2561