ข้อเท็จจริงกรณีต่างๆ ในโครงการรับจำนำข้าวช่วยชาวนา

กรณี: ข้าวถุงราคาถูก
จากการวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายต่างๆกล่าวหาว่ามีการทุจริตในโครงการข้าวถุง นายกฯยิ่งลักษณ์ จึงได้สั่งการให้กระทรวงพานิชณ์พิจารณาทบทวนโครงการดังกล่าว และจากการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวเมื่อวันที่  10 กรกฎาคม 2556 มีมติให้ระงับโครงการข้าวถุงฯไว้ก่อน

และจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ได้มีการทำโครงการข้าวถุงอีก นอกจากนั้งยังได้มีการแต่งตั้งคณะข้อเท็จจริงโครงการข้าวถุง ซึ่งคณะกรรมการการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ดำเดินการสอบสวน และสรุปผลการสอบสวนเสร็จแล้ว และจะดำเนินการต่อไปอย่างไรขึ้นอยู่กับกระทรวงพานิชย์

กรณี: ข้าวหาย ข้าวเน่า ข้าวเสื่อมคุณภาพ
โครงการฯได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องหากเกิดกรณีข้าวเน่า ข้าวเสีย หรือข้าวหาย จะต้องมีผู้ที่ต้องรับรับผิดชอบตามสัญญาและกฏหมายทุกกรณี

เนื่องจากมีสัญญาระหว่าง อคส. อตก. ผู้ฝากข้าว กับโกดัง เซอร์เวเย่อร์ ในการรับฝากข้าว หากเกิดความเหียหายใดๆขึ้นผู้ที่เกี่ยวข้างฝ่ายต่างๆต้องรับผิดชอบ ตามเงื่อนไขของสัญญาและกฏหมาย นอกจากนี้ยังมีสัญญาประกันภัยข้าวของรัฐในโครงการรับจำนำ

โดยหากเกิดความเสียหายขึ้นผลประโยชน์จากการประกันภัยจะตกเป็นของรัฐทั้งสิ้น

กรณี: การจ่ายเงินชาวนาในฤดูกาลผลิตข้าวนาปี 2556/2557
 โครงการรับจำนำข้าวที่ดำเนินโครงการมาตั้งแต่รอบข้าวนาปี 2554 /55 จนถึงรอบข้าวนาปรังปี 2556/57 รวมทั้งสิ้น 5 ฤดูกาลเป็นระยะเวลา 2 ปีเศษไม่เคยมีปัญหาในการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนา

 แต่ในปีการผลิต 2556/57 รัฐบาลและธ.ก.ส.ไม่สามารถดำเนินการกู้เงินมาจ่ายให้กับชาวนาได้ เพราะเกิดวิกฤตทางการเมือง และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ขัดขวางการกู้เงินดังกล่าว

ข้อเท็จจริงนี้ยืนยันได้เพราะเมื่อเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กลุ่มต่อต้านได้หยุดการขัดขวางรัฐบาลปัจจุบันและ ธ.ก.ส. ก็ดำเนินการกู้เงินแล้วนำมาจ่ายให้กับชาวนาได้ภายในระยะเวลา 1 เดือนด้วยวิธีการและระยะเวลาเดียวกันกับที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้กำหนดไว้

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้เพิกเฉยในการที่จะหาเงินมาทดแทนเงินกู้ธ.ก.ส.เพื่อจ่ายให้กับชาวนา เช่น การยืมเงินงบกลาง 2 หมื่นล้านบาท และการระบายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท ทำให้สามารถหาเงินจ่ายให้กับชาวนาถึง 9 หมื่นล้านบาท หรือครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด นอกจากนั้นกระทรวงการคลังและธ.ก.ส. ยังได้จัดทำโครงการบรรเทาความเดือดร้อนชาวนา เช่น การผ่อนผันชำระหนี้ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

กรณี: ไทยเสียแชมป์การส่งออกข้าวจริงหรือ
 ช่วงก่อนปีพ.ศ. 2554/55 ประเทศไทยเป็นแชมป์การส่งออกข้าว ด้วยการส่งออกข้าวปีละประมาณ 10 ล้านตัน เพราะประเทศอินเดียมีนโยบายการเก็บสำรองข้าวไว้บริโภคในประเทศ จึงเหลือข้าวไว้ส่งออกเพียง 3-4 ล้านตันต่อปี ประเทศเวียดนามก็มีข้าวส่งออกเพียงปีละ 7 ล้านตัน

ภายหลังปี พ.ศ. 2554/55 ประเทศอินเดียเปลี่ยนนโยบายโดยส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณกว่า 10 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 300%-400% อินเดียจึงเป็นแชมป์การส่งออกข้าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อมาถึงแม้ว่าไทยจะกลับมาส่งออกข้าวได้ปีละ 10 ล้านตันก็ตาม ก็ยังไม่สามารถชนะอินเดียได้ ดังนั้นการเสียแชมป์ส่งออกข้าวของไทยมีสาเหตุมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการส่งออกข้าวที่เพิ่มมากขึ้นของอินเดียนั่นเอง

ดังนั้นการเสียแชมป์การส่งออกข้าวของไทยจึงมีสาเหตุมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการส่งออกข้าวที่เพิ่มมากขึ้นของอินเดียนั้นเอง