ถอดบทเรียนไต้หวัน ฝ่าโควิด-19

• ตั้งศูนย์บัญชาการจัดการวิกฤติที่เชี่ยวชาญ น่าเชื่อถือ

ตั้งแต่วิกฤติโรคซาร์ส (SARS)  ไต้หวันได้ตั้ง “ศูนย์บัญชาการรับมือโรคระบาดกลาง” Central Epidemic Command Center (CECC) โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาเป็นเจ้าหน้าที่ เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการโรคระบาดโดยเฉพาะ

CECC ได้แถลงข่าวอย่างน่าเชื่อถือ ทำให้ประชาชนของไต้หวัน ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ไม่สับสน นำไปสู่การตัดสินใจของภาครัฐและเอกชนที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

• ตัดสินใจฉับไว แก้ปัญหาก่อนปัญหาเกิด

ไต้หวันเริ่มป้องกันการระบาดตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2562 เมื่อมีข่าวโรคใหม่เกิดขึ้นในอู่ฮั่นเพียง 27 ราย ไต้หวันเริ่มมีการคัดกรองและลดเที่ยวบินจากอู่ฮั่นทันที

ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆ อย่างรวดเร็วจริงจัง 

• สั่งห้ามส่งออกหน้ากากอนามัย ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2563 ไปพร้อมกับการขอให้ภาคเอกชนเพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อจำหน่ายให้กับชาวไต้หวัน จนปัจจุบันผลิตได้มากกว่า 14 ล้านชิ้นต่อวัน เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ

• ออกมาตรการเพิ่มความระวังในการทำกิจกรรมต่าง ให้มีการตรวจโรค ให้หน้ากาก หรือให้ยกเลิกกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันมากๆ

สั่งให้มหาวิทยาลัยขยายการปิดเทอม และสั่งให้โรงเรียนหยุดเรียน

• ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยแก้ปัญหา

ไต้หวันใช้ Big data ในการวิเคราะห์การระบาดของโรค ให้โรงพยาบาลเข้าถึงข้อมูลการเดินทางของผู้ติดเชื้อ เพื่อให้ติดตาม เข้าไปตรวจคนที่ผู้ติดเชื้อมีการพบปะได้ทันที

มีการสร้างแอปพลิเคชันเพื่อให้ประชาชนหาร้านที่มีหน้ากากอนามัยขาย ทำให้แก้ปัญหาหน้ากากขาดแคลนไปพร้อมกับการช่วยเหลือเอกชน

• ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ในวิกฤติรัฐบาลไต้หวันไม่ได้เข้าไปใช้มาตรการแรงควบคุมเอกชน แต่ช่วยสนับสนุนหาความร่วมมือให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งแอปพลิเคชันหาซื้อหน้ากาก เจลล้างมือ

• ภาครัฐให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่ามีอาหารเพียงพอ และกระตุ้นให้ประชาชนบริโภคและจับจ่าย เน้นบริโภคสินค้าในท้องถิ่นที่ผลิตใกล้บ้านของตัวเอง ทั้งข้าว ปลา อาหาร และผลไม้ ต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการบริโภคภายใน ให้ประชาชนมีเงินจับจ่ายใช้สอย

Categories: Get the facts