สัมภาษณ์พิเศษ : จาตุรนต์ ฉายแสง วิกฤติการเมืองไทย ภายใต้แรงกดดันอันไม่เป็นประชาธิปไตย ตอนที่ 2

สัมภาษณ์พิเศษ จาตุรนต์ ฉายแสง : วิกฤติการเมืองไทย ภายใต้แรงกดดันอันไม่เป็นประชาธิปไตย ตอนที่ 2

องค์กรอิสระอย่างผู้ตรวจการแผ่นดินมีบทบาทอะไรในความขัดแย้งทางการเมืองนี้?

ตอนนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินกำลังเสนอให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทั้งๆที่ไม่มีอ
นาจ
คือในรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีอำนาจเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในกรณีที่กฎหมาย
ใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตอนนี้กำลังเสนอให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งไม่เข้าข่าย
แต่ปรากฎว่า ก็เสนอ แล้วศาลรัฐธรรมนูญก็รับไปพิจารณา

นายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาทางการเมืองนี้อย่างไร?

เมื่อรัฐบาลมีปัญหา รัฐบาลแก้ไขได้สองวิธีคือ ลาออก หรือยุบสภา
ตอนนี้นายกตัดสินใจใช้วิธี ยุบสภา ครม. ก็พ้นทั้งคณะ
มันก็ไม่มีประเด็นว่าจะลาออกอีกได้แล้ว
เพราะมีหน้าที่ต้องปฎิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อไม่ให้ว่างเว้นจากการมี ครม.
ไม่ใช่ให้ข้าราชการประจำมาเป็น ครม. หรือให้คนนอกมาเป็น ครม.
อันนั้นมันไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ต้องปฎิบัติหน้าที่จนกว่าจะมี ครม.
ใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง มารับหน้าที่

รัฐบาลนี้จะทนต่อแรงกดดันทางการเมืองต่อไปได้หรือไม่?

ในทางการเมือง ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต้องกดดันให้เกิดสูญญากาศ
เพื่อที่จะไปใช้มาตรา 7 ซึ่งจริงๆก็ใช้ไม่ได้อีก ก็ไม่เข้าข่าย
แล้วก็จะไปตั้งรัฐบาลกันใหม่ แถลงนโยบายกันยังไง จะไปบริหารกันยังไง
จะทำงานอะไรได้แค่ไหน ทำงานออกมติอะไรที่ใช้งบกลางได้ไหม
ออกมติอะไรที่มีผลกับ ครม หน้า รัฐธรรมนูญบังคับไว้หมด
แต่เขากำลังจะคิดเหมือนกับว่า เอารัฐบาลใหม่มาแก้ปัญหาเรื่องข้าว
เอารัฐบาลมาทำเรื่องรถไฟ เอารัฐบาลใหม่มาแก้เรื่องโน้นเรื่องนี้
ก็หมายความว่าจะไม่ทำตามรัฐธรรมนูญกันเลย ทีนี้ จะให้เกิดสิ่งเหล่านี้
ด้วยการกดดันทางการเมือง ผมคิดว่า ครม. ก็คงไม่ลาออก
ไม่มีวันที่จะให้ลาออกไปหมดแน่นอน
อย่างตอนนี้ที่ไปร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ ครม. พ้นไปทั้งคณะ
แต่มันจะพ้นยังไง โดยรัฐธรรมนูญมันพ้นไม่ได้ รัฐธรรมนูญบอกว่า ครม.
ทั้งคณะต้องดำรงตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะมี ครม. ชุดใหม่เข้ามา
ถ้าวินิจฉัยว่าพ้น ก็แสดงว่าร่วมมือกัน เช่น จะ ปปช.
หรือจะผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงมติให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
อันนี้คือถ้าทำแบบนี้ก็หมายความว่า
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยขัดกับรัฐธรรมนูญอีกแล้ว คือขัดมาหลายรอบแล้ว
และก็จะขัดอีก ก็ต้องดูกันว่า องค์กรอิสระ
และศาลรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรต่อไป

มีความพยายามในการโต้แย้งว่า
องค์กรอิสระในปัจจุบันทำหน้าที่เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลเรื่องการทุจริต
คอร์รัปชั่น
องค์กรเหล่านี้ได้ตรวจสอบถ่วงดุลเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างมี
ประสิทธิภาพหรือไม่?

องค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นก็มีหน้าที่หลายหน้าที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือใช้ในการตรวจสอบถ่วงดุล แต่ว่าก็มีปัญหามากมาย
ตั้งแต่เรื่องที่มา เพราะมาจากการยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร
เพราะฉะนั้นก็เลยไม่เป็นกลาง ไม่เป็นอิสระจริง แต่กลายเป็นองค์กรมีสังกัด
คือสังกัดฝ่ายที่ยึดอำนาจมา ไม่ได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลจริง
เช่นในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ไม่สามารถตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมาได้จริง
ทำให้สามารถเลือกปฏิบัติได้ สามารถเลือกหยิบเรื่องใดมาพิจารณาก็ได้
หรือปล่อยให้เรื่องไหนตกไปก็ได้ และไม่มีใครตรวจสอบองค์กรเหล่านี้ได้
นอกจากจะมาจากการรัฐประหารแล้ว
คณะกรรมการของกลุ่มองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
ยังมีที่มาจากฝ่ายตุลาการเป็นหลัก ซึ่งมันก็ผิดหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอีก
เช่นในฝ่ายตุลาการล้วนเลือกกันเอง
และวุฒิสภาซึ่งครึ่งหนึ่งก็มาจากพวกเขากันเองอีก
ซึ่งทำให้องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกเราไม่
สามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ที่อ้างได้
ระบบการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศเราจึงเป็นระบบที่ไม่มี
ประสิทธิภาพและไม่เที่ยงธรรมอย่างยิ่ง
จะว่าไปแล้วยังเป็นระบบที่จะส่งเสริมการทุจริตในระยะยาวอย่างมาก
เป็นระบบที่คอร์รัปชั่นในตัว เพราะว่าตรวจสอบไม่ได้ที่มาก็ผิด
ทำให้ประเทศนี้ไม่มีระบบการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ดี
เพราะองค์กรตรวจสอบคอร์รัปชั่นเอง ที่กลับคอร์รัปชั่น

เราจะแก้ไขปัญหาอันเกิดจากองค์กรอิสระเหล่านี้ได้หรือไม่?

ที่สำคัญก็คือศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยมาเมื่อเร็วๆนี้
มีผลทำให้ใครก็แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ ฝ่ายประชาชนจะให้แก้โดยทันที
ก็ยังแก้ไม่ได้ ก็เหลือแต่ว่าต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ระยะกลาง ระยะยาว
เช่นเรียกร้องให้การเลือกตั้งสำเร็จให้ได้ ซึ่งก็ไม่ง่ายเลย
ต่อต้านคัดค้านการเอาคนนอกเข้ามาเป็นรัฐบาล
หรือมาเป็นต้องไม่ให้เป็นคนบริหารประเทศ สุดท้ายก็ต้องมาเสนอประเด็น
ในการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาบ้านเมือง ซึ่งก็คือยังจะต้องปฎิรูปการเมือง
แก้รัฐธรรมนูญ ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ทำให้การเลือกตั้งมีความหมาย
ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีสิทธิมีเสียงในการควบคุมฝ่ายต่างๆ

16 มีนาคม 2557

Categories: Interview