อนุดิษฐ์แนะนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลรัฐควรแก้กม.ให้ทันสมัย เร่งประมูล 4G รองรับระบบ

1. 
รัฐบาลปัจจุบันพยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการผลักดันนโยบาย
“เศรษฐกิจดิจิตัล” มีความเห็นเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
และจริงๆแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่หรือเปล่า?

คำว่า
Digital
เริ่มเข้ามาสร้างความคุ้นหูให้กับประชาชนตั้งแต่ก่อนรัฐบาลชุดปัจจุบันซึ่งจะมีคำว่า
TV Digital ซึ่งได้สร้างความสับสนให้ประชาชนพอสมควร
จนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้มีการใช้คำศัพท์ใหม่ Digital Economy มาใช้ในการกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลหลักของรัฐบาลชุดนี้ ที่เรียกว่า  นโยบาย “เศรษฐกิจดิจิตัล” ซึ่งสร้างความงุนงงให้ชาวบ้านเป็นอย่างมากกว่ามันคืออะไร

สำหรับตัวผมเองในฐานะอดีต รมต. ICT  เห็นว่านโยบายของทุกรัฐบาลเป็นนโยบายที่ดี
แต่จะมีกระบวนการผลักดันอย่างไรที่จะทำให้นโยบายเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
มองในความเป็นรูปธรรม ว่า นโยบายจะมี การนำไปปฏิบัติอย่างไร ผมเชื่อว่าทุกนโยบาย
เป็นสิ่งที่ดี แต่ ที่ผ่านมามักถูกบิดเบือนเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และ นโยบายใดๆ
ควรมีการชี้แจงให้ทราบได้ ว่า จะปฏิบัติสิ่งใน เรื่องใด เพื่อเป้าหมายอะไร
ไม่เช่นนั้น นโยบายก็จะเป็น นามธรรม ซึ่ง วันนี้ ประเทศ อยู่กับคำว่า นามธรรม
ไม่ได้ เพราะ สิ่งที่กระทบกับประชาชนเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม  เราเอานามธรรม มาแก้ไข รูปธรรม ดูก็จะผิดตรรกะ

การจะสร้าง Cyber Space ขึ้นเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมของ Digital Economy ได้นั้น
ต้องประกอบด้วยเรื่องหลัก ๆ คือ 1.Hardware 2.Software/Application
3.Peopleware และ 4.Networking  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้เป็นยุคของ Network
Base Operation :NBO  ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้ชีวิตของคนในสมัยนี้ใช้ชีวิตแบบ
Mobile & Wireless อยู่กับ Application Software ที่ติดต่อกันในรูปแบบ Digital Data Package ซึ่งทำให้ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศถูกเปลี่ยนถ่ายไปทำสงครามกันในโลกไซเบอร์ที่ทางทหารเรียกว่า
Network Centric Warfare – (การใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางในทำการสงคราม)

ดังนั้นความจำเป็นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหมาะกับภาคอุตสาหกรรม, เกษตรกรรม และ SME  อันได้แก่ โครงข่ายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงทั้งแบบสายและไร้สาย
ระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จะทำให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ใน
Cyber Space ในการประกอบธุรกิจนั้นมีความจำเป็น แต่ที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบุคลากร
(Human resource) ในประเทศให้มีความสามารถทัดเทียมกับประเทศเจ้าของเทคโนโลยี
ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนี้รัฐมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนสร้างบุคคลากรกลุ่มนี้ขึ้นมาเองด้วยงบประมาณของประเทศ

อย่างไรก้อตามหลังจากที่รัฐบาลชุดผมได้ทำโครงการ
OTPC
และ ICT Free Wifi ทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการใช้งานของโลกดิจิตอล
ไม่ว่าจะเป็นการทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อไร้สายมีราคาถูกลงจนใคร ๆ สามารถเป็นเจ้าของได้
การที่ผู้ใหญ่เห็นว่าแม้แต่เด็ก ป.1 ยังสามารถใช้งานได้
จึงได้เกิดพัฒนาการของผู้ใช้งานในทุกช่วงอายุ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งส่งเสริมให้เกิดรูปธรรมของการใช้งาน Digital Data
Package ให้กับพี่น้องประชาชน

ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลในอดีตได้สืบสานทำต่อกันมา
ทำให้ตอนนี้เราได้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นดิจิตัลแล้วนะครับ
สังเกตุได้จากไม่ว่าเราจะทำอะไรในชีวิตประจำวัน
จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิตัลเสมอ
เช่นก่อนเราจะตัดสินใจอะไรเราก็มักจะ google เพื่อหาข้อมูลก่อน
เราใช้Facebook ในการสื่อสารกับเพื่อน
เราซื้อสินค้าบางอย่างผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น ตั๋วเครื่องบิน ซึ่งผมคิดว่าการที่รัฐบาลประกาศจะใช้แนวคิดนโยบายเศรษฐกิจดิจิตัลก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี
เพราะว่าจะเป็นการกระตุ้นให้ทั้งภาคประชาชน และผู้ประกอบการ
หันมาให้ความสนใจกับเรื่องดิจิตัลกันมากขึ้น
และเป็นการปลุกให้เริ่มปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
เพราะหากไม่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมนี้ก็อาจจะอยู่ไม่ได้ก็ได้ อย่างไรก้อตามการแปลงนโยบายเศรษฐกิจดิจิตัลไปสู่การปฏิบัติในตอนนี้เท่าที่ผมที่เห็นดูเหมือนว่าจะไม่เป็นการสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างที่หวัง
เพราจะมีการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้ถึง 8 ฉบับ โดยที่กฎหมายแต่ละฉบับที่เตรียมไว้ใช้
มีลักษณะไปในทางที่ไว้เพื่อควบคุม มากกว่า การโปรโมตอุตสาหกรรมหลักและต่อเนื่องของเศรษฐกิจดิจิตัล
อีกทั้งเรื่องการตั้งกระทรวงใหม่ก็ขาดความชัดเจน ในภารกิจของหน่วยงานที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
ตลอดจนบุคลากรที่จะมาบรรจุเพื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่ของทุกฝ่ายในหน่วยงาน ว่าต้องปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับแนวทางใหม่
จึงไม่น่าจะช่วยทำให้เกิดการขับเคลื่อนได้เร็วอย่างที่คาดการณ์ ต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนม้ากลางศึกเสียมากกว่า

ส่วนที่ถามว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่หรือเปล่า?

เราต้องมาดูกันว่าเศรษฐกิจดิจิตอล(DE) คืออะไรและทำอย่างไร หากเรามองในภาพรวมแล้วตีความว่าหมายถึงการใช้ไอทีมาเป็นเครื่องมือในการค้าขายก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่จะต่างกันตรงที่รายละเอียดของขบวนการปฏิบัติที่มีการนำเอาไอทีไปใช้ในขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆของการค้าขายมีความเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ
และมองระบบไอทีของประเทศทั้งระบบเป็นต้นทุนของ
DE ด้วย และคำว่าเศรษฐกิจดิจิตัล
หรือ Digital Economy ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ทีเดียวนัก
เพราะนาย Dan Tapscott นักคิดและนักเขียนชาวอเมริกันได้พูดคำนี้ไว้ตั้งแต่ปี
1995ในหนังสือของเค้าที่ชื่อ

“The Digital
Economy: Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence”

2.  ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการผลักดันร่างกฏหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัลออกมา
8 ฉบับ
แต่โดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงจนต้องนำกลับไปพัฒนาใหม่
จริงๆแล้วเศรษฐกิจดิจิตัล มันจะโตไปพร้อมกับกฏหมายความมั่นคงไซเบอร์ได้หรือ?

จริง ๆ
แล้วคำถามนี้เป็นเรื่องคนละประเด็นกันระหว่างเรื่องเศรษฐกิจ กับความมั่นคง
แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ในโลกของ ดิจิตอล หรือ โลกอินเตอร์เน็ต
เป็นโลกที่มีความเสรีทางความคิดมากกว่าโลกจริง เนื่องจาก
ผู้ใช้งานมีอิสระในการวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เกิดแนวคิดที่มีลักษณะการแชร์
ความรู้กัน  ในข้อดี ไม่ควรไปจำกัด แต่
ข้อเสีย คือสิ่งที่เราต้องยอมรับ ว่ามีเกิดขึ้นในโลกอินเตอร์เน็ต เช่น มีการใช้ในการก่ออาชญากรรม
การกระทำผิดกฏหมาย เป็นสิ่งที่รัฐ
ต้องมาดำเนินการเพื่อการรักษาความปลอดภัยของสังคม แต่ หลักการคิดคือ  หากไป จำกัดเสรีภาพ และลักษณะที่ดีดีของ
โลกดิจิตอลอินเตอร์เน็ต แล้ว นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ ใดๆ ที่จะสร้างนโยบายมา
ก็ไม่ได้ช่วยส่งเสริมการใช้ ดิจิตอล หรือ ICT ในการพัฒนาประเทศทั้งนั้น

ในความคิดผม
เศรษฐกิจดิจิตัลจะเป็นไปได้นั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีกฎและระเบียบที่ช่วยให้ ประชาชนเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางดิจิตัล
ตัวอย่างจากต่างประเทศ นั้นจะให้ความสำคัญกับกฎหมาย 4 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
และกฎหมายที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่ของประเทศไทยเราออกมา 8 ฉบับ ซึ่งดูจะเยอะเกินความจำเป็น และมีบางฉบับที่ดูจะเน้นในการให้อำนาจภาครัฐในการตรวจสอบและควบคุมมากกว่าการใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ป้องกันภัยออนไลน์ และปกป้องข้อมูลของ ประชาชนเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล

อย่างไรก้อตามถึงแม้นไม่มีนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดขึ้น
เรื่องความปลอดภัยบนสังคมโลกเสมือน(Virtual Society) ซึ่งก็คือ
Internet  หรือระบบใดๆที่ใช้เครือข่ายโทรคมนาคมข้อมูลเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกัน
ก็เป็นสิ่งที่รัฐและประชาชนต้องคำนึงถึงอยู่ดี อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงในความหมายที่สื่อถึงแค่เฉพาะกลาโหมอย่างเดียวเลย
ถ้าอาชญากรรมต่างๆที่ปรากฏอยู่ในโลกในปัจจุบันมีการใช้ internet เป็นเครื่องมือ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั่วไปได้จริง
ดังนั้นรัฐจะต้องมีกฎการปฏิบัติใดๆเข้ามาเป็นเครื่องมือกำกับดูแลการใช้งาน internet
ในภาพรวมส่วนจะเรียกว่ากฏหมายความมั่นคงไซเบอร์หรือชื่อใดๆก็แล้วแต่
สรุปสาระสำคัญคือรัฐมีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีกฏหมายในลักษณะดังกล่าวเพื่อปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ส่วนใหญ่ของประเทศให้รอดพ้นจากอาชาญกรรมที่ใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือ

หมายเหตุ กฎหมายทั้ง 8 ฉบับได้แก่

· 
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการแก้ไขกฎหมายเดิม
กำหนดให้
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
(ETDA)
 เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล

· 
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพิ่มเติมลักษณะความผิด
และเพิ่มเติมหน่วยงานกลางให้เป็นสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมันคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

· 
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แยกสำนักความมั่นคงปลอดภัยออกมาจาก
ETDA เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลอีกเช่นกัน

· 
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อันนี้เป็นร่างที่พิจารณากันมานาน
โดยทั่วไปเป็นหลักการคุ้มครองข้อมูลและการร้องเรียน

· 
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลขึ้นอีกหน่วยงาน

· 
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

· 
ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
 พ.ร.บ.กสทช.
ที่มีข่าวว่าจะถูกแก้กันมานาน
ตอนนี้ชัดเจนว่าคงแก้ไขใหม่แต่ยังไม่มีรายละเอียดออกมา

· 
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน


3.  ปัจจุบันอะไรคืออุปสรรคสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัลในประเทศไทย?
Infrastructure ด้านโทรคมนาคมเราพร้อมแล้วหรือไม่? และควรจะเดินอย่างไรเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยี?

อุปสรรคสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัลในประเทศไทยคือ
ความเข้าใจของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจน  การปรับปรุงกระบวนการในการทำงานของภาครัฐ  ให้เกิดประสิทธิภาพ
ไม่ใช่ล่าช้าอย่างที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่นการประมูลคลื่นความถี่
4G
เป็นต้น … และควรเพิ่มคุณภาพของบุคลากรโดยเฉพาะทางด้าน IT ของประเทศอย่างมี “ นัยยะสำคัญ “ รวมทั้งเร่งกระตุ้นส่งเสริมให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้ใช้โอกาสในการแสวงประโยชน์จากระบบเครือข่าย
internet
ในด้านของการค้าขายทุกๆมิติ มิใช่เฉพาะเพื่อการบันเทิงส่วนบุคคลอย่างเดียว

นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่จะเกิดเป็นอุปสรรคได้อนาคต
คือเรื่องของมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานที่ควรจะทำให้เสร็จก่อนเช่น ระบบ e-Commerce ที่จำเป็นต้องมีใบรับรอง PCI-DSS : Payment Card Industry Data
Security Standard ซึ่งเป็นใบรับรองด้านความปลอดภัยของบัตรเครดิต ซึ่งในปัจจุบันถามว่าหน่วยงานไหน
ในประเทศเป็นผู้รับผิดชอบอยู่ และถ้ามีหน่วยงานนี้ได้ให้ใบรับรอง PCI-DSS กับใครไปแล้วบ้าง

สำหรับอุปสรรคหลักในปัจจุบันที่เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ต้องทำหน้าที่เตรียมความพร้อมในเรื่องปัจจัยพื้นฐานเพื่อให้ผู้มีส่วนใดเสียในระบบระดับต่างๆ
ดำเนินการต่อเนื่องไปได้เอง เปรียบเสมือนรัฐต้องทำถนนหนทางให้พร้อมทุกเส้นทางเพื่อให้ประชาชนเดินทางสัญจรเพื่อซื้อมาขายไป
ลำเลียงสินค้าและบริการได้โดยไม่มีอุปสรรค ในทางไอซีที infrastructure
ด้านไอซีทีต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบมีสาย แบบไร้สาย
ต้องเชื่อมโยงให้ทั่วถึงทั้งประเทศ ทั้งในรูปแบบมีค่าใช้จ่ายในอัตราที่ยอมรับได้
(ประชาชนเสียค่าบริการ) หรือไม่มีค่าใช้จ่าย (โดยรัฐเป็นผู้ดูแลงบประมาณแทน)
รัฐเองต้องพยายามลดอุปสรรคเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยการไม่เพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ
เช่น การออกกฎหมายที่ทำให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการในประเทศไม่ได้ เป็นต้น

สำหรับคำถาม
Infrastructure
ด้านโทรคมนาคมเราพร้อมแล้วหรือไม่? นั้น
รัฐต้องมองให้ออกว่า Infrastructure ทางโทรคมนาคม ที่พร้อม
คือ infrastructure ที่ คนทุกคนสามารถเข้าถึงและ ฟรี  เป็น โครงสร้างพื้นฐาน ที่มีคุณภาพ
ระดับหนึ่ง  เหมือนของการทำ ICT
Free Wifi ที่รัฐบาลในอดีตได้ริเริ่มทำขึ้นมาแต่ หากประชาชนต้อง
การใช้งานที่รวดเร็ว จะต้องมีการเสียค่าบริการ หลักการคิดเช่นเดียวกับ ถนน
หนทาง  หาก เก็บค่าบริการทุกถนน แล้ว
การคมนาคมจะเกิดได้อย่างไร  รัฐต้อง Provide
ช่องทางเหล่านี้ให้เข้าถึง คนทุกคน อย่างชัดเจนและเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพ
ไม่ใช่ ใช้ช่องทางเครือข่ายที่มีขนาดเล็กที่ทำให้เกิดความลำบากในติดต่อสื่อสารข้อมูลมากขึ้น
เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ  ส่วนรายได้เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายให้กับช่องทางที่รัฐให้บริการฟรีนั้นสามารถมีเข้ามาจากการบริหารจัดการ
เพื่อ Provide ช่องทางที่มากขึ้นให้ประชาชน สามารถใช้หลักการ
การได้ประโยชน์จากช่องทางมา เช่นเก็บภาษีจากการได้รับรายได้จากการใช้ทาง หรือ
ช่องทาง บริการต่างๆที่ดีขึ้นในทาง เป็นต้น

โดยส่วนตัวผมเองคิดว่าปัจจุบันนี้เรื่อง
infrastructure
โดยเฉพาะด้านโทรคมนาคมของประเทศไทยในไม่ได้เป็นปัญหา เพราะทุกวันนี้
mobile penetration เกิน 100%
และการใช้ data ผ่านมือถือก็เติบโตขึ้นมาก
และโครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็ครอบคลุมเกิน 95% ของพื้นที่
ผมคิดว่าปัญหาของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัลน่าจะเป็นปัญหาด้านคนที่ยังขาดทักษะและแนวคิดที่สร้างสรรค์
และสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เศรษฐกิจดิจิตัลมี
ภาครัฐเองก็ยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้คนสามารถสร้างธุรกิจจากแนวคิดใหม่ๆได้
ซึ่งเราควรจะต้องเน้นที่การสร้าง digital capability หรือสมรรถนะด้านดิจิทัล
และอีกอย่างเราต้องการ Digital leadership จากคนที่เป็นผู้บริหารประเทศ
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องของ infrastructure
ด้าน ICT ของประเทศไทยมีพอเพียงแต่ต้องบริหารจัดการใหม่แบบรวมการเพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดต้นทุนและการแข่งขันกันเอง
ซึ่งรัฐต้องลงมากำกับดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจดิจิตัล
เกิดเป็นรูปธรรมจับต้องได้ให้เร็วที่สุด

สำหรับที่ถามว่าเราควรจะเดินอย่างไรเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยี? นั้นผมคิดว่าการนำพาประเทศไทยไปสู่ “ เศรษฐกิจดิจิตัล
” ( Digital Economy ) หรือการนำระบบ IT มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้รวดเร็วขึ้น
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะสำเร็จหรือไม่
นั้นผมขอยกตัวอย่างจากสถานการณ์ปัจจุบันมาวิเคราะห์เป็นตัวอย่างให้ดูเป็นข้อ ๆ
ดังนี้ …

1.
สภาวะปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาใหญ่ คือ
ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญของเรา ซึ่งได้แก่ ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ตกต่ำมาก
ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องพยายามแก้ปัญหา โดยการ “ สร้างมูลค่าเพิ่ม
” ให้แก่สินค้าเกษตรให้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็น โจทย์ของ
“ นโยบาย Digital Economy “ ว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าจะทำได้อย่างไรบ้าง
เช่น…

1.1 การนำสินค้าเกษตรไปแปรรูป เช่น ข้าว ไปเป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางค์ ขนม
เส้นก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

1.2 การกระตุ้นการบริโภค

2.
การน้อมนำ “ โครงการในพระราชดำริ “ แต่ละโครงการมาศึกษาและต่อยอดทางความคิด เพื่อให้แต่ละชุมชน
สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยการใช้ Digital Economy ไปช่วยส่งเสริม “ ช่องทางส่งเสริมการขาย “ ต่าง ๆ

3.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ Digital Economy มีหน่วยงานใดบ้าง และแต่ละหน่วยงานต้องเตรียมการอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น

3.1 กระทรวงมหาดไทย สำรวจข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2554 พบว่าประเทศไทยมีหมู่บ้าน 74,956 หมู่บ้าน ”
ข้อมูลทางการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ” กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะทำอย่างไรกับข้อมูลทางตัวเลขเหล่านี้
แต่ละพื้นที่จะจัดโซนนิ่งกันอย่างไร

3.2 กระทรวงอุตสาหกรรม  ซึ่งมีหน้าที่ในการให้ความรู้
การส่งเสริมการลงทุน การควบคุมคุณภาพการผลิต กระทรวงอุตสาหกรรม คิดอย่างไรบ้าง
นอกจากการจัดการอบรมสัมมนาแล้ว “ ทำอย่างไรให้สินค้ามีคุณภาพ
และสามารถควบคุมการผลิตได้ “

3.3  กระทรวงพาณิชย์  ต้องเร่งจัดหาช่องทางการจัดจำหน่าย
การหาตลาดต่าง ๆ ฯลฯ

3.4  กระทรวงศึกษาธิการ  .ใช้อินเตอร์เน็ตของเครือข่ายการศึกษาสนับสนุนนโยบาย
เศรษฐกิจดิจิตัล เพราะในต่างจังหวัดศูนย์รวมอินเตอร์เน็ตชุมชนส่วนใหญ่จะยังเป็น
วัด และโรงเรียน ตรงนี้สำคัญมาก

3.5  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เร่งผลักดันการนำระบบ IT เข้ามาใช้ เพื่อให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะกับ “ ระบบราชการ
“ แบบเดิม ๆ

4.
การกระจายความเจริญทางด้าน Internet อย่างทั่วถึง…
ถ้าระบบอินเตอร์เน็ตยังไปไม่ถึงในทุกพื้นที่ที่มีประชาชนอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น
โครงสร้างพื้นฐานทั้งที่มีสาย และไร้สาย ดาวเทียม IP STAR การจะทำให้เกิด
Digital Economy ผ่านการทำ E-commerce  การซื้อขายหวยออนไลน์ เป็นต้น คงเกิดขึ้นไม่ได้แน่นอน

Categories: Interview