เยาวชนผู้เปลี่ยนโลก (1) : มาลาลา ยูซาฟไซ

เยาวชนผู้เปลี่ยนโลก(1) : มาลาลา ยูซาฟไซ

ในสมัยนี้
สังคมไทยถูกครอบงำด้วยโซเชียลมีเดียทั้งหลาย
การแสดงความคิดเห็นของคนไทยจึงอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ
จึงทำให้คนไทยไม่กล้าที่จะแสดงตัวของตนเองออกมาเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้า
ซึ่งมีผลต่อทิศทางทางสังคมไทย

แต่ในอีกด้านหนึ่ง
มีหลายประเทศที่ประชาชนกล้าที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ เรียกร้องสิทธิ
และเสรีภาพ ความยุติธรรม ให้กับตนเองและเพื่อนพ้องของพวกเขา โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางในการรวมตัวของผองเพื่อน

อย่างในกรณีของ มาลาลา ยูซาฟไซ
(
Malala Yousafzai)สาวน้อยปากีสถานวัย
17 ปี
ผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการศึกษาของสตรีจนถูกกลุ่มตอลิบานยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส
ซึ่งนับว่าเธอเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์[1]

ตามประวัติแล้ว
เธอเกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ณ เมืองมินโกรา (Mingora) เขตสวัด (Swat) จังหวัดไคเบอร์ปัคตุนควา
(Khyber Pakhtunkhwa) พ่อของเธอนายไซอุดดิน
(Ziauddin) เป็นเจ้าของโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่ง
ในช่วงต้นปี 2550
อิทธิพลของกลุ่มนักรบติดอาวุธหัวรุนแรงตอลิบานได้ขยายเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

มัวลานา
ฟาสลูลลาห์ (Maulana
Fazlullah) ผู้นำกลุ่มตอลิบานอาศัยผลประโยชน์จากช่วงเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาทำการรวมอำนาจในเขตสวัด
การสอนกฎหมายศาสนาอิสลามผ่านทางวิทยุกระจายเสียง FM ของนายมัวลานานั้น
เป็นที่แพร่หลายอย่างมากในช่วงเวลานั้น จนในที่สุดเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551
พื้นที่เขตสวัด ก็กลายเป็นแหล่งก่อการร้าย

ตอลิบานเริ่มรณรงค์ล้มล้างสถาบันของรัฐ
ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายคือ “โรงเรียนสตรี” โดยอ้างว่าเป็นการขัดต่อการสอนของศาสนาอิสลาม
ที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ โรงเรียนสตรีไม่ต่ำกว่าร้อยโรงเรียนได้ถูกเผาทำลายพร้อมกับการข่มขู่ทั้งนักเรียนและครู
แต่ทว่าโรงเรียนที่มาลาลาศึกษาอยู่ยังคงทำการเปิดการเรียนการสอนอยู่ถึงแม้จะถูกข่มขู่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม

เมื่อมาลาลาอายุได้
11 ปี
เธอได้ปรากฏสู่สาธารณะครั้งแรก โดยนายไซอุดดิน ได้พาลูกสาวไปเข้าร่วมงานชุมนุม
เพื่อต่อต้านการโจมตีโรงเรียนสตรีของตอลิบาน มาลาลาได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “ตอลิบานอาจหาญอย่างไรในการระงับสิทธิขั้นพื้นฐานทางการศึกษาของฉัน” (How Dare the Taliban Take Away
My Basic Right to an Education) ซึ่งในการกล่าวต่อหน้าผู้ชุมนุมนี้เธอได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอย่างดี[2]

ทำให้มาลาลาเริ่มมีชื่อเสียงผ่านบล๊อคที่เธอเขียนให้แก่
BBC โดยใช้นามแฝงที่ชื่อว่า
“กุล มาไค (GulMakai)” เธอเริ่มลงข้อความตั้งแต่ต้นปี
2552
โดยได้เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตในช่วงที่ถูกตอลิบานควบคุมและจำกัดสิทธิเสรีภาพของสตรี
เช่น ห้ามผู้หญิงแต่งกายสีฉูดฉาด ห้ามผู้หญิงเดินตลาด
และห้ามนักเรียนหญิงไปโรงเรียน

มาลาลาได้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์ที่ต่อต้านฏอลิบาน
ซึ่งมีผู้ฟังมากถึง 25 ล้านคน และในเดือน พ.ค. 2552
นิตยสารนิวยอร์คไทม์ (New York Times) ได้ถ่ายสารคดีเกี่ยวกับเธอ
โดยได้ถ่ายทำจริงในระหว่างที่กองทัพปากีสถานได้เข้าทำการสู้รบในสงครามครั้งที่สองแห่งสวัด
(Second Battle of Swat) ซึ่งทำให้มาลาลาเป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น

มาลาลากับชาวปากีสถานนับล้านได้หลบหนีออกจากหุบเขาสวัด
จากเหตุความวุ่นวายนี้ ทำให้มาลาลาและครอบครัวแยกจากกัน การต่อสู้ดำเนินไปในที่แห่งนี้นานหลายเดือน
จนถึงเดือนสิงหาคม
พวกเขาได้กลับมาที่สวัดอีกครั้งเมื่อกองทัพทหารปากีสถานได้ประกาศว่าเขตสวัดอยู่ในความสงบแล้ว

ซึ่งในตอนนั้นเองพ่อของมาลาลาได้เปิดเผยว่า
มาลาลานั้นเองที่เป็นคนเขียนบล็อคให้แก่ BBC ส่งผลให้พวกตอลิบานมุ่งเป้าคุกคามคนในครอบครัวเธอตั้งแต่นั้นมา

หลังสงครามสงบ
มาลาลาได้ทำหน้าที่เป็นประธานของสภาเด็กแห่งเขตสวัด (District Child Assembly Swat) เพื่อเรียกร้องให้มีอิสรภาพทางการศึกษาทั้งในปากีสถานและในเวทีโลก

จนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 มาลาลา
ถูกลอบยิงจากมือปืนตอลิบานขณะเธอนั่งรถโรงเรียนกลับบ้าน
โดยมีมือปืนสวมหน้ากากได้หยุดรถโรงเรียนของมาลาลา กลุ่มผู้นำศาสนา 50 คนในปากีสถานได้ออกแถลงการณ์ฟัตวา
(fatwa) แสดงความไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์ลอบยิงครั้งนี้

ด้วยความมุ่งมั่นของมาลาลานี้เอง
ทำให้นายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร
และปัจจุบันเป็นทูตพิเศษสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโลก
ได้รณรงค์ส่งเสริมการศึกษาเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอในหัวข้อที่ชื่อว่า “I am Malala” โดยส่งเสริมการศึกษาในประเทศปากีสถานด้วยกองทุนสากลและเป็นการริเริ่มโครงการภายในประเทศอีกด้วย

นายบราวน์
กล่าวว่านักเรียนหญิงที่ไม่ได้รับการศึกษาอยู่ในประเทศปากีสถานถึงร้อยละ 10
หรือประมาณ 3.2 ล้านคน
จึงได้ประกาศให้ความช่วยเหลือโดยร่วมมือวางแผนกับรัฐบาลปากีสถาน
องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก และองค์กรสากลอื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาทั้งหมดภายในปี
2558 และเพื่อเป็นการยกย่องแก่มาลาลา รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมุน (Ban Ki-Moon) ได้ประกาศว่า
วันที่ 12 กรกฎาคมของทุกปี จะจัดให้เป็นวันฉลองมาลาลา (Malala Day)

ทางองค์กร Vital Voices Global Partnership ซึ่งก่อตั้งโดยนาง
Hilary Clinton ได้จัดตั้งกองทุนมาลาลาขึ้น
เพื่อให้เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่นักเรียนหญิงตามวิสัยทัศน์ของมาลาลา
โดยเป้าหมายแรกของเธอคือให้การศึกษาแก่เด็กหญิง 40 คนในเขตบ้านเกิดของเธออย่างลับๆ
ในสถานศึกษาที่ปลอดภัย ด้วยจำนวนเงิน45,000 เหรียญสหรัฐฯ

นอกจากนี้
มาลาลายังได้รับรางวัลอีกมากมาย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2557
ได้มีการประกาศรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพให้แก่ ชาวปากีสถาน
ซึ่งเป็นผู้เรียกร้องสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็กและสตรี
ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการพิจารณาผลการประกาศรางวัลโนเบลว่า
เป็นผู้สนับสนุนและต่อสู้เพื่อสิทธิในการได้รับการศึกษาและต่อต้านการกดขี่ในเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง

เครดิตภาพ http://www.prachachat.net/online/2013/07/13745776811374577696l.jpg


[1]
http://www.voathai.com/content/education-activist-malala-joint-winner-nobel-peace-prize/2480076.html

[2] http://sameaf.mfa.go.th/th/important_person/detail.php?ID=4382