เล่าเรื่องผู้นำสตรี : เบนาซี บุตโต ผู้นำหญิงแกร่งแห่งปากีสถาน

เครดิตภาพ : เบนาซี บุตโต จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1297580903

นางเบนาซี บุตโต เกิดเมื่อวันที่
21 มิถุนายน 2496 เธอคือหญิงแกร่งที่เดินตามรอยบิดาของเธอในการลงสมัครทางการเมือง
แม้จุดเริ่มต้นของทั้งสองคนจะแตกต่างกัน แต่จุดจบในตอนท้ายที่ทั้งคู่ต้องเผชิญคือ การแลกมาด้วยชีวิต
เพราะบิดาของเธอถูกตัดสินประหารชีวิต ขณะที่เธอก็ถูกมือระเบิดพลีชีพลอบสังหาร
นอกจากนี้น้องชายของเธอทั้งสองคนก็เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรง

เธอเป็นบุตรของนายซัลฟิการ์ อาลี
บุตโต อดีตประธานาธิบดีของปากีสถานในช่วงปี 2514 – 2516 และนายกรัฐมนตรีของปากีสถานระหว่างปี 2516 – 2519 พ่อของเธอเป็นผู้ก่อตั้งพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan’s People’s Party – PPP)

นางเบนาซีเติบโตขึ้นมาในครอบครัวชนชั้นนำของประเทศเหมือนเช่นเดียวกับนางอินทิรา
คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย เพราะบิดาของเธอเป็นนายกรัฐมนตรีของปากีสถานตั้งแต่ปี
2513
โดยรัฐบาลของนายซาฟิการ์ เป็นรัฐบาลแรกในรอบ 30 ปีของปากีสถานหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
ที่ไม่ได้ปกครองโดยทหาร
แต่สุดท้ายบิดาของเธอก็ถูกรัฐประหารและถูกตัดสินประหารชีวิตในปี 2522 ขณะที่  นางเบนาซีถูกจำคุกเป็นเวลา
5 ปี

หลังจากที่เธอถูกปล่อยตัว  เธอก็ก้าวเข้าสู่วงการการเมือง
และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ในปี 2531 ความนิยมในตัวเธอขณะนั้น
ทำให้สื่อหลายสำนักยกย่องเธอ ให้เธอเป็นหนึ่งในผู้นำหญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุด

ความสดใหม่ในวงการการเมืองของเธอและความที่เธอเป็นผู้หญิง
ได้ทำให้การเมืองของปากีสถานในช่วงนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
แต่หลังจากที่เธอได้รับการเลือกตั้งเข้าไปนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง
กระแสเกี่ยวกับการคอรัปชั่นและไม่สามารถบริหารจัดการได้ดีพอ
ก็ทำให้เธอถูกตรวจสอบอย่างหนัก 

ซึ่งนางเบนาซีได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
พร้อมย้ำว่าเป็นความพยายามกลั่นแกล้งจากฝ่ายตรงข้าม โดยข้อกล่าวหาทั้งหมด
จนปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเธอผิดจริงหรือไม่

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบเทปเสียงที่ถูกบันทึกไว้
ซึ่งเป็นหลักฐานชั้นดีที่พิสูจน์ว่า กระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศปากีสถานขาดความโปร่งใส่[1]
เนื่องจากศาลถูกกดดันให้ตั้งข้อกล่าวหานางเบนาซี

ในปี 2542 เธอได้อพยพครอบครัวไปอาศัยอยู่ที่ดูไบ
โดยรับหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
และให้คำปรึกษากับรัฐบาลในแต่ละประเทศ
ก่อนจะเดินทางกลับมายังประเทศปากีสถานอีกครั้งในปี 2550

หลังลี้ภัยในต่างประเทศถึง 8 ปี ในวันที่ 18 ตุลาคม 2550
เมื่อนางเบนาซีเดินทางกลับมาปากีสถานเพื่อรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในสมัยที่ 3 เธอได้รับการต้อนรับจากประชาชนอย่างล้นหลาม
ที่สนับสนุนพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP)
ที่เธอดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

แต่การรณรงค์หาเสียงจบลงด้วยเหตุระเบิดโศกนาฏกรรมที่มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น
139 คนและบาดเจ็บจำนวนมาก[2]
แต่ในครั้งนั้นเธอไม่ได้รับบาดเจ็บ

27 ธันวาคม 2550 นางเบนาซีจบชีวิตลงในขณะที่การเดินทางหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง
เพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 โดยเธอถูกมือปืนลอบยิงและใช้ระเบิดพลีชีพ
ซึ่งเธอถูกยิงเข้าที่ลำคอทำให้เสียชีวิต[3]
ซึ่งหลังจากที่เธอเสียชีวิต พรรคประชาชนปากีสถานที่เธอเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างถล่มทลาย

หลังการเสียชีวิตของนางเบนาซี
พรรคประชาชนปากีสถานเลือกนายอาชีฟ อาลี ซาร์ดารี สามีของเธอเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่  แต่นายซาร์ดารีปฏิเสธ และเสนอให้นายบิลาวัล
บุตโต ซาร์ดารี บุตรชายเป็นผู้ดำรงตำแหน่งแทน

อ้างอิง

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15300

https://www.youtube.com/watch?v=W0Ad0TX

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95


[2]
http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15300

[3]
https://www.youtube.com/watch?v=oAxGTC-K0lw