อนาคตประมงไทย กับความสำคัญของ IUU Fishing
ปัจจุบันมูลค่าการส่งของของอุตสาหกรรมการประมงของไทยมีมูลค่าประมาณ
3,285 ล้านยูโร หรือประมาณ114,975 ล้านบาท ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปสินค้าอาหารทะเลและประมงอยู่ที่ประมาณ
3 ล้านตันต่อปี
การส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยหลังจากที่สหภาพยุโรป (EU) ได้ให้ใบเหลืองเพื่อเป็นการเตือนอย่างเป็นทางการ ต่อกรณีที่ไทยไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายหรือ
IUU Fishing ที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากลในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งประเด็นดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องเร่งด่วน จนทำให้เกิดการระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางประมงของไทย
อาจจะเกิดความเสียหายอุตสาหกรรมการประมงไทยทั้งระบบ
IUU คืออะไร และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมประมงอย่างไร – IUU ย่อมาจาก Illegal
Unreported and Unregulated
Fishing ซึ่งหมายถึง การทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน
และการประมงที่ขาดการควบคุม ความหมายโดยละเอียดของการประมง IUU ตามที่นิยามไว้โดย
องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization:
FAO) หมายถึง
การประมงที่ผิดกฎหมาย (Illegal Fishing) คือ การทําประมงโดย โดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือขัดต่อกฎหมาย
การทําประมงโดยเรือของประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกขององค์การบริหารจัดการทรัพยากรระดับ
ภูมิภาค (RFMO) อันขัดกับมาตรการอนุรักษ์จัดการตามมติขององค์การฯ
และการทําประมงที่ฝ่าฝืนข้อผูกพันระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารจัดการทรัพยากรระดับภูมิภาค
(RFMO)
การประมงที่ขาดการรายงาน (Unreported Fishing) คือ การทําประมงที่ไม่ได้แจ้ง หรือรายงาน หรือรายงานเท็จ
ต่อหน่วยงานของรัฐอันเป็นการกระทําที่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบของรัฐ การทําการประมงในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารจัดการทรัพยากรระดับภูมิภาค
(RFMO) ซึ่งไม่ได้แจ้งหรือรายงาน
หรือแจ้งเท็จอันเป็นการขัดต่อวิธีปฏิบัติขององค์การ บริหารจัดการทรัพยากรระดับภูมิภาค
(RFMO) (สิ่งที่จะต้องรายงานต่อรัฐ หรือองค์การบริหารจัดการทรัพยากรระดับภูมิภาค
(RFMO) จะถูกระบุ
ไว้ในระเบียบการประมงซึ่งชาวประมงและเรือประมงที่จดทะเบียนหรือขออนุญาตทําการประมงต้องปฏิบัติตาม
ซึ่งการประมงที่ปราศจากการรายงานนั้นนับตั้งแต่การจดทะเบียนเรือ
จนถึงการรายงานปริมาณการจับสัตว์น้ำ)
การประมงที่ขาดการควบคุม (Unregulated Fishing) คือ การประมงโดยเรือที่ไม่มีสัญชาติ
(ไม่ชักธง) หรือเรือสัญชาติของรัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การบริหารจัดการทรัพยากรระดับภูมิภาค
(RFMO) ซึ่งไม่เป็นไปตาม หรือขัดกับมาตรการอนุรักษ์จัดการขององค์กรฯ
การทําการประมงในพื้นที่ หรือจับสัตว์น้ำประเภทที่ยังไม่มีมาตรการอนุรักษ์จัดการขององค์การบริหารจัดการทรัพยากรระดับภูมิภาค
(RFMO) รองรับ การประมงที่ไร้การควบคุมอยู่นอกขอบเขตกฏหมายเกี่ยวกับการประมง
ผลกระทบของ IUU Fishing ต่อไทย ในขณะนี้ไทยถูกให้ใบเหลืองซึ่งหมายถึงว่าสหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่
จะถูกจัดให้เป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ (possibility
of identifying as non-cooperating country) ภายใต้กฎระเบียบ IUU
ของสหภาพยุโรปใบเหลืองถือว่าเป็นเพียงประกาศเตือน และ ณ วันนี้ยังไม่มีผลต่อการระงับการนำเข้าสินค้าประมงที่จับโดยเรือไทยที่ส่งไป
ขายในตลาดสหภาพยุโรปแต่อย่างใด ในกรณีที่ได้ใบแดงสินค้าประมงทุกประเภทที่จับโดยเรือที่ชักธงไทยจะถูกระงับการนำเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป
ยกเว้นรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้น เช่น สินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการเพาะเลี้ยง สำหรับสินค้าประมงและประมงแปรรูปที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อแปรรูปในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบ
เช่น ทูน่าประป๋องโดยประเทศไทยจะต้องดำเนินการปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อน กลับ (Traceability) เพื่อให้สหภาพยุโรปเชื่อมั่นให้ได้ว่าจะไม่มีการปะปนของสินค้าสัตว์น้ำที่
จับโดยเรือ IUU เข้ามาในห่วงโซ่อุปทาน หากประเทศสหภาพยุโรปไม่มั่นใจในระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
สามารถปฏิเสธการนำเข้าสินค้าได้
หากประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาการประเมิน
IUU Fishing ได้ ผลกระทบที่เกิดจากการห้ามสินค้าในอุตสาหกรรมประมงที่ส่งเข้าไปขายในยุโรป
โดยต่อภาพรวมจะทำให้รัฐสูญเสียตัวเลขการส่งออกว่า 1 แสนล้าน
และผู้ประกอบอาชีพทำการประมงทั้งระบบประสบกับวิกฤต
ทั้งเจ้าของกิจการเรือประมงในประเทศ แรงงานทั้งไทยและต่างด้าวกว่าแสนราย
รวมทั้งผู้ประกอบการต้นทางอย่างผู้ผลิตน้ำแข็ง
บรรจุภัณฑ์ และผู้ผลิตอุปกรณ์การประมง
รวมถึงผู้ประกอบการปลายทางอย่างผู้ส่งออกสินค้าและจัดจำหน่าย
แม้ที่ผ่านมารัฐบาลไทยจะได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขการประมงที่ผิดกฎหมาย แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา
ทำให้ราคาสินค้าประมงภายในประเทศพุ่งสูงขึ้นจากต้นทุนการผลิตที่สูง
ผู้ประกอบการกว่าหลายรายไม่สามารถประกอบกิจการได้ แรงงานกว่า 60,000 คนได้รับผลกระทบไปด้วย
รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปที่ขาดแคลนวัตถุดิบจากการที่ชาวประมงส่วนหนึ่งไม่สามารถประกอบกิจการได้
เป็นที่หน้าจับตามองอย่างมากถึงแนวทางการแก้ปัญหาการประมง
IUU ในขณะนี้ว่าจะสามารถแก้ได้หรือไม่
แนวทางการแก้ปัญหาต่อไปจะเป็นไปในทิศทางเช่นไรและคงไม่เป็นการเพิ่มปัญหาใหม่ขึ้นมาต่อทั้งอุตสาหกรรมการประมงไทยและส่งผลเสียต่อทั้งคนในประเทศดังที่ผ่านมา
ที่มา
รายงาน “การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม” มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การประมงผิดกฎหมาย : ผลกระทบและทางออกสำหรับไทย?
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634527#sthash.3p1SCxIB.dpuf
ประเมินผลการดำเนินการและมาตรการการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ของประเทศไทย ในรอบ 5 เดือน
http://thaipublica.org/2015/10/wichan-iuu-6