ปาฐกถาอดีตนายกฯ ทักษิณ เรื่อง ความท้าทายของเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันและทิศทางของประเทศไทย
อดีตนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ ชินวัตร
ชี้หลักนิติธรรมคือรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและเสถียรภาพ ทางการเมือง
และประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของโลกปัจจุบันเช่นเดียวกับประเทศ
อื่นๆ
เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 9 มี.ค. 59 ตามเวลาประเทศสหรัฐอเมริกา อดีตนายกรัฐมนตรี
ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ขึ้น
บรรยายถึงความท้าทายของเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันและทิศทางของประเทศไทย ที่งาน
“สนทนาเป็นการส่วน ตัวกับทักษิณ ชินวัตร” (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ซึ่งจัดโดยสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่มหานครนิวยอร์ก
โดย World Policy Institute หรือสถาบันนโยบายโลก เป็นสถาบันคลังสมอง (think tank) สัญชาติอเมริกัน ที่ทำงานด้านนโยบายระหว่างประเทศ มีการออกวารสารวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “World Policy Journal” เป็นประจำทุกไตรมาส สถาบันแห่งนี้ก่อตั้งในปี 1982 และมีสำนักงานตั้งอยู่นี่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา หากเปรียบกับประเทศไทย ก็เป็นองค์กรที่มีลักษณะคล้ายกับ Thailand development and research institute(TDRI) หรือ Siam Intelligence ๊Unit (SIU)
ทั้งนี้ ดร. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า “ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21 ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง หากสังคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการ ประการที่หนึ่ง ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง ประการที่สอง ได้แก่ ศักยภาพในการสร้างกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์ให้กลายเป็น ความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง”
อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ยังอัตถาธิบายต่อถึงสาเหตุและปัจจัยหลักในการสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ประชาชนในศตวรรษที่ 21 ไว้ดังนี้
1. โลกที่เปลี่ยนแปลงสู่ศตวรรษ ที่ 21 จากยุคอุตสาหกรรมไปสู่ยุค E-Commerce ที่กุญแจสำคัญสู่ประตูความสำเร็จของนักธุรกิจคือการเข้าถึงศูนย์กลางความเจริญ (Access to Center) เปลี่ยนไปเป็นการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Access to Network)
2. ยุทธศาสตร์ทางการค้าระหว่างประเทศของ 2 ขั้วมหาอำนาจ จีนและสหรัฐ ไม่ควรมองว่าทั้ง 2 เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเสมอไป หากแต่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ประเทศที่ได้รับอานิสงค์ก็ควรร่วมมือทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อความเจริญเติบโต มั่งคั่งและ มั่นคง
3. รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาประเทศที่ต้องหาสูตรสำเร็จสำหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่จะส่งเสริมให้สามารถพัฒนาพื้นฐานประเทศให้เพียงพอต่อการลงทุน การผลิต การสร้างความร่วมมือ และธุรกิจให้แก่ประเทศไทยได้ในโลกยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกด้วยสัดส่วนมูลค่าการส่งออก
โดย ดร. ทักษิณ ได้กล่าวปิดท้ายว่า การค้าและการลงทุนจะไม่สามารถเจริญงอกงามได้ หากไม่มีหลักนิติธรรม
เพราะหลัก นิติธรรมคือรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่น
ในช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านนี้
ที่มา คำต่อคำฉบับเต็ม https://www.facebook.com/oakpanthongtae/?fref=ts
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ท่านผู้ทรงเกียรติ
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมต้องขอขอบคุณสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่ให้โอกาสผมได้มาร่วมบอกเล่าหลักคิดของผม
และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องความท้าทายต่างๆ ซึ่งเกิดมาจากคำถามที่ว่า
ประเทศไทยจะเดินหน้าและผ่านพ้น
ช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร
โดยเฉพาะในแง่มุมที่เชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาค และโลกในบริบทปัจจุบัน
พวกเราทุกคนคงทราบกันดีว่า ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21
ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
หากสังคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการ
ประการที่หนึ่ง ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง ประการที่สอง
ได้แก่ ศักยภาพในการสร้างกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ
และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์ให้กลายเป็น
ความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมขออนุญาตเล่าถึง “เรื่องของสองนคร” ที่ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยชาร์ลส์
ดิกคินส์ เรื่องเล่านี้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่ ขนานของกรุงวอชิงตัน ดีซี และปักกิ่ง
ซึ่งแต่ละนครมีประวัติศาสตร์ ความทุกข์ และความชิงชังของตนเอง เมื่อ
ระยะเวลาผ่านไปนานปี
ทั้งสองนครถูกมองว่าเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันนำเสนอโมเดลการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง
โมเดลที่หนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมตลาดเสรีซึ่งมีระบอบ “ประชาธิปไตยแบบเปิด”
เป็นรากฐานของการพัฒนา เศรษฐกิจ อีกโมเดลหนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมซึ่งนำโดยรัฐ
(รูปแบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่กำกับด้วย อำนาจศูนย์กลางจากพรรคเดียว
ทั้งสองโมเดลได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถนำไปปรับใช้จนประสบความสำเร็จจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
โดยโมเดลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน
เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติของคณะผู้นำในประเทศ ณ เวลาขณะ นั้น
ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ
กับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลก ตะวันตก ที่ “การค้าเสรี”
ได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนที่กำลังปรับตัว จากระบบตลาดปิด สู่ระบบ
ตลาดเปิดครึ่งใบ
อย่างไรก็ตาม
เราคงต้องยอมรับว่าทั้งสองโมเดลจะต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงใหม่
ซึ่งเกิดขึ้น จากความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรม
จากรูปแบบ “การผลิตสินค้าใน ประเทศเดียว” สู่ “ระบบเครือข่ายการออกแบบ
การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ เพื่อ
ที่จะนำสินค้าชิ้นหนึ่งๆ ออกสู่ตลาด” ความเปลี่ยนแปลงนี้
ได้กลับตาลปัตรโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภายในประเทศต่างๆ
และส่งผลให้การปรับตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในอดีต
พวกเรายังต้องทราบอีกว่าความก้าวหน้าของเทคนิคและเทคโนโลยีการบริหารความมั่งคั่งได้กลับตาลปัตรความ
สัมพันธ์ระหว่างทุนและวิธีการผลิต ทั้งนี้ พวกเราทั้งหลายคงต่างเห็นพ้องกันว่า
“สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน” (New Normal) จะเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับว่าคุณพร้อมและมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ประเทศไทยก็ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสภาวะปกติ ใหม่ในเวทีโลก
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
อีกเรื่องราวหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึง คือ
เรื่องเล่าเกี่ยวกับครูสอนภาษาอังกฤษในสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้เคย ยากจน
แต่ปัจจุบันติดอันดับผู้ร่ำรวยที่สุดของโลก ทั้งๆ
ที่เขาไม่ได้สร้างโรงงานหรือลงทุนในปัจจัยการผลิตใด แต่
ผู้คนทั่วไปกลับยินดีจ่ายเพื่อใช้บริการของเขา เพื่อเข้าถึงโครงข่ายอุปทานและอุปสงค์ขนาดใหญ่
ผมเชื่อว่าชาวจีน คนนี้คงต้องรู้สึกขอบคุณระบบอินเทอร์เน็ตเป็นแน่
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ คุณูปการจาก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น
ได้
ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นกลจักรใหม่ที่คอยส่งเสริมให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้างทั้งในประเทศพัฒนา
แล้วและประเทศกำลังพัฒนา จากรายงานของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เมื่อปีที่ผ่านมา
พบว่าการค้าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ของโลกในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในขณะที่อีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคของโลกยังคงอยู่ที่ระดับราว 1.2
ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบการค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียซึ่งมีการประมาณการว่าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคจะขยายตัวจากระดับร้อยละ
20 สู่ระดับร้อยละ 37 ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2561 นอกจากนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซข้ามแดนที่ค่อยๆ
ขยายตัวขึ้น ยังส่งผลให้ปริมาณ
การขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กระหว่างประเทศของโลกเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 48 ระหว่างปี
พ.ศ. 2554 ถึง 2557
สำหรับภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก
ผมเชื่อว่าข้อมูลความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวคือเค้าลางของ โอกาสการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่
ที่ “การเข้าถึงเครือข่าย” (Access to Network) คือหัวใจของ ความสำเร็จ โดยในที่นี้
หมายถึงเครือข่ายผู้บริโภคและปัจจัยการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ แตกต่างออกไปจากรูป
แบบเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง “การเข้าถึงศูนย์กลาง” (Access to Center) คือเงื่อนไขของความสำเร็จ ใน ปัจจุบัน
นักธุรกิจผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่หรือบรรษัทข้ามชาติ
สามารถเข้าถึงลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก
และตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าของพวกเขาได้
โดยการเข้าถึงเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าซึ่ง เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่
เศรษฐกิจในวันนี้กระจายตัวออกจากศูนย์กลางอำนาจเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับการกระจายตัวของการบริโภคและการผลิต พวกเราคงสามารถ จินตนาการได้ง่ายๆ
ถึงสถานการณ์ที่นักธุรกิจชาวอเมริกันสามารถขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยตรงให้แก่ผู้บริโภคในฝั่งตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทำธุรกรรมที่
นครปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ ในทางตรงกันข้าม
ผู้ผลิตชาวจีนสามารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในแถบนิวอิงแลนด์และมิด แอตแลนติกของประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยไม่ต้องผ่านนครนิวยอร์ก “เศรษฐกิจเครือข่าย”
ได้ส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่
มีศักยภาพในการผลิตและเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง พวกเราใน
ฐานะประชาคมโลกต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่การสรรหาวิถีทางให้ประเทศต่างๆ
สามารถร่วมลงทุนและร่วม เสี่ยงกับประชาชน
เพื่อสร้างแนวร่วมการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
อีกหนึ่งเรื่องเล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ของถนนสายหนึ่ง
ซึ่งไม่มีใครสนใจมานานนับตั้งแต่โปรตุเกสได้ค้นพบ
เส้นทางเดินเรือจากทวีปยุโรปสู่เอเชีย
โปรตุเกสเคยได้นำเสนอเส้นทางการค้าใหม่ซึ่งสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ
จากกิจกรรมการเดินเรือขนสินค้า แม้บางครั้งสินค้าอาจเสียหายไปกว่าครึ่ง
แต่ก็ไม่ได้ทำให้ใครขาดทุนจนล้มละลาย
เพราะด้วยเหตุที่ว่าอุปสงค์ความต้องการเครื่องเทศในยุคดังกล่าวมีมาก
จึงทำให้พ่อค้าเดินเรือสามารถตั้งราคาขาย ที่สูงลิบได้
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
การขนส่งสินค้าหนักทางเรือเป็นสิ่งที่พวกเราคุ้นชินจนถึงยุคปัจจุบัน
ในขณะที่เส้นทางการค้าทางบกจากทวีปเอเชีย ไปยังยุโรปกลับถูกลืมเลือนไปเป็นเวลานาน
หากเศรษฐกิจโลกยังคงเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับในอดีตที่อ้างว่าหอมหวน
คนส่วนใหญ่คงไม่จำเป็นต้องคิดที่จะสรรหาทางเลือกในชีวิต
แต่ด้วยเหตุที่สถานการณ์โลกปัจจุบันดูไม่สู้ดี นัก
ผมจึงเชื่อว่าแต่ละประเทศควรที่จะพิจารณาถึงทุกๆ ความเป็นไปได้
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในปัจจุบัน
ผมคิดว่ามียุทธศาสตร์ 2 ประการที่มีศักยภาพในการเร่งการเติบโตและยกระดับ
“คุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ” ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเครือข่าย
ประการที่หนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” (OBOR) หรือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่นำโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ
ซึ่งมีรายได้ประชาชาติรวมกันคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของรายประชาชาติของโลก
และยุทธศาสตร์อีกประการหนึ่ง คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific
Partnership, TPP) ที่นำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว 12
ประเทศ
มีรายได้ประชาชาติรวมกันมากกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติของโลก ทั้งนี้ ผมไม่ได้มองว่ายุทธศาสตร์ทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะสร้างผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก
พวกเราคงต้องก้าวข้ามมุมมองแบบเหมารวมที่ว่า
สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเพียง
มหาอำนาจทางการเมืองซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ในสภาพความเป็นจริง
พัฒนาการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะ
ทำให้พวกเราได้เห็นถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ถือครองพันบัตรรัฐบาลสหรัฐรายใหญ่ที่สุดคิดเป็นมูลค่า
1.24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศคู่ค้าราย
ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม (Total Trade) ที่ระดับ
5.21 แสนล้านดอลลาร์ สหรัฐ การลงทุนโดยตรง (FDI) ของสหรัฐอเมริกาในสาธารณรัฐประชาชนจีนคิดเป็นมูลค่า
6.58 หมื่นล้านดอลลาร์ สหรัฐ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับมูลค่า
1.19 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อพิจารณาถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจดังกล่าว
ผมเชื่อว่าภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุทธศาสตร์การ
พัฒนาอันสำคัญของสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสำคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ
ภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคเอเชียแห่งศตวรรษที่ 21 ควรเป็น
เรื่องของการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนแบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมขออนุญาตเล่าถึงนิทานเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับร้านอาหารไทย
ซึ่งไม่ว่าหัวหน้าพ่อครัวจะพร่ำสอนลูกศิษย์ในอุปถัมภ์ของเขาอย่างไร
ลูกศิษย์ก็กลับไม่สามารถผสมเครื่องปรุงได้ถูกต้อง
ลูกค้าก็ถูกปล่อยปละให้นั่งรอจนหิวและ หัวเสีย เมื่อลูกค้ากว่าครึ่งที่ได้รับประทานอาหาร
ก็กลับต้องท้องร่วงตามๆ กันไป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การ
เขียนตำราอาหารไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในขณะที่หลายคนอาจเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไปของประเทศไทยในแง่มุมทางประวัติศาสตร์และ
ทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้
ตลอดช่วงกว่าครึ่ง ศตวรรษที่ผ่านมา
เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง
สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อราย ได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็น
อย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก
เมื่อพิจารณาถึงบริบทดังกล่าว
พวกเราควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทยด้วยคำถามง่ายๆ ที่ ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศสามารถเติบโตและแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในภาวะโลก
ปัจจุบันหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐานเชิงสถาบันที่
เพียงพอเพื่อการลงทุน การผลิต การสร้างความร่วมมือ และธุรกิจให้แก่ประเทศไทยได้หรือไม่
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความ
ต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับบใหม่นี้
ได้กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย “ผู้เชี่ยวชาญ”
วุฒิสภาจะมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้ง การออกพระราชบัญญัติต่างๆ
ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี
เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดำเนินการร้องเรียน โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดัง
กล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดำเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย คือ
รากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของ ประเทศ
หัวข้อสำคัญที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่า อำนาจตุลาการจะล่วงล้ำอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจ
บริหารหรือไม่
เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว
ผมหวังว่า คงจะไม่มีการใช้อำนาจตุลาการที่เกินกว่าความจำเป็นอีกในอนาคต
กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเรา เห็นว่า การใช้อำนาจพิจารณาทบทวนโดยศาล (Judicial Review) โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ
อาจกลาย เป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสมและเป็น “ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน”
จนสุดท้ายก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนิน นโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมเชื่อว่ารากฐานของประเทศในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรือง
คือ การสร้างความเชื่อ ถือในประชาคมโลก
รัฐธรรมนูญควรยึดหลักนิติธรรมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกโดยอย่างน้อยต้องเป็นไป
ตามมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่ออำนวยความสะดวกและเกื้อหนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนในประเทศกับประชาคมโลก
การค้าและการลงทุนจะไม่สามารถเจริญงอกงามได้ หากไม่มีหลักนิติธรรม เพราะหลัก
นิติธรรมคือรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่น
ในช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านนี้
ประเทศไทยต้องประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองเสีย ใหม่ และสรรหาวิถีทางที่สมเหตุสมผลเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและพลวัตรทางเศรษฐกิจ
ผมเพียงแค่นำ เสนอถึงวิธีคิดและพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน