รวมสถานการณ์ภัยแล้ง

 ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในวิกฤตภัยแล้งอย่างหนักทั่วทุกๆพื้นที่ ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากปริมาณน้ำที่แห้งขอดส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตไม่ว่าคน สัตว์ หรือแม้กระทั่งผลผลิตทางการเกตร เฉพาะภายในเดือนเมษายน ได้มีเหตุการณ์ความเดือดร้อน อย่างมากมายจากข่าวหลายสำนัก  จึงได้รวบรวมเหตุการณ์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาว่าพื้นที่ใดบ้างที่กำลังได้รับผลกระทบ ผู้ได้รับผลกระทบมีการรับมืออย่างไรกับวิกฤตภัยแล้งที่กำลังเกิด รวมทั้งมีการแก้ไขจัดการอย่างไรจากภาครัฐ 

 เริ่มจากความเดือดร้อนของสัตว์น้ำอย่างเช่น ปลาที่ต้องอาศัยน้ำเนแหล่งที่อยู่อาศัย ที่สระน้ำเขตอภัยทาน ของวัดเขาถ้ำ จังหวัดตาก ซึ่งมีพื้นที่กว่า 5 ไร่ น้ำแห้งจนติดก้นบ่อ สัตว์น้ำที่ญาติโยมนำไปปล่อยไว้ทั้งปลาบึกปลาดุก และปลานิล ที่มีจำนวนนับหมื่นตัว เริ่มทยอยตาย และ กินซากกันเอง ทางวัดร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด และมณฑลทหารบกที่ 310 ตาก โดยจะใช้ อวนจับปลาเกล็ดและปลาผิวน้ำ ไปพักเลี้ยงไว้ที่สระน้ำในค่ายทหาร พร้อมใช้รถแบคโฮทำขอบคันดิน เพื่อลดขนาดของสระน้ำ และจัดทำผ้าป่าน้ำช่วยชีวิตปลา โดยจะขนน้ำจากแม่น้ำปิง เข้าไปเติมให้ปลาอยู่รอดได้ถึงฤดูฝน

ที่มา : http://news.ch7.com/detail/170123

เกษตรกรชาวนา ชาวสวนกล้วยตานี ที่สุโขทัยและนครสวรรค์ น้ำตาตก เจอแล้งคุกคามหนักสุดรอบ 20 ปี ต้นข้าวแห้งตายคานา-ต้นกล้วยตายคาสวน ไม่ออกยอดให้ตัดใบตองขาย ภัยแล้งในปีนี้ทำให้มีต้นกล้วยล้มตายแล้วประมาณ 1,500 ไร่ ถือเป็นภัยมหันต์ในปีนี้ ซึ่งกล้วยตานีเป็นพืชเศรษฐกิจของ ต.คลองกระจง เกษตรกรมีรายได้จากการตัดใบตองขายเดือนละกว่า 100 ล้านบาท  ขณะที่ชาวนา หมู่ 2 ต.วังมหากร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ที่มีแปลงนาทั้งสิ้น 42,000 กว่าไร่ ก็ต้องปล่อยให้ต้นข้าวที่ปลูกไว้เหี่ยวเฉา แห้งตายเป็นจำนวนรวมกว่าพันไร่ หลังน้ำในคลองสาธารณะที่เชื่อมต่อกับบึงบอระเพ็ด และบ่อน้ำที่กักเก็บไว้ในพื้นที่แห้งขอดจนไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาทำการเกษตรได้

ที่มา : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=692639

ชาวนาปทุมธานี หันปลูกเผือก ตามคำแนะนำรัฐบาล ขาดน้ำหนัก เผือกที่ปลูกยืนต้นแห้งเหี่ยวตายเกือบหมด แปลงเผือก ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกช่วงภัยแล้ง บัดนี้เริ่มทยอยตายแล้ว เกษตรกรต่างขอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหาล นายสำพันธุ์ ชมแค อายุ 54 ปี เกษตรกร อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตนเองได้งดทำนาหันมาปลูกเผือก จำนวน 7 ไร่ ได้ยืนต้นแห้งเหี่ยวตายแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาขาดน้ำ  ไม่สามารถหาน้ำมารดต้นเผือกที่กำลังเติบโตได้ ปกติต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ในเวลา 7 เดือน แต่เนื่องจากขาดน้ำจนเผือกพากันตายจึงเก็บก่อน ซึ่งขณะนี้มีอายุ 4 เดือนแล้ว เนื่องจากการปลูกเผือกเป็นนโยบายคำแนะนำรัฐบาลที่ให้กระทรวงเกษตรฯ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวนาต่างหันมาปลูกเผือก เนื่องจากใช้น้ำน้อย แต่กลับไม่มีน้ำเลย จึงได้รับความเสียหายอย่างที่เห็นกัน

ที่มา : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=692639

 และเกษตรกรอีกหลายรายที่ตัดสินใจหันมาปลูกเผือกตามคำแนะนำของรัฐบาลต่างได้รับความระทมน้ำตานองไปตามๆกัน เช่น เพ็ญศรี ชมแค เกษตรกรเจ้าของนาเผือก 7 ไร่ ที่จ.ปทุมธานี โอดครวญอยู่หน้าแปลงเผือกวัย 4 เดือน ที่ขอบใบกำลังไหม้หงิกงอ ยืนต้นรอน้ำมาหล่อเลี้ยง เธอกล่าวว่า “อุตส่าห์ทำตามที่รัฐบาลแนะ ให้เลิกปลูกข้าว หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ฉันก็เชื่อ ทำตามทุกอย่าง แล้วไง นี่จะเล่นไม่ปล่อยน้ำสักหยดมาให้กันเลยหรือ ถ้าเล่นยังงี้ ปลูกอะไรก็ตายเกลี้ยง”

 ไม่ต่างกัน ฉวีวรรณ สวนทับทิม เกษตรกรเจ้าของนาเผือก 5 ไร่ ถัดไปไม่ไกลกันนักกับแปลงเผือกของเพ็ญศรี มาในอารมณ์เดียวกันกับเพ็ญศรี เธอว่า “ฉันก็เป็นอีกคนที่ทำตามนโยบายของรัฐบาลทุกอย่าง เขาให้ปลูก พืชผักสวนครัว ปลูกเผือก แทนทำนา เราก็ทำตาม แล้วยังไง ผักที่ปลูกไว้ ค่อยๆทยอยตายเกลี้ยง นี่เผือกก็เริ่มออกอาการร่อแร่แล้ว”

ที่มา :  http://www.thairath.co.th/content/606069

สถานการณ์ภัยแล้งยังส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะ เช่นที่ จ.สตูล อบต.ตำบลปูยู ได้ขนส่งน้ำอุปโภคบริโภคไปให้ประชาชน ชาวเกาะยาว และชาวเกาะปูยู รวมทั้งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะฝนทิ้งช่วงนานกว่า 5 เดือน 744 ครัวเรือน 3,088 คน โดยการนำน้ำใส่ถังขนาด 200-3,000 ลิตรลงในแพ แล้วใช้เรือลากจูงนำไปส่งให้ชาวบ้าน ส่วนน้ำดื่มจะใส่ในถังขนาด 10 ลิตร จ่ายให้ครอบครัวละ 4 ถังเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน 

และในพื้นที่ จ.พังงา ชาวบ้าน 150 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนจากการขาดน้ำ เนื่องจากแหล่งน้ำแห้งขอด โดยทางเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง ต้องนำรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งทางชาวบ้านได้นำถังน้ำขนาดใหญ่มารองรับน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/607250

ส่วนในพื้นที่ภาคอีสาน จ.หนองบัวลำภู ชาวบ้านกว่า 50 ครัวเรือนเดือดร้อนจากน้ำประปาหมู่บ้านไม่ไหลมากว่า 2 เดือนแล้ว ต้องซื้อน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และต้องซื้อน้ำจากรถบรรทุกน้ำของเอกชน จ.อุดรธานี สวนมะม่วงของนางสงกรานต์ ทิพย์กรร อายุ 61 ปี เกษตรกรผู้ปลูกต้นมะม่วง เคยส่งออกผลมะม่วงสู่ต่างประเทศปีละ 1 ตัน สร้างรายได้ปีละ 1 แสนบาท แต่ภัยแล้งทำให้ต้นมะม่วงตายไปแล้ว 14 ต้น และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นถึง 100 ต้น คาดรายได้หายกว่าครึ่งแน่นอน

 อำเภอประทาย จ.นครราชสีมา ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบึงกระโตน ในเนื้อที่ ประมาณ 3,500 ไร่ กำลังวิกฤติหนักและรุนแรงที่สุดในรอบ 23 ปี สภาพอ่างเก็บน้ำมีแต่ทุ่งหญ้าและเนินดิน มีวัวควายเดินลงไปเล็มกินหญ้า สภาพน้ำในอ่างแห้งขอด มองเห็นสุดหูสุดตา มีปริมาณน้ำเหลือไม่ถึง 2% เท่านั้น 

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/592608 , http://www.thairath.co.th/content/607611