ผู้หญิงกับการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุลและเท่าเทียมกัน
·
ในมุมมองของท่าน ผู้หญิงในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมให้ทำงานอย่างเพียงพอแล้วหรือยัง?
เราต้องดูเป็นส่วนไป
สำหรับภาคธุรกิจส่วนใหญ่จะมีผู้หญิงเยอะ แต่ถ้าเป็นภาคแรงงาน ยังมีปัญหาในเรื่องของสัดส่วนนิดหน่อย
ก็ไม่มากนัก ความน่าสนใจที่แตกต่างกันมากจะเป็นเรื่องของรายได้และโอกาส ซึ่งก็จะต้องพยายามส่งเสริมให้ความเหลื่อมล้ำพวกนี้ลดน้อยลงไป
·
ท่านคิดว่าอะไรคือปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมในภาคเศรษฐกิจ
และในแต่ละภาคส่วนควรมีแนวทางในการแก้ปัญหานั้นอย่างไร?
เราต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
อย่างเช่นประเด็นชาย-หญิง มันอาจจะมีลักษณะของงานที่เอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจบางอย่าง
ที่เหมาะกับเพศใดเพศหนึ่ง แต่ในลักษณะงานที่สามารถทำได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง เราต้องพยายามส่งเสริมให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเข้าไปมีสัดส่วนในการช่วยสร้างเศรษฐกิจ
เพราะเราเชื่อว่าจะทำให้เกิดความก้าวหน้า หรือการพัฒนาของเศรษฐกิจเป็นไปในลักษณะที่มีความสมดุล
·
ท่านมองว่าจำเป็นหรือไม่ที่ควรจะมีกฎหมายในเรื่องการกำหนดสัดส่วนในการทำงานภาคส่วนต่างๆ
ของผู้หญิงในหลายระดับ?
การพูดถึงเรื่องกฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญ
แล้วก็ต้องได้รับการออกกฎหมายที่มีมาตรฐาน สามารถบังคับใช้ได้ด้วย ถึงจะเรียกว่าเป็นกฎหมายที่ดี
ดังนั้นการออกกฎหมายจะต้องมีความประณีต น่าจะเป็นโอกาสของการเปิดเวทีให้คนที่เข้าใจประเด็นปัญหาผู้หญิง
อาจจะมีทั้งสองเพศช่วยเข้าไปร่วมกันคิดว่าจะทำกฎหมายอย่างไรหากจะต้องทำให้ออกมาดีที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้เป็นเรื่องที่เหมาะกับกาลเทศะว่าสมควรแก่เวลาหรือยัง
·
ในวันสตรีสากลถ้าต้องเริ่มจากตัวคุณ คุณจะเริ่มลงมือทำเพื่อให้สังคมเกิดความเท่าเทียมอย่างไร?
ที่ทำได้ทันทีก็คือพยายามบอกให้เยาวชนสตรีได้ตระหนักรู้ถึงความเป็นผู้หญิงของตนเองว่ามีคุณค่าและเคารพในสิทธิของตัวเอง
ไปพร้อมๆ กับการบอกให้ผู้ชายได้รู้จักว่าคุณค่าของผู้หญิงเป็นอย่างไร และช่วยกันดูแลรักษาเพื่อที่ชายหญิงจะได้ร่วมจับมือกันในการที่จะสร้างสังคมที่จำเป็นต่อไป
นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์
อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย