บทบาทสตรีต่อการสร้างความเท่าเทียมกันในภาคแรงงาน

· 

อะไรคืออุปสรรคของผู้หญิงต่อการมีส่วนร่วมในภาคแรงงาน?

อุปสรรคของผู้หญิงทุกวันนี้ในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้คือด้านแรงงาน ต้องมองว่าทัศนคติของคนที่มองผู้หญิงไทยนั้นจะต้องอยู่กับบ้าน
หรือว่าสิ่งที่เราถูกสั่งสอนอบรมมาว่าผู้หญิงนั้นควรที่จะเป็นแม่บ้านเลี้ยงดูเด็กๆ
หรือทำงานบ้าน อันนี้เป็นอุปสรรคใหญ่มาก
ว่าจะทำอย่างไรเราถึงจะเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้ไปได้ 
เพราะทุกคนมองว่าผู้หญิงก็เป็นผู้ที่มีความสามารถเท่าเทียมกัน สามารถมามีบทบาทในสังคมในด้านต่างๆ
ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจว่าเราจะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นไปได้อย่างไร

· 
นโยบายอุดหนุนหรือลดภาษีให้กับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก
สามารถสนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านได้สะดวกมากขึ้นอย่างไร?

ต่อนโยบายหรือมาตรการลดภาษีหรือสนับสนุนให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น
ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการลดภาระของครัวเรือนในด้านต่างๆ
แล้วยังเป็นแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้หญิงนั้นออกมาทำงานมากยิ่งขึ้น
ซึ่งตรงนี้เองทางประเทศญี่ปุ่นก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้ว โดยญี่ปุ่นถึงกับมีระบบ Womensnomic คือการกระตุ้นให้ผู้หญิงได้มาทำงานนอกบ้าน 
นั่นคือการสนับสนุนส่วนหนึ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้

· 
รายได้ของผู้หญิงในภาคแรงงานยังอยู่ในระดับต่ำกว่าผู้ชายซึ่งทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันประเด็นนี้ควรได้รับการส่งเสริมแก้ไขอย่างไร?

เป็นปัญหามากทั้งในอดีตและปัจจุบัน
และไม่แน่ใจว่าในอนาคตเราจะแก้ไขได้อย่างไรสำหรับกรณีที่ผู้หญิงในตำแหน่งเดียวกันกับผู้ชายแต่ได้เงินเดือนที่น้อยกว่า
ตรงนี้ดิฉันอยากที่จะให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจในพื้นฐานว่า แท้ที่จริงแล้วผู้หญิงก็มีสิทธิ
มีความสามารถเท่าเทียมกับผู้ชายทุกอย่าง

จะเห็นว่าในสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร คุณหมอ
หรือนักบินอวกาศของนาซ่าก็เป็นผู้หญิงแล้วทั้งนั้น แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ให้ค่าตอบแทนในส่วนนี้ระหว่างชายกับหญิงเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน
ฉะนั้นเราต้องช่วยกัน ต้องเรียกร้องในสิทธิที่เราสามารถกระทำได้ แล้วทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม

· 
ในวันสตรีสากลถ้าต้องเริ่มจากตัวคุณ
คุณจะเริ่มลงมือทำเพื่อให้สังคมเกิดความเท่าเทียมอย่างไร?

สำหรับดิฉัน
ในวันสตรีสากล 8 มี.ค.นี้ ที่ทุกคนยอมรับว่าแม้โลกของเราจะเปลี่ยนแปลงหมุนผ่านมามากมายอย่างไร
แต่ยังเกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของสตรี
ประเทศไทยของเราพยายามพัฒนาไม่ว่าเราจะมีอดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงมาแล้ว
แต่ก็ยังเกิดปัญหานี้ขึ้นในประเทศไทยของเรา

ดิฉันเองในฐานะอดีตนักการเมืองและผู้ทำงานการเมืองในปัจจุบัน
อยากจะเห็นผู้หญิงทุกคนเข้ามาเรียกร้อง โดยการเคารพสิทธิของตนเองก่อนง่ายๆ แล้วก็กล้าที่จะเดินไปด้วยกัน
กล้าที่จะออกสิทธิ ออกเสียงของตัวเองให้มีสิทธิมีเสียงในสังคม
ดิฉันเชื่อว่าความฝันนี้ หรือความตั้งใจนี้ มันจะไม่ไกลเกินไป
เราจะต้องทำมันด้วยกันให้ได้

ดร.ธีรรัตน์ สำเร็จวานิชย์
อดีตส
.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย