นานาทัศนะ : เสียงจากแรงงานไทย โดยอดีตสส.เพื่อไทย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นที่ทราบกันดีว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในเขตนิคมอุตสาหกรรมในเขตสวนอุตสาหกรรมและนอกเขตมีโรงงานทั้งสิ้นทั้งหมด
2,500 กว่าแห่ง มีผู้ใช้แรงงาน 227,000 กว่าคน ได้รับฟังปัญหาประชาชนผู้ใช้แรงงานในโรงงานจากนิคมอุตสาหกรรม
มาสะท้อนประเด็นเรื่องสภาพการจ้างงานสภาพความเป็นอยู่ค่าครองชีพต่างๆ และเรื่องความเท่าเทียมกันของแรงงานในอยุธยาทุกวันนี้
คนที่ 1
Q: เนื่องด้วยสภาพค่าครองชีพในปัจจุบันกับค่าแรงที่ได้
เมื่อเทียบกันแล้วเป็นอย่างไร?A: ตอนนี้ค่า
ครองชีพก็สูงขึ้น
ค่าแรงปรับขึ้นแต่ค่าครองชีพสูงขึ้นมากกว่าค่าแรงที่ได้ ถัวเฉลี่ยก็ไม่พอต่อเดือนที่เราได้รับ
Q: มีปัญหาในการทำงานหรือไม่
ช่วงนี้มีปัญหาด้านใดบ้าง?
A: สำหรับบริษัทปัญหาในด้านการทำงานไม่มีเพราะเจ้านายญี่ปุ่นก็โอเค
Q: อยากจะฝากอะไรถึงรัฐบาลเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ?
A: อยากฝากให้รัฐบาลช่วยเรื่องสวัสดิการค่าครองชีพพนักงาน
เพราะว่าตอนนี้ค่าครองชีพรายวันมันสูงขึ้น แต่ก่อนเราสามารถซื้อแกงถุงละ 20 บาทได้
แต่เดี๋ยวนี้ แกงถุงละ 40 บาทค่าแรง 308 บาท ตอนเช้ากับกลางวันรวมกันเป็น 80 บาท
ค่าน้ำมันรถ การเดินทางถัวเฉลี่ยพนักงานก็เหลือไม่เท่าไหร่ต่อวันที่หาได้
อยากให้รัฐบาลมาดูสวัสดิการทุกอย่างของพนักงาน
เพราะพวกผมคือผู้ใช้แรงงานที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจขึ้นมา
คนที่สอง
Q: การจ้างงาน
ค่าจ้างในปัจจุบัน
สวัสดิการที่เราได้รับในปัจจุบันของรัฐบาลชุดนี้กับรัฐบาลชุดที่แล้วนั้น
มีอะไรแตกต่างกันบ้างหรือไม่?
A: ที่มีความแตกต่างจริงๆ
คือเรื่องค่าตอบแทน ซึ่ง ณ เวลานี้ค่าตอบแทนกับค่าครองชีพมันไม่สอดคล้องกันเท่าไหร่
เช่นชีวิตประจำวันเราใช้มากกว่ารายได้ เราได้ค่าครองชีพเพิ่มไม่มาก แต่ว่ารายจ่ายเพิ่มขึ้น
อย่างแกงเคยถุงละ 20 บาทก็เพิ่มเป็น 30-35 บาท แต่ว่าค่าแรงเราขึ้น 10 บาท มันก็ไม่เพียงพอต่อการใช้
เราต้องประหยัดมากขึ้น
Q: ปัญหาที่เจอในการจ้างงานในการทำงานในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
A: เท่าที่เห็นคือไม่มีการรับพนักงานใหม่เพื่อจะมาแบ่งเบาภาระ
มีแต่จะเอาออกเพื่อจะประคองบริษัทให้อยู่ได้โดยการลด cost ของพนักงานลงไป
ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือนต่างๆ การรับพนักงานใหม่ ใช้คนเก่าให้มีศักยภาพมากขึ้น
แรงงานก็เหนื่อยมากขึ้น แต่เงินเดือนขึ้นน้อย อย่างที่นี่ ก็ 290 บาท ที่ขึ้นมาต่อ
1 เดือน ไม่ถึงวันละ 10 บาทด้วยซ้ำไป
Q: มีอะไรอยากจะฝากให้รัฐบาลช่วยเหลือบ้างหรือไม่?
A: อยากให้รัฐบาลลดค่าครองชีพต่างๆ
ในส่วนของเครื่องอุปโภคบริโภคให้อยู่ในราคาที่เป็นมาตรฐาน เช่น สิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้มากที่สุด
น้ำมัน ข้าวสาร อุปกรณ์การใช้งาน สบู่ ของกินของใช้ในครัวเรือน เพราะว่าแพงมาก
บางอย่างเราสู้ไม่ไหว เราจำเป็นต้องใช้ แต่รายได้เราก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
Q: อยากจะฝากอะไรในวันแรงงานแห่งชาติ?
A: อยากให้รัฐบาลลงมาดูแลแรงงานให้มากกว่านี้อยากให้เข้าถึงเราหน่อย
บางทีเราถูกปิดปากปิดเสียงด้วยบริษัท เราไม่กล้าที่จะก้าวเดินออกไป
เพราะเราเดินออกไปตัวเราเองก็จะมีปัญหา เราก็ต้องรักษาสถานภาพของตัวเราไว้
อยากให้มาดูแลอย่างจริงจังกว่านี้ไม่ใช่มองผ่านๆ หรือมองรอบนอก
แล้วก็ฝากถึงเรื่องค่าใช้จ่าย อยากให้ลดลงมาเยอะๆ เพราะตอนนี้ค่าครองชีพมันสูง
แต่รายได้เราน้อยเสียจนจะอยู่ไม่ได้เลย
ก็ต้องบีบตัวเองบีบครอบครัวทุกอย่างเพื่อให้มันคงอยู่ได้
Q: มีรายได้เสริมทางด้านไหนบ้างหรือไม่?
A: เราไม่มีรายได้เสริม
เพราะว่าการทำงานโรงงานเจ็ดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น เราก็ไม่สามารถจะเสริมอะไรได้แล้ว
เสาร์-อาทิตย์ ถ้าเราไม่มีโอที การที่เราจะลงทุนอะไรแต่ละอย่าง
มันก็ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งในสถานะของพวกเราแค่ใช้ในรายวันให้คงเหลือ
ต่อหนึ่งเดือนก็ลำบากอยู่แล้ว
อยากฝากให้รัฐบาลเล็งเห็นพวกเรามากๆในวันแรงงานที่จะถึงนี้
คนที่ 3
Q: ค่าจ้างและสวัสดิการที่ได้รับในรัฐบาลชุดนี้กับรัฐบาลชุดก่อนนั้นแตกต่างกันอย่างไร?
A: ในส่วนของค่าจ้างระหว่างรัฐบาลเดิมกับรัฐบาลใหม่ก็จะแตกต่างกัน
เงินเดือนของเราก็จะเพิ่มขึ้นตามนโยบายแต่ละรัฐบาลก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือแรงงานข้างต้นแต่ถ้าเทียบกันกับค่าใช้จ่ายที่มีอยู่
ณ ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายค่าครองชีพมันค่อนข้างที่จะสูงเมื่อเทียบกันกับเงินเดือน
มันค่อนข้างที่จะทำให้ความสมดุลย์ห่างกันมาก
Q:ปัญหาในการทำงานปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
A: คิดว่าน่าจะพบเจอปัญหาด้วยกันทุกโรงงาน
เพียงแต่ใครจะเจอหนักเจอเบา
สมมุติถ้าเป็นพนักงานในฝ่ายการผลิตปัญหาก็จะเป็นในเรื่องของงานหนัก สภาพอากาศร้อน
สำหรับพนักงานออฟฟิศก็จะดีขึ้นมาหน่อยได้ทำงานในห้องแอร์แต่ก็จะถูกกดดัน
จากหัวหน้างาน จากนายจ้าง จากบริษัท ในเรื่องของการผลิตงานที่จะต้องรีบเร่ง
บางครั้งนายจ้างก็อาจจะไม่เข้าใจว่าคนใช้แรงงานอย่างเรา
อาทิตย์หนึ่งก็ต้องมีการพักผ่อน
การทำงานล่วงเวลาก็ค่อนข้างจะขัดแย้งกันกับสภาพร่างกายของพนักงาน
ตรงนี้อยากจะให้ทางนายจ้างเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพพนักงาน อยากจะให้ control
ในเรื่องของชั่วโมงโอที
Q: มีอะไรอยากจะฝากถึงรัฐบาลหรือไม่?
A: อยากจะฝากเยอะเลย
อย่างแรกคือเรื่องค่าของชีพค่าใช้จ่ายที่มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
รัฐบาลอาจจะเพิ่มเงินเดือนให้ก็จริงแต่ค่าครองชีพก็จะสูงตามมาเรื่อยๆ
ซึ่งเงินเดือนเยอะขึ้นก็จริงแต่ค่าใช้จ่ายที่ตามมาค่าน้ำค่าไฟ
อย่างล่าสุดได้ข่าวว่าค่าไฟกำลังจะขึ้นในเดือนพฤษภาคมซึ่งก็ค่อนข้างที่จะเป็นอุปสรรคกับคนใช้แรงงาน
บางทีเราอาจอุ่นใจที่ว่าเงินเดือนเราขึ้นแล้ว
แต่มองย้อนกลับไปค่าใช้จ่ายที่เราเคยมีอยู่มันไม่ใช่เท่าเดิม มันสูงขึ้น อยากจะฝากบอกให้รัฐบาลช่วยเหลือในส่วนนี้
ให้ดูการใช้ค่าใช้จ่ายในการครองชีพของประชาชนในแต่ละเดือน
ถ้าอะไรลดได้ก็อยากให้ช่วยประชาชน
Q: เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติปี
2560 มีอะไรอยากจะฝากอีกบ้าง?
A: สำหรับวันแรงงานปีนี้ก็อยากเป็นกำลังใจให้คนใช้แรงงาน
เราทำงานแลกเงิน ในเมื่อเราให้ใจกับนายจ้างนายจ้างก็ต้องมีผลตอบแทนกลับมาให้เรา
ก็อยากฝากทุกคนว่า การทำงานย่อมมีอุปสรรค ก็อยากให้อดทนและสู้เพื่อวันหนึ่งทุกคนอาจจะไม่อยากอยู่กับชีวิตการทำงานไปตลอดชีวิตทุกคนก็อาจจะอยากออกมามีอาชีพ
มีธุรกิจเป็นของตัวเองอยากจะให้อดทน ในด้านของนายจ้างก็อยากให้เห็นใจลูกจ้างอย่างเราในเมื่อเราทำงานให้คุณเต็มที่คุณก็ต้องทดแทนมีเงินพิเศษเงินโบนัสให้
เราก็เต็มที่เช่นเดียวกัน
คนที่ 4
Q: ค่าจ้างและสวัสดิการในปัจจุบันที่ได้รับในรัฐบาลปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้วแตกต่างกันอย่างไร?
A: ถ้าถามเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการขององค์กร
ณ ตอนนี้ถือว่ายังพอรับได้ จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับหน่วยงานมากกว่า
ว่าแต่ละหน่วยงานให้สวัสดิการตามที่รัฐบาลกำหนดหรือไม่ อย่างคนที่จบปริญญาตรี
ถ้าเป็นภาครัฐเขาก็จะจ่ายตามที่ รัฐบาลกำหนดแต่ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชนบางที่เขาก็อาจจะจ่ายไม่ถึง
อย่างค่าแรงรายวัน เต็มที่ก็วันละ 300 อย่างวุฒิ ปวส. วุฒิปริญญาตรี บางทีก็ไม่ถึง
Q: ปัญหาของค่าครองชีพในปัจจุบันกับเงินเดือนที่ได้รับมีปัญหาอย่างไร?
A: การประกาศปรับอัตราเงินเดือนขึ้นในแต่ละครั้งในเรื่องของค่าครองชีพมันมีผลกระทบโดยตรงแน่นอนโดยผลกระทบมันจะมีพวกค่าที่อยู่ที่กินมันก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อให้เงินเดือนเยอะแค่ไหนค่าครองชีพก็สูงขึ้น
Q: สภาพการทำงานในปัจจุบันมีปัญหาอะไรบ้าง?
A: มันเป็นเรื่องของการแข่งขันเนื่องจากทุกวันนี้การแข่งขันค่อนข้างสูง
เมื่อเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ยกตัวอย่างประเภทโรงงาน สมมุติว่า
โรงงานนี้เปิดใหม่สวัสดิการดี รับคนเป็นร้อย แต่พออยู่ตัวแล้วมั่นคงแล้ว
เขาก็ปลดคนเป็นร้อยเหมือนกัน จะสงสารพวก sub-contract ที่เขาไม่มีทางเลือกมากกว่า
เขาหางานไม่ได้ การศึกษาเขาไม่พอ เขาก็ต้องโดนปลดโดยที่จะเรียกร้องอะไรไม่ได้
เพราะเขาเป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราว
Q: มีอะไรอยากจะฝากถึงรัฐบาลหรือไม่?
A: อยากให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการให้เกิดความเสมอภาคทางด้านการศึกษา
เพราะบางทีโรงงานบางโรง ไม่รับสถาบันนี้ก็มี บางทีก็เลือกรับที่สถาบัน
เรื่องแบบนี้มีอยู่จริง และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเรื่องของการรักษาพยาบาลมันเหมือนแบ่งลำดับชั้น
ถ้าเป็นผู้ใช้แรงงานทั่วไป มันมีสิทธิประกันสังคมอยู่แล้ว พวกชาวบ้านเขาไม่มีสิทธิประกันสังคม
เขามีแค่บัตร 30 บาทฯ ถ้าวันหนึ่งไม่มีขึ้นมาก็แย่
แล้วในการรักษาพยาบาลแต่ละครั้งตัวยามันแบ่งลำดับชั้น
ถ้าการรักษาของคนที่เป็นข้าราชการสิทธิประกันสังคม บัตร 30 บาทฯ
มันค่อนข้างที่จะไม่เท่าเทียม เรื่องสุขภาพก็สำคัญ
ผู้ใช้แรงงานสุขภาพมันก็มีวันลดลงไปเรื่อยๆ มันก็เป็นองค์ประกอบ
Q: มีอะไรอยากจะฝากเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ?
A: ตามกระแสที่มีอยู่แล้วตอนนี้
จะจริงหรือไม่จริงก็ไม่แน่ใจ เรื่องที่จะยกเลิกบัตร 30 บาทฯ
ไม่อยากให้กฎหมายตัวนี้มาทำร้ายคนจน คนจนไม่มีสิทธิ์เลือกอยู่แล้ว
ทุกคนเกิดมาไม่เท่ากัน กฏหมายหรือการยกเลิกสิทธิอะไรต่างๆ อยากจะฝากตรงนี้เอาไว้