มาตรา 26 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กับสิทธิของประชาชน

บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว
ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้
และจะถูกลบหลู่เกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้”

เนื้อความส่วนหนึ่งของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(ICCPR)
ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน
เนื่องด้วยเป็นส่วนสำคัญในการธำรงไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย  แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เท่าที่ควร

หนึ่งในประเด็นสำคัญคือการมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2560
ที่มุ่งเน้นในการจำกัดความเป็นส่วนตัวและสิทธิของประชาชน

กรณีที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)
กล่าวภายหลังแถลงข่าวจับกุม นายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง
ที่ระบุข้อความความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 ว่า

ขอฝากร้านกาแฟต่างๆที่เปิดให้ผู้ใช้บริการต่อ
สัญญาณอินเตอร์เน็ต WIFI ภายในร้าน ให้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรือ Log file ของผู้ลงทะเบียนใช้ WIFI ของร้านเป็นเวลา 90 วัน
เพื่อป้องกันเมื่อมีเหตุอะไรแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจำเป็นต้องขอข้อมูลดังกล่าว
อาศัยความ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 26 ได้  ซึ่งกระทรวงได้หารือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)
แล้ว หากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษตามกฎหมาย”

รู้จัก Log
file

Log file คือ
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ แสดงถึงแหล่งกำเนิด, ต้นทาง, ปลายทาง, เส้นทาง,
เวลา, วันที่, ปริมาณ
หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลการใช้งานในโลกออนไลน์ของแต่ละคนที่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้
โดยการเก็บข้อมูลนี้จะครอบคลุมอีเมล เวปเบราเซอร์ และแอปพลิเคชัน
ซึ่งรวมไปถึงโซเชียลมีเดียต่างๆด้วย

มาตรา 26 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

หากดูมาตรา 26 ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ปี พ.ศ. 2550 
มีเนื้อความระบุให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน
แต่ไม่เกินหนึ่งปี เป็นกรณีพิเศษ เฉพาะราย และเฉพาะคราว ก็ได้”

และให้
“ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็น
เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ
และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง”
หากผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา 9 ร้านค้าอาจถูกลงโทษด้วย

ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด”

รายละเอียดในมาตรานี้  แม้ร้านค้าจะเป็นเพียงผู้เปิดให้ใช้ WIFI
ได้ฟรี แต่เมื่อเกิดเหตุแล้ว
ตามกฏหมายถือว่าผู้ให้บริการรู้เห็นเป็นใจและจงใจปิดบังผู้กระทำความผิด
โดยจะต้องระวางโทษเท่ากับผู้กระทำความผิดด้วย

ผลกระทบของกฎหมายต่อประชาชนและร้านค้าผู้ให้บริการ

หากดูเนื้อหาของกฎหมายและที่นายพุทธิพงษ์
รัฐมนตรีกระทรวงดีอีกล่าว พบว่าการดำเนินการตามมาตรา 26 กระทบหลายฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้าที่ให้บริการ
และประชาชนผู้ใช้บริการฟรี WIFI ดังนี้

1.ต้นทุนจัดการของร้านค้าที่ให้บริการฟรี
WIFI เพิ่มขึ้น
เนื่องจากต้องใช้ระบบในการเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และแนวทางการปฎิบัติของให้เป็นไปตามแนวทางที่รัฐกำหนดไว้ในกฎหมาย
ที่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด

2.เป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
ในการเก็บข้อมูลการใช้บริการของประชาชน
ซึ่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีกำหนดว่าบุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัวมิได้

โดยรัฐได้พุ่งเป้าไปที่การป้องกันเมื่อมีเหตุอื่นใด
เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลได้ทุกเมื่อ
แต่รัฐไม่ได้มุ่งเน้นในการป้องกันสิทธิส่วนตัวของประชาชน

การดำเนินการดังกล่าวอาจเป็นเครื่องมือในการจำกัดการใช้เสรีภาพด้านการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์
โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล 
แม้สถิติที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์กลับมีระดับที่ต่ำก็ตาม

การเกิดขึ้นของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี
พ.ศ.2550 เกิดขึ้นในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร
และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ ปี พ.ศ.2560 (ฉบับ 2) เกิดขึ้นในรัฐบาลทหาร ที่มาจากการรัฐประหารเช่นกัน นั่นหมายความว่ากฎหมายทั้งสองฉบับ  ตราขึ้นในช่วงที่มีการรัฐประหาร
มีสภานิติบัญญัติที่พิจารณากฎหมายมาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่สภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
มุมมองกฎหมายจึงเป็นไปในมิติด้านความมั่นคงเพียงด้านเดียว ละเลยความคิดเห็นของประชาชน  ละเลยสิทธิเสรีภาพของประชาชน

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ถูกต่อต้านจากประชาชนและระดับโลกอย่างมาก
เช่น 5 องค์กรสิทธิมนุษยชนระดับโลกออกแถลงการณ์คัดค้าน เนื่องด้วยไม่ตอบสนองต่อข้อกังวลด้านสิทธิมนุษชนระดับโลก
และเกิดการล่ารายชื่อยกเลิกของประชาชนในวงกว้าง

งานวิจัยหัวข้อ
“ผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
และนโยบายของรัฐกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ระบุว่า พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ มีเนื้อหาปิดกั้น คลุมเครือ กำกวม และเนื้อหาของกฎหมายไม่ชัดเจน
ไม่มีประเทศใดที่กำหนดความผิดและโทษสำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือตัวกลางไว้
“เท่ากับ” ผู้เผยแพร่เนื้อหาที่เป็นความผิด

จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะให้ประโยชน์ต่อรัฐบาลที่สามารถปิดกั้นกลุ่มคนที่วิจารณ์รัฐบาลและปิดกั้นข้อมูลต่อประชาชน
ในตัวบทกฏหมายยังคลุมเครือและกำกวม แต่สำหรับประชาชนกลับให้โทษในวงกว้าง
ซ้ำยังไม่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน 
ผู้อยู่ใต้กฎหมายกฎหมายฉบับนี


อ้างอิง
-งานวิจัยพรบ.คอมพ์ละเมิดสิทธิ,
https://ilaw.or.th/node/1757
-5 องค์กรสิทธิแถลงการณ์ ,https://www.matichon.co.th
-เตือนร้านค้าเปิดfree
wifiให้ลูกค้าต้องเก็บ logfile 90 วัน, https://www.komchadluek.net