นโยบาย

One Family One Soft Power และ Thailand Creative Content Agency

HIGHLIGHT

นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์พาวเวอร์ จะยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง

นโยบาย One Family One Soft Power 

ส่งเสริมผลักดันซอฟท์พาวเวอร์ไทยไปทั่วโลกโดยเริ่มต้นจากการ “พัฒนาคน” (นโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power) โดยจะเฟ้นหาศักยภาพของคนไทยทุกครอบครัว อย่างน้อยครอบครัวละ 1 คน เพื่อนำมาส่งเสริมบ่มเพาะศักยภาพ ผ่าน “ศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์” ที่จะมีในทุกระดับตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ไปจนถึงระดับประเทศ ให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะสร้างสรรค์ของตัวเองในทุกด้าน  ไม่ว่าทักษะด้านการทำอาหาร ร้องเพลง ออกแบบ ศิลปะ กีฬา และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะ “ไม่เสียค่าใช้จ่าย” เพื่อสร้างแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน ที่มีรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี

นอกจากสร้างคนแล้ว เราจะ “สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง” เพื่อรองรับแรงงานทักษะสูง โดยจะสนับสนุนทุกอุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์ ผ่านการปลดปล่อยเสรีภาพ ปลดล็อคกฎหมาย ทลายทุกอุปสรรค สนับสนุนเงินทุน ขยายการส่งออกผ่านนโยบายต่างประเทศ โดยมี “THACCA” (Thailand Creative Content Agency) ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จและงบประมาณที่เพียงพอทำหน้าที่สร้างระบบนิเวศทั้งหมดเพื่อสร้างอุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์ไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์พาวเวอร์ จะยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง สร้างอุตสาหกรรมให้เติบโต สร้างเงินเข้าประเทศมหาศาล และสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านซอฟท์พาวเวอร์

THACCA เพื่อ “ซอฟต์พาวเวอร์ไทย” เพื่อไทยจะทำอะไรบ้าง?

การผลักดัน Soft Power ไทยจะเป็นจริงได้ ต้องทำทั้งระบบด้วยการ “สร้างแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน” ด้วยนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power (OFOS) และต้อง “สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง” ด้วยเจ้าภาพหลัก คือ Thailand Creative Content Agency (THACCA) ที่จะดูแล Soft Power อย่างเป็นระบบ ครบวงจร

THACCA (ทักก้า) จะทำอะไรบ้าง เพื่อผลักดัน Soft Power ไทยอย่างครบวงจร

  1. THACCA ดูทั้งระบบ จบที่เดียว เป็นเจ้าภาพหลัก ดูทั้งระบบเบ็ดเสร็จองค์กรเดียว ไม่ต้องประสานงานวิ่งหลายหน่วยงาน
  2. กองทุนรวมซอฟต์พาวเวอร์ รวมกองทุนที่กระจัดกระจายในหลายหน่วยงานให้อยู่ภายใต้การดูแลของ THACCA และเติมทุนให้ทุกสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ลดหย่อนภาษีสร้างแต้มต่อให้รายเล็กและรายใหม่
  3. ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขยาย TCDC ครบทุกจังหวัด เพิ่ม Co-Working Space สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร เชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งมวลชน และลงทุนถนน ราง เรือ ขยายสนามบิน
  4. ยกระดับคนทำงานด้วย 1 ครอบครับ 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) สร้างศูนย์บ่มเพาะเพื่อยกระดับศักยภาพสร้างสรรค์ทุกพื้นที่ เรียนฟรีมีเงินเดือนผ่านการเรียนไปทำงานไป สนับสนุนให้ตั้งสหภาพคนทำงานในทุกสาขา เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจ้างงานและคุ้มครองสวัสดิการ 
  5. รื้อกฎหมาย ทลายอุปสรรค เลิกงานเอกสาร ลดขั้นตอน ลัดเวลา ในการประสานงานและขอใบอนุญาตทุกฉบับ แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรค ปลดล็อคสุราเสรี ปลดล็อคเวลาเปิดปิดธุรกิจกลางคืน กวาดล้างขบวนการรีดไถ่จ่ายส่วนให้หมดไป
  6. ปลดปล่อยเสรีภาพในการแสดงออก เลิกเซนเซอร์ เปิดพื้นที่แสดงออก ไม่ตีกรอบความคิดสร้างสรรค์
  7. เร่งผลักดัน 8 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป้าหมาย เร่งส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ เจรจาเปิดตลาดใหม่ ขยายขนาดอุตสาหกรรม สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง

 

THACCA นโยบายเพื่อ “ศิลปะร่วมสมัย” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “ศิลปะร่วมสมัย” ไทย

  1. ปรับปรุงกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ย้ายกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยมาอยู่ภายใต้ THACCA และปรับปรุงระเบียบกองทุนเพื่อสนับสนุนศิลปะร่วมสมัยอย่างครอบคลุม รวมถึงสนับสนุนให้ศิลปินไปแสดงงานศิลปะและส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ
  1. ปลดล็อคทุกความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยัดเยียดตีกรอบ ไม่กำหนดค่านิยมในการสนับสนุนศิลปะ ระเบิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
  1. แก้กฎหมาย คลายระเบียบ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ศิลปินสามารถจดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรได้ง่ายขึ้น และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับเอกชนที่สนับสนุนด้านศิลปะ
  1. ลดภาษีอุปกรณ์ศิลปะ เหลือ 0% ลดภาษีอุปกรณ์ศิลปะจากเดิมที่เก็บอยู่ 10% ให้เหลือ 0% เพื่อให้ศิลปินได้ใช้อุปกรณ์ที่ดีในราคาถูก
  1. คูปองท่องฝัน แจกคูปองท่องฝันให้แก่เยาวชนเพื่อนำไปดูงานสร้างสรรค์ได้ทุกสาขา ไม่ใช่เฉพาะศิลปะเท่านั้น แต่รวมถึงไปซื้อหนังสือ ดูคอนเสิร์ต เสพดนตรี และอื่นๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สานฝันเด็กไทย
  1. 1 ตำบล 1 ลานสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ศิลปินสามารถแสดงผลงานได้อย่างเต็มที่ในทุกเขตทุกตำบลทั่วประเทศ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “ศิลปะร่วมสมัย” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในวงการศิลปะเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้วงการศิลปะไทยไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

 

THACCA นโยบายเพื่อ “งานออกแบบ งานฝีมือ และแฟชั่น” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “ศิลปะร่วมสมัย” ไทย

  1. TCDC ครบทุกจังหวัด สร้าง ศูนย์สร้างสรรค์และออกแบบ (TCDC) ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  1. Designer Lab สร้างคนรุ่นใหม่ สร้างแล็บเพื่อพัฒนาการออกแบบและบ่มเพาะดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่
  1. เรียนฟรี มีทุนให้ เพิ่มทักษะนักออกแบบ ผ่านศูนย์บ่มเพาะของนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) ฟรี! รวมถึงสนับสนุนทุนเรียนต่อด้านการออกแบบในต่างประเทศ
  1. จัดเทศกาลงานออกแบบระดับโลก กลับมาจัดงานเทศกาลด้านการออกแบบระดับนานาชาติในไทยอีกครั้ง เพื่อปักหมุดประเทศในเทศกาลงานออกแบบระดับโลก
  1. ช่วยส่งออก พาไปจัดแสดง รัฐจะช่วยเอกชนในการส่งออกผลงาน สินค้าออกแบบ และพาไปจัดแสดงงานที่ต่างประเทศ รวมถึงพานักออกแบบไทยไปจดลิขสิทธิ์ที่ต่างประเทศ
  1. งานออกแบบไทยสู่เวทีโลก THACCA จะตั้งร้านเพื่อขายสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าออกแบบ/แฟชันไทย และสินค้า OTOP ณ ใจกลางมหานครใหญ่ทั่วโลก

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “งานออกแบบ งานฝีมือ และแฟชั่น” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในวงการออกแบบเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้วงการออกแบบไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

THACCA นโยบายเพื่อ “การท่องเที่ยว” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “การท่องเที่ยว” ไทย

  1. เร่งผลักดันการท่องเที่ยวศักยภาพสูง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) การท่องเที่ยวทางน้ำ (Cruises) และอุตสาหกรรมการจัดแสดงและประชุม หรือธุรกิจไมซ์ (MICE) เพื่อดึงนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงมาเที่ยวในไทย รวมถึงผลักดันเทศกาลไทยให้ใหญ่ระดับโลก
  1. กองทุนเพื่อการท่องเที่ยวไทย ให้ธุรกิจท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งทุนและประกันความเสี่ยงกรณีเกิดวิกฤต เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวแข็งแรง
  1. รื้อกฎหมาย ปลดล็อคทุกอุปสรรค เลิกกฎหมายปิดกั้นโอกาสทำมาหากิน เช่น ปลดล็อค job order ปลดล็อคเวลาเปิด-ปิดธุรกิจกลางคืน เลิกกำหนดเวลาซื้อขายแอลกอฮอล์ รวมทั้งทลายขบวนการรีดไถจ่ายส่วย
  1. เติมคนเก่ง ยกระดับคุณภาพคนทำงาน เพิ่มทักษะผ่านศูนย์บ่มเพาะของนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) ฟรี! รวมถึงสนับสนุนทุนเรียนต่อด้านการท่องเที่ยว และรื้อระบบ VISA เพื่อดึงแรงงานคุณภาพสูงมาทำงานในไทยและเพิ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
  1. อัพเกรดสนามบินสุวรรณภูมิ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 100 ล้านคนต่อปี และยกระดับให้มีคุณภาพติดอันดับ 1-10 ของโลก
  1. ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมทั่วประเทศ เร่งลงทุนในระบบขนส่ง ถนน ราง เรือ เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน รวมถึงเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกตามแหล่งท่องเที่ยว เช่น ห้องน้ำ ที่จอดรถ ตู้กดน้ำ Free Wifi

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “การท่องเที่ยว” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

THACCA นโยบายเพื่อ “กีฬา” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “กีฬา” ไทย

  1. ยกระดับมวยไทย ไปมวยโลก จัดทัวร์นาเมนต์มวยไทยกระจายไปทั่วโลก เพื่อให้มวยไทยเป็นกีฬาที่ทั่วโลกเข้าถึงได้ง่าย
  1. สร้างโอกาสใหม่ เพื่อฟุตบอลไทย ยกระดับมาตรฐานฟุตบอลไทย พัฒนาลีกเยาวชนและยุวชนทั่วประเทศ พาบอลไทยไปเวทีโลก
  1. ดึงการแข่งขันกีฬาระดับโลก ดึงดูดให้การแข่งขันและการจัดประชุมเสวนากีฬาระดับโลกมาจัดที่ประเทศไทย
  1. ยกระดับศักยภาพนักกีฬาไทย สร้างศูนย์ฝึกกีฬาที่โรงเรียนใกล้บ้านโดยผู้สอนมืออาชีพ และยกระดับสวัสดิการนักกีฬาอาชีพและขยายสู่นักกีฬาสมัครเล่น
  1. 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจพลัส (OSOS) จับคู่รัฐวิสาหกิจที่มีกำไรและหน่วยงานรัฐ-เอกชนมาสนับสนุนสมาคมกีฬา
  1. ยกเครื่องกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กองทุนสามารถสนับสนุนนักกีฬาไทยได้อย่างเต็มที่ และสนับสนุนให้นักกีฬาไทยไปแข่งขันในเวทีต่างประเทศ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “การกีฬา” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในวงการกีฬาไทยเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้การกีฬาไทยไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

นโยบาย สร้างโอกาสใหม่ เพื่อฟุตบอลไทย

ความเป็นมา

ย้อนกลับไป ปี 2543 พรรคไทยรักไทยได้ริเริ่มโครงการ สตรีท ซอคเกอร์
( Street soccer) ทั่วประเทศ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้จุดประกายให้เยาวชนที่มีใจรักในกีฬาฟุตบอลให้หันมาเล่นกีฬานี้อย่างจริงจัง นักกีฬาที่จัดอยู่แถวหน้าของการแข่งขัน ได้รับโอกาสไปฝึกซ้อมในต่างประเทศกับทีมชั้นนำ เช่น ทีมฟูแลม
( Fulham F.C. )

หลักการ

กีฬาถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บรรยากาศของความรัก ความสามัคคี และการรวมใจกัน เกิดขึ้นเมื่อคนไทยได้ร่วมเชียร์นักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันระดับนานาชาติหรือระดับโลก รวมทั้งกีฬายังมีส่วนสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ  พรรคเพื่อไทยจึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาการกีฬา

ฟุตบอลคือกีฬายอดนิยม ดังนั้นฟุตบอลไทยจึงควรได้รับการสนับสนุนที่มากพอ ทั้งในแง่เงินทุนและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เพื่อสร้างนักฟุตบอลอาชีพ ผู้ตัดสินอาชีพ โค้ชอาชีพ ซึ่งเป็นหัวใจและรากฐานสำคัญของกีฬาฟุตบอล

เป้าหมาย

  1. ยกระดับมาตรฐานกีฬาฟุตบอลไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ สร้างนักกีฬาสมัครเล่น ไปสู่นักกีฬาฟุตบอลอาชีพระดับโลก
  2. พัฒนาอย่างเป็นระบบ ( Ecosystem ) เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้
    ให้กับนักกีฬา ตลอดจนผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอน นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจ

แนวทางปฎิบัติ

  1. มอบหมายให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จัดลีกเยาวชนและยุวชนทั่วประเทศ (Youth League)  โดยมีจำนวนทีมทั้งสิ้น 400 ทีม แบ่งอายุเป็น U13, U15, U17, U19 คาดว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมอย่างน้อย 10,000 คน ทีมต่างๆ จะมาจากสโมสรฟุตบอลต่างๆ สมาคมกีฬาจังหวัดและ อื่นๆ
  2. นักกีฬาที่มีศักยภาพสูง จะได้รับการคัดเลือกเข้า ไปอยู่ใน Talent Center เพื่อรับการส่งเสริมให้มีโอกาสไปฝึกซ้อมในต่างประเทศ ซึ่ง กกท. ต้องเชื่อมโยงกับลีกอาชีพในต่างประเทศ เช่น English Premier League เพื่อสร้างช่องทาง ให้นักกีฬาเยาวชนได้ไปฝึกฝนต่อไป
  3. จัดให้มีการถ่ายทอดสด การแข่งขันคู่สำคัญผ่านช่องทางทีวีของรัฐ รวมไปถึงช่องทางอื่นๆ เช่น  Facebook และ YouTube
  4. ให้เครือข่ายกกท. จังหวัด เก็บข้อมูลของนักกีฬาไว้ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างนักฬากับสโมสรต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับโลก
  5. ผลักดันโครงการพัฒนาผู้ตัดสินและโครงการพัฒนาผู้ฝึกสอน เพื่อให้การตัดสินและการฝึกสอน ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ
  6. งบประมาณในการกำหนดนโยบายจากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ 200 ล้านบาท และงบประมาณจากภาคเอกชน 100 ล้านบาท

กรอบเวลา

เริ่มดำเนินการภายใน 100 วัน หลังจัดตั้งรัฐบาล โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้รับผิดชอบ

ผลลัพธ์และดัชนีชีวัด (KPI)

  1. นักฟุตบอลไทยจะต้องได้ไปเล่นในลีกระดับนานาชาติมากขึ้น
  2. มีการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับบุคลากรของวงการฟุตบอลมากขึ้น

‘1 กีฬา  1 รัฐวิสาหกิจ พลัส’ สร้างโอกาสนักกีฬาไทยได้แสดงศักยภาพในเวทีโลก

ในสถานการณ์ปัจจุบัน วงการกีฬาไทยต้องเผชิญกับยุคตกต่ำ เพราะภาครัฐไร้ความเข้าใจ ขาดการสนับสนุนนักกีฬา ทำให้นักกีฬาไทยไม่ได้รับการอุดหนุนในการแข่งขันระดับโลกอีกต่อไป

โดยนโยบายนี้ เดิมทีมาจากโครงการ ‘1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ’ ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549 ที่มีการมอบหมายให้กระทรวงการคลังกําหนดนโยบาย ให้รัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการดีหันมาสนับสนุนงบประมาณให้กีฬาสากลที่มีความหวังจะสร้างผลงานในการแข่งขันระดับนานาชาติ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

แต่หลังจากการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยต่างๆ ได้ทยอยถูกยกเลิกการสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือเพียงสมาคมกีฬา

เทควันโดแห่งประเทศไทย ที่ยังได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจากธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ทำให้โครงการ ‘1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ’ ถูกล้มเลิกไป

นโยบายนี้ดำเนินอยู่บนหลักการว่าด้วยกีฬานั้นมีความสําคัญในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างไรก็ดีนักกีฬาในระดับ “เป็นเลิศ” ใน ประเทศไทยแม้มีศักยภาพ แต่ยังขาดการสนับสนุน โดยเฉพาะการสนับสนุนในด้านงบประมาณเพื่อนําไปใช้พัฒนานักกีฬาให้สร้างผลงานในการแข่งขันระดับนานาชาติ

แม้ว่าภาครัฐจะมีงบประมาณจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และกองทุนพัฒนากีฬา แต่งบประมาณดังกล่าวมีขีดจํากัดในการใช้ และมีการจัดสรรงบฯ เป็นลักษณะปีต่อปี ทําให้สมาคมกีฬาไม่สามารถวางแผนในระยะยาวได้

ดังนั้นหลักการของโครงการ ‘1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ พลัส’ คือผลักดันให้ รัฐวิสาหกิจรวมไปถึงหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่มีกำไรสุทธิในแต่ละปีมากพอให้สนับสนุนกีฬาได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มีกำไรในปี 2565 11,093 ล้านบาท

โดยมีการวางแผนระยะยาว 4 ปี โดยมีเป้าหมายให้กีฬาต่างๆ ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ พร้อมกับสร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนชาวไทยในระดับนานาชาติ อาทิ ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ และอื่นๆ

ทั้งหมดเพื่อฟื้นฟูยุคทองของกีฬาไทย ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ให้นักกีฬาไทยได้ไปไกลในระดับสากล มีโอกาสคว้าเหรียญทองในโอลิมปิก เอเชียนเกมส์และซีเกมส์

โดยมีแนวทางปฏิบัติเพื่อการดำเนินงานที่โปร่งใสชัดเจน และมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวทางปฏิบัติขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. กระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน มีผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นเลขา มีคณะกรรมการประกอบด้วย ตัวแทนรัฐวิสาหกิจต่างๆ และผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
  1. มอบหมายให้สมาคมกีฬาต่างๆ ได้มอบแผนพัฒนากีฬาของตนเองมา

ที่คณะกรรมการโดยผ่านผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณา

  1. หลักในการพิจารณาคือจะให้ความสําคัญเริ่มจากกีฬาสากลที่มีในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ตามมาด้วยใน มหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ และซีเกมส์ และจะต้องเป็นกีฬาที่สามารถหวังผลเป็นเลิศได้
  1. บางรัฐวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่และผลประกอบการดี อาจจําเป็นต้องให้ “ดูแล” มากกว่า 1 สมาคมกีฬารวมทั้งมีการกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบและวัดผลโครงการ ดังนี้
  • สมาคมกีฬาต้องให้สิทธิผู้สนับสนุนมีที่นั่งในคณะกรรมการของสมาคมฯ อย่างน้อย 1 ที่นั่ง
  • สมาคมกีฬาต้องส่งรายละเอียดทางการเงินให้ผู้สนับสนุนทุกๆ ไตรมาศ และงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วทุกปีเพื่อความโปร่งใส
  •  สมาคมกีฬาต้องแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาของกีฬาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการแข่งขันต่างๆ ในระดับนานาชาติเป็นเครื่องวัด
  • หากพรรคเพื่อไทยได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล นโยบาย ‘1 กีฬา  1 รัฐวิสาหกิจ พลัส’ จะได้รับดำเนินการทันและเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 100 วัน

THACCA นโยบายเพื่อ “อาหาร” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “อาหาร” ไทย

  1. ครัวไทยสู่ครัวโลกต้องกลับมา สนับสนุนการขยายร้านอาหารไทยและสร้างเครือข่ายร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เพิ่มเร่งการส่งออกและวัตถุดิบจากไทย
  1. เพิ่มทุนให้ร้านอาหารไทย ให้ทุนและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจอาหารและร้านอาหารไทยทั้งในและต่างประเทศ โดยสามารถใช้สินทรัพย์ของร้านมาประเมินวงเงินได้
  1. ปลดล็อคกฎหมายที่เป็นอุปสรรค แก้กฎหมายปิดโอกาสทำมาหากิน ปลดล็อคสุราชุมชนจากสินค้าเกษตรไทย ปลดล็อคช่วงเวลาซื้อขายแอลกอฮอล์ ปลดล็อคเวลาเปิดปิดธุรกิจกลางคืน และ THACCA จะอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตเบ็ดเสร็จที่เดียว
  1. ขยายพื้นที่ Street Food รัฐเช่าพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อสร้าง Street Food Center และยกระดับมาตรฐานความสะอาดของ Street Food ไทย รวมถึงล้างบางขบวนการรีดไถจ่ายส่วยอย่างเด็ดขาด ไม่ให้เป็นภาระของผู้ประกอบการ
  1. วัตถุดิบดี เกษตรกรมีรายได้ สร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียนสอนทำอาหารกับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้มีวัตถุดิบที่ดี สดใหม่ และมีคุณภาพในการเรียนการสอนทำอาหาร
  1. เรียนทำอาหาร งานดี มีเงินเดือน จับคู่โรงเรียนสอนทำอาหารกับร้านอาหาร เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกงานช่วงเรียนแบบได้ค่าแรง และเมื่อเรียนจบจะสามารถทำงานกับร้านอาหารได้ทันที โดยร้านอาหารที่สนับสนุนการฝึกงานจะได้รับการลดหย่อนภาษี

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “อาหาร” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในอุตสาหกรรมอาหารไทยเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้อาหารไทยไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

THACCA นโยบายเพื่อ “ภาพยนตร์” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “ภาพยนตร์” ไทย

  1. กองทุนภาพยนตร์ เพิ่มโอกาสคนทำหนัง จะเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตหนังที่ครอบคลุมทั้งหนังอิสระและหนังกระแสหลัก
  1. เพิ่มช่องทางหาทุนสร้างหนัง เปิดโอกาสให้คนทำหนังเข้าถึงเงินทุน เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำได้ง่ายขึ้นโดยให้สามารถใช้สัญญาจ้างสร้างหนังเป็นหลักประกัน และเปิดช่องทางระดมทุนทางอื่นให้คนสร้างหนังสามารถระดมทุนในช่องทางที่หลากหลายได้
  1. เลิกมาตรการเซนเซอร์ ไม่มีคำว่า “ห้ามฉาย” อีกต่อไป ยกเลิกมาตรการเซนเซอร์หนังอย่างเด็ดขาด ปลดปล่อยและคุ้มครองเสรีภาพทำคนหนังอย่างเต็มที่ ผ่านการแก้กฎกระทรวง ทำได้ภายใน 100 วัน
  1. ยกระดับคุณภาพงาน สนับสนุนให้ตั้ง สหภาพคนทำงาน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจ้างงานให้กับคนกอง เช่น ค่าตอบแทน ชั่วโมงทำงาน และสวัสดิการ เพิ่มทักษะคนกองถ่าย ผ่านศูนย์บ่มเพาะของนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ รื้อฟื้นทักษะเดิม เติมคนเก่งเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบ
  1. THACCA อำนวยความสะดวกในการถ่ายทำ THACCA จะอำนวยความสะดวกกองถ่ายเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องวิ่งประสานหลายหน่วยงาน ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเลิกเอกสาร ลดขั้นตอน ลัดเวลาในการขออนุญาตถ่ายทำ
  1. หนังไทยได้ฉาย ไม่ถูกกีดกัน หนังไทย-ท้องถิ่น ต้องมีรอบฉาย ไม่ถูกกัดกัน โดยรัฐจะเข้าสนับสนุนด้วยการเช่าโรงภาพยนตร์ของเอกชนเพื่อฉายหนังไทย-ท้องถิ่น
  1. เพิ่มโอกาสให้หนังไทย รัฐจะสนับสนุนหนังอิสระ เพื่อให้หนังอิสระเป็นพื้นที่ทดลองเทคนิคการเล่าเรื่องแนวใหม่ บ่มเพาะฝีมือ สร้างความหลากหลาย และเป็น R&D ให้หนังกระแสหลัก รัฐจะช่วยขยายตลาดหนังไทย และสนับสนุนหนังไทยไปเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก
  1. ขยายจินตนาการคนสร้างหนัง ลงทุนสร้าง Virtual Studio และ Virtual Production Stage เพื่อให้ทุกจินตนาการสามารถถ่ายทอดออกมาได้จริง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “ภาพยนตร์” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้ภาพยนตร์ไทยไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

 

THACCA นโยบายเพื่อ “หนังสือ” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “อุตสาหกรรมหนังสือ” ไทย

  1. ลดภาษีมูลค่าเพิ่มกระดาษ 0%  ลดภาษีมูลค่าเพิ่มกระดาษและภาษีอุปกรณ์ศิลปะต่างๆ เหลือ 0% เพื่อลดต้นทุนในการพิมพ์หนังสือ
  1. ปลดปล่อยทุกจินตนาการ  หยุดตีกรอบ ไม่ปิดกั้นเสรีภาพ เลิกแบนหนังสือ ระเบิดทุกพลังสร้างสรรค์
  1. ขยายห้องสมุดทั่วประเทศ  พัฒนาห้องสมุดและขยายห้องสมุดให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงหนังสือได้ถ้วนหน้า
  1. กองทุนพัฒนาหนังสือ  นักเขียน นักแปล สำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ สามารถเข้าถึงทุนได้ง่ายขึ้นโดยไม่ถูกกีดกัน
  1. แปลหนังสือไทยสู่สายตาทั่วโลก  สนับสนุนทุนการแปลหนังสือไทยเป็นภาษาต่างประเทศ และส่งเสริมการส่งออกหนังสือไทยสู่สายตาคนทั่วโลก

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “หนังสือ” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในวงการหนังสือเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้วงการหนังสือไทยไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

THACCA นโยบายเพื่อ “ดนตรีและเฟสติวัล” ไทย

นอกจาก THACCA จะดูนโยบายส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมแล้ว THACCA ยังต้องลงรายละเอียดทำนโยบายส่งเสริมแต่ละอุตสาหกรรม Soft Power และนี่คือ นโยบายเพื่อ “ดนตรีและเฟสติวัล” ไทย

1. THACCA อำนวยความสะดวก ครบจบที่เดียว
เลิกเอกสาร ลดขั้นตอน ลัดเวลา THACCA จะอำนวยความสะดวกเบ็ดเสร็จ ผู้ประกอบการไม่ต้องวิ่งไปขออนุญาตหลายหน่วยงาน

2. ทลายขบวนการรีดไถจ่ายส่วย
ลดต้นทุนแฝงของผู้ประกอบการ สร้างความเป็นธรรมให้คนทำงาน ด้วยการปราบปรามขั้นเด็ดขาด

3. ปลดล็อคกฎหมายที่เป็นอุปสรรค
ปลดล็อคธุรกิจสุราให้เป็นสปอนเซอร์ธุรกิจดนตรีได้ ปลดล็อคสุราชุมชน ปลดล็อคช่วงเวลาซื้อขายแอลกอฮอล์ ปลดล็อคช่วงเปิดปิดธุรกิจกลางคืน รวมทั้งแก้กฎหมายทุกฉบับที่เป็นอุปสรรคแก่ผู้ประกอบการ

4. เพิ่มพื้นที่จัดแสดงดนตรี
เปิดพื้นที่สาธารณะในการแสดงดนตรี และอนุญาตให้ใช้สถานที่ราชการเพื่อจัดแสดงดนตรีได้ในราคาไม่แพง เช่น ค่ายทหาร ศูนย์ราชการ และอื่นๆ

5. เพิ่มทุนสนับสนุนดนตรี
กองทุนรวม Soft Power จะเข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดแสดงดนตรีและทัวร์คอนเสิร์ตในต่างประเทศ รวมถึงเปิดโอกาสให้นักดนตรีหรือผู้เริ่มประกอบกิจการเพลงสามารถเข้าถึงทุนได้ง่ายมากขึ้น

6. ไม่ตีกรอบ ส่งเสริมอย่างเท่าเทียม
สนับสนุนดนตรีอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม ทั้งดนตรีไทยเดิมและดนตรีร่วมสมัยอย่างเต็มที่ เลิกตีกรอบ ไม่กำหนดค่านิยมว่าต้องเป็นดนตรีแบบใดที่ควรได้รับการสนับสนุน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อ “ดนตรีและเฟสติวัล” ไทย เพราะ THACCA จะมีกลไกให้คนในอุตสาหกรรมดนตรีและเฟสติวัลเข้ามาช่วยกำหนดและผลักดันนโยบายที่ควรจะมี เพื่อให้ดนตรีและเฟสติวัลไปไกลกว่าที่เป็นอยู่

SHARE