“นรวิชญ์” ตั้งข้อสังเกต มติคณะทำงานร่วม ป.ป.ช. รวบรัด รีบสั่งฟ้องอาญาหวังสร้างกระแสก่อนที่ประชุม สนช. มีมติถอดถอน

          นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี
ตั้งข้อสังเกตต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการสูงสุดกับ
ป.ป.ช.
ในการพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ของอัยการสูงสุดว่าได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ด้วยความชอบธรรมหรือไม่
ทั้งนี้ เนื่องจาก ที่ตนตั้งข้อสังเกต
เพราะได้ไปยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดรวม 2 ครั้ง ภายหลังที่ ป.ป.ช.
ส่งสำนวนคดีอาญาโครงการรับจำนำข้าวมายังอัยการสูงสุด
และต่อมาอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะทำงานที่มีนายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์
เป็นหัวหน้าคณะทำงานในเบื้องต้นคณะทำงานได้สรุปข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากสำนวน
ป.ป.ช. แล้ว อัยการสูงสุดได้ชี้ ข้อไม่สมบูรณ์รวม 3 ประเด็น อาทิเช่น
คดีนี้ไม่มีหลักฐานทุจริต มีเพียงปกรายงาน TDRI ให้สั่งสอบว่ามีการทุจริตในขั้นตอนใด เป็นต้น
และครั้งสุดท้ายตนได้ไปยื่นขอความเป็นธรรมตามที่อัยการสูงสุดชี้ข้อไม่สมบูรณ์
ปรากฏว่า เมื่อ 16 มกราคม 2558 นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ได้ตอบข้อซักถามในสภาฯ
ในลักษณะชี้นำทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นความลับว่ามีการตกลงระหว่างคณะทำงานร่วม
ระหว่างฝ่ายอัยการสูงสุดและฝ่าย ป.ป.ช.
เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าคณะทำงานร่วมมีมติเห็นว่าคดีมีมูล
มีข้อตกลงกันได้ว่าอัยการสูงสุดจะฟ้องคดีอาญาโครงการรับจำนำข้าวให้กับ ป.ป.ช.
ซึ่งเป็นข้อพิรุธว่าเหตุใด นายวิชาฯ จึงกล้าพูดชี้นำเช่นนั้น
แต่ความมาปรากฏต่อมาว่า นายวุฒิพงศ์ฯ หัวหน้าคณะทำงานร่วมระหว่างฝ่ายอัยการสูงสุด
กับฝ่าย ป.ป.ช. แถลงข้อเท็จจริง วันที่ 21 มกราคม 2558 ว่า “ตนในฐานะหัวหน้าคณะทำงานไม่เห็นทราบเรื่องที่
ป.ป.ช. ไปออกข่าว ไปประชุมกันตอนไหน
ยังงงว่าทำไมไม่เชิญตนเพราะคณะทำงานร่วมยังไม่สรุปเรื่องเลย
ยังอยู่ขั้นตอนรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่ไม่สมบูรณ์ สอบพยานเพิ่มเติม 2 ปาก
ยังไม่ถึงไหน
ยังไม่รายงานเลย…และยืนยันว่าการพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ในคดีนี้ต้องพิจารณาคำให้การของพยานที่สอบเพิ่มเติมและหลักฐานต่างๆ
ที่ฝ่าย ป.ป.ช. ขอจากหน่วยราชการมาให้ครบถ้วนเสียก่อน” จากข่าวนี้
ทำให้เห็นว่าคำสั่งของอัยการสูงสุดยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้ครบถ้วนเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

          นอกจากนี้
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กลับให้ข่าวยืนยันว่าได้มีการประชุม
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 มีตัวแทนฝ่าย ป.ป.ช. 10 คน และตัวแทนฝ่ายอัยการสูงสุด
3 คน โดยยืนยันว่าเป็นการประชุมที่สมบูรณ์แล้ว
และอ้างว่าที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าขณะนี้ข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวนคดีนางสาวยิ่งลักษณ์
ฯ นั้น ได้มีการสอบพยานบุคคลและหาพยานหลักฐานต่างๆ จนครบถ้วน สามารถฟ้องคดีได้
จึงมีมติเสนอเรื่องส่งให้อัยการสูงสุดฟ้องต่อไป

          นายนรวิชญ์
กล่าวว่า
อัยการสูงสุดฟ้องคดีโดยไม่รับฟังข้อยุติจากคณะทำงานที่ตนแต่งตั้งมาเองได้อย่างไร
ซึ่งนายวุฒิพงศ์ฯ ก็ได้ยืนยันว่าคดีนี้ข้อไม่สมบูรณ์ยังไม่ได้รับการพิจารณาไต่สวนให้คดีมีความสมบูรณ์
และทำไมตนจึงไม่ทราบว่ามีการประชุมครั้งนี้ หากข่าวที่นายสรรเสริญ ยืนยันเป็นจริง
จึงมีคำถามว่า อัยการจำนวน 3 คน ที่ร่วมประชุมถือเป็นตัวแทนอัยการสูงสุดหรือไม่
และมติที่นายสรรเสริญฯ อ้างนั้นเป็นมติที่ชอบของคณะทำงานชุดใหญ่ที่อัยการสูงสุดแต่งตั้งหรือไม่
เพราะหัวหน้าคณะทำงานยังไม่รับทราบ
และยังยืนยันว่าข้อไม่สมบูรณ์ยังไม่ได้รับการปฏิบัติ เช่นนี้
ถือได้หรือไม่ว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมที่ไม่ชอบ

          “ในฐานะทนายความของ
อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดในวันที่
23 มกราคม 2558
เพราะผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำของประเทศ
จึงควรดำรงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม และอัยการสูงสุด
จำเป็นที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดำรงมากว่า 100 ปี”

ที่มา : https://www.facebook.com/NorrawitSocial/posts/1552518585005932:0