นายยรรยง พวงราช ตอบ 35 คำถามที่ถูก สนช. ตัดสิทธิชี้แจง
ตอบ35คำถามที่ถูกสนช.
ตัดสิทธิชี้แจง
นายยรรยง
พวงราช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์/ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ข้อ 3. ตามที่ท่านได้กล่าวอ้างว่า นโยบายการจำนำข้าวมีมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พลเอก
เปรม ติณสูลานนท์
ท่านทราบหรือไม่ว่าหลักการของการรับจำนำข้าว
รัฐบาลก่อนหน้านั้นจะรับจำนำข้าวจากเกษตรกรในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาตลาดในช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำ?
ยรรยง: ก่อนจะมาเป็นโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นั้น ปกติมีวิธีการช่วยเหลือชาวนา 3รูปแบบคือการจำนำ การประกันรายได้
และการชดเชยในรูปแบบต่างๆ จากการวิเคราะห์โครงการจำนำข้าวสมัยก่อนๆ ต่อเนื่องมา 30 กว่าปีนั้นพบว่า
การจำนำในราคาที่ต่ำกว่าตลาดนั้น
“ไม่ได้ผล” หากเราดูอดีต
การจำนำข้าวในราคาต่ำ ไม่สามารถยกราคาตลาดข้าวให้สูงขึ้นได้
ราคาสินค้าอื่นก็ไม่ขึ้น ราคาสินค้านั้นเกิดจากจิตวิทยาตลาด เมื่อซื้อข้าวราคาต่ำ
ก็จะขายข้าวในราคาต่ำ ราคาทั้งระบบก็ไม่สูง แม้กระทั่งสมัยโครงการประกันราคาข้าว
ราคาตลาดก็ยังต่ำ ไม่สูงขึ้น
แต่เมื่อตอนเรารับจำนำราคาสูงขึ้น ราคาตลาดข้าวเปลือกภายในประเทศสูงขึ้นจากตันละ
7 พัน สูงขึ้นเป็น 1.1หมืนบาทได้จริง
ราคาข้าวในประเทศไทย
เป็นราคาชี้นำ ที่จะช่วยกดดันให้ราคาในตลาดข้าวสูงขึ้น ดังจะเห็นว่าในช่วงนั้น ราคาข้าวในตลาดโลก
หรือราคาเอฟโอบี ข้าวสาร 5เปอร์เซ็นราคาสูงขึ้นประมาณ
5-10
เปอร์เซ็นต์ต่อตัน จากราคาที่ 380
– 420 เพิ่มขึ้นเป็น 450 -550 เหรียญสหรัฐต่อตันจริง
ดังนั้น
หากเรารับจำนำราคาต่ำ
จะไม่ช่วยให้ราคาในตลาดจริงสูงขึ้นและชาวนาก็จะไม่ได้ประโยชน์ใด
ราคาโครงสร้างข้าวในตลาด
เป็นตลาดไม่สมบูรณ์ คือผู้ขายข้าวเป็นรายย่อยและผู้ซื้อเป็นรายย่อย จึงไม่มีอำนาจต่อรอง เพราะติดหนี้สินบ้าง
ชะลอการขายไม่ได้ พ่อค้าจะให้ราคาเท่าไร ก็ต้องขาย ต้องจ้างรถ ไม่มียุ้งฉางที่เก็บ
จึงเป็นโอกาสให้พ่อค้าคนกลางซึ่งมีจำนวนไม่มากเข้ามาแทรกกำหนดกดราคาข้าวตรงนี้
จึงเป็นตลาดที่ไม่มีการแข่งขันจริง ผู้เล่นในตลาดคือชาวนาไมมีอำนาจต่อรองจริง
ที่อ้างว่า โครงการรับจำนำทำลายกลไกตลาดนั้น ในความเป็นจริง “โครงการรับจำนำข้าว มุ่งให้กลไกเข้มแข็งมากขึ้น
โดยการเพิ่มอำนาจต่อรองให้ชาวนา”
ข้อ 10.เหตุใดจึงยังหาเสียงว่าเป็นการรับจำนำข้าวแทนที่จะบอกว่าเป็นนโยบายรับซื้อข้าว? ท่านมีเจตนาอย่างไรในการกำหนดนโยบายดังกล่าว
?
ยรรยง : เป็นการเข้าใจผิดว่าราคาจำนำทำไมสูง
ราคาสูงหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องหลัก
เพราะราคาข้าวนั้นมีสูงขึ้นและลงตามปกติ
แต่หลักของการรับจำนำอยู่ที่ว่า “มีของมาเป็นหลักประกันหรือไม่” อันนี้หลัก
นี่คือผลดีกว่าการประกันรายได้ ซึ่งไม่มีหลักประกันใดๆ อีกทั้ง หากเป็นการ “จำนำ” ยังให้สิทธิ
“ไถ่ถอน” หากราคาตลาดสูงขึ้น ก็สามารถมาไถ่ถอนได้
ข้อ 15.การรับจำนำข้าวทุกเมล็ดโดยไม่เลือกพันธุ์ข้าวในราคาเดียวกันคือ
15,000
บาท ทำให้ชาวนาเร่งปลูกข้าวและรีบเก็บเกี่ยวเพื่อส่งขาย
นับเป็นการทำลายการพัฒนาพันธุ์ข้าวและคุณภาพข้าว
รวมทั้งปัญหาการเวียนเทียนข้าว รัฐบาลทราบปัญหานี้หรือไม่? ดำเนินการแก้ไขอย่างไร? ได้ผลหรือไม่? มีการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดหรือไม่ ผลทางคดีเป็นอย่างไร? ถ้าไม่มีการดำเนินคดีเพราะเหตุใดจึงไม่มีการดำเนินคดีและไม่ลงโทษ?
ยรรยง: คำว่า
“รับจำนำข้าวทุกเม็ด” เกิดความเข้าใจผิดกันไป
เข้าใจกันไปว่า รัฐบาลรับจำนำไปทุกเม็ดจริงๆในความหมายคือข้าวทุกเม็ดมาอยู่ในมือรัฐบาล แต่ความจริงคือ
หากใครต้องการมาจำนำก็เอามาจำนำได้
แต่เรามีเกณฑ์ในการรับจำนำข้าว
และชาวนาเอง ก็เก็บข้าวไว้เพื่อทานเองก่อนและข้าวเหลือจึงนำออกมาขาย ประการถัดมา ความจริงแล้ว
ชาวนาเองมีสัมพันธ์อันดีกับโรงสี จึงขายข้าวให้แก่โรงสีที่ค้ากันมา จึงไม่มีข้าวจากชาวนามาจำนำทุกเม็ด
ประการถัดมา
เรารับจำนำข้าวคุณภาพดี ไม่รับจำนำข้าวคุณภาพต่ำ 18 สายพันธุ์ และข่าวอายุสั้น น้อยกว่า 110 วัน ไม่ใช่รับจำนำทุกเม็ดในแบบอย่างที่เข้าใจผิด
การสวมสิทธิ์และโยกย้ายข้าวข้ามเขต
นั้น รัฐบาลมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในแต่ละจังหวัด มีกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย
ตรวจนาจริง มีการทำนาจริง มีการส่งเจ้าหน้าที่ 7 คน โดยมีตัวแทนชาวนา เจ้าหน้าที่
โรงสี และตำรวจ ช่วยตรวจดูแลตลอดการรับจำนำ
การอ้างว่ามีข้าวสวมสิทธิ์นั้น
มีการตรวจการขนข้าว ไม่ให้ข้าวพื้นที่หนึ่งข้ามไปอีกที่หนึ่งไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตข้าวราคาสูงเช่นหอมมะลิ จึงห้ามการขนย้ายข้าวข้ามเขต
ดังนั้นจึงจะปลอมปนสวมสิทธิ์ยากมาก
เราตรวจสอบ
แจ้งความ ดำเนินคดี ผู้ปลอมปนข้าว และผู้ขนข้าวข้ามเขตจริงด้วย
ข้อ 12.รัฐบาลตั้งราคารับจำนำข้าวจากเกษตรกรในราคาสูง และรัฐบาลได้ระบายข้าวให้ผู้ประกอบการเฉพาะราย
ในราคาต่ำกว่าราคารับจำนำ
จึงทำให้ราคาตลาดต่ำกว่าราคารับจำนำจึงไม่มีเกษตรกรซื้อข้าวคืน ท่านได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร?
ยรรยง : กลไกตลาดที่ผ่านมาไม่เข้มแข็ง
“เสรีแต่ไม่เป็นธรรม” จึงทำให้ชาวนาเสียเปรียบ ไม่สามารถกำหนดราคาได้
การจำนำข้าวเป็นการสร้างให้กลไกราคาตลาดเข้มแข็งมากขึ้น
ชาวนามีอำนาจต่อรองราคามากขึ้น พ่อค้าขายข้าวในช่วงมีการรับจำนำ
เป็นปกติเหมือนเดิม ราคาจำนำสูงขึ้น แต่ราคาขายปลีกเท่าเดิม
ก็เป็นประโยชน์แก่ชาวนา
สำหรับการส่งออกข้าวนั้น ประเทศใดจะส่งออกข้าวปริมาณเท่าไรนั้น
ขึ้นอยู่กับการปริมาณการปลูกข้าวได้ในแต่ละปี
ประเทศอินเดียก็เช่นกัน เมื่อปี 2553–2554
อินเดียสำรองข้าวไว้จำนวนมากเพื่อสำรองไว้หากเกิดอุทกภัย ในปีถัดมา อินเดียซึ่งเก็บข้าวไว้จำนวนมากมีความจำเป็นต้องระบายข้าว ปี 2555–2556 อินเดียจึงระบายข้าวแบบ “ทุ่มตลาด”
เพื่อระบายข้าวที่อินเดียสำรองไว้เกินปริมาณ
ดังนั้น ที่บอกว่าจำนำข้าวทำให้ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าว จริงๆ อินเดียระบายข้าวที่เกินจำเป็นและขายราคาต่ำทุ่มตลาด ประเทศไทยเราเป็นข้าวคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า
ไม่อยากขายข้าวแข่งในราคาต่ำแข่งกับเขา เพราะหากเราเอาข้าวดี ไปขายราคาถูก
เท่ากับทำลายโครงสร้างตลาดโลกและทำร้ายชาวนาเราเอง
ปี 2557
ประเทศไทยกลับมาขายข้าวได้อันดับหนึ่งอีกครั้ง เป็นข้าวที่มีคุณภาพดี
ในราคาที่ดี และเป็นข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นี่คือผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ด้วย
ข้อ 17.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ผู้ถูกกล่าวหา
ได้แก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องของ เงินคงคลัง เพื่อนำไปชำระหนี้อย่างไร? และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนหรือไม่?
ยรรยง :กรณีการรับจำนำข้าวในราคาสูงแต่ขายในราคาต่ำกว่า
ถูกพูดกันว่าเป็นการขาดทุน
ในโครงการรับจำนำข้าวและอ้างตัวเลขของอนุกรรมการปิดบัญชีนั้น
ผมมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะหน้าที่ของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีนั้น
จะต้องดูว่าในแต่ละปีนั้นจะต้องหาเงินมาใช้ในโครงการจำนวนเท่าไร อย่างไร
แต่ไม่ใช่เรื่องการกำไรขาดทุน
การกำไรขาดทุนแท้จริง จะต้องทำต่อเมื่อ ปิดโครงการแล้ว
ขายข้าวในโครงการทั้งหมดแล้วและทุกอย่างเสร็จสิ้นหมดแล้ว ฉะนั้น กำไรขาดทุนตามตัวเลขที่พูดนั้นจึงไม่เป็นความจริง
การใช้คำว่า
ขาดทุน
ไม่ควรนำมาใช้กับโครงการที่ช่วยเหลือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้น้อย ณ วันนี้ โครงการยังไม่เสร็จสิ้น
ข้าวยังขายไม่หมด จึงไม่ควรมาสรุปตัวเลขใดๆเพราะจะไม่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวนั้น
ไม่ใช่เพื่อดูเรื่องความเสียหาย เพราะไม่ใช่การปิดบัญชีเพื่อจบโครงการ
แต่เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียน โดยที่เป็นการควบคุมค่าใช้จ่าย
งบประมาณโครงการเพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณมากเกินไป และเน้นย้ำว่า
“การปิดบัญชีไม่ใช่เพื่อแสดงกำไร-ขาดทุน”
รัฐบาลไม่ได้ต้องการทำการค้าธุรกิจ
ที่จะคิดกำไรขาดทุนโครงการจำนำข้าว ส่วนต่างเงินนั้นเป็นการช่วยเหลือชาวนาจริง
ข้อ 29.รัฐบาลแทบจะขายข้าวไม่ได้เลย ทำให้มีปัญหาเงินหมุนเวียนจำนวน 5
แสนล้านบาท
ท่านทราบเรื่องนี้หรือไม่? และมีความกังวลใจกับการขายข้าวไม่ได้หรือไม่?
ยรรยง : รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีกระบวนการระบายข้าวตามวิธีปกติ
เหมือนที่เคยทำมาก่อนทุกรัฐบาลมีห้าวิธี คือ ขายโดยเปิดประมูล
ขายเจรจาระหว่างพ่อค้ากับรัฐบาล ขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจี ตลาดซื้อขายเกษตรล่วงหน้า
และสุดท้ายขายให้แก่หน่วยงานรัฐเช่นราชทัณฑ์หรือกองทัพ
การระบายข้าวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เราระบายในปริมาณมากในวิธีปกติเหมือนทุกรัฐบาล
และในสำนวนที่กล่าวหาถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์นั้น
ระบุชัดว่า “ในชั้นนี้ไม่มีหลักฐานใดว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตระบายข้าว”
ข้อ 13.มีเกษตรกรกี่รายที่ได้มาไถ่ถอนข้าวคืน?
ยรรยง : การรับจำนำนั้น
ประเด็นไม่ใช่ราคาเพราะราคาสูงหรือต่ำ
แต่การจำนำคือการ “มีข้าวเป็นหลักประกัน” และ “มีสิทธิ์ไถ่ถอนภายใน 4 เดือน” ดังนั้น หากราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น
ก็สามารถไถ่ถอนได้ เพราะราคาขึ้นลงได้
ข้อ 11. โกดังที่ใช้เก็บข้าวซึ่งรับจำนำได้
เป็นโกดังของรัฐหรือเอกชนมีกระบวนการเก็บและดูแลรักษาข้าวที่รับจำนำในโกดังอย่างไร? มีมาตรการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ในขณะที่เก็บข้าวที่รับจำนำไว้ในโกดังอย่างไร? และเจ้าของโกดังที่เข้าโครงการได้รับผลประโยชน์อย่างไร?
ยรรยง : เราไม่ได้ให้ราคาจำนำข้าว
หนึ่งหมื่นห้าพันบาทหมดทุกชนิด เรามีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่าหากเป็นข้าวเต็มเม็ด 100 เปอร์เซ็นต์ ราคา 15,000 บาท หากเป็นข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ กดลดลงไปตามสัดส่วน หักความชื้น
ราคาก็จะลดหลั่นลงไป ตามตารางข้างต้น เป็นเงื่อนไขในสัญญาชัดเจน
การดูแลรักษาข้าวนั้น
มีคู่สัญญากับ อตก. อคส. คือคลังสินค้าหรือเซอเวเยอร์ (ผู้ตรวจสอบสภาพข้าว)
ในสัญญานั้น จะระบุชนิดข้าว ประเภท และหากมีความเสียหาย ข้าวเสื่อม ข้าวหาย
ก็จะเป็นความรับผิดชอบของบริษัท เซอเวเยอร์ผู้รับผิดชอบตามสัญญาแบบ
โดยรับผิดชอบแบบ 100 เปอร์เซ็นต์
กรณีการปลอมปนข้าว
มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด บันทึกภาพตลอดเวลาเชื่อมต่อกับ อคส. อตก.
ตอนรับข้าวเข้าคลัง
จะมีพนักงานตรวจรับ มีโรงสี มีเจ้าหน้าที่รัฐ อคส. อตก.
และตำรวจร่วมตรวจสอบข้าวทุกขั้นตอน
และรัฐบาลได้ส่งตัวแทนไปตรวจโกดัง
ผมเองเพิ่มรอบการตรวจจากปกติ 10
เปอร์เซ็นต์ เพิ่มการตรวจเป็น 20
เปอร์เซ็นต์ มีชุดตรวจสอบพิเศษติดตามการรับจำนำ และมีกรมการค้าต่างประเทศ
ไปร่วมตรวจเป็นประจำที่โกดังต่างๆ
จึงทำให้รู้สภาพข้าวจริง
พร้อมทั้งมีระบบการดูแลรักษาข้าวเช่น
การรมยา ตามกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ข้อ 16.โครงการรับจำนำข้าว
แต่ละปีรัฐบาลจะต้องเอาข้าวไปทิ้งทะเล
ท่านทราบถึงความสูญเปล่าและการสูญเสียที่เกิดขึ้นข้างต้นหรือไม่? และได้มีแนวทางการป้องกันแก้ไขหรือไม่?
ยรรยง : รัฐบาลระบายข้าวจำนวนมากเพื่อที่จะหาเงินมาใช้ช่วยหมุนเวียนในโครงการจำนวนมาก
จนกลายเป็นถูกกล่าวหาว่าเราระบายข้าวมากผิดปกติด้วยซ้ำ เราระบายข้าวปกติ
โดยเฉพาะช่วยปลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ประมาณเดือนละเกือบ 1 ล้านตัน
แต่พอหลังรัฐประหารจึงเหลือการขายข้าวเพียงแค่5 แสนตัน
ดังนั้นข้อเท็จจริงที่อ้างนั้นยังไม่ถูกต้อง
การขายข้าวจำนวนมากเพื่อนำเงินหมุนเวียนใช้ในโครงการและช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านโกดังการเก็บรักษาให้ลดลงด้วยอีกทางหนึ่ง
กลไกตลาดข้าวในประเทศช่วงโครงการรับจำนำข้าวไม่ถูกกระทบกระเทือนเลย
มีโรงสี 1,300
แห่งที่ค้าขายข้าวเป็นปกติไม่บ่น
เพราะว่าเขามีข้าวที่อยู่นอกโครงการอีกเกือบครึ่งหนึ่งให้ซื้อขาย แต่คนที่บ่น
คือผู้ส่งออกข้าวบางรายเท่านั้น
ที่ร้องเรียนเพราะเขาเหล่านั้นต้องการซื้อข้าวในราคาถูกเหมือนเดิม
เพื่อไปขายราคาแพงๆ เพื่อได้กำไรมากๆ
ระบบการแข่งขันไม่ได้รับผลกระทบ
เพราะการค้าขายข้าวส่งออกยังส่งออกเป็นปกติ และยังส่งออกได้มากขึ้นถึงเกือบ 10.5 ล้านตัน นี่คือเครื่องพิสูจน์ว่า
กลไกตลาดยังไม่ได้ถูกทำลายลงไป
กรณีมีข้อกล่าวหาว่ามีการนำข้าวเก่าไปแลกข้าวใหม่นั้น
เรามีการจับคนทุจริตในทุกขั้นตอนของกระบวนการโครงการรับจำนำข้าว ดำเนินคดีได้ถึง 276 กว่าคดี ไม่ได้ปล่อยปละละเลยใดๆ เพราะเราได้ศึกษาถึงจุดอ่อนของโครงการนี้มาก่อนอย่างชัดเจน
และอุดช่องว่างต่างๆทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติเพื่อให้เสริมกลไกการรับจำนำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อ 24.เหตุใดท่านจึงไม่ได้เร่งดำเนินการระบายข้าวเพื่อลดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น?
ยรรยง : กรณีข้าวเสื่อมข้าวหาย โจมตีมานานมาก
อคส.ยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้หายมากอย่างที่ถูกโจมตี แต่การบันทึกบัญชีข้าว
กว่าโรงสีจะสีข้าวและส่งมอบ เป็นช่วงที่อยู่ในท่อ การตรวจนับ ณ
จุดเวลาหนึ่งจึงเกิดความคลาดเคลื่อน พอไปดูในบัญชีก็จะเข้าใจผิด แต่ไม่ได้มากอย่างที่โจมตีกัน
ขนาดรัฐบาลชุดนี้ไปตรวจเองก็ไม่พบว่าข้าวหายมากมาย2–3
ล้านตันเหมือนที่โจมตีกัน
ส่วนการเสื่อมนั้น เป็นปกติ
และเราก็มีเงื่อนไขกับคู่สัญญาในการรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งสิ้น
จึงจะไม่เกิดผลเสียใดๆ ต่อรัฐบาลใดๆ
ข้อ 30.โครงการรับจำนำข้าวเปลือก รัฐบาลได้จำหน่ายข้าวแบบรัฐต่อรัฐให้แก่ประเทศใดบ้าง? มีจำนวนกี่สัญญา? มีปริมาณส่งออกและราคาที่จำหน่ายได้เท่าไร? ยืนยันได้หรือไม่ว่าขายให้ใคร? มีรายละเอียดอย่างไร?
ยรรยง :ผมจะบอกว่า เพราะความเห็นที่แตกต่างกัน
ฝ่ายหนึ่งต้องการช่วยเหลือชาวนา ฝ่ายพ่อค้าผู้ส่งออก ก็ต้องโจมตีเพราะต้องซื้อของถูกขายของแพง
ยิ่งมีส่วนต่างมากเท่าไร ยิ่งมีประโยชน์กับพ่อค้ามากเท่านั้น
ดังนั้นผู้มีส่วนได้เสียจึงโจมตีเพื่อให้ได้
รัฐบาลต้องการช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้สูงขึ้นจึงกระทบกระเทือนต่อเขาเหล่านั้น
ผู้วิจารณ์
ไม่ได้มีความเข้าใจลึกซึ้ง ในธรรมชาติข้าว เขาจะพบว่า ราคาข้าวทั้งในไทยและโลก
ถูกกดให้ต่ำไว้หลายสิบปี หากยังรับจำนำในราคาถูก
ก็จะไม่สามารถยกระดับราคาของทั้งตลาดเพิ่มขึ้น
การแก้ไขตรงจุดคือรับจำนำในราคาสูงพอที่ชาวนามีรายได้ที่ดี ยั่งยืนและให้กลไกตลาดมีกลไกเข้มแข็งขึ้น
ผลักดันราคาให้เพิ่มได้ขึ้นจริง