นายวราเทพ รัตนากร , นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ตอบ 35 คำถามที่ถูก สนช. ตัดสิทธิชี้แจง
ตอบ35คำถามที่ถูกสนช.
ตัดสิทธิชี้แจง
นายวราเทพ รัตนากร
อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง/อดีตประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)
ข้อ 23 โครงการรับจำนำข้าวช่วยคน4ล้านครัวเรือนหรือ15
ล้านคน TDRI พบว่ามีเพียง1 ใน4
ชาวนาปานกลางฐานะดีเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์
ทำให้ชาวนาเกิดความเครียดประสบความสำเร็จจนมีการฆ่าตัวตาย 16 ราย
ท่านทราบหรือไม่และให้เยียวยาช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร
ทนุศักดิ์: ไม่ทราบว่าทีดีอาร์ไอ
ไปสำรวจเมื่อไหร่ เพราะข้อมูลแตกต่างจากของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ชาวนานั้นมีทำทั้งนาปีและนาปรัง ชาวนาแต่ละภูมิภาคก็ทำนาไม่พร้อมกัน
ถ้ามีการสำรวจนั้นจริงๆ ไม่น่าใช่เพราะโครงการรับจำนำข้าวเปิดโอกาสให้ชาวนาทุกคนเข้าร่วมโครงการไม่จำกัดไปยังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 30
จากข้อมูลของ ธกส.
เกี่ยวกับมูลค่าการจำนำข้าวเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มโครงการปลายปี 2554 จนถึงฤดูกาลนาปี
2556/2557 ปรากฏว่าชาวนามากกว่าครึ่ง คือ ประมาณร้อยละ 54
ได้รับเงินจากการจำนำข้าว ไม่เกินรายละ 150,000 บาท (เป็นชาวนารายเล็กที่มีที่ดินไม่เกิน 12
ไร่) และประมาณร้อยละ 64 ได้รับเงินจำนำข้าวไม่เกิน 200,000 บาท (เป็นชาวนาที่มีที่ดินไม่เกิน
25 ไร่) และในฤดูกาลผลิตนาปี 2556/2557 ซึ่งมีการจำกัดให้ชาวนาจำนำได้รายละไม่เกิน
350,000 บาท จะมีชาวนาถึงร้อยละ 79 ที่ได้รับเงินจำนำไม่เกินรายละ
200,000 บาท ดังนั้น
ข้อกล่าวหาดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริงและไม่เป็นธรรม
วานนี้ (16 มกราคม 2558) ผมเป็นผู้หนึ่งในผู้แทนคดีที่มาชี้แจงข้อกล่าวหากับทางสนช.
ซึ่งเป็นความน่าเสียดายไม่ได้ชี้แจง จึงอยากจะชี้แจงให้ฟัง เพราะมีคนพูดเยอะมากว่าข้าว
15,000 บาท แพงเหลือเกิน อยากอธิบายว่า ชีวิตเกษตรกรควรมีคุณภาพที่ดีกว่านี้
แต่ก่อนยางพารา 18 บาท ถ้า 25บาทดีใจทั้งภาค เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20 บาท นั่นคือสมัยรัฐบาลทักษิณ
เมื่อนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเข้ามาทำให้ยางพาราคาขึ้นถึง 100 บาทต่อกก.ขึ้นไปสูงสุดถึง180
บาท ทำไมข้าวจะทำไม่ได้
รัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์
ทำให้ข้าวเกวียนละ 6,000 บาท เป็นเกวียนละ 12,000
บาท ทำไมจะเป็นจะตายไปหมด ข้าวบัสมาติ ข้าวกิโลกรัมละ 300 กว่าบาท ตันละ 340,000
บาท ซึ่งเกรดเดียวกับข้าวมะลิ ข้าวอิตาลีกิโลกรัมละ 400 กว่าบาท ตันละ 4
แสนกว่าบาท ข้าวหอมมะลิจะราคาขึ้นมา20,000 กว่าบาท
คนที่ปลูกข้าวช้ำอกช้ำใจอยากมีอนาคตอย่างคนปลูกยางพาราบ้าง
ก็อยากให้พี่น้องชาวไทยเห็นใจชาวนาบ้าง
คนเป็นกรรมการคือ ปปช. และสนช.ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตามเบื้องต้นต้องมองผู้ถูกกล่าวหาทุกคนสุจริตก่อนในกระบวนการยุติธรรม
ไม่ว่าจะคดีอาญาหรือคดีใดก็ตามตามปกติต้องมองผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนถ้าหลักฐานไม่ชัดเจนก็ปล่อยตัว
ไม่ใช่มองว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ทุจริตก่อนแล้วซ้ำให้หนักกว่าเดิม
วราเทพ: ในกรณีชาวนาเสียชีวิตนั้น
มีการกล่าวหาและประโคมข่าวเรื่องชาวนาผูกคอตายเพราะโครงการจำนำข้าว จึงขออนุญาตให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบก่อน
ว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากอะไรรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้พยายามตรวจสอบข้อมูล
แต่ก็ไม่มีพยานหลักฐานที่ชัดเจน มีเพียง 2 กรณี ที่มีข้อมูลยืนยันว่า การเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากจำนำข้าว
คือ ที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดสุรินทร์ ส่วนรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ถูกขัดขวางเรื่องการกู้เงิน จึงไม่สามารถจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวนาได้
แต่ก็สามารถจ่ายไปมากกว่าครึ่ง ก่อนการรัฐประหารและเมื่อไม่มีคนขัดขวาง
การกู้เงินรัฐบาลปัจจุบันก็สามารถจ่ายเงินได้ตามแนวทางที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ดำเนินการไว้
ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจ
เพราะไม่อยากให้ใครเอาเรื่องความเป็นความตายของพี่น้องชาวนามาเป็นประเด็นทางการเมือง
คำถามที่ 32 :โครงการรับจำนำข้าวที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
คิดมาเพื่อให้ดำเนินการ ตามแนวทางทักษิณคิดเพื่อไทยทำเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งใช้หรือไม่
วราเทพ: พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ประสบความสำเร็จท่านหนึ่ง
มีชื่อเสียง ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยได้สร้าง
นโยบายดีๆ ที่จับต้องได้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากมาย ช่วยในการพัฒนาประเทศ ส่วนนโยบายการรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เป็นแนวคิดที่เกิดจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่เพราะ พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร คิดคนเดียวเท่านั้น
พรรคมีกระบวนการที่มาสังเคราะห์ลงไปหาข้อมูลความต้องการของพี่น้องประชาชนว่าต้องการอย่างไรรับฟังทุกภาคส่วน
และมาวิเคราะห์เป็นนโยบายนำสิ่งที่ดีไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามทั้ง อดีตนายกรัฐมนตรี
พี่น้องประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพต่างๆ ถ้าเป็นประโยชน์และพรรคเห็นว่าปฏิบัติได้
พรรคก็ไปดำเนินการต่อ ผ่านขั้นตอนการดำเนินการในระบบพรรค และกระบวนการพิจารณา
คำถามที่ 31 : ท่านทราบหรือไม่ว่า หากสภามีมติถอดถอนจะมีผลต่อการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
5 ปี จึงเป็นการตัดสิทธิซ้ำซ้อน
วราเทพ: กระบวนการถอดถอนถ้าเป็นในภาวะปกติ
จะใช้รัฐธรรมนูญเดินหน้า เมื่อพิจารณาว่าถอดถอนแล้วผลจะเป็นยังไง แน่นอนที่สุดถอดถอนแล้วผลการดำเนินการจะตัดสิทธิ
5 ปี แต่กระบวนการถอดถอนครั้งนี้แตกต่างจากกระบวนการตามปกติ
คือมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550การถอดถอนจึงไม่สามารถดำเนินการได้เพราะรัฐธรรมนูญยกเลิกไปแล้ว
การที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าเสมือนถูกถอดถอนไปแล้วถึง
3 ครั้งนั้น เป็นการพูดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า
ขณะที่ดำรงตำแหน่งมีวิกฤติการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการยุบสภาก็เหมือนกับการพ้นจากตำแหน่งไปแล้วการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยให้พ้นจากเรื่องตำแหน่งกรณีนายถวิล
เปลี่ยนศรี ก็ถือเป็นการพ้นสภาไปเป็นครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 คือการถูก คสช.
ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นั้น เหตุการณ์ทั้งสามครั้งจึงถูกนำมาเปรียบเปรยให้เห็นว่าสภาพการณ์เป็นนายกรัฐมนตรีไม่มีอยู่แล้ว
แต่หลักที่เกี่ยวข้องจริงๆ เรื่องการถอดถอนสิทธิทางการเมือง5 ปีคือรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ถูกยกเลิกไปแม้มีการถกเถียงกันจนนำไปสู่กระบวนการพิจารณาถอดถอนใน
สนช ขณะนี้ ท้ายที่สุดก็ต้องดู สนช.จะมีการลงมติอย่างไร ส่วนกรณีที่ว่าแม้รัฐธรรมนูญปี
50
จะยกเลิกไปแล้ว แต่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
และคำสั่ง คสช. ยังคุ้มครองให้สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นั้น
เป็นข้ออ้างของ ป.ป.ช. ซึ่งไม่อาจรับฟังได้
คำถามข้อ 32 : ท่านระบุได้หรือไม่ว่า
ข้อมูลรายงานของทีดีอาร์ไอ ข้อใดเป็นข้อมูลเก่าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยกมากล่าวอ้าง
วราเทพ:เข้าใจว่าผู้ตั้งคำถามยังฟังการแถลงของอดีตนายกรัฐมนตรี
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ การที่ทีดีอาร์ไอ ซึ่งได้รับจ้างวิจัยจากป.ป.ช.
เรื่องโครงการรับจำนำข้าว เป็นการรับจ้างวิจัยโครงการรับจำนำในช่วงรัฐบาลก่อนรัฐบาลอดีตนายกฯ
ยิ่งลักษณ์ เป็นโครงการรับจำนำข้าวในอดีตตั้งแต่ยุคก่อนจนถึงรัฐบาลทักษิณ ฉะนั้นการวิจัยข้อมูลเก่าแล้วบอกว่าโครงการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้ไม่ได้
เพราะทีดีอาร์ไอวิจัยแล้ว
จริงๆ ทีดีอาร์ไอ ยังไม่ได้วิจัยโครงการรับจำนำรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลย โครงการรับจำข้าวรัฐบาลพรรคเพื่อไทยแตกต่างจากโครงการในอดีต
ข้อเป็นห่วงของทีดีอาร์ไอที่เคยวิเคราะห์วิจัยไว้ก็เป็นหนึ่งในข้อปรับปรุง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการใช้เทคโนโลยีเข้ามาควบคุมป้องกันการทุจริต
คำถามข้อที่ 34 :
ทำไมท่านจึงไม่ทำโครงการลดน้ำมัน ทั้งๆ ที่เป็นสัญญาประชาคม และ
ท่านคิดว่านโยบายพรรคกับการบริหารประเทศชาติ สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน
วราเทพ: ข้อที่ 1 นโยบายรับจำนำข้าว ไม่เพียงแต่เป็นสัญญาประชาคม
แต่เป็นนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนมีรัฐธรรมนูญรองรับ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องผูกพันให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา
178 เป็นการกระทำทางบริหารของรัฐบาล (Act of Government) ส่วนเรื่องน้ำมันลดราคาถ้ามีอยู่ในนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาแล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำแล้วทุกข้อ ส่วนข้อที่ไม่ได้แถลง
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ทำนโยบายที่เป็นประโยชน์นโยบายเพิ่มเติม บางครั้ง เราอาจหยิบประเด็นที่เป็นข่าวตอนหาเสียง
หรือมีการวิพากษ์วิจารณ์แต่ท้ายที่สุด ต้องยึดนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา
ส่วนกรณีที่ถามว่า นโยบายพรรคกับการบริหารประเทศ อย่างไหนสำคัญกว่ากัน
นโยบายพรรค คือ ขั้นตอนที่พรรคการเมืองทุกพรรคแสดงให้พี่น้องประชาชนไว้วางใจเพื่อเลือกเข้ามาบริหารประเทศ
ส่วนการบริหารประเทศเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งสำคัญทั้งคู่
การบริหารประเทศต้องรับผิดชอบต่อพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ นอกเหนือจากนั้นก็ต้องพร้อมต่อการตรวจสอบในฐานะที่เป็นรัฐบาลซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฏหมาย
จะเปรียบเทียบกันไม่ได้ เป็นคนละสถานะ แต่ทุกพรรคการเมืองก็ต้องเคารพนโยบายของตัวเอง
และของพี่น้องประชาชน
ส่วนกรณีเหตุการณ์ในวานนี้ (16 มกราคม 2558) ในฐานะที่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฐรและเคยเป็นอดีตรัฐมนตรี
ซึ่งเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภาเป็นเวลา 10 ปี กระบวนการถอดถอนต้องมีการยึดข้อบังคับการประชุมสภาในการตอบข้อสักถามของกรรมธิการ
และเมื่อวานผู้ถูกกล่าวหา อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้ยึดตามข้อบังคับ คือใช้สิทธิส่งตัวแทนเข้าไปตอบข้อซักถาม
ทั้งนี้อดีตนายกฯก็ได้แถลงเปิดคดีชี้แจงรายละเอียดในระดับนโยบายแล้ว การดำเนินการนโยบายต้องมีขั้นตอนผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องรู้ข้อมูลรายละเอียดในการดำเนินงาน
นายกรัฐมนตรีโดยลำพังไม่สามารถที่จะรู้ในรายละเอียดทุกเรื่องได้
ดังนั้นจึงมีผู้แทนคดีไปตอบข้อชี้แจง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ทางสมาชิก สนช.
จะได้เข้าใจในข้อสงสัยแต่เมื่อมติของ สนช.
วันนี้ยืนยันที่จะสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเพียงผู้เดียว ไม่เปิดโอกาศให้ตัวแทนหรือผู้แทนคดีตอบชี้แจง
เป็นที่น่าเสียดายที่ข้อมูลสำคัญที่สนช. ไม่ได้รับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาการตัดสินลงมติในวันข้างหน้า
จะทราบอีกทีก็ไปในวันแถลงปิดดคีที่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อไปคือการแถลงปิดคดีคือไม่มีการไตร่ตรองข้อสักถามแล้ว